ยอดส่งออกข้าว 10 เดือนแรก 400,000 ตัน มูลค่ากว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ

10 เดือนแรก ตั้งแต่ 1 ต.ค. 61 ถึง 2 ส.ค. 62 เมียนมาส่งออกข้าวหักไป 36 ประเทศมากกว่า 400,689 ตันมูลค่ากว่า 107.147 ล้านเหรียญสหรัฐ โดย 50% ของทั้งหมดไปเบลเยียม เกือบ 190,000 ตันมูลค่า 50.547 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งออกไปยังอินโดนีเซีย 68,000 ตัน มูลค่ากว่า 18 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งออกไปยังจีน 25,000 ตันมูลค่า 6 ล้านเหรียญสหรัฐ เนเธอร์แลนด์ 23,000 ตันมูลค่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 20,000 ตัน มูลค่ามากกว่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐส่งออกไปยังสหรัฐอาณาจักร จากรายงานของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา การนำเข้าข้าวจากจีนและสหภาพยุโรปที่เป็นตลาดส่งออกข้าวรายใหญ่ลดน้อยลงในปีนี้

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/over-100m-earned-from-export-of-400000-tons-of-broken-rice-in-10-months

กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้สนับสนุนทักษะด้านเทคนิคเพื่อปรับปรุงการผลิตในสปป.ลาว

กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ยังคงฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ เพื่อให้สามารถถ่ายทอดทักษะด้านเทคนิคและปรับปรุงผลผลิตของเกษตรกรในท้องถิ่น มีคน 40 คนได้รับการฝึกฝนให้เป็นวิทยากรที่ศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตร ห้วยซอน-ห้วยซั้ว หลักสูตรนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสอนผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อช่วยเกษตรกรเพิ่มผลผลิตโดยการปรับปรุงเทคนิคการผลิตพืชผล เพื่อสร้างความมั่นใจด้านความมั่นคงด้านอาหารของชาติ ผ่านการทำฟาร์มที่สะอาดปลอดภัยและยั่งยืน สร้างศักยภาพการผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรมและความทันสมัย และมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าถึงเกษตรกร 3-5 คนในแต่ละหมู่บ้าน คาดว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมาย 60-70% ของเป้าหมายภายในปี 63 และ 100% ภายในปี 68 หากเกษตรกรรู้มากขึ้นเกี่ยวกับเทคนิคการผลิตที่มีประสิทธิภาพจะช่วยหนุนจำนวนหมู่บ้านเกษตรกรรมแบบจำลอง กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้รายงานในแผนพัฒนา 5 ปีจนถึงปี 68 ที่คาดว่าภาคส่วนนี้จะเติบโตในอัตราเฉลี่ย 3.4% นี่หมายถึงว่าภาคส่วนนี้มีส่วนร่วมในเศรษฐกิจของประเทศถึง 19%

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/agriculture-ministry-bolsters-technical-skills-improve-farm-production-laos-102301

สปป.ลาว – เวียดนามตั้งเป้าการค้าทวิภาคีเพิ่มขึ้น 15%

การค้าระหว่างสปป.ลาวและเวียดนามในช่วง 7 เดือนแรกของปี 62 แตะที่ 663.76 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นเกือบ 13% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันถึงความสำคัญของการส่งเสริมการค้าข้ามพรมแดนและเพิ่มความร่วมมือทวิภาคีสำหรับการค้าชายแดนผ่านการลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้าและมาตรการส่งเสริมการค้า นอกจากการหาวิธีเพิ่มการค้าระหว่างประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดแล้วทั้งสองฝ่ายยังมุ่งที่จะแก้ไขปัญหาที่บริษัทเวียดนามในสปป.ลาวเผชิญ โดยเฉพาะการนำเข้าปิโตรเลียม ในวันเดียวกันคณะผู้แทนเวียดนามได้พบกับผู้แทนกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ เพื่อหารือเกี่ยวกับโครงการลงทุนในด้านพลังงานและเหมืองแร่ เพื่อหาวิธีส่งเสริมและกระชับมาตรการการลงทุนในพื้นที่ที่มีศักยภาพ เช่นไฟฟ้าพลังน้ำ ทั้งสองประเทศได้ตั้งเป้าหมายการค้าระหว่างประเทศไว้ที่ 4 พันล้านดอลลาร์ในปี 63 ตามข้อมูลระหว่างรัฐบาล สปป.ลาว – ​​เวียดนาม

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/business/laos-vietnam-target-15-increase-bilateral-trade

ทางกัมพูชาเรียกร้องให้ผู้ประกอบการ SMEs จดทะเบียนใน CSX

รัฐบาลได้เรียกร้องให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในท้องถิ่น (SMEs) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและขยายกิจการ โดยบริษัทที่ต้องการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์พวกเขาต้องดำเนินธุรกิจให้มีมาตรฐานตามกำหนด และจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกผู้ต้องการจดทะเบียนจะปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ซึ่งตามนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ เป้าหมายของรัฐฯคือต้องมีอย่างน้อย 80% ของ SMEs จะต้องจดทะเบียนอย่างเป็นทางการภายในปี 2568 และอย่างน้อย 50% ของ บริษัท เหล่านั้นต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีและการบันทึกบัญชีที่เหมาะสม โดยในปัจจุบันกัมพูชามีผู้ประกอบการ SMEs ประมาณ 520,000 รายแต่มีเพียงประมาณ 150,000 รายที่ทำการจดทะเบียนในระบบ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50635096/ministry-urges-smes-to-join-csx/

กัมพูชาและไทยกระชับความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว

การประชุมคณะผู้ทำงานด้านการท่องเที่ยวกัมพูชาและไทย ครั้งที่ 5 สรุปโดยจะทำงานร่วมกันเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ซึ่งจะร่วมมือกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (ACMECS) โดยโปรแกรม VISA จะอนุญาตให้คนจากกลุ่มประเทศ CLMVT เดินทางโดยถือเพียง VISA เดียว ซึ่งทางภาคส่วนไทยได้ทำการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวรวมถึงการออกเที่ยวบินตรงจากจังหวัดทางภาคใต้ของไทยไปยังสีหนุวิลล์ในชายฝั่งกัมพูชา โดยตัวเลขจากกระทรวงการท่องเที่ยวแสดงให้เห็นว่ามีนักท่องเที่ยวมาเยือนกัมพูชาถึง 3.3 ล้านคนในช่วงครึ่งปีแรก เพิ่มขึ้นกว่า 11% ซึ่งนักท่องเที่ยวไทยเดินทางยังกัมพูชาเพิ่มขึ้น 9% ในช่วงครึ่งปีแรก และกัมพูชาคาดการณ์ว่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวไทยได้ 4 แสนคนในปี 2562

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50635088/cambodia-thailand-to-strengthen-tourism-ties/

ยอดส่งออกเสื้อ CMP เพิ่มหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐ

ตั้งแต่ 1 ต.ค. ของปีงบประมาณ 61-62 อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม CMP (Cut – Make – Pack) มีรายรับมากกว่า 3.8 พันล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เมื่อปีที่แล้วภาคการส่งออกมีกำไรมากกว่า 2.775 พันล้านเหรียญสหรัฐ รายรับจากการส่งออกเพิ่มขึ้นกว่า 1.037 พันล้านเหรียญสหรัฐ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม CMP อยู่ในอันดับต้น ๆ ของภาคการส่งออกทั้งหมด ในปี 61 มีรายได้เกือบ 4.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าในปี 67 จะมีรายรับสูงถึง 10 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปัจจุบันภาคเสื้อผ้า CMP มีรายได้ประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ เมียนมาจะมีรายได้สามพันล้านเหรียญสหรัฐหากสามารถเปลี่ยนจากระบบ CMP เป็นระบบ FOB ตามที่สมาคมผู้ประกอบการตัดเย็บเสื้อผ้าแห่งเมียนมา (MGEA) ได้ระบุ เมียนมาเริ่มระบบ CMP ในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มมาตั้งแต่ปี 2533 ปัจจุบันมีมากกว่า 70 อุตสาหกรรมที่ทำงานภายใต้ระบบ CMP

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/export-earnings-from-cmp-garment-increase-by-one-billion-usd

ฟอรั่มอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารกัมพูชาเริ่มแล้ว

ฟอรั่มจับคู่ธุรกิจอาหารและการแปรรูปสินค้าเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพิ่มการเจริญเติบโตของภาคสินค้าเกษตรและแปรรูปอาหาร ซึ่งผู้ประกอบการจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และทำการค้นหาคู่ค้าที่เหมาะสม จัดขึ้นโดยสมาคมผู้ประกอบการเยาวชนแห่งกัมพูชาและสหพันธ์สมาคมเพื่อธุรกิจขนาดเล็กและรัฐวิสาหกิจโดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงท้องถิ่นและรัฐบาลออสเตรเลีย ซึ่งมีผู้ประกอบการถึง 30 ราย มีกิจกรรมทางการค้าที่หลากหลาย รวมถึงภาคการเงินการธนาคาร บรรจุภัณฑ์ เครื่องจักร การทำการตลาดดิจิทัล และอื่นๆ โดยกัมพูชามีการเติบโตด้านการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูปเป็นอย่างมาก ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงเกษตรเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรถึง 4.26 ตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50634710/food-processing-forum-kicks-off/

กัมพูชาเป็นเจ้าภาพการจัดส่งสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของอาเซียน

งาน Asean Ports & Shipping 2019 ครั้งที่ 17 จัดโดย PPAP และ PAS  เป็นงานใหญ่ที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมการขนส่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังจะจัดขึ้นในกัมพูชาที่โรงแรม NagaWorld ในกรุงพนมเปญ ในวันที่ 10-12 กันยายน ซึ่งงานดังกล่าวจะเป็นการรวมตัวของนักธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค โดยคาดว่าจะมีผู้เข้ารวมงานถึง 500 รายรวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐฯ ซึ่งในงานจะเป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะสมสำหรับการสร้างเครือข่าย การเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาที่สำคัญในอุตสาหกรรมการขนส่งทั่วโลก และเป็นการได้ทำความรู้จักกับอุตสาหกรรมการขนส่งของกัมพูชา โดยจะมีโอกาสในเชิงพาณิชย์ทั้งสินค้าที่นำมาแสดงและเป็นการสร้างเครือข่ายโดยตรงกับผู้ประกอบการการขนส่งที่จะมาเข้าร่วมงานในครั้งนี้

ที่มา: https://www.khmertimeskh.com/50635081/cambodia-to-host-southeast-asias-biggest-shipping-event/

ความไม่สมดุลของแรงงานเป็นสาเหตุของการว่างงานใน สปป.ลาว

ความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานของแรงงานในบางภาคส่วนเป็นปัญหาที่ท้าทายสำหรับสปป.ลาวในความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาการว่างงานที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ในปีนี้คาดว่าจะสูงถึง 4,400 คน แต่มีแรงงานเพียง 1,350 คนเท่านั้น  นอกจากนี้ภาคเกษตรกรรมของประเทศ ปีนี้มีความต้องการแรงงาน 2,500 คนในขณะที่มีเพียง 1,600 คนเท่านั้น ในทางตรงกันข้ามบางอุตสาหกรรม เช่น การผลิตไฟฟ้า การจัดการน้ำ การเงินการประกันภัย การสื่อสารและการขนส่ง การจัดหาแรงงานเกินดุลสูงกว่าความต้องการ หนึ่งในปัญหาคือส่วนใหญ่ต้องการเรียนหลักสูตรการบริหารและการจัดการซึ่งมีจำนวนงานว่างน้อยที่สุด ซึ่งรัฐบาลสปป.ลาวได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการเว็บไซต์จ้างงานรายใหญ่ที่สุดของประเทศคือ 108 Job ในเดือนกรกฎาคม ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะร่วมกันพัฒนาระบบข้อมูลตลาดแรงงานเพื่ออัปโหลดตำแหน่งงานว่าง คือ www.lmi.molsv.gov.la และ 108.jobs ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทในสปป.ลาวที่มีตำแหน่งงานว่างในภาคต่าง ๆ

ที่มา : https://laotiantimes.com/2019/08/19/labor-imbalance-causes-unemployment-in-laos/

สปป.ลาววางแผนการปฏิรูปกฎระเบียบเพื่อส่งเสริมการค้าที่จุดผ่านแดน

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าจะดำเนินการปรับปรุงหรือยกเลิกมาตรการและข้อบังคับที่ไม่จำเป็นที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกและนำเข้าเพื่อสนับสนุนการค้าข้ามพรมแดน โดยได้มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยความสะดวกด้านการค้าครั้งที่ 2 เพื่อประเมินความสำเร็จที่ผ่านมาผ่านการปฏิรูปกฎระเบียบ และเพื่อหารือแผนการดำเนินการอำนวยความสะดวกด้านการค้าข้ามพรมแดนตั้งแต่ปีพ.ศ.60-65 ซึ่งกระทรวงได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้รับผิดชอบการค้าข้ามพรมแดน เป็นตัวบ่งชี้ที่ 8 จาก 10 ที่วัดโดยดัชนีความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ คาดว่าจะปรับปรุงและเร่งการประมวลผลเอกสารและลดค่าธรรมเนียมสำหรับเอกสารที่จำเป็นสำหรับการนำเข้าและส่งออกอย่างน้อย 50% ในปีนี้ การค้าข้ามพรมแดนของสปป.ลาวได้รับการจัดอันดับเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 124 ในปี 61 เป็น 76 ในปีนี้ บรรลุ 39% จาก 50% ของแผน ในการประชุมเดียวกัน World Bank นำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของการรถไฟสปป.ลาว – จีนที่เสนอต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งสปป.ลาวจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการรถไฟ เมื่อรัฐบาลปรับปรุงการจัดการด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการขนส่ง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-plans-regulatory-reforms-boost-trade-border-crossings-102230