ชายแดน Kyinsankyawt รถขนส่งแตงโมไปจีน ประมาณ 100 คันต่อวัน

จากข้อมูลของคลังเก็บสินค้าข้าวด่านมูเซ ระบุ เมียนมาส่งรถบรรทุกแตงโมจำนวน 100 คันไปยังจีนในทุกๆ วันปัจจุบัน เมียนมาส่งสินค้าจำนวน 140 คันไปยังจีนทุกวันผ่านด่านชายแดน Kyinsankyawt รวมถึงรถบรรทุก 100 คันที่บรรทุกแตงโมและรถบรรทุก 40 คันบรรทุกข้าว ข้าวหัก เมล็ดพืช ยางพารา พลัมแห้ง และสินค้าอาหารอื่นๆ ส่วนการส่งออกแตงโมนั้นผู้ค้าต้องจ่ายค่าขนส่งประมาณ 30,000 หยวนซึ่งค่าขนส่งที่สูงเนื่องจากแตงโมเป็นผลไม้ที่เน่าเสียง่าย ส่งผลให้จำนวนคนขับรถบรรทุกลดลงเพราะแบกรับต้นทุนไม่ไหว เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ COVID-19 ส่วนการผ่านชายแดน Kyinsankyawt จะอนุญาติให้ขนส่งสินค้าช่วงระยะทางสั้นๆ เท่านั้น จึงทำให้ราคาบริการขนส่งสินค้าระยะใกล้พุ่งสูงเกินจริง อยู่ที่ 10 ล้านจัตต่อราคาขนส่งรถบรรทุกหนึ่งคัน ในขณะที่ก่อนหน้านี้ราคาอยู่ที่เพียง 700,000-800,000 จัต ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกข้าวและข้าวหักจึงลดลงจาก 60,000 ถุงเหลือ 10,000 ถุงต่อวัน ทั้งนี้จีนปิดจุดผ่านแดนที่เชื่อมกับชายแดนมูเซในช่วงที่ COVID-19 ระบาด ส่วนด่าน Kyinsankyawt ได้กลับมาซื้อขายอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย.64 โดยเริ่มส่งออกยาง ถั่วและพัลส์ต่างๆ พลัมแห้ง แตงโม แตงไทย และสินค้าอาหารอื่นๆ ไปยังจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/approximately-100-watermelon-truckloads-daily-delivered-to-china/

การส่งออกทางทะเลของเมียนมา เดือน ม.ค.65 พุ่ง 7.64 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย มูลค่าการค้าทางทะเลระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 64 ถึง 28 ม.ค 65 ของงบประมาณย่อยปี 2564-2565 พุ่งขึ้นเป็น 7.64 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 485 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากมูลค่าการค้าทางทะเล 7.159 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของปีก่อน ในขณะเดียวกัน มูลค่าการค้าชายแดนในปีงบประมาณนี้อยู่ที่ 2.107 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดิ่งลงจาก 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปีงบประมาณที่ผ่านมา ซึ่งการค้าทางทะเลสร้างรายได้ถึง 19,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากมูลค่าการค้ารวมที่ 29,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 โดยการส่งออกส่วนใหญ่จะเป็น สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์ประมง แร่ธาตุ ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากป่า สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ส่วนการนำเข้า ได้แก่ สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และวัตถุดิบอุตสาหกรรม ปัจจุบันเมียนมามีท่าเรือ 9 แห่งโดยท่าเรือย่างกุ้งถือเป็นประตูสู่การค้าทางทะเลของเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-maritime-trade-tops-us7-64-bln-as-of-28-january/

ศรีลังกานำเข้าข้าวกว่า 100,000 ตัน จากเมียนมา

กระทรวงการค้าของศรีลังกา เผย ได้ตัดสินใจนำเข้าข้าวขาว 100,000 ตันจากเมียนมาเพื่อควบคุมราคาข้าวที่พุ่งขึ้นในประเทศ โดยราคาการนำเข้าราคา 445 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ผ่านบริษัท Sri Lanka State Trading (General) Corporation และมีแผนจะนำเข้าข้าวครั้งละ 20,000 ตัน จากการให้ข้อมูลของกระทรวงฯ พบว่าการนำเข้าข้าวในศรีลังกามักจำกัดไว้เพียงปริมาณเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวบาสมาติ

ที่มา:https://english.news.cn/asiapacific/20220207/4b0782f17ce940e998054617832c610a/c.html

4 เดือนของงบประมาณฯ สิงคโปร์นำโด่งเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดของเมียนมา

จากข้อมูลคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท ( DICA) พบว่า สิงคโปร์กลายเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในเมียนมาในช่วงสี่เดือนของบประมาณปัจจุบัน (2564-2565) ซึ่งเริ่มในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว โดยดึงดูดเงินลงทุนกว่า 506 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากวิสาหกิจต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาลงทุนในประเทศ ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 64 ถึงวันที่ 31 ม.ค. 65 ภาคบริการครองอันดับหนึ่งของเงินลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุดด้วยเงินลงทุนกว่า 206 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  รองลงมาคือภาคการผลิตมีมูลค่าการลงทุนกว่า 114 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และภาคการก่อสร้าง 65 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสิงคโปร์เป็นผู้นำด้านการลงทุนด้วยเม็ดเงินกว่า 275 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ในปีงบประมาณที่แล้ว เมียนมาได้รับเงินลงทุนในประเทศกว่า 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://english.news.cn/asiapacific/20220207/812846d52591466085c5fa7840faf7a1/c.ht

งานหัตถกรรมไม้เริ่มเป็นที่นิยมอย่างมากในเมียนมา

งานหัตถกรรมไม้เหล่านี้มีการผลิตและจำหน่ายในราคาถูกในตลาด
ท้องภายใยนประเทศ ราคาของผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทมีราคา
ตั้งแต่ 1,000 ล้านจัต ปัจจุบันการค้าขายผ่านระบบออนไลน์ใน
ประเทศเริ่มเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก ปัจจุบันยอดขายถาดรองอาหาร
ออนไลน์เริ่มเป็นนิยมในต่างประเทศ ยอดขายในท้องถิ่นส่วนใหญ่จะ
เป็นบาตรที่ใช้สำหรับพระไว้บิณฑบาต งานหัตถกรรมของเมียนมาที่
ทำจากไม้และสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นที่นิยมอย่างมากในขณะนี้
นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะจัดงานแสดงและขายงานหัตถกรรมจาก
ผู้ค้าในท้องถิ่นอีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-wooden-handicrafts-marketable-at-domestic-market/#article-title

4 เดือนแรกของงบประมาณย่อย เมียนมาส่งออกข้าวไปแล้วกว่า 1 ล้านตัน

รายงานของสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) เผย เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักมากกว่า 1.07 ล้านตันในช่วง 4 เดือนแรกของงบประมาณย่อยในปีปัจจุบัน (ต.ค. 2564 ถึงมี.ค 2565) โดยส่งออกไป 27 ประเทศมีจีนเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ ซึ่งราคาข้าวขาวคุณภาพต่ำราคาอยู่ที่ประมาณ 330-355 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน โดยราคาส่งออกค่อนข้างต่ำกว่าของไทยและเวียดนาม แต่สูงกว่าราคาตลาดของอินเดียและปากีสถาน ปัจจุบันผู้ค้าข้าวหันไปส่งออกทางทะเลแทน เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ต้องปิดชายแดน เมียนมาส่งข้าวและข้าวหักไปยังจีน ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน และกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ส่วนการซื้อขายภายในประเทศค่อนข้างซบเซาท่ามกลางผลผลิตที่ออกมาล้นตลาด เมียนมามีรายได้กว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าวในปีงบประมาณ 2562-2563 โดย ณ วันที่ 30 ก.ย.2564 คาดว่าปริมาณข้าวจะอยู่ที่ 2.5 ล้านตัน จะสร้างรายได้ 700.13 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าวและข้าวหัก 1.87 ล้านตันในปีงบประมาณ 2563-2564 (ต.ค.63-ก.ย.64)

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-over-1-mln-mt-of-rice-in-past-four-months/

MADB ขยายเวลาคืนเงินกู้โควิด ออกไปถึงเดือน มี.ค. 65

ธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตรแห่งเมียนมา (MADB) เผย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร ได้ประกาศขยายระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้พิเศษโควิด-19 ออกไปจนถึงสิ้นเดือนมี.คม 2565 จากเดิม ที่ให้ชำระถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2564 ได้ยืดเวลาการชำระออกไปจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 ส่วนสินเชื่อเพื่อทำการเกษตรช่วงฤดูหนาวกำหนดให้ชำระได้จนถึง 31 ม.ค 2564 ให้ขยายไปจนถึงเป็นสิ้นเดือนก.พ. 2565 ดังนั้น MADB จึงได้แจ้งให้เกษตรกรควรติดต่อสาขาที่ได้ทำการกู้สินเชื่อไปแล้ว

ที่มา: https://news-eleven.com/article/225080

ราคานำเข้าน้ำมันปาล์ม พุ่งพรวด!! ปรับขึ้นอีก 5,000 จัตต่อ viss

สมาคมผู้ค้าน้ำมันพืชเมียนมา เผย ราคาน้ำมันปาล์มขยับขึ้นเป็น 5,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ในปัจจุบัน ตามราคานำเข้าที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันอยู่ที่ 1,450 ดอลลาร์ต่อตัน ขณะช่วงต้นเดือนม.ค.65 อยู่ที่เพียง 1,360 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ซึ่งบ่งชี้ว่าเพิ่มขึ้น 90 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตันภายในหนึ่งเดือน ส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มพุ่งพรวดขึ้นเป็น 5,150 จัตต่อ viss โดยธนาคารกลางแห่งเมียนมาขายน้ำมันพืช 77 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับภาคธุรกิจเพื่อจำหน่าย ปัจจุบันราคาขายปลีกน้ำมันอยู่ที่ 4,500 จัตต่อ viss ซึ่งจัดจำหน่ายโดยรถโมบายจากการประสานงานกับสมาคมฯ ทั้งนี้การบริโภคน้ำมันพืชในประเทศอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี เป็นการผลิตน้ำมันประกอบอาหารมีประมาณ 400,000 ตัน เพื่อความพอเพียงในตลาดภายในประเทศจึงจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันปรุงอาหารประมาณ 700,000 ตันต่อปี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/import-price-elevates-palm-oil-price-to-over-k5000-per-viss/#article-title

ไทย เลิกเก็บภาษี ส่งออกข้าวโพดของเมียนมา

ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 65 ถึง 31 สิงหาคมการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเมียนมา ไปยังไทยผ่านชายแดนเมียวดีจะปลอดภาษี มีการส่งออกไปแล้วมากกว่า 2,000 ตัน แต่ยังน้อยกว่าปีที่แล้ว ซึ่งจากข้อมูลพบว่าตอนนี้มีโกดังข้าวโพดหลายแห่งในเมียวดีสามารถรองรับบรรทุกได้ถึง 500 คันต่อวัน แม้ว่าข้าวโพดจะได้รับอนุญาตให้ส่งออกไปยังจีนได้แล้ว แต่ส่งออกไปยังไทยมากกว่าเนื่องจากจีนมีการเก็บภาษีศุลกากรที่สูงขึ้นเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเกษตรกรชาวจีน ทั้งนี้การค้าระหว่างสองประเทศต้องหยุดชะงักเนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และรถบรรทุกของไทยได้รับอนุญาตให้บรรทุกสินค้าไปยังเขตการค้าและโกดังสินค้าทางฝั่งเมียนมาได้ แต่รถบรรทุกของเมียนมายังไม่ได้รับอนุญาตวิ่งผ่านด่านแม่สอด

ที่มา : https://news-eleven.com/article/224982

ส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมาลดฮวบ 1.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย ณ วันที่ 21 ม.ค.65 ของงบประมาณย่อย (ต.ค. 64 ถึงมี.ค. 65) มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรดิ่งลง 1.25 พันล้านดอลลาร์ ลดลงอย่าง 375.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกไปจีนคิดเป็นร้อยละ 90 ของการส่งออกผักและผลมืทั้งหมด ในช่วงปีงบประมาณที่ผ่านมาการปิดด่านชายแดนของจีนส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตผู้ค้าผลไม้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ กฎระเบียบการนำเข้าและมาตรการป้องกันโควิด-19 ของจีนยังทำให้เกิดความล่าช้า  ปัจจุบัน ชายแดนบางแห่งเริ่มทดลองเป็ดค้าขายเป็นบางแห่งแล้ว ในภาคการส่งออก อุตสาหกรรมการเกษตรมีทิศทางที่สดใส โดยคิดเป็นร้อยละ 37 ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกที่สำคัญในภาคเกษตร ได้แก่ ข้าวและข้าวหัก ถั่วและข้าวโพด ผลไม้และผัก ฯลฯ ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกาเป็น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/agricultural-export-value-plummet-to-1-25-bln-as-of-21-january/#article-title