ตลาดผลไม้มัณฑะเลย์ ยอดขายพุ่ง

ผลกระทบจากโควิด-19 ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคชาวเมียนมาเปลี่ยนไป ผลไม้ตามฤดูกาล เช่น ส้มโอ น้อยหน่า สับปะรด เสาวรส อะโวคาโด ส้มเขียวหวาน แอปเปิล ลูกแพร์ ทับทิมโดยถูกนำเข้าจากไทยมากกว่านำเข้าจากจีน ซึ่งมีให้เห็นแล้วในตลาดมัณฑะเลย์ และที่สำคัญคนในพื้นที่ชอบกินผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพกันมากขึ้น โดยปกติตลาดผลไม้ในประเทศจะคึกคักในช่วงเทศกาลทาดิงยุต (Thadingyut) และสงกรานต์ตะจาน (Thingyan) ทั้งนี้ราคาขึ้นอยู่กับขนาดของผลไม้ เช่น น้อยหน่าราคา 100-200 จัต, แอปเปิ้ลราคา 600- 800 จัต, ทับทิมราคา 1,200 จัต, ผลไม้ซันคิสต์ราคา 800 จัต, อะโวคาโดราคา 400 จัต, ลูกแพร์ราคา 1,000-1,200 จัต, สับปะรดราคา 400-500 จัต, ส้มโอไทยราคา 2,500 จัต, ส้มโอเมียนมาราคา 1,000 จัต, ส้มเขียวหวานราคา 500 จัต และเสาวรสราคา 500 จัต ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mandalay-seasonal-fruit-market-records-brisk-sales/

ราคาอาหารสัตว์พุ่ง! หนุนราคาสินค้าปศุสัตว์ขยับเพิ่มขึ้น

ราคาสินค้าปศุสัตว์มีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากราคาอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งราคาอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยสูงขึ้นจาก 24,000 จัตเป็น 32,500 จัตต่อถุง ทำให้ต้นทุนการผลิตจึงสูงขึ้น ในทำนองเดียวกันราคาวินค้าก็สูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ราคาตกต่ำลงจากการระบาดของโควิด-19  ณ วันที่ 30 ก.ค. 64 ราคาไข่ไก่เพิ่มขึ้นเป็น 130 จัตต่อฟอง ในขณะที่ไข่เป็ดเพิ่มขึ้นเป็น 150 จัตต่อฟอง เหตุที่ราคาสินค้าสูงขึ้นไม่ใช่เพราะผู้ค้าส่ง แต่เป็นเพราะราคาที่เพิ่มขึ้นในตลาดค้าปลีกของท้องถิ่น ราคาผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์มีแนวโน้มสูงขึ้นหากราคาอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการจึงอาจยืนอยู่ในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ต่อไปได้ยาก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/livestock-products-prices-likely-to-go-up-as-feed-prices-incessantly-increase/

ตลาดเมล็ดงาเมียนมา คึกคัก จากความต้องการของจีนที่สูงขึ้น

ราคางาดำในตลาดมัณฑะเลย์ เริ่มฟื้นตัวจากความต้องการที่ต่อเนื่องของจีนในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ราคางาดำเพิ่มขึ้นตามความต้องการที่สูงขึ้น สังเกตได้จากราคางานดำต่อสามตะกร้าอยู่ที่ 145,000 จัตในเดือนที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นเป็น 165,000 จัตในช่วงกลางเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา โดยงาดำเป็นที่ต้องการสูงมากในจีน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้งาดำในธุรกิจขนมขบเคี้ยว การผลิตน้ำมัน และการผลิตยาสมุนไพร เมียนมาส่งทั้งเมล็ดงาดิบและงาที่ผ่านการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มไปยังจีน แต่เมื่อมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ตลาดซบเซาลง หากคลายมาตรการด้านการควบคุมการแพร่ระบาดดลงและการคมนาคมคลี่คลาย เชื่อว่าตลาดค้าขายงาจะกลับมาสดใสอีกครั้ง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-sesame-seed-market-sees-high-demand-from-chinese-buyers/#article-title

ไทยเร่งฉีด วัคซีนโควิดแรงงานชาวเมียนมา ในแม่สอด

กรมอนามัยของประเทศไทยได้ฉีดวัคซีนให้แรงงานข้ามชาติชาวพม่าที่แม่สอด ประเทศไทย เป็นครั้งแรกในเช้าวันที่ 17 สิงหาคม 64 ที่ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน แม่สอด ประเทศไทย โดยกระทรวงสาธารณสุขของไทยจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 จำนวน 5,000 โดสให้กับแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาในโรงงานและร้านค้า ซึ่งการฉีดวัคซีนในครั้งได้สร้างความเชื่อมั่นละคลายความกังวลให้กับนักธุรกิจชาวไทยที่ประกอบธุรกิจในแม่สอดได้มากขึ้นหลังจากที่ร้านค้าในแม่สอด สถานเสริมความงาม ร้านอาหาร และร้านค้าบริเวณชายแดนไทย-เมียนมาถูกปิดเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

ที่มา: https://news-eleven.com/article/213881

จีนอนุญาตชาวเมียนมามาเดินทางกลับประเทศ หลังโควิดระบาดซ้ำ

ชาวเมียนมาที่ติด COVID-19 ในเมือง Shweli ของจีน ได้รับอนุญาตให้เดินทางออกนอกประเทศตั้งแต่วันที่ 26 ก.ค.ถึง 10 ส.ค. 64 ที่จุดตรวจเข้า-ออกด่านชายแดนมูเซของรัฐฉาน ซึ่งชาวเมียนมาในมณฑลยูนนานถูกผลักดันให้เดินทางกลับประเทศ ตั้งแต่เดือนเม.ย. 64 เนื่องจากการกลับมาระบาดอีกครั้งของโควิด-19 ของมณฑลยูนนาน ชาวเมียนมาที่ทำงานในเมือง Shweli ชายแดนจีน-เมียนมา มีส่วนผลักดันผลผลิตในประเทศของจีนและสามารถส่งเงินกลับไปให้ครอบครัวในเมียนมา

ที่มา : https://news-eleven.com/article/213811

ปีงบฯ 63-64 ค้าชายแดนเมียนมา-บังกลาเทศ ดิ่ง ! 16 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ของปีงบประมาณ 2563-2564 การค้าชายแดนระหว่างเมียนมา-บังกลาเทศ อยู่ที่ 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แบ่งเป็นการส่งออก 16.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 18.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 16 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณก่อน การส่งออกลดลง 9.5 ล้านดอลลาร์ และการนำเข้าลดลงเกือบ 6.47 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่การค้าชายแดนลส่วนใหญ่ผ่านจุดเข้าเมืองซิตต์เวย์และเมืองมองตอ โดยผสินค้าที่ซื้อขายระหว่างสองประเทศ ได้แก่ ไม้ไผ่ ขิง ถั่วลิสง กุ้งและปลาทะเล พลัมแห้ง กระเทียม ข้าว ถั่วเขียว ผ้าห่ม ลูกอม แยมลูกพลัม รองเท้า อาหารแช่แข็ง สารเคมี หนัง ผลิตภัณฑ์จากปอกระเจา ยาสูบ พลาสติก ไม้ เสื้อถัก และเครื่องดื่ม

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bangladesh-border-trade-decreases-16-mln-this-fy/#article-title

ค้าชายแดนเมียนมา-อินเดีย พุ่งขึ้น 193 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

รายงานของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา เปิดเผยว่า ณ วันที่ 23 ก.ค.64 ของปีงบประมาณ 63-64 การค้าชายแดนระหว่างเมียนมาและอินเดียแตะ 193 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 109 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นการส่งออก 192 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้า 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การค้าส่วนใหญ่ผ่านชายแดนทานตะลาน และชายแดนรีด ในรัฐชิน และชายแดนตามู ในเขตซะไกง์ ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกทางเรือ โดยการส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทผักและผลไม้ ประมง และผลิตภัณฑ์ป่าไม้ไปยังอินเดียเป็นหลัก ขณะที่สินค้านำเข้าจะเป็นยา ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ รถจักรยานยนต์ เส้นด้ายฝ้าย เหล็กกล้าไม่เจือปน และวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ในขณะเดียวกัน มูลค่าการค้าชายแดนกับ 4 ประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ จีน อินเดีย ไทย และบังคลาเทศ มีมูลค่ารวม 6.98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แบ่งเป็นการส่งออก 4.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 2.43 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/bilateral-border-value-between-myanmar-india-hit-193-mln/#article-title

ค้าชายแดนมูเซ ดิ่งลง 12% !

กระทรวงพาณิชย์ เผย การค้าชายแดนของ Muse ตลอด 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 63-64 ลดลงถึง 12% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว จากการติดเชื้อ COVID-19 ในเมียนมาที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้การค้าผ่านแดนมูเซต้องหยุดลงโดยทันที พร้อมกับด่านชายแดนอื่นๆ ของเมียนมาและจีนมาตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค.64 โดยมูลค่าการค้าด่านชายแดนมูเซระหว่างเมียนมาและจีนลดลงต่ำสุด 3.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 23 ก.ค.64 ท่ามกลางความไม่มั่นคงทางการเมืองและการระบาดของไวรัสโควิด-19 ลดลงจาก 4.03 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว ถั่วและข้าวโพด และผลิตภัณฑ์ทางทะเล เช่น ปู กุ้ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังส่งออกก๊าซธรรมชาติไปจีนยังผ่านชายแดนมูเซ-รุยลีอีกด้วย ส่วนการนำเข้าจะเป็นวัตถุดิบ CMP (สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม) เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอุปโภคบริโภค

เมียนมาส่งออกไปเวียดนามพุ่ง 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 7 เดือนแรกของปีงบ 63-64

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย การส่งออกไปเวียดนามช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-เม.ย.64) ของปีงบประมาณ 63-64 มีมูลค่ารวม 375.35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แบ่งเป็นการส่งออก 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่าเพียง 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ โลหะพื้นฐาน เมล็ดพืช ข้าว ข้าวหัก ยาง บุหรี่ เครื่องนุ่งห่ม ข้าวโพด ยาสูบ ฯลฯ ส่วนการนำเข้าจะเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ขนส่ง พลาสติก อุปกรณ์เครื่องจักรกล กระดาษ กระดาษแข็ง ปุ๋ย ยา ผ้าฝ้าย ผ้าทอ ใยสังเคราะห์ ฯลฯ ทั้งนี้การค้าของสองประเทศเติบโตขึ้นทุกปี อย่างไรก็ตาม การระบาดของ COVID-19 ทั่วโลกส่งผลกระทบต่อการค้าเป็นอย่างมาก จากข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัทของเมียนมา (DICA) ระบุว่า ณ เดือนมิถุนายน 2564 เวียดนามเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 8 ของเมียนมา มีมูลค่าประมาณ 2.224 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://gnlm.com.mm/exports-to-viet-nam-cross-150-mln-in-seven-months/?__cf_chl_jschl_tk__=pmd_cfcf817504600ea9f297f5b3a29321e15ac8f26b-1628373934-0-gqNtZGzNAg2jcnBszQpi#article-title

ปีงบฯ 63 – 64 เมียนมาดึงสิงคโปร์ FDI ลงทุนกว่า 428 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและการบริหารจัดการของเมียนมา (DICA) เปิดเผยว่า ระหว่างเดือนต.ค. 2563 ถึงเดือนมิ.ย. 2564 มีบริษัทจดทะเบียนจากสิงคโปร์จำนวน 13 บริษัทได้เข้ามาลงทุนในเมียนมาแล้ว 428 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนใหญ่ลงทุนในการพัฒนาเมือง อสังหาริมทรัพย์ พลังงาน และภาคการผลิต และยังมีบริษัทจากประเทศต่างฯ ที่เข้ามาลงทุน ได้แก่ บรูไน จีน ไทย อินเดีย มาเลเซีย สาธารณรัฐเกาหลี เวียดนาม เกาะมาร์แชลล์ ซามัว ฮ่องกง และไต้หวัน โดยตั้งแต่เดือนต.ค. 2563 ถึงเดือนมิ.ย. 2564 เมียนมาสามารถดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 3.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา (MIC) พบว่ามีผู้ประกอบการต่างประเทศ 44 บริษัท ที่ได้รับอนุญาตโดย MIC และมีบริษัท 23 บริษัทที่ลงทุนในภาคการผลิต โดยมีการลงทุนในภาคการผลิตไฟฟ้ามีโครงการขนาดใหญ่ 6 โครงการ ภาคปศุสัตว์และประมง 6 โครงการ, ภาคบริการอื่นๆ 5 โครงการ, ภาคเกษตรกรรม 2 โครงการ, นิคมอุตสาหกรรมและภาคการโรงแรมและการท่องเที่ยว 1 โครงการ ซึ่ง MIC ตั้งเป้าดึงการลงทุนจากต่างประเทศอยู่ที่ 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 ปัจจุบันสิงคโปร์เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่เป็นอันดับสองในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวารองจากญี่ปุ่น

ที่มา: https://gnlm.com.mm/myanmar-attracts-over-428-mln-of-fdi-from-singapore-this-fy/