อุตสาหกรรมยานยนต์เวียดนาม นำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จากข้อมูลของประธานสมาคมผู้ผลิตยานยนต์เวียดนาม (VAMA) เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 เวียดนามนำเข้ารถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 178 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ด้วยปริมาณนำเข้ารถยนต์อยู่ที่ 82,800 คัน ทางด้านยอดขายรถยนต์ที่ผลิตในประเทศลดลงร้อยละ 14 และปริมาณรถยนต์อยู่ที่ 119,700 คัน โดยสถานการณ์การนำเข้าดังกล่าวนั้น เวียดนามจำเป็นต้องนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ ทำให้ราคารถยนต์ในประเทศเวียดนาม สูงกว่าเมื่อเทียบกับราคารถยนต์จากกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งผู้ผลิตในประเทศต้องนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์กว่าร้อยละ 80 ของปริมาณชิ้นส่วนยานยนต์รวม ในขณะที่ ไทยและอินโดนีเซียมีเพียงร้อยละ 10-20 ดังนั้น ราคารถยนต์เวียดนามมีราคาสูงกว่า ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นผลมาจากการนำเข้าของผู้ผลิตในประเทศ และมาจากผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศที่ไม่เพียงพอ โดยมีจำนวนผู้ประกอบการเพียงแค่ 200 ราย

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/auto-industry-s-overwhelming-reliance-on-imports-continues-3987432.html

การเติบโตของจีดีพีในปี 2652 ของกัมพูชา

แม้การผลิตภาคการเกษตรจะเพิ่มขึ้นช้ากว่าที่คาดการณ์ แต่เศรษฐกิจของกัมพูชาคาดว่าจะเติบโตที่ 7% ในปีนี้เหมือนเดิม จากการเติบโตที่แข็งแกร่งในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอ การท่องเที่ยว การค้า และการก่อสร้าง ตามการคาดการณ์ของธนาคารพัฒนาเอเชีย(ADB) ซึ่งกล่าวว่าภาคอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและรองเท้ามีการเติบโตที่มั่นคงจากการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า 10.6% ภายในปี 2019 แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ADB ย้ำว่าการเติบโตของ GDP อาจหดตัวลงที่ 6.8% ในปี 2020 และด้วยความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นในสภาพแวดล้อมการค้าโลกและผลกระทบต่อการให้บริการเช่นการท่องเที่ยวกัมพูชาจำเป็นต้องเร่งกลยุทธ์การกระจายความเสี่ยงไปสู่ตลาดเฉพาะกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวและบริการที่มีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งสิ่งนี้จะต้องมีการลดความเสี่ยงที่เกิดจากการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ร้อนแรงเกินไป ร่วมถึงไปพัฒนาแรงงานให้มีทักษะและความสามารถให้มากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50646434/gdp-growth-dominated-by-traditional-sectors-in-2019-adb-says/

ความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของกัมพูชาดีขึ้น

กัมพูชากำลังรุกคืบในแง่ของความสามารถในการแข่งขันในเวทีการท่องเที่ยวทั่วโลก โดยในดัชนีการท่องเที่ยวและการแข่งขันการท่องเที่ยวฉบับล่าสุด (TCCI) ซึ่งจัดทำโดย World Economic Forum (WEF) ในเดือนนี้กัมพูชาอันดับสูงขึ้น 3 อันดับ ซึ่งปัจจุบันกัมพูชาอยู่ในอันดับที่ 98 ของโลก จากรายงานดังกล่าวประกอบด้วย 140 ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับตามสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ความปลอดภัยและความมั่นคง รวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง ทรัพยากรธรรมชาติ นโยบายการท่องเที่ยว และปัจจัยอื่นๆ โดยรายงานดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของกัมพูชาซึ่งหลายคนเห็นว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเติบโตของภาคการท่องเที่ยวและมีแผนที่จะเผยแพร่แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวระบุว่ากัมพูชาเป็นอันดับ 3 ในอาเซียนสำหรับการเติบโตของการท่องเที่ยว ปีที่แล้ว โดยมีนักท่องเที่ยวขาเข้าเพิ่มขึ้นกว่า 11%

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50646421/cambodias-tourism-competitiveness-improves/

การเปิดรับการลงทุนของเมียนมาทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น

รายงานของเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศอังกฤษ (ICAEW) คาดการณ์เศรษฐกิจจะขยายตัวเป็น 6.4% ในปีงบประมาปัจจุบันและเพิ่มขึ้น 6.8% ในปีหน้า เนื่องจากมีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้นโดยมีโครงสร้างพื้นฐาน ภาคการผลิต บริการ ขายส่งและค้าปลีกได้รับประโยชน์มากที่สุด หลังจากที่ลดลง 14% มูลค่า 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 61 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยมีการลงทุนจำนวนมากในการขนส่ง การสื่อสาร และการผลิต คาดว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะเพิ่มขึ้นในอีก 18 เดือนข้างหน้า เนื่องจากโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่รวมถึงโครงการภายใต้ทางเดินเศรษฐกิจเมียนมา – พม่า (CMEC) เช่น เมืองนิวย่างกุ้ง ท่าเรือน้ำลึกเจ้าผิวก์ และโครงการรถไฟจ้าวผิว – คุนหมิง วิกฤตด้านมนุษยธรรมในรัฐยะไข่นั้นรวมถึงความเสี่ยงที่สำคัญต่อเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวและการค้ากับสหภาพยุโรปที่อาจชะลอตัว ทั้งนี้เมียนมาต้องปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ความซับซ้อนของระบบภาษี การบังคับใช้สัญญา และการค้าข้ามพรมแดน การปฏิรูปโครงสร้างเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ทำธุรกิจในเมียนมาได้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/economy-improve-myanmar-opens-foreign-investment.html

รัฐบาลเมียนมาอนุญาตให้ส่งออกข้าวหากราคาในประเทศตกต่ำ

รัฐบาลประกาศราคาข้าวในฤดูฝนที่จะถึงนี้และคาดว่าจะส่งออกข้าวสารได้หากราคาในตลาดท้องถิ่นลดลงต่ำเกินไปเพื่อรักษาเสถียรภาพของอาหารในประเทศ รัฐบาลกำหนด 500,000 จัต (327 เหรียญสหรัฐ) เป็นราคาขั้นต่ำสำหรับทุก ๆ 100 ตะกร้าข้าวสำหรับปี 2018 ตะกร้าแต่ละใบมีค่าเท่ากับ 20.86 กิโลกรัม ขณะนี้มีการหารือในหมู่สมาชิกของสมัชชาสหภาพสหพันธ์ข้าวเมียนมาและตัวแทนเกษตรกรเกี่ยวกับราคาข้าวขั้นต่ำ และหากราคาข้าวลดลงต่ำกว่าราคาใหม่ซึ่งจะประกาศในวันที่ 15 ต.ค.62 การส่งออกข้าวจะได้รับอนุญาตให้รักษาเสถียรภาพด้านราคา ไม่กี่ปีที่ผ่านมาไม่อนุญาตให้ส่งออกข้าวเพื่อให้แน่ใจว่าอุปทานคงที่ของตลาดภายในประเทศ แต่มีบางครั้งที่อนุญาตให้ส่งออกไปยังประเทศอื่น ๆ เพื่อผลักดันราคาข้าวและลดความสูญเสียของเกษตรกร

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-allow-rice-exports-if-local-prices-sink.html

พ่อค้ากดซื้อ ทุบราคายางดิ่ง รัฐแบกชดเชย

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เตรียมนำเสนอเรื่องต่อครม.เพื่อเดินหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางพาราระยะที่ 1 งบประมาณ 2.43 หมื่นล้านบาท โดยยางแผ่นดิบคุณภาพดีประกันรายได้ที่ 60 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) น้ำยางสด (DRC 100%) ที่ 57 บาทต่อกก. ยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ที่ 23 บาทต่อกก. โดยจะจ่ายเงินส่วนต่างราคาตลาดกับราคาประกัน เข้าบัญชีเกษตรกรผู้ปลูกยางที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทยผ่านบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในทุก 2 เดือน ซึ่งงวดแรกจะจ่ายในเดือนธันวาคมนี้ อย่างไรก็ดีผลพวงที่ตามมาเวลานี้ได้รับเสียงสะท้อนจากเกษตรกรว่าผู้ค้ายางเริ่มกดราคารับซื้อยาง เพื่อหวังฟันกำไร โดยผลักภาระในการชดเชยส่วนต่างราคาให้กับรัฐบาล หากไทยไม่รีบปรับตัวสร้างนิวบาลานซ์ใหม่โดยใช้ยางในประเทศและส่งออกให้สมดุลกัน อนาคตอุตสาหกรรมยางพาราไทยทั้งระบบจะลำบาก เพราะเวลานี้นอกจากไทย อินโดนีเซีย มาเลเซียที่เป็นผู้ผลิตยางรายใหญ่แล้ว จีนก็มีการปลูกยางได้เองในมณฑลยูนนาน และยังมาเช่าพื้นที่ปลูกใน CLMV ขณะที่อินเดียก็เร่งขยายพื้นที่ปลูกในประเทศ ซึ่งผลผลิตจะทยอยออกมากขึ้นในทุกปีนับจากนี้ ดังนั้นตลาดจีน รวมถึงตลาดอื่นๆ จะลดการนำเข้ายางพาราจากไทยลงแน่นอน

ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 26 – 28 ก.ย. 2562—

เศรษฐกิจดิจิทัลเวียดนาม มีแนวโน้มแตะระดับ 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2568

จากข้อมูลของ Open Gov Asia เปิดเผยว่ามูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลเวียดนามอยู่ที่ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2561 และคาดว่าจะพุ่งสูงขึ้นถึง 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2568 นับว่าเศรษฐกิจดิจิทัลเวียดนามมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สถานการณ์การค้าขายออนไลน์ในเวียดนามเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้เกิดโมเดลธุรกิจใหม่ๆ และการขยายตัวของอีคอมเมิร์ซ ล้วนส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยในปี 2561 มูลค่าของอีคอมเมิร์ซ อยู่ที่ 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ เพื่อให้เศรษฐกิจดิจิทัลมีการเติบโตอย่างยั่งยืนนั้น เวียดนามจำเป็นต้องสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนให้มากยิ่งขึ้น และการส่งเสริมกฎหมาย ให้มีความเหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานภายใต้เศรษฐกิจดิจิทัล รวมไปถึงหาแนวทางโซลูชั่นต่างๆ เพื่อให้ระบบมีความปลอดภัยและพร้อมไปด้วยข้อมูลในการพัฒนาทางด้านการลงทุน และโครงสร้างดิจิทัล เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-digital-economy-likely-to-hit-30-billion-usd-in-2025/161055.vnp

ADB คาดเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวร้อยละ 6.8 ในปี 2562

จากข้อมูลของธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) ณ วันที่ 25 กันยายน เปิดเผยว่าเศรษฐกิจเวียดนามยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องร้อยละ 6.8 และ 6.7 ในปี 2562 และ 2563 ตามลำดับ และในช่วงครึ่งปีแรก 62 การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเวียดนาม (GDP) ชะลอตัวลง แต่ภาวะเศรษฐกิจยังคงมีความยืดหยุ่นอยู่ ถึงแม้ว่าในปีหน้า เวียดนามจะเผชิญกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่อ่อนแอลง ซึ่งทางด้านอุปสงค์จากต่างประเทศนั้นลดลง ทำให้ปริมาณการส่งออกสินค้า/บริการชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของครึ่งปีแรกที่ผ่านมา แต่ว่าอำนาจในการซื้อภายในประเทศยังคงแข็งแกร่งอยู่ ในขณะที่ ภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ มีแนวโน้มการเติบโตที่ชะลอตัวในทุกภาคส่วน แต่มีผลกระทบในแต่ละภาคแตกต่างกัน อย่างเช่น ภาคเกษตรกรรมที่เผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดหมูสายพันธุ์แอฟริกา เป็นต้น นอกจากนี้ แม้ว่าการส่งออกเวียดนามจะชะลอตัวก็ตาม แต่อำนาจซื้อของคนเวียดนามยังคงอยู่ในระดับสูง และเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง

ที่มา :  https://english.vov.vn/economy/adb-forecasts-vietnams-economy-to-grow-at-68-per-cent-in-2019-403674.vov

เมียนมาจับมือสิงคโปร์ลงนามการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน

การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเมียนมา – สิงคโปร์ ครั้งที่ 7 ณ กรุงย่างกุ้งเมื่อวันที่ 24 ก.ย.62 ที่ผ่านมาทั้งสองประเทศได้ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างเมียนมาและสิงคโปร์ ปริมาณการลงทุนของสิงคโปร์ไปยัเมียนมามีมากกว่า 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เมียนมาอนุมัติการลงทุน 321 แห่งของสิงคโปร์ ตั้งแต่ปี 31-32 และการลงทุนสูงถึง 22 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็น 27% ปีงบประมาณ ปัจจุบันสิงคโปร์มีการลงทุนมากที่สุด กระทรวงพาณิชย์ระบุว่าค้าระหว่างสองประเทศมีมูลค่า 3.838 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในการประชุมเน้นส่งเสริมการลงทุนและเขตอุตสาหกรรมความร่วมมือทางเทคนิคและความช่วยเหลือสำหรับ SMEs การพัฒนาชุมชนเมือง การบริการด้านการเงินและการธนาคาร ด้านกฎหมายและทรัพย์สินทางปัญญา คณะกรรมการร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรีเมียนมา – สิงคโปร์ก่อตั้งขึ้นในปี 38 มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสองประเทศ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-and-singapore-sign-agreement-on-promotion-and-protection-of-investment

ปี 62 รายรับการส่งออกเมียนมาเพิ่ม 595 ล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์ระบุตั้งแต่ปี 61 ถึงวันที่ 13 ก.ย. 62การส่งออกมีมูลค่า 15.976 พันล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 595 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เมียนมาส่งออกฟาร์มสัตว์ ผลิตภัณฑ์ทางทะเล เหมืองแร่ อุตสาหกรรมสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากตัวเลขพบมีการขาดดุลการค้ามากกว่า 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐก่อนสิ้นปีงบประมาณนี้ ปัจจุบันมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 15.976 ล้านเหรียญสหรัฐและการนำเข้า 17.218 ล้านเหรียญสหรัฐ ปีนี้การค้าระหว่างประเทศคาดว่ามีมูลค่ามากกว่า 31 พันล้านเหรียญสหรัฐและการขาดดุลการค้าจะลดลงเหลือ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ การขาดดุลการค้าในปัจจุบันลดลงกว่า 1.930 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/export-earnings-increases-over-595-m-usd-this-fy