เปิดศูนย์กระจายและจัดส่งผักในเมืองกันดาลประเทศกัมพูชา

จังหวัดกันดาลได้เปิดตัวศูนย์การจัดส่งผัก ซึ่งเป็นศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยของอาหารและจัดหาตลาดสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ โดยศูนย์แห่งนี้เป็นแห่งแรกในประเทศกัมพูชาถูกสร้างขึ้นด้วยเงินบริจาคจากรัฐบาลญี่ปุ่นผ่านโครงการ “Kusanone” มีห้องปฏิบัติการขนาดเล็กเพื่อตรวจสอบสารกำจัดศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าอาหารที่ออกสู่ตลาดมีความปลอดภัย ความหวังคือจะช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมเรื่องของความปลอดภัยของอาหารและกลายเป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพระหว่างญี่ปุ่นและกัมพูชา ซึ่งทางรัฐบาลกัมพูชาเน้นย้ำว่าจะดำเนินโครงการปฏิรูปที่ครอบคลุมเพื่อปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย ซึ่งอุตสาหกรรมเกษตรในกัมพูชาได้เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ โดยจะนำมาตรฐานอุตสาหกรรมชุดใหม่ในภาคการเกษตรมาใช้ในไม่ช้า ที่เรียกกันว่า “CamGap” เพื่อให้เห็นถึงคุณภาพของสินค้าเกษตรในประเทศกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50629110/vegetable-shipping-centre-opens-in-kandal/

กัมพูชาและเวียดนามรวมมือพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

กัมพูชาและเวียดนามตกลงที่จะร่วมมือกันพัฒนาเมืองที่ชาญฉลาด โดยการประชุมระหว่างกัมพูชาและเวียดนามได้พูดถึงเรื่อง กรุงพนมเปญพัฒนาขึ้นอย่างมาก แต่ต้องเผชิญกับปัญหาการจราจรที่คับคั่งและปัญหาการจัดการขยะที่ต้องได้รับการแก้ไข ซึ่งโฮจิมินห์ก็กำลังประสบกับปัญหาหลายอย่างเช่นเดียวกับที่เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญที่สุดของเวียดนาม ซึ่งฝ่ายต่างๆระบุว่าความร่วมมือในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจะมีความสำคัญในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยสมาร์ทซิตี้จะเป็นรูปแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ใช้เทคโนโลยีและข้อมูลเพื่อทำให้การดำเนินงานและชีวิตในเขตเมืองดีขึ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป้าหมายคือการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เมืองต้องเผชิญรวมถึงการจราจรที่ติดขัด มลภาวะและอาชญากรรมที่มีสูง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50629109/cambodia-vietnam-to-collaborate-in-smart-cities/

2 องค์กรมองต่างมุม “ส่งออก”

กรรมการผู้จัดการธนาคารเอ็กซิมแบงก์ เผยว่า 6 เดือนแรกของปีนี มูลค่าส่งออกของไทยหดตัว 2.9% เป็นผลของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่ยังยืดเยื้อ ทำให้สินค้าส่งออกที่พึ่งพาตลาดจีนหดตัว อาทิ คอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า เม็ดพลาสติก สำหรับสินค้าความหวังที่จะช่วยพยุงการส่งออก 6 เดือนสุดท้ายของปีนี้มี 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มสินค้าดาวรุ่ง 2.กลุ่มสินค้าที่ได้อานิสงส์จากสงครามการค้า 3.กลุ่มสินค้าที่หนีไปตลาดหลบภัย 4.กลุ่มสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการเดิมในตลาดใหม่ๆ รวมถึงการมีรัฐบาลชุดใหม่, สงครามการค้ายุติลงชั่วคราว, ประเทศไทยมีตลาดส่งออกใหม่ๆ อาทิ อินเดีย แอฟริกา ยุโรปตะวันออก ละตินอเมริกา นอกเหนือจากตลาดปัจจุบันคือ CLMV เชื่อว่าทำให้มูลค่าส่งออกตลอดทั้งปีกลับมาเติบโต 0.2% 4. ส่วนผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท.กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยเดือน มิ.ย. เป็นเดือนที่ชะลอตัวแทบทุกหมวด ยกเว้นการท่องเที่ยวที่ดีขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับเดือน พ.ค. ส่วนการส่งออกที่ชะลอตัวต่อเนื่อง และการนำเข้าเดือน ก.ค.ที่ชะลอตัวลงมาก ทำให้การส่งออกเดือน ก.ค.-ส.ค. ซึ่งเดิมคาดว่าจะฟื้นตัวในระยะสั้นๆไม่เกิดขึ้น เป็นไปได้ว่าการ ส่งออกตลอดทั้งปีนี้ เดิมคาดว่าขยายตัว 0% อาจเปลี่ยนเป็นติดลบ.

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1627530

กลุ่มอุตสาหกรรมยางเวียดนามมีรายได้และกำไรพุ่งสูงขึ้น

จากรายงานของอุตสาหกรรมยางเวียดนาม (GVR) เปิดเผยว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2562  ธุรกิจของอุตสาหกรรมยางเวียดนามมีรายได้ และกำไรหลังหักภาษี ด้วยมูลค่ารวม 7.6 ล้านล้านด่อง และ 1 ล้านล้านด่อง ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 และ 15.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามลำดับ โดยกลุ่มธุรกิจของอุตสาหกรรมยางเวียดนามมีข้อได้เปรียบในด้านการพัฒนาวัตถุดิบ และไม้แปรรูปให้มีคุณภาพ โดยบริษัทในเครือกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ มีโครงการแปรรูปไม้กว่า 13 โครงการ ที่สามารถผลิตสินค้าทำมาจากไม้ ได้แก่ แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง (MDF) ไม้อัด และยาง เป็นต้น ซึ่งกลุ่มธุรกิจของอุตสาหกรรมนี้ มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเขตอุตสาหกรรมพิเศษอย่างต่อเนื่อง ในนิคมอุตสาหกรรม Nam Tan Uyen , Rach Bap และ Thai Binh เป็นต้น นอกจากนี้ ก็มีการพัฒนาทางด้านที่อยู่อาศัย และการบริการ ในนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/523414/rubber-group-sees-both-revenue-and-profit-rise.html#YtS2E50RP8KLJwOb.97

นครเกียนซางอนุมัติโครงการรวม 20 โครงการ ด้วยมูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากรายงานของคณะกรรมการประชาชนในจังหวัดเกียนซาง เปิดเผยว่าเขตจังหวัดเกียนยาง (Kien Giang) มีมูลค่าการลงทุนกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยโครงการรวม 20 โครงการ ซึ่งการลงทุนดังกล่าว มาจากการได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ซึ่งโครงการลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ โครงการขุดเหมืองหินปูน และดินเหนียว รวมทั้งปูนซีเมนต์ เป็นต้น ดำเนินการโดยบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ด้วยเงินลงทุนประมาณ 467.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ ทางคณะกรรมการของจังหวัดเกียนซางจะมุ่งเน้นการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางด้านธุรกิจและกฎหมายให้สอดคล้องกับนักลงทุนให้รอบด้าน และให้สิทธิประโยชน์ทางด้านนโยบายของภาครัฐ รวมไปถึงหารือกับหน่วยงานท้องถิ่นของจังหวัดในการหาทางแก้ไขกับปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้โครงการดังกล่าวสามารถสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/523409/kien-giang-approves-20-projects-worth-total-2-billion.html#Y7gIoZtx3Ge2ZYqw.97

สนามบินพุกามต้องมีการปรับปรุง

สนามบินพุกามไม่สามารถปรับปรุงและซ่อมแซมได้ เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับเมืองโบราณที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และจะไม่สามารถดำเนินการในแผนระยะยาว สนามบินพุกามมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการปรับปรุงซึ่งจำเป็นต้องวางแผนในอนาคต จากการเป็นพื้นที่มรดกโลกส่งผลให้ตอนนี้นักเดินทางต่างชาติไปเที่ยวพุกามมากขึ้นและสายการบินนานาชาติได้ให้ความสนใจในการบินตรงไปยังพุกาม กรมการบินพลเรือน (DCA) แจ้งว่าสายการบินบางกอกแอร์เวย์สว่าไม่ได้รับอนุญาตให้บินตรงระหว่างกรุงเทพฯ และพุกามได้เนื่องจากไม่ใช่สนามบินนานาชาติ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/pakokku-airport-needs-to-upgrade-minister

มิ.ย.62 เงินเฟ้อเมียนมาพุ่ง 8.08%

อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วงปลายเดือน มิ.ย.อยู่ที่ 8.08% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ 7.82% ในช่วงปลายเดือน พ.ค. อัตราเงิน อัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบปีต่อปีอยู่ที่ 9.51% โดยเขตมะกเว มีเงินเฟ้อสูงสุดอยู่ที่ 12.31% รองลงมาคือรัฐมอญ 10.14% และมัณฑะเลย์ที่ 9.99% จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเมียนมา (Central Statistical Organization: CSO) ในปี 55 ได้ทำการสำรวจครัวเรือนและการบริโภคของครัวเรือน 32,669 ครัวเรือนใน 82 เมืองทั่วประเทศเพื่อคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคและอัตราเงินเฟ้อ ในอดีตอัตราเงินเฟ้อคำนวณโดยใช้ปี 49 เป็นปีฐาน แต่ตอนนี้ 2012 ถูกใช้เป็นปีฐานในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อ ภายใต้แผนพัฒนาแห่งชาติห้าปีฉบับที่ 2  (จากปี 59 – 60 ถึง ปี 63-64) รัฐบาลได้วางแผนลดอัตราเงินเฟ้อผ่านนโยบายการเงินการคลัง การค้า และนโยบายสกุลเงินต่างประเทศ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/average-inflation-hits-808-pc-in-june

ผู้ทำการค้าในสปป.ลาว ประสบปัญหาหลังจากการระงับการนำเข้าจุดผ่านแดนท้องถิ่นเข้าสู่ประเทศจีน

ผู้ทำการค้าในจังหวัดทางตอนเหนือของสปป.ลาวมีทางเลือกน้อยลงในการนำสินค้าเข้าประเทศจีนหลังจากทางการจีนสั่งห้ามนำเข้าจุดผ่านแดนท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดรวมถึงสินค้าเกษตรสามารถเข้าสู่ประเทศจีนได้เฉพาะที่ด่านชายแดนบ่อเต็น ในแขวงหลวงน้ำทา การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการส่งออกในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งทางการสปป.ลาวยังไม่ได้รับข้อมูลที่เป็นทางการจากคู่ค้าจีนว่าเหตุใดจึงถูกห้ามนำเข้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ค้าจำนวนมากในแขวงพงสาลีและอุดมไซ เนื่องจากต้องใช้จ่ายเพิ่มเพื่อขนส่งสินค้า อย่างไรก็ตามผู้ค้าในจังหวัดหลวงน้ำทายังไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากนักธุรกิจจีนในภูมิภาคสามารถส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีนผ่านด่านชายแดนทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งตอนนี้จีนเป็นนักลงทุนต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดในสปป.ลาวและเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองของประเทศ การเพิ่มขึ้นของนักลงทุนจีนในสปป.ลาวและโครงการความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นระหว่างรัฐบาลทั้งสองเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้การนำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นการส่งออกของสปป.ลาวไปยังประเทศจีน กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในปีนี้ ในขณะที่การนำเข้าจะลดลง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/traders-suffer-after-curb-import-entry-points-china-101193

การลงทุนภาคเอกชนในสปป.ลาว ชะลอตัวลง

การลงทุนของผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศไม่ได้เติบโตตามที่วางแผนไว้แม้จะมีมาตรการเพิ่มเติมของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นการเติบโตของภาคเอกชนและรักษาเศรษฐกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแผนการและการลงทุนกล่าวว่าบริษัทเอกชนลงทุนในโครงการ 1,266 โครงการในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ด้วยทุนจดทะเบียน 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตามเงินทุนที่โอนผ่านธนาคารจริงมีเพียง 1.09 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือเท่ากับ 40% ของเป้าหมายในปีนี้ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติสปป.ลาวกล่าวว่าการเติบโตของภาคเอกชนที่ซบเซาเป็นผลมาจากนโยบายงบประมาณของรัฐบาลในการจัดลำดับความสำคัญในการชำระหนี้ โดยการขยายตัวของสินเชื่อที่ชะลอตัวลงเป็นเครื่องบ่งชี้ที่ชัดเจนว่าการลงทุนภาคเอกชนจะชะลอตัวลง ในไตรมาสแรกของปีนี้สินเชื่อเติบโตถึง 3.13% อีกทั้งสปป.ลาวมีโอกาสมหาศาลที่จะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติมากขึ้นเนื่องจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนกำลังบังคับให้บริษัทในภูมิภาคพิจารณาย้ายฐานการผลิตจากจีนไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากข้อพิพาททางการค้า ดังนั้นสปป.ลาวจำเป็นต้องปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนและสร้างความเชื่อมั่นมากขึ้น

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Private.php

กลุ่มธนาคารรายย่อยของกัมพูชายังคงเติบโตได้ดี

การเติบโตของสินเชื่อและเงินฝากในภาคการเงินที่มีผู้คนหนาแน่นในช่วงครึ่งปีแรกเป็นผลมาจากการบริหารเศรษฐกิจมหภาคที่ดีและการเมืองในประเทศที่มาเสถียรภาพ โดย NBC เปิดเผยว่าเงินให้สินเชื่อในภาคธนาคารและสินเชื่อรายย่อยเพิ่มขึ้นประมาณ 22.4% ในครึ่งปีแรก มูลค่าอยู่ที่ 27.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งกลุ่มธนาคารรายย่อยในกัมพูชายังคงมีส่วนสำคัญที่จะผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ ลดความยากจน และความไม่เท่าเทียมในสังคม โดยกัมพูชามีธนาคารพาณิชย์ 44 แห่ง ธนาคารพาณิชย์เฉพาะธุรกิจ 15 แห่ง สถาบันการเงินไมโครไฟแนนซ์ 74 แห่ง และผู้ประกอบการสินเชื่อชนบท 254 ราย สินทรัพย์รวมในภาคธนาคารและการเงินรายย่อยเพิ่มขึ้น 19.2% ในครึ่งปีแรกสู่ระดับ 44.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50629111/banking-microfinance-sectors-maintain-strong-growth/