จีนหนุนสันติภาพในเมียนมา

จีนบริจาคเงินจำนวน 300,000 เหรียญสหรัฐให้กับคณะกรรมาธิการสันติภาพและคณะกรรมการร่วมตรวจสอบการหยุดยิงในเมียนมาเมื่อวันที่ 8 พ.ย.62 ที่ผ่านมา ที่สำนักงานสมานฉันท์แห่งชาติและศูนย์สันติภาพ (NPRC) ที่เนปิดอร์ เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 62 นายซุนกุ้วเซียงผู้แทนพิเศษกระทรวงการต่างประเทศจีนได้หารือร่วมและยังบริจาคเงิน 400,000 เหรียญสหรัฐเพื่อกระบวนการสันติภาพในเมียนมาและมอบเงินเพื่อกระบวนการสันติภาพเป็นจำนวนเงินหนึ่งล้านเหรียญร์สหรัฐ ในการประชุมรัฐบาลจีนได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับกระบวนการสันติภาพและมุ่งมั่นที่จะขยายความช่วยเหลือไปสู่กระบวนการสันติภาพ ล่าสุดได้บริจาคเงิน 800,000 เหรียญสหรัฐและรถยนต์วอลโว่จำนวน 10 คัน

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/china-donates-money-for-peace

ดุสิตโพล เผยปชช. 60.67 % มองถกอาเซียนได้ประโยชน์เรื่องเศรษฐกิจ

วันที่ 10 พ.ย. ที่ผ่านมา สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “การประชุมอาเซียนครั้งที่ 35” ในสายตาประชาชน” จากประชาชนทั่วประเทศ 1,159 คน พบว่าประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมในการประชุมครั้งนี้ คือร้อยละ 60.67 การลงนามความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน เดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจ, ประชาชนประทับใจ/พอใจ การประชุมครั้งนี้มากที่สุด, ร้อยละ 46.98 จัดงานสำเร็จด้วยดีเป็นเจ้าภาพที่ดี ไม่มีสถานการณ์วุ่นวาย, ร้อยละ 31.99 มีการลงนามร่วมมือกันผลักดันเรื่องสำคัญทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง, ร้อยละ 28.64 ผู้แทนแต่ละประเทศมาร่วมงาน ช่วยสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีในภูมิภาคอาเซียน เป็นสิ่งที่ประชาชน “เป็นห่วง/กังวล” จากการประชุมครั้งนี้, ร้อยละ 49.12 ไม่มีการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้ในการประชุม, ร้อยละ 29.24 ประเทศไทยอาจเสียเปรียบในบางข้อตกลง ไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร, ประชาชนได้ประโยชน์จาการประชุมครั้งนี้มากน้อยเพียงใด ร้อยละ 44.35 ได้ประโยชน์อยู่มาก เพราะประเทศไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้น ร้อยละ 25.80 ได้ประโยชน์มาก เพราะเป็นการกระชับสัมพันธ์ที่ดีกับต่างประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น, ร้อยละ 19.41 ไม่ค่อยได้ประโยชน์ และร้อยละ 10.44 ไม่ได้ประโยชน์ จัดการประชุมมาแล้วหลายครั้งแต่ยังเห็นผลช้า และภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก

ที่มา: https://www.matichon.co.th/politics/news_1747282

EXIM Bank แนะผู้ประกอบการหาลู่ทางลงทุน RCEP พร้อมเตรียมกลยุทธ์รับมือตลาดเปิด มองอินเดียมีโอกาสกลับเข้าร่วมกลุ่ม

ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ระบุ จบไปแล้วกับการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 35 ที่ประเทศไทยในฐานะประธานและเจ้าภาพการประชุมอาเซียนตลอดทั้งปี 2562 ซึ่งแม้ว่า RCEP จะยังไม่สำเร็จผลอย่างเต็มรูปแบบ แต่ก็เป็นสิ่งที่สามารถคาดการณ์และมีเวลาในการเตรียมพร้อมเพื่อรุกโอกาสการค้าการลงทุนที่กำลังจะเกิดขึ้น ผู้ประกอบการไทยจึงจำเป็นต้องเตรียมกลยุทธ์ให้พร้อม โดยเฉพาะด้านการลงทุนที่เปิดกว้างขึ้นจากความตกลง RCEP ซึ่งสำหรับผู้ประกอบการที่มีความพร้อมในการขยายการลงทุนไปต่างประเทศ ควรศึกษาลู่ทางและแสวงหาโอกาสลงทุนในประเทศสมาชิก RCEP โดยอาศัยจุดแข็งของประเทศนั้น อาทิ ความพร้อมด้านแรงงาน และทรัพยากรทางธรรมชาติ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกิจการ โดยประเทศสมาชิก RCEP (ไม่รวมอินเดีย) มีขนาดเศรษฐกิจรวมกันถึง 24.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 29% ของขนาดเศรษฐกิจโลก ขณะที่มีประชากรรวมกันถึงราว 3.6 พันล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วน 30% ของจำนวนประชากรโลก

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/iq03/3063988

รัฐบาลเวียดนามวางแผนกู้ยืมเงิน 20 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2563

จากรายงานของสมัชชาแห่งชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เปิดเผยถึงหนี้สาธารณะในปีนี้ และงบประมาณปี 2563 แสดงให้เห็นว่ามีการวางแผนระดมทุน 460 ล้านล้านด่อง เพื่อชดเชยการขาดดุล และการชำระคืนเงินต้น โดยรองนายกรัฐมนตรี Vuong Dinh Hue กล่าวกับสื่อท้องถิ่นว่าการกู้ยืมเงินเป็นส่วนหนึ่งของแผนงบประมาณ (ระยะเวลา 5 ปี) และแผนงบประมาณประจำปี ในการชำระคืนเงินต้นและเพื่อลดการขาดดุล ซึ่งในช่วงปี 2558-2559 หนี้สาธารณะเวียดนามอยู่ที่ 64.8% ของ GDP ขณะที่ อัตราการชำระเงินนั้นสูงกว่าระดับความปลอดภัย (25%) แตะระดับที่ 27.6% ของงบประมาณภาครัฐทั้งหมด แต่ในปัจจุบัน อัตราหนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลงเหลือร้อยละ 56.1 ทั้งนี้ การกู้ยืนเงินกว่า 460 ล้านล้านด่อง ทางคณะกรรมการฯ มองว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าว จะต้องทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ขยายตัวอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ทางสถาบัน HIDS ระบุว่ารัฐบาลจำเป็นต้องควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างเข็มงวด เพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnamese-government-plans-to-borrow-us20-billion-in-2020-405834.vov

เวียดนามเผยปริมาณนำเข้ารถยนต์ 120,000 คัน ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าปริมาณนำเข้ารถยนต์ของเวียดนามอยู่ที่ 120,000 คัน คิดเป็นมูลค่า 2.66 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2562 ซึ่งตัวเลขดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 125 และร้อยละ 122 ของมูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีปริมาณการนำเข้า 13,000 คัน และมูลค่า 273 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ หน่วยงานกรมศุลกากร ระบุว่าในช่วงเดือนตุลาคม มีการลักลอบข้ามพรมแดน และในระหว่างวันที่ 16 ก.ย. – 15 ต.ค. กรมศุลกากรได้ตรวจสอบคดีลักลอบกว่า 1,396 คดีความ คิดเป็นมูลค่าราว 169.48 พันล้านด่อง (7.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-imports-120000-cars-in-ten-months-405838.vov

ผลสำรวจความแตกต่างของมุมมองระหว่างนายจ้างกับสิ่งที่ผู้สมัครงานต้องการ

จากการสำรวจของ JobNet พบว่าผู้ประกอบการในเมียนมากำลังเจอความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดของธุรกิจในปัจจุบัน คือการจ้างงานและรักษาคนเก่งเอาไว้ ผลการสำรวจของหอการค้าอังกฤษพบว่า 3 ใน 4 ของผู้บริหารระดับสูงในเมียนมากล่าวว่าความท้าทายครั้งใหญ่ที่กำลังเผชิญไม่ใช่เพิ่มทุนหรืออัตราการเติบโตของตลาด การสำรวจเผยให้เห็นมุมมองที่แตกต่างจากนายจ้างและลูกจ้าง เช่น 72% ของนายจ้างกล่าวว่าเงินเดือนสูงเป็นสิ่งที่ผู้หางานต้องการพียง 60% ของพนักงาน 2,000 คน จากการสำรวจ อย่างไรก็ตามเกือบ 80 คนและ 66 คนมองว่าการเติบโตของอาชีพและโอกาสในการเรียนรู้และการพัฒนาเป็นสิ่งที่สำคัญสุด 8% ของบัญชีผู้สมัครส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เพศชายส่วนใหญ่มีเป้าหมายงานสมัครงานในการผลิตและ เพศหญิงสนใจงานด้านการศึกษา การดูแลสุขภาพ และการสื่อสารมากขึ้นในขณะที่ผู้ชายมุ่งไปที่อาหารและเครื่องดื่ม เทคโนโลยีสารสนเทศ และการออกกำลังกาย จำนวนเพศชายและหญิงสมัครงานด้านการท่องเที่ยวและกาโรงแรมมีจำนวนเท่ากัน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/employer-employee-views-differ-what-jobseekers-want-survey.html

MIC เผยนักลงทุนเกาหลีใต้ไม่ถอนการลงทุนจากเมียนมา

นักธุรกิจชาวเกาหลีใต้ในเมียนมาจะไม่มีการย้ายการลงทุนไปยังบังคลาเทศอย่างแน่นอน เลขาธิการคณะกรรมาธิการการลงทุนของพม่า (MIC) เผย จากแถลงการณ์ของสำนักงานเขตเศรษฐกิจบังกลาเทศ (BEZA) และ บริษัท เกาหลีอินดัสเตรียลคอมเพล็กซ์ จำกัด (KIC) เมื่อเร็ว ๆ นี้หนังสือพิมพ์ของบังคลาเทศรายงานว่าเกาหลีใต้ที่ลงทุนในเมียนมาต้องการย้ายไปบังกลาเทศ จากรายงานระบุว่าธุรกิจของเกาหลีใต้ประมาณ 100 รายต้องการย้ายไปยังบังคลาเทศเนื่องจากข้อบกพร่องในเขตอุตสาหกรรม แม้ว่า KIC จะลงทะเบียนในเมียนมาแต่ก็ยังไม่ได้เริ่มดำเนินธุรกิจ แต่จากข้อมูลพบว่าเป็นเพียงข่าวลือ ในปัจจุบันมีเขตอุตสาหกรรมสองเขต ได้แก่ เขตอุตสาหกรรมเกาหลี – เมียนมาที่ตั้งขึ้นรัฐบาลเมียนมาและเกาหลีใต้และอีกหนึ่งเขตตั้งขึ้นโดยบริษัทเอกชน รายงานของคณะกรรมการการลงทุนและการบริหาร บริษัท (DICA) เกาหลีใต้เป็นนักลงทุนต่างชาติอันดับหกมีการลงทุน 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐในธุรกิจ 179 แห่ง ส่วนใหญ่ลงทุนในน้ำมันและก๊าซ และธุรกิจการผลิต

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/no-withdrawal-south-korean-investors-says-mic.html

ความก้าวหน้าที่ดีในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แม้จะมีความท้าทาย : DPM

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุนกล่าวว่าเศรษฐกิจมหภาคอยู่ภายใต้แรงกดดันเนื่องจากการขาดดุลงบประมาณและธุรกรรมในต่างประเทศและการสำรองเงินตราต่างประเทศที่ต่ำซึ่งทำให้มูลค่าของกีปอ่อนค่าลงและค่าครองชีพที่สูงขึ้น ความผันผวนของมูลค่าของสกุลเงินต่างประเทศ การควบคุมราคาสินค้าไม่เพียงพอการผลิตในประเทศที่เปราะบาง และภัยธรรมชาติ ทำให้เกิดความท้าทายครั้งใหญ่สำหรับงบประมาณของรัฐโดยเฉพาะการระดมทุนเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ การดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมีความก้าวหน้าที่ดีในหลาย ๆ ด้าน แม้คาดว่า GDP อยู่ที่ 6.4% ในปี 62 ลดลง 0.3% ในปีนี้ภาคเกษตรคาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.8 แผนกปศุสัตว์มีการเพิ่มขึ้น 4.3% ป่าไม้เพิ่มขึ้น 0.8 % การประมง 4.8% และการเพาะปลูก 2.3% การเพาะปลูกพืชสวนคาดว่าจะลดลง 0.7% ภาคอุตสาหกรรมจะอยู่ที่ 7.1% ภาคการก่อสร้างจะเติบโต 16.8% ภาคพลังงานอยู่ที่ 6.1% ภาคบริการมีการขยายตัว 7% ส่วนการค้าปลีกและค้าส่ง และการซ่อมแซมยานพาหนะจะเพิ่มขึ้น 19.9% ​​ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 6.7% เงินทุนและประกันภัย 7.7% ที่พักและอาหาร 5.3%  และภาคภาษีและศุลกากรคาดว่าจะเติบโต 7%

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/good-progress-socio-economic-development-despite-challenges-says-dpm-107856

สปป.ลาวพยายามสร้างชีวิตของผู้ประสบอุทกภัยท่ามกลางข้อจำกัดด้านงบประมาณ

รัฐบาลประเมินว่าจำเป็นต้องใช้เงินประมาณ 3 ล้านล้านกีบในการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วมและเพื่อฟื้นฟูชุมชนที่ถูกน้ำท่วมกลับสู่ภาวะปกติ ผลกระทบของภัยพิบัติเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับสปป.ลาวในการทำงานเพื่อขจัดความยากจนโดยที่หลายครอบครัวขาดที่อยู่อาศัยเนื่องจากน้ำท่วม โดยมีความกังวลเกี่ยวกับการจัดหาเงินทุนในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่เสียหายและการให้บริการแก่ผู้ประสบอุทกภัยเนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ รัฐบาลให้การสนับสนุนทางการเงินอย่างจำกัด แต่ไม่เพียงพอสำหรับทุกกรณี น้ำท่วมได้ทำลายบ่อเลี้ยงปลาและระบบชลประทานที่เสียหายรวมถึงพื้นที่เพาะปลูก โรงเรียน สายไฟฟ้า โรงพยาบาลและโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ จากรายงานของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมพบว่าประชาชนประมาณ 765,000 คนใน 44 อำเภอใน 6 จังหวัดทางภาคใต้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อต้นเดือนก.ย. และประชาชนเกือบ 195,000 คนต้องพลัดถิ่น

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-attempts-rebuild-flood-victims%E2%80%99-lives-amid-budget-constraints-107776

กัมพูชาเป็นหนึ่งในสี่ประเทศในอาเซียนที่มี FDI อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

กัมพูชาเป็นหนึ่งในสี่ประเทศในอาเซียนที่มีการไหลเข้าของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสูงถึงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยจากการศึกษาของสำนักเลขาธิการอาเซียนและการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ซึ่งพบว่าการลงทุนโดยตรงภายในอาเซียนเพิ่มขึ้น 5% สู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 155 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว โดยมีสี่ประเทศที่ภาคการลงทุนทางตรงเพิ่มขึ้นคือ กัมพูชา, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์และเวียดนาม ตามรายงาน ซึ่งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของกัมพูชาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งด้านการผลิตและบริการสูงขึ้นกว่า 15% เป็น 3 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปีที่แล้ว โดยเฉพาะภาคการเงินและภาคการประกันภัย ซึ่งภาคบริการคิดเป็นกว่า 79% ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในขณะที่ภาคการผลิตคิดเป็น 12% โดย Shenzhou International Group Holdings (จีน) ซึ่งเป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์รายใหญ่ของไนกี้เริ่มสร้างโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าขนาดใหญ่มูลค่ากว่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐในเขตเศรษฐกิจพิเศษของพนมเปญซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2564

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50657917/cambodia-among-four-in-asean-receiving-fdi-at-record-level/