เขตเศรษฐกิจพิเศษทิวาลายังต้องการท่าเทียบเรือมาตรฐานและบริการโลจิสติกส์ใน ระดับสากล

Thilawa Public Public Co. , Ltd (MTSH) ระบุ พื้นที่ของโรงงานเขตเศรษฐกิจพิเศษทิวาลายังต้องการบริการท่าเรือและโลจิสติกส์มาตรฐานสากล จากรายงานปีงบประมาณ 61-62 MTSH กำลังดำเนินการสำรวจเบื้องต้นเพื่อเปลี่ยนเขตพื้นที่ให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกที่หลากหลาย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2561 การดำเนินงานของท่าเทียบเรือที่สร้างโดย บริษัท ทิลาว่ามัลติเทอร์มินัลอินเตอร์เนชั่นแนลเทอร์มินัล จำกัด (TMIT) ด้วยเงินกู้ ODA ของญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้น บริษัท โตโยต้าเมียนมาร์ จำกัด ได้ลงทุน 52.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐในอุตสาหกรรมยานยนต์และจะผลิตรถยนต์โตโยต้าไฮลักซ์ 2,500 คันในปี 64 จากเขตเศรษฐกิจพิเศษสามแห่งในเมียนมาเขตเศรษฐกิจพิเศษทิวาล่ามีศักยภาพทางเศรษฐกิจ มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องเพราะอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ปัจจุบันมีบริษัท 108 บริษัท จาก 19 ประเทศที่ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษทิลาว่า 60% บริษัท ใน SEZ กำหนดเป้าหมายไปที่ตลาดในประเทศและที่เหลือคือตลาดต่างประเทศ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/thilawa-sez-in-need-of-international-standard-jetties-and-logistics-services

สปป.ลาว เผยภาคเกษตรกรรมมีอัตราการขยายตัวต่ำที่สุด

จากรายงานของทางรัฐบาลสปป.ลาว เปิดเผยว่าภาคการเกษตรยังคงไม่ขยายตัวตามที่คาดไว้ เป็นผลมาจากสภาพอากาศที่แปรปรวน โดยทางรัฐบาลคาดว่าในปี 2562 ภาคเกษตรกรรมจะขยายตัวร้อยละ 2.8 ถ้าหากไม่เกิดภัยธรรมชาติ ซึ่งทางผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์ภัยธรรมชาติยาวนาน จะทำให้ประสบปัญหาขาดแคลนผลผลิตทางการเกษตร และหากต้องการให้ภาคเกษตรขยายตัวอย่าง รวดเร็ว ภาครัฐต้องดำเนินให้นักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนในประเทศสนใจเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมนี้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ทางรัฐบาลต้องส่งเสริมการเกษตรให้ชัดเจนมากขึ้น ในด้านการแก้ไขปัญหาผลผลิต ควบคุมการใช้สารเคมี เป็นต้น

ที่มา: http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Agriculture_experiences_176.php

ส่งออกกัมพูชาไปสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก

การส่งออกของกัมพูชาไปยังสหรัฐฯเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งปีแรกมูลค่าเกินกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งข้อมูลล่าสุดมาจากทางรัฐบาลสหรัฐ โดยการส่งออกของกัมพูชาขยายตัวกว่า 30% ในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งสหรัฐสั่งซื้อสินค้าจากกัมพูชามูลค่า 2.24 พันล้านเหรียญสหรัฐ และทางกัมพูชานำเข้าสินค้าจากสหรัฐมูลค่า 264 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับปีที่แล้วการค้าระหว่างกัมพูชาและสหรัฐอเมริกามีมูลค่าถึง 4.26 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 23% เมื่อเทียบกับชวงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งในเดือนกรกฎาคม 2559 กัมพูชาได้รับสิทธิพิเศษสำหรับการส่งออกสินค้าบางชนิดไปยังสหรัฐฯ โดยไม่มีการเสียภาษีภายใต้โครงการ Generalized System of Preferences (GSP) ในปี 2561 กัมพูชาส่งออกสินค้าภายใต้ GSP มูลค่ากว่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามข้อมูลของกระทรวงเศรษฐกิจและการเงินของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50630230/exports-to-us-soar-in-h1/

บางกอกแอร์เวย์สเปิดเที่ยวบินร่วม CLMV

นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส (PG)  เปิดเผยว่า บริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)  เจ้าของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ได้ลงนามข้อตกลง ในการให้บริการเที่ยวบินร่วมกับสายการบิน เตอร์กิชแอร์ไลน์ (TK) เพื่ออำนวยความสะดวกผู้โดยสารเดินทางเชื่อมต่อจากกรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) ผ่านเที่ยวบินของ บางกอกแอร์เวย์สไปแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมทั้งในประเทศไทยและประเทศในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ,สปป.ลาว ,เมียนมา และเวียดนาม) โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. ที่ผ่านมา ครอบคลุมเส้นทาง กรุงเทพฯ-ดานัง (เวียดนาม) กรุงเทพฯ-เกาะฟู้โกว๊ก (เวียดนาม) กรุงเทพฯ-ย่างกุ้ง (เมียนมา) กรุงเทพฯ-มัณฑะเลย์ (เมียนมา) กรุงเทพฯ-เนปิดอว์ (เมียนมา) กรุงเทพฯ-เวียงจันทน์ (สปป.ลาว) และกรุงเทพฯ-หลวงพระบาง (สปป.ลาว) นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 เส้นทางได้แก่ กรุงเทพฯ-พนมเปญ และกรุงเทพฯ-เสียมราฐ รออนุมัติจากรัฐบาลประเทศกัมพูชา 

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

เวียดนามผลักดันกฎหมายให้ชาวต่างชาติเดินทางมาเกาะฟูโกว๊ก โดยไม่ต้องใช้วีซ่าเป็นระยะเวลา 30 วัน

จากรายงานของกระทรวงความมั่งคงสาธารณะเวียดนาม (MPS) เปิดเผยว่าทางกระทรวงฯ กำลังผลักดันกฎหมายที่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาบนเกาะฟูโกว๊ก (Phu Quoc) โดยไม่ต้องใช้วีซ่าเป็นเวลา 30 วัน ซึ่งข้อเสนอดังกล่าว อยู่ในช่วงร่างกฎหมายในการเดินทางเข้าเมือง (กฎหมายลำดับที่ 47) ซึ่งจุดประสงค์ของกฎระเบียบดังกล่าว เพื่อยับยั้งนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เห็นผลประโยชน์จากกฎระเบียบนี้ และเข้ามาทำงานในประเทศเวียดนาม โดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน นอกจากนี้ จากรายงานของกรมการท่องเที่ยวเวียดนาม ระบุว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 จำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางไปยังเกาะฟูโกว๊กมากกว่า 2.2 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/523475/proposal-to-legalise-30-day-visa-exemption-for-foreigners-entering-phu-quoc-island.html#0TyOxkYxeydHwew4.97

เวียดนามเผยจำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ 79,300 ราย ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2562

จำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2562 พบว่า มีผู้ประกอบการธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ จำนวน 79,300 ราย ด้วยมูลค่าการจดทะเบียนรวม 42.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 และ 29.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามลำดับ ซึ่งทุนจดทะเบียนเฉลี่ยการจัดตั้งของแต่ละบริษัทใหม่อยู่ที่ 12.6 พันล้านด่อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.9 นับว่าอยู่ในระดับสูงที่สุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หากจำแนกโครงสร้างเศรษฐกิจ พบว่าภาคการบริการมีสัดส่วนของจำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่มากที่สุด ด้วยจำนวนธุรกิจกว่า 56,600 ราย รองลงมาภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง 21,600 ราย และภาคเกษตรกรรม ป่าไม้ และประมง 1,100 ราย ตามลำดับ โดยภูมิภาคที่มีสัดส่วนของจำนวนการจัดตั้งธุรกิจใหม่มากที่สุด คือ ภาคกลาง และที่ราบสูงของเวียดนาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/79300-new-businesses-set-up-in-seven-months/157104.vnp

แรงงานที่มีทักษะของเมียนได้รับอนุญาตให้ทำงานในญี่ปุ่นได้นานถึงห้าปี

ภายใต้บันทึกความร่วมมือ (MoC) ระหว่างเมียนมาและญี่ปุ่นลงนามเมื่อวันที่ 28 มีนาคมปีนี้ แรงงานที่มีทักษะจะได้รับอนุญาตให้ทำงานอยู่ในญี่ปุ่นเป็นเวลาห้าปีเพื่อทำงานให้กับ 14 ภาคส่วน เช่น พนักงานดูแลสุขภาพ อาคาร การทำความสะอาด เครื่องจักรและชิ้นส่วนประกอบ อุตสาหกรรมไฟฟ้า ประปา อิเล็กทรอนิกส์ การก่อสร้าง การต่อเรือและเครื่องจักร บำรุงรักษารถยนต์ การบิน บริการโรงแรม การเกษตร การประมง ปศุสัตว์ อาหารและเครื่องดื่ม ทั้งสองประเทศได้ตกลงกันในเรื่องมาตรฐานที่กำหนดสำหรับบริษัทจัดหางานในต่างประเทศ บริษั จัดหางานที่ลงทะเบียนที่กรมแรงงานต้องปฏิบัติตามกฎและมาตรฐานที่กำหนดในการส่งแรงงานฝีมือไปญี่ปุ่น

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/skilled-myanmar-workers-to-be-allowed-up-to-five-year-work-in-japan

ครึ่งปีแรกของปี 62 FDI เมียนมาพุ่ง 77% คิดเป็น 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ

สถิติจากคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) สิงคโปร์เป็นนักลงทุนอันดับต้น ๆ มีมูลค่า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจำนวนโครงการที่ลงทุนจำนวน 13 โครงการ อันดับ 2 คือ จีนมีมูลค่า 330 ล้านเหรียญสหรัฐและอีกกว่า 60 โครงการที่ได้รับอนุมัติ โดยอุตสาหกรรมการขนส่งและการสื่อสารได้รับการลงทุนมากที่สุดคือ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาคการผลิต 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่บริการ 160 ล้านดอลลาร์ โรงแรมและการท่องเที่ยว รวมถึงอุตสาหกรรมปศุสัตว์และการประมงจะอยู่ที่ 130 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากรายงานของเวิลด์แบงก์ตัวเลข FDI เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อน แต่ยังไม่ถึงหนึ่งในสามของปี 60/61 และยังมองว่าโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ระเบียงเศรษฐกิจ พลังงานและการขนส่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มจะเป็นตัวดึงเม็ดเงินการลงทุนและสร้างภาระงานให้กับชาวเมียนมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/fdi-jumps-77pc-us23-billion-first-half-2019.html

ราคาอาหารที่พุ่งสูงขึ้นในสปป.ลาวกระทบผู้มีรายได้น้อย

ผู้คนจำนวนมากโดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้ประสบปัญหาเนื่องจากราคาอาหารยังคงผันผวน ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติสปป.ลาวแสดงให้เห็นว่าราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้น 3.20% ในเดือนมิถุนายนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วทำให้เป็นหนึ่งในแรงผลักดันของเงินเฟ้อ ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิถุนายนระบุว่าราคาข้าวเพิ่มขึ้น 12% ในเดือนมิถุนายนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วในขณะที่ราคาปลาและหมูปรับตัวสูงขึ้น 3.1% อย่างไรก็ตามการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคล่าสุดบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อขยายตัวที่ 2.48% ในเดือนมิถุนายนลดลงจาก 2.54% ในเดือนพฤษภาคมปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลผลักดันเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายน อีกทั้งค่าเสื่อมราคาของกีบเมื่อเทียบกับเงินบาทและเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุของราคาอาหารที่สูงขึ้น ราคาสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้น 1.60% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/rising-food-prices-hit-low-income-earners-101263

ระบบอิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้รัฐบาลสปป.ลาว เพิ่มรายได้

จากข้อมูลจากกระทรวงการคลัง รายรับจากภาษีเพิ่มขึ้น 20% ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นตามการเปิดตัวของระบบข้อมูลการจัดการสรรพกร (TAXRIS) เมื่อต้นปี จนถึงขณะนี้ระบบปฏิบัติการใน 10 เมืองใหญ่ใน 7 จังหวัดของสปป.ลาว และวางแผนที่จะขยายระบบไปยังทุกจังหวัดภายใน  ปี 63 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการปรับปรุงระบบการชำระภาษีอิเล็กทรอนิกส์และปรับปรุงความโปร่งใสในภาคการเงิน ในขณะเดียวกันผู้เสียภาษีจะได้รับการสนับสนุนให้ชำระเงินผ่าน TAXRIS และระบบธนาคารอื่น ๆ เพื่อเพิ่มรายได้ของประเทศ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ถูกนำไปใช้ที่สะพานมิตรภาพสปป.ลาว – ​​ไทยแห่งแรก ซึ่งระบบอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้รายได้สะสมที่สะพานมิตรภาพลาว – ​​ไทยแห่งแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.25 ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 61 ในปี 62 รัฐบาลมีแผนที่จะเก็บรายได้ 26.3 ล้านล้านกีบซึ่งคาดว่ารายรับในประเทศจะอยู่ที่ระดับ 24.24 ล้านล้านกีบ โดยมีค่าใช้จ่ายที่ 33.39 ล้านล้านกีบในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้การจัดเก็บรายได้คาดว่าจะถึง 12.96 ล้านล้านกีบคิดเป็น 49.2 เปอร์เซ็นต์ของเป้าหมายตลอดทั้ง

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Electronic_175.php