จำนวนธุรกิจครัวเรือนหันมาเป็นบริษัท ยังคงอยู่ในระดับต่ำ

จากรายงานของคณะกรรมการประชาชนประจำเมือง เปิดเผยว่าจำนวนผู้ประกอบการครัวเรือนหันมาเปลี่ยนสถานะธุรกิจเป็น “บริษัท” ลดลง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมีจำนวนธุรกิจอยู่ที่ 3,675, 3,380 และ 1,621 ในปี 2560, 2561 และ 8 เดือนแรกของปี 2562 ตามลำดับ ทั้งนี้ ทางประธานชมรมตัวแทนจัดเก็บภาษีเมือง ระบุว่าแม้จะมีความพยายามในการส่งเสริมของรัฐบาล แต่จำนวนผู้ประกอบการที่เกิดขึ้นใหม่ (Startup) และธุรกิจครัวเรือนหันมาเปลี่ยนเป็นบริษัทยังอยู่ในระดับไม่สูงมาก นอกจากนี้ ธุรกิจครัวเรือนส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและเจ้าของธุรกิจมีความสับสนในเรื่องของการทำบัญชีและภาษีที่ซับซ้อน รวมไปถึงไม่เข้าใจนโยบายภาษีอย่างถ่องแท้อีกด้วย และอีกหนึ่งอุปสรรคที่ไม่ให้ธุรกิจครัวเรือนหันมาเป็นบริษัทได้ คือ ภาระการผูกพันตามกฎหมายและต้นทุนทางอ้อมที่เพิ่มสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ รองประธานคณะกรรมการฯ ได้มอบหมายให้กรมสรรพกรของเมืองไปให้ข้อมูลกับผู้ประกอบการที่เกิดขึ้นใหม่ ในเรื่องของนโยบายภาษีใหม่ และเร่งขอให้สมาคมธุรกิจในโฮจิมินห์ให้ทำงานร่วมกับชมรมตัวแทนจัดเก็บภาษีเมือง เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายภาษี

18 ล้านคน นับว่าเป็นตัวเลขทางสถิติส

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/571022/number-of-business-households-turning-into-companies-remains-low.html

นักลงทุนชาวจีนกระตือรือร้นที่จะหาโอกาสการลงทุนในสปป.ลาว

นักธุรกิจจีนมีความสนใจในการลงทุนในด้านต่าง ๆ ในสปป.ลาว โดยเมื่อวันที่ 6 มกราคมมีการประชุมของผู้ประกอบการสปป.ลาวและจีนโดยมีการหารือในรายละเอียดการส่งเสริมผู้ประกอบและการส้รางบรรยากาศที่ดีในการลงทุน ซึ่งเป้าหมายที่นักธุรกิจจีนสนใจจะลงทุนครอบคลุมตั้งแต่ภาคอุตสหกรรมในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ พลังงาน การผลิตกระดาษ ไปจนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางพิเศษ โรงพยาบาล และท่าเรือรวมถึงการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษอีกด้วย นอกจากนี้การประชุมดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้สร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจและเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการสปป.ลาวและจีนมีโอกาสในการร่วมทุนในอนาคต ผลของการจัดประชุมครั้งนี้จะทำให้มีนักธุรกิจจีนเข้ามาลงทุนในสปป.ลาวมากขึ้นนอกเหนือจาก เศรษฐกิจที่จะขยายตัวจะรวมถึงการได้เรียนรู้และพัฒนาจากเทคโนโลยีของต่างชาติที่เข้ามาอีกด้วย

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/chinese-investors-keen-find-investment-opportunities-laos-111891

สปป.ลาวตั้งเป้าที่จะลดจำนวนคนจนให้เหลือ 5% ในปี 2020

รัฐบาลตั้งเป้าหมายจะยกระดับรายได้ของครัวเรือนให้สูงขึ้นเพื่อลดจำนวนผู้ยากจนในประเทศโดยมีเป้าหมาย 3,200 ครอบครัวในปีนี้และหากทำได้ก็หมายความว่ามีเพียง 4.9% หรือ 60,000 ครอบครัวเท่านั้นที่จะถูกจำแนกว่ายังไม่ได้รับการพัฒนา ตามรายงานของรัฐบาลจะมีการลงทุน 112 พันล้านกีบเพื่อทำตามแผนลดความยากจนของปีที่แล้วและจะมีโครงการในปีนี้อีก 659 โครงการ โดยจะเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างและซ่อมแซมถนนการพัฒนาระบบชลประทานขนาดเล็ก การสร้างโรงเรียน ร้านขายยารวมถึงการฝึกอบรมด้านการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์นอกจากนี้มีการจัดสรรเงิน 137 พันล้านกีบเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนแก่ชุมชน รัฐบาลได้เปิดเผยถึงความสำเร็จในรอบ 9 เดือนของปีที่แล้วว่า 112 หมู่บ้านหรือ 56 %ของเป้าหมายและ 2,209 ครอบครัวหรือ 47.5 %ของเป้าหมายประสบความสำเร็จในการพัฒนา ในปีนี้รัฐบาลตั้งเป้าที่จะพัฒนาเพิ่มเติมจากเดิมให้ได้ 67% ของเป้าหมายและคาดการณ์ 10 ปีจะแก้ปัญหาความยากจนไปจากประเทศได้

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-aims-cut-number-poor-familes-5-2020-111889       

กัมพูชาและเวียดนามพยายามส่งเสริมการค้าผ่านชายแดนระหว่างกัน

ขณะนี้กัมพูชาและเวียดนามเริ่มดำเนินการร่วมกันเกี่ยวกับจุดตรวจชายแดนเพื่อส่งเสริมการการค้าการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะขออนุญาตจากรัฐบาลของพวกเขาในการร่างข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับประตูชายแดนที่ออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการค้าข้ามพรมแดน ซึ่งมองว่าทั้งสองประเทศมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงและพัฒนาด่านหรือประตูชายแดนเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้ามพรมแดนเพิ่มมากขึ้นเพื่อจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าบริการและการลงทุนระหว่างจังหวัดชายแดนกัมพูชาเวียดนาม โดยในที่ประชุมเห็นชอบที่จะหาทางพัฒนาระบบให้สอดคล้องกับสถานการณ์การพัฒนาที่แท้จริงในแต่ละท้องที่รวมทั้งสอดคล้องกับกฎหมายและแผนพัฒนาของแต่ละประเทศ ซึ่งปริมาณการค้าระหว่างกัมพูชาและเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปีที่แล้วมีมูลค่าสูงถึง 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยสูงกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลทั้งสองตั้งเป้าไว้ในปี 2563 ซึ่งการเคลื่อนไหวครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากนายกรัฐมนตรีฮุนเซนเรียกร้องให้มีการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติมตามแนวชายแดนเวียดนาม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50679157/cambodia-vietnam-seek-to-promote-border-trade

ธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ของกัมพูชาเริ่มกระบวนการเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก

ธนาคาร Acleda จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศกัมพูชาจัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งแรกสำหรับแผนการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนครั้งแรก (IPO) ในประเทศกัมพูชา โดยประธาน Acleda Bank และกลุ่มกรรมการผู้จัดการกล่าวว่าการประชุมเชิงปฏิบัติการคือการแจ้งให้สาธารณชนและนักลงทุนที่มีศักยภาพเข้าใจกระบวนการในการขับเคลื่อนของธนาคาร ซึ่งการเสนอขายหุ้นช่วยให้องค์กรและนักลงทุนสามารถซื้อหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่มีการเสนอขาย รวมถึงมีการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น โดยเป้าหมายของบริษัทในการระดมทุนในครั้งนี้คือการรวบรวมเงินทุนเพื่อขยายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของธนาคารเพื่อพัฒนาและอัปเดตโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บริการลูกค้าทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล ซึ่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ CSX กล่าวว่านี่เป็นความสำเร็จครั้งใหม่ของ CSX สำหรับธนาคารพาณิชย์ชั้นนำในท้องถิ่นที่ตัดสินใจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ก่อนหน้านี้มีธนาคารเพียงไม่กี่แห่งที่จดทะเบียนใน CSX และพวกเขามุ่งเน้นไปที่ตลาดตราสารหนี้ซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อสาธารณะ โดย ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2019 Acleda มีในแง่ของสินเชื่อรวม (3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ,ส่วนทุนรวม (900 ล้านเหรียญสหรัฐ) ,ธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับสองในประเทศกัมพูชาในแง่ของสินทรัพย์รวม (6.09 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และเงินฝากรวม (4.24 พันล้านเหรียญสหรัฐ)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50679003/nations-biggest-commercial-bank-starts-initial-public-offering-process

กสิกรไทยเข้าถือหุ้น 35% ใน A Bank ของเมียนมา

ธนาคารกสิกรไทย (กสิกรไทย) กำลังเตรียมลงทุนในธนาคารเพื่อการพัฒนาเกษตรกรอิรวดี โดยซื้อหุ้น 35% ในธนาคาร A และได้ขออนุมัติจากธนาคารกลางของเมียนมา (CBM) ซึ่งจะช่วยให้ KBank สามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายของธนาคาร A เพื่อเข้าถึงทั่วกลุ่มประเทศ CLMVI (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม และอินโดนีเซีย) และขยายการเข้าถึงธุรกิจในท้องถิ่นและธุรกิจไทย AEC + 3 (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน + จีนญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) โดยการบริการหลักของธนาคาร คือ สินเชื่อธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางธุรกิจค้าปลีก และธนาคารดิจิทัล หลังจาก CBM อนุญาตให้ธนาคารต่างประเทศเข้าถือหุ้นในธนาคารในประเทศตั้งแต่มกราคม 62 ธนาคารกสิกรไทยเริ่มมองหาธนาคารที่มีศักยภาพและมีแนวคิดทางธุรกิจที่คล้ายคลึงกันซึ่งก็คือธนาคาร A โดยกสิกรจะได้รับประโยชน์จากทรัพยากรบุคคลและความสามารถของธนาคารซึ่งเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการเติบโตอย่างก้าวกระโดด

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/thailands-kbank-acquire-35-stake-myanmars-bank.html

กรมการค้าภายในออก 9 มาตรการดูแลปีทองผลไม้ไทย

นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน (คน.) เปิดเผยว่า กรมได้ออก 9 มาตรการในการบริหารจัดการผลไม้ในปี 63 ที่คาดว่าผลไม้หลายประเภทจะมีผลผลิตมากกว่าปีก่อน โดยจะเน้นการระบายผลไม้ทั้งในและต่างประเทศ การแก้ปัญหาราคาตกต่ำ การจัดระเบียบล้งรับซื้อผลไม้เพื่อป้องกันการกดราคาหรือมีพฤติกรรมเอาเปรียบเกษตรกร เป็นต้น โดยจะใช้งบประมาณในการบริหารจัดการ 396 ล้านบาท ซึ่งมีทั้ง งบประมาณปกติและงบประมาณจากคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) มั่นใจว่าปี 63 จะเป็นปีทองของผลไม้ไทยหลายชนิดที่จะทำให้ชาวสวนขายผลไม้ได้ในราคาสูง ไม่ว่าจะเป็นทุเรียน มังคุด ลองกอง เงาะ ลิ้นจี่ ลำไย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีมาตรการผลักดันการส่งออก ด้วยการเชื่อมโยงผู้ผลิต ผู้ซื้อ ตลาดปลายทาง พร้อมทั้งเพิ่มสภาพคล่องผู้ประกอบการ โดยชดเชยดอกเบี้ย 3% เป็นเวลา 6 เดือน วงเงิน 1,500 ล้านบาท, มาตรการส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพ ทั้งการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิต การปรับปรุงสถานประกอบการสู่มาตรฐานสากลด้วยการชดเชยดอกเบี้ย 3% เป็นเวลา 1 ปี วงเงินไม่เกินรายละ 10 ล้านบาท, การตรวจรับรองสินค้าอินทรีย์ ขณะเดียวกัน ยังมีมาตรการกำกับดูแลล้ง ที่มาตั้งโรงคัดและบรรจุผลไม้ที่ไทยเพื่อส่งออก โดยสั่งให้เจ้าหน้าที่ทำฐานข้อมูลของล้งทุกราย และจะประสานกับประเทศต้นทางของล้ง เช่น จีน เพื่อตรวจสอบว่า แต่ละรายมีประวัติและพฤติกรรมทางธุรกิจอย่างไร หากมีประวัติไม่ดีจะตักเตือนชาวสวนและผู้ประกอบการไทยอย่าร่วมทำธุรกิจด้วย และสุดท้ายการร่วมมือกับกระทรวงแรงงานในการพัฒนาอบรมให้ความรู้แก่แรงงานที่เก็บเกี่ยวผลไม้ รวมถึงออกมาตรการให้แรงงานเก็บผลไม้ที่เป็นต่างด้าว และมีความเชี่ยวชาญในการเก็บผลไม้ สามารถเคลื่อนย้ายไปเก็บผลไม้ได้ทั่วประเทศ.

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1746071

ตลาดค้าปลีกฮานอยในไตรมาสที่ 4/2562 : ศูนย์การค้าแห่งใหม่

จากรายงานของโจนส์ แลง ลาซาลล์ หรือเจแอลแอล (JLL) เปิดเผยว่าตลาดค้าปลีกในกรุงฮานอย ช่วงไตรมาสที่ 4/2562  มีการเปิดศูนย์การค้าแห่งใหม่ ภายใต้ชื่อ “อิออน” (AEON) ด้วยพื้นที่ประมาณ 74,000 ตารางเมตร ซึ่งเป็นศูนย์การค้าอยู่ในอันดับที่ 5 ของแบรนด์เวียดนาม ด้วยแรงกระตุ้นของแบรนด์และโครงการใหม่ จะช่วยให้อิออนมอลล์สามารถดึงดูดลูกค้าได้อย่างประทับใจ ตั้งแต่ช่วงเปิดตัวในปลายเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ มีอัตราการให้เช่าเพิ่มสูงขึ้นและแตะในระดับร้อยละ 91 ในช่วงไตรมาสที่ 4 ขณะที่ค่าเช่ายังคงไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงระหว่างไตรมาส ซึ่งมีค่าเช่าเฉลี่ยอยู่ที่ 29.3 ดอลลาร์สหรัฐ/ตร.ม./เดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยศูนย์การค้าดังกล่าว ถึงแม้ว่าจะอยู่ในนอกเขตเมือง แต่ก็ยังสามารถควบคุมราคาที่ใกล้เคียงกับตลาดทั่วไปได้ แสดงให้เห็นว่าอิออนมอลล์เป็นเครือข่ายศูนย์กลางของลูกค้าและผู้ให้เช่า

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/hanoi-retail-market-in-q42019-new-shopping-center-enters-market-408727.vov

ยอดขายรถยนต์ของเวียดนามเพิ่มขึ้น 12%yoy ในปี 2562

จากรายงานของสมาคมผู้ผลิตรถยนต์เวียดนาม (VAMA) เปิดเผยว่าในปี 2562 ตลาดรถยนต์ของเวียดนามเติบโตอยู่ในระดับปานกลาง มียอดขายรถยนต์อยู่ที่ 322,322 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยในเดือนธันวาคม มียอดขายรถยนต์อยู่ที่ 33,159 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้วและลดลงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว หากจำแนกประเภทรถยนต์ พบว่ายอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคล (PC) อยู่ที่ 24,823 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว สำหรับรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ (CV) มียอดขายอยู่ที่ 959 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และรถยนต์ที่ใช้งานเฉพาะด้าน (SPV) อยู่ที่ 377 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ทั้งนี้ ทางสมาคมฯ มองว่าในปี 2562 สถานการณ์ตลาดรถยนต์เวียดนามอยู่ในช่วงยากลำบาก แต่ก็ยังอยู่ในทิศทางที่เป็นบวกของผู้ผลิตรถยนต์ในท้องถิ่น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/car-sales-in-vietnam-up-12-yy-in-2019-408725.vov

คาด อีคอมเมิร์ซ ไทยปี 63 โต 7.48 แสนล้านบาท

เปิดแนวโน้มอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยปี 63 ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ขึ้นแท่นอันดับหนึ่งอาเซียน เติบโตกว่า 7.48 แสนล้านบาท ผลพวงห้างร้านใช้ชื้อขายรับส่งสินค้าผ่านบริการออนไลน์  รายงานข่าวจากสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย เปิดเผยภาพรวมและแนวโน้มอุตสาหกรรมดิจิทัลที่สำคัญในปี 63 ของไทย ว่า ในปีนี้ธุรกิจการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ (อี-คอมเมิร์ซ) จะเป็นกลุ่มธุรกิจดิจิทัลที่มาแรงและมีการเติบโตสูง คิดเป็นมูลค่า 748,000 ล้านบาท เป็นอันดับ 1 ของมูลค่าธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ในภูมิภาคอาเซียน โดยใน 60-62 ที่ผ่านมา มีการประมาณอัตราการเติบโตเฉลี่ยของตลาดอยู่ที่ 20-30% กลุ่มธุรกิจที่เติบโต คือ ธุรกิจห้างสรรพสินค้า ธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์อาหาร และธุรกิจด้านเครื่องสำอางและอาหารเสริม เป็นผลมาจากการก้าวเข้ามาของเทคโนโลยีด้านการซื้อขายและรับส่งสินค้าผ่านบริการออนไลน์ เช่น ไลน์แมน และแกร็ป โดยเฉพาะไลน์แมน พบว่า มียอดการใช้บริการเพิ่มขึ้นถึง 300% และมีผู้ใช้บริการ 1.5 ล้านคนต่อเดือนภายในระยะเวลา 2 ปี ส่วนอุตสาหกรรมดิจิทัลที่ถูกผลกระทบจากเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างรวดเร็วมาก คือ อุตสาหกรรมโทรทัศน์ ที่มูลค่าลดลงจาก 115,000 ล้านบาท ในปี 57 เหลือเพียง 57,000 ล้านบาทในปี 61 ที่ผ่านมา และยังสูญเสียผู้รับชมจนกระทั่งมีการคืนใบอนุญาตดิจิทัลทีวี ซึ่งเป็นผลมาจากการทดแทนของเน็ตฟลิกซ์ และยูทูป ที่เริ่มลงทุนให้บริการและผลิตเนื้อหาสำหรับประเทศไทย ชณะที่อุตสาหกรรมการเงิน ก็ได้รับผลกระทบ ด้วยระบบการชำระเงินดิจิทัล จากข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทยปี 62 ระบุว่า จำนวนสาขาของธนาคารพาณิชย์ลดลงจาก 7,016 สาขาในปี 59 เหลืออยู่ที่ 6,534 สาขาในปัจจุบัน

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/751386