ศุลกากร : เวียดนามมีดุลการค้าเกินดุล 43 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2562

จากคำแถลงการณ์ของกรมศุลกากรเวียดนาม (The Customs Department) เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เปิดเผยว่าในช่วงเดือนกรกฎาคมของปี 2562 เวียดนามเกินดุลการค้าอยู่ที่ 43 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากเดือนมิถุนายนที่มีมูลค่าเกินดุลการค้า 1.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในด้านการส่งออกมีมูลค่าอยู่ที่ 22.979 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว และมูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 22.936 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว โดยสินค้าเครื่องใช้ในบ้าน สมาร์ทโฟน และเครื่องนุ่งห่ม ยังคงเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนาม ส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร และผ้า (Fabric) ยังคงเป็นสินค้านำเข้าสำคัญของเวียดนาม

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20190813/vietnam-s-trade-surplus-plunges-to-43-mln-in-july-customs/50963.html

เวียดนามคาดว่าการส่งออกกุ้งจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 62

จากรายงานของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (The Viet Nam Association of Seafood Exporters and Producers) เปิดเผยว่าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 เวียดนามมีมูลค่าการส่งออกกุ้งอยู่ที่ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากการนำเข้าของตลาดต่างประเทศลดลง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และจีน เป็นต้น แต่ทางสมาคมฯ มองว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ตลาดต่างประเทศจะนำเข้ามากขึ้น เป็นผลมาจากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) โดยตลาดสำคัญอย่างประเทศจีน มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 233.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สาเหตุสำคัญมาจากการแข่งขันที่รุนแรงของคู่แข่ง ได้แก่ อินเดีย และเอกวาดอร์ เป็นต้น รวมไปถึงนโยบายการค้าที่เข็มงวดมากขึ้น นอกจากนี้ ผลของข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหภาพยุโรป จะช่วยส่งเสริมการส่งออกอาหารทะเล ในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/523927/shrimp-exports-expected-to-pick-up-in-2nd-half.html#f2UkmlJLouYgI0R1.97

เมียนมาเดินหน้าระบบใบอนุญาตก่อสร้างอาคารออนไลน์ใหม่ในย่างกุ้งยัง

IFC ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มธนาคารโลกได้ให้การสนับสนุนการควบคุมอาคารของคณะกรรมการพัฒนาเมืองย่างกุ้ง (YCDC) ในการปฏิรูประบบใบอนุญาตก่อสร้างและปรับปรุงความสะดวกในการทำธุรกิจในเขตเมือง ระบบใบอนุญาตก่อสร้างอาคารนี้เปิดให้บริการออนไลน์ในวันที่ 1 ก.ค.ไปจนถึงสิ้นปี ระบบนี้คาดว่าจะลดเวลาการดำเนินการสำหรับ 90% ของใบอนุญาตก่อสร้าง 4,000 รายการที่ส่งมาในทุกปีจากเวลาเฉลี่ย 95 วันเป็น 49 วัน ระบบใบอนุญาตสร้างออนไลน์ใหม่มีให้บริการในภาษาอังกฤษและภาษาเมียนมาซึ่งสร้างขึ้นเองสำหรับ YCDC ‘การจัดการกับใบอนุญาตก่อสร้าง’ เป็นหนึ่งใน 10 ตัวชี้วัดที่ใช้ในการกำหนดดัชนีความง่ายในการทำธุรกิจซึ่งขณะนี้ติดอันดับ 171 จาก 190 ประเทศ และเมื่อเทียบกับภาคอื่นภาคการก่อสร้างมีศักยภาพในการสร้างรายได้สูงสุด ระบบใบอนุญาตที่มีประสิทธิภาพโปร่งใสและราคาไม่แพงจะทำให้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจเอื้ออำนวยในประเทศ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/yangon-trials-digital-construction-permit-system.html

อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นเวลาเก้าเดือนติดต่อกัน

จากตัวเลขของกระทรวงวางแผนและการเงิน เดือน เม.ย.61 ถึงเดือน มิ.ย. 62 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.53% ถึง 3.27% นานถึง 9 เดือนติดต่อกันของปีงบประมาณปัจจุบัน อัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบเป็นรายปีคาดแตะระดับ 4.10% และอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 4.81% ในปี 61-62 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยที่คำนวณโดยใช้ปี 55 เป็นปีฐานอยู่ที่ 8.08% และอัตราเงินเฟ้อปีต่อปีคิดเป็น 9.51% ในช่วงปลายเดือน มิ.ย. เขตมะกเวมีค่าสูงสุดอยู่ที่ 12.31% รองลงมาคือรัฐมอญ 10.14% และมัณฑะเลย์ 9.99% ในเดือน พ.ย. 55 องค์กรสถิติกลางได้ทำการสำรวจครัวเรือนและการบริโภคของครัวเรือน 32,669 ครัวเรือนใน 82 เมืองทั่วประเทศเพื่อคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคและอัตราเงินเฟ้อ ในอดีตอัตราเงินเฟ้อคำนวณโดยใช้ปี 49 เป็นปีฐาน ปัจจุบันปี 55 ถูกใช้เป็นปีฐานในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/average-inflation-rate-increases-for-nine-consecutive-months

ธนาคารโลกมองในเชิงบวกเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในสปป.ลาว

ธนาคารโลกมองในเชิงบวกเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในสปป.ลาวซึ่งคาดว่าจะฟื้นตัวเป็น 6.5% ในปี 62 เพิ่มขึ้นจาก 6.3% ในปี 61 แม้จะมีการเข้มงวดด้านการคลังอย่างต่อเนื่อง แต่คาดว่าการเบิกจ่ายจะได้รับแรงหนุนจากการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่รวมถึงรถไฟจีน – สปป.ลาว อีกทั้งจะได้รับแรงหนุนจากภาคบริการที่ยืดหยุ่น นำโดยการเติบโตของการค้าส่งและค้าปลีกที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ในขณะเดียวกันรัฐบาลสปป.ลาวยังคงมุ่งมั่นที่จะรวมงบการเงินเพื่อควบคุมภาระหนี้สาธารณะในระยะปานกลาง สิ่งนี้จะส่งผลให้การขาดดุลการคลังลดลงจาก 4.4% ของ GDP ในปี 61 ถึง 4.3% ในปี 62 อย่างไรก็ตามสปป.ลาวมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นหนี้และมีมาตรการหลายอย่างที่จะต้องดำเนินการเพื่อจัดการกับสถานการณ์นี้  สิ่งสำคัญที่จะต้องปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาภาคเอกชนรวมถึงการเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมาตรการเหล่านี้สามารถช่วยรักษาสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาคที่มั่นคง ส่งเสริมการสร้างงานและลดความยากจนและความไม่เท่าเทียม

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2019-08/13/c_138305713.htm

สปป.ลาวต้องการส่งออกทางรถไฟบรรทุกสินค้ามายังประเทศไทยมากขึ้น

บริการรถไฟบรรทุกสินค้าข้ามพรมแดนที่เปิดตัวใหม่ระหว่างสปป.ลาวและไทยต้องการการขนส่งสินค้าจาก      สปป.ลาวมากขึ้นเพื่อลดความไม่สมดุลของการค้า รถไฟสามารถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์เข้าและออกได้ 10 ถึง 20 ตู้ทุกวัน แต่จำนวนผู้ส่งออกน้อยกว่าจำนวนผู้นำเข้า นี่เป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องจัดการด้วยการทำงานร่วมกัน ซึ่งการมีบริการรถไฟบรรทุกสินค้าเป็นสิ่งที่ดีต้นทุนการขนส่งจะลดลงเพราะบริษัท สามารถส่งออกสินค้าได้มากขึ้น แต่บริการนี้จะต้องมีสินค้าจำนวนมากสำหรับการจัดส่งแบบสองทาง อีกทั้งความไม่สมดุลของการขนส่งสินค้าที่เข้าและออกจากสปป.ลาวเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีสินค้าจำนวนมากถูกนำเข้ามาในสปป.ลาว แต่มีการส่งออกไปนอกประเทศเพียงเล็กน้อยซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจขนส่งสินค้า

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2019-08/13/c_138305734.htm

รัฐมนตรีขอให้ บริษัท ญี่ปุ่นพิจารณาตลาดในประเทศ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทองขอนกระตุ้นให้ธุรกิจญี่ปุ่นพิจารณาการลงทุนในภาคการท่องเที่ยวของกัมพูชา ซึ่งในการพับหารือกับเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวกล่าวว่าจำนวนนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยทางกัมพูชากล่าวว่าต้องการลงทุนบนโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น เพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี ซึ่งในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 มีนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นมาเยือนกัมพูชาประมาณ 100,000 คนเพิ่มขึ้น 3% จากปี 2561 โดยปีที่แล้วโครงการลงทุนของญี่ปุ่น 6 โครงการมีมูลค่ากว่า 800 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยกัมพูชาตั้งเป้าที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นมากกว่า 300,000 คนต่อปีภายในปี 2563 และการค้าระหว่างกัมพูชากับญี่ปุ่นมีมูลค่าสูงถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 เพิ่มขึ้นถึง 16.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากรายงานล่าสุดขององค์การการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (Jetro)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50633272/minister-asks-japanese-firms-to-consider-local-market/

แผนการเพาะปลูกตามสัญญาที่เพิ่มขึ้นในกัมพูชา

กระทรวงเกษตรกล่าวว่าเกษตรกรและผู้ค้าเริ่มตระหนักถึงประโยชน์ของข้อตกลงในการทำการเกษตร โดยตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงกรกฎาคมมีการเซ็นสัญญาในภาคการผลิตข้าวถึง 60 โครงการ ซึ่งมากกว่าในช่วงเดี่ยวกันของปีที่แล้วถึง 20 โครงการ โดยการทำสัญญาระหว่างผู้ซื้อและเกษตรกรที่จะทำการส่งมอบพืชผลในอนาคตตามวัน เวลารวมถึงกำหนดจำนวน คุณภาพและราคาไว้ล่วงหน้า ซึ่งปีนี้ผู้ผลิตข้าวได้ลงนามข้อตกลงกับสหกรณ์การเกษตรจาก 10 จังหวัด โดยลำดับความสำคัญคือการเพิ่มจำนวนการทำสัญญาทั่วประเทศเพราะเมื่อมีการทำสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นเกษตรกรจะได้รับการรับประกันว่าจะมีผู้ซื้อมารอรับซื้อพืชผลทางการเกษตรจากเกษตรกรแน่นอน ภายใต้ข้อตกลงข้างต้น รวมถึงการจัดหาผู้ค้ารายใหม่เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย และเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าทางการเกษตรภายในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50633015/contract-farming-schemes-on-the-rise-ministry/

ผลักดันข้าวกัมพูชาให้ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก

ข้าวกัมพูชาจะได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในด้านคุณภาพและความยั่งยืน กล่าวโดยประธานสหพันธ์ข้าวคนใหม่ของกัมพูชา ซึ่งสหพันธ์จะดำเนินการในฐานะหุ้นส่วนภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ผลิตและจะทำให้อุตสาหกรรมมีความทันสมัย มีตลาดที่หลากหลายและเพิ่มการเข้าถึงของแหล่งเงินทุน โดยสหพันธ์ข้าวกัมพูชาก่อตั้งขึ้นในปี 2557 มีสมาชิกซึ่งเป็นผู้ส่งออกจำนวน 213 ราย โดยตั้งเป้าหมายที่จะทำการส่งออกข้าวถึง 1 ล้านตันต่อปี จากการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนให้มีประสิทธิภาพในการผลิตข้าวในกัมพูชา ซึ่งการส่งออกข้าวสารของกัมพูชาเพิ่มขึ้น 3.7% ในช่วง 7 เดือนแรกของปีแตะระดับ 308,013 ตัน โดยจีนยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดโดยทำการซื้อไปกว่า 123,361 ตัน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคมเพิ่มขึ้น 40%

ที่มา:https://www.khmertimeskh.com/50632528/cambodian-rice-to-achieve-worldwide-fame-new-crf-president-promises/

สปป.ลาวจะต้องรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

2562 คาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจของสปป.ลาว จะกลับมาฟื้นตัวอยู่ที่ร้อยละ 6.5 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ในปี 2561 เป็นผลมาจากการขยายตัวของภาคการก่อสร้าง การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และภาคบริการ แต่ว่าสปป.ลาวต้องเผชิญกับความท้าทายในประเทศและต่างประเทศ ในด้านมาตรการรัดเข็มขัดทางการคลัง (Fiscal consolidation) คาดว่าจะส่งผลให้ลดการขาดดุลงบประมาณอยู่ที่ร้อยละ 4.3 ของ GDP ในปี 2562 (ลดรายจ่ายภาครัฐในปริมาณที่สูง) เนื่องมาจากต้องควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรภาครัฐ และการใช้จ่ายเงินทุน เป็นต้น นอกจากนี้ สปป.ลาวจะต้องพัฒนาในด้านสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมากขึ้น เพื่อสนับสนุนการค้าการลงทุนของภาคเอกชน รวมถึงผู้ประกอบการ SMEs เพื่อให้มาตรการดังกล่าว ช่วยรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจมหภาค และส่งเสริมการทำงานของภาคเอกชน รายได้สูงขึ้น และความกินดีอยู่ดีของประชาชนชาวสปป.ลาว

ที่มา : http://kpl.gov.la/En/Detail.aspx?id=47498