นครโฮจิมินห์เรียกร้องให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน

จากรายงานของศูนย์การส่งเสริมการค้าและการลงทุนเวียดนาม (ITPC) เปิดเผยว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในเมืองมีอยู่ 13 ล้านคน ที่เผชิญกับปัญหาการพัฒนาบ้านเมือง และสภาพอากาศ เป็นต้น ด้วยการเติบโตทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการขยายตัวในเมือง ซึ่งนครโฮจิมินห์มีมูลค่าการลงทุนกว่า 53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ พร้อมโครงการประมาณ 210 โครงการ ซึ่งโครงการส่วนใหญ่มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน หากจำแนกลักษณะโครงการ พบว่าจำนวนโครงการส่วนใหญ่มาจากโครงสร้างการขนส่ง (85 โครงการ) รองลงมาถนน และสะพาน (55 โครงการ) ขนส่งทางน้ำ (8 โครงการ) เป็นต้น ทางด้านตัวเลขสถิติ เผยว่าเดือนที่ผ่านมา มีนักลงทุนกว่า 106 ประเทศ โดยมูลค่าการลงทุนในภูมิภาคต่างๆ ในเมืองนี้มากกว่า 45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/523273/hcm-city-solicits-investment-in-infrastructure.html#SyvC5UgGlfeQEbuo.97

แบงก์ชาติเมียนมาระงับใช้บัตรเติมเงิน สกุลท้องถิ่น

จากรายงานของธนาคารกลางเมียนมา (Central Bank of Myanmar :CBM) การใช้บัตรเติมเงินจากผู้ให้บริการชำระเงินระหว่างประเทศ 4 รายจะไม่ได้รับอนุญาตในสกุลเงินท้องถิ่น โดยอนุญาตให้ใช้บัตรเติมเงินจาก Master, Visa, UPI และ JCB ด้วยวงเงิน 5,000 เหรียญสหรัฐเพื่อใช้เป็นทางเลือกในการชำระเงินโดยชาวเมียนมาที่เดินทางไปต่างประเทศรวมถึงชาวต่างชาติในประเทศ อย่างไรก็ตามไม่อนุญาตการชำระเงินด้วยสกุลเงินท้องถิ่น (จัต) ธนาคารเอกชนทุกแห่งได้รับคำสั่งให้ให้บริการบัตรเติมเงินภายในกรอบของ CBM นอกจากนี้ ธนาคารจะต้องส่งคำตอบไปยังฝ่ายบัญชีก่อนวันที่ 9 สิงหาคมเพื่อรับทราบคำแนะนำของ CBM

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/usage-intl-prepaid-cards-kyat-not-allowed-cbm.html

เกาหลีใต้ช่วยสปป.ลาวปรับปรุงการจัดการ ของเสีย

เกาหลีใต้จะให้เงินสนับสนุนจำนวน 6.78 ล้านเหรียญสหรัฐแก่สปป.ลาวเพื่อสนับสนุนโครงการของประเทศเพื่อพัฒนาเมืองสีเขียวและปรับปรุงการเข้าถึงบริการการจัดการและบำบัดของเสีย จะสนับสนุนกลยุทธ์การดำเนินงานสำหรับการจัดการขยะมูลฝอยและการการจัดการทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก โครงการจะดำเนินการตั้งแต่ปี 62-67 จะดำเนินการในเวียงจันทน์และปากเซ รัฐบาลเกาหลีใต้ให้ความช่วยเหลือ 6.5 ล้านเหรียญสหรัฐในขณะที่อีก 280,000 มาจาก Global Green Growth Institute และในขณะนี้สปป.ลาวกำลังผลักดันโครงการหลายโครงการเพื่อสร้างความมั่นใจในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของประเทศ นอกจากนี้ยังประกาศว่าจะดำเนินโครงการสร้างโรงบำบัดน้ำเสียใหม่ ซึ่งใช้เงินกู้ยืมจากรัฐบาลฮังการี 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะนี้การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการอยู่ระหว่างดำเนินการการก่อสร้างโรงงานจะเริ่มขึ้นในปี 63 หากโรงงานเสร็จสมบูรณ์เมืองจะสามารถเพิ่มปริมาณน้ำที่ใช้ในการแปรรูปเป็น 2 เท่าต่อวันนอกจากนี้ยังพยายามปรับปรุงระบบประปาของเมืองเพื่อรองรับและจัดการครัวเรือนและน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : https://laotiantimes.com/2019/07/29/south-korea-to-help-laos-improve-waste-management/

สปป.ลาวเริ่มปฏิรูปการบริหารการลงทุนภาครัฐ

เจ้าหน้าที่ของรัฐรวมตัวกับตัวแทนของ JICA และสถานทูตญี่ปุ่นประจำสปป.ลาว หารือเกี่ยวกับการปรับปรุงด้านการจัดการการลงทุนสาธารณะ (PIM) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแผนการและการลงทุนกล่าวว่าภารกิจของคณะกรรมการที่เสนอคือเพื่อให้แน่ใจว่าประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการบริหารการลงทุนสาธารณะโดยรวม คณะกรรมการจะดูแลการปรับปรุงให้มีประสิทธิผลมากขึ้นและตรงตามข้อกำหนดทางเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้แผนปฏิบัติการ PIM จะสอดคล้องกับการปฏิรูปการบริหารการเงินสาธารณะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำสปป.ลาว กล่าวว่าโครงการนี้จะช่วยสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคและมิตรภาพระหว่างประเทศ จะช่วยขจัดความยากจนและปรับปรุงความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน ด้วยเหตุนี้รัฐบาลได้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทั่วประเทศ พยายามที่จะเริ่มต้นการปฏิรูปและครอบคลุมในด้านการจัดการการลงทุนภาครัฐ จัดตั้งคณะกรรมการหลายองค์กรเพื่อปรับปรุงการจัดการการลงทุนสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลังและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญอื่น ๆ เพื่อร่างเอกสารการปฏิรูปของรัฐบาลที่ครอบคลุมสำหรับการปรับปรุง PIM

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-initiates-reform-public-investment-management-101013

GDP กัมพูชาจะเติบโต 7.1% ภายในปี 62

ธนาคารกลางกัมพูชากล่าวว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่ง และคาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศจะขยายตัวที่ 7.1% ในปี 2562 โดยจะเติบโตจากการสนับสนุนของการส่งออก การก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ และภาคการท่องเที่ยว ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรก อุตสาหกรรมขยายตัวที่ 10.5% ในขณะที่ภาคบริการขยายตัวที่ 6.6% และภาคการเกษตรขยายตัว 1.4% โดยภาคอุตสาหกรรมแบ่งตามสัดส่วนได้ 36.4% ภาคบริการอยู่ที่ 39% ของ GDP มูลค่าการนำเข้าและส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 17.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่งออกมีมูลค่า 6.8 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งส่งออกไปยัง สหภาพยุโรป 33.2% , สหรัฐฯ 28% และญี่ปุ่น 7.7% ส่วนของการนำเข้ามีมูลค่า 10.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยนำเข้าจากจีน 46% ,ไทย 15.6% และญี่ปุ่น 4.5% ซึ่งมีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.9%

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50628476/gdp-to-grow-at-7-1-pct-in-2019/

งานประชุมธุรกิจแปรรูปอาหารการเกษตรจะจัดขึ้นในเดือนหน้าในกัมพูชา

สหพันธ์สมาคมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของกัมพูชา (FASMEC) และพันธมิตรจะจัดงานภายในเดือนหน้า ในวันที่ 16-18 สิงหาคม 2562 ที่ศูนย์ประชุม Diamond Island ซึ่งเป็นการประชุมที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูปในกัมพูชา โดยผู้ดำเนินธุรกิจจะมีโอกาสเข้าชมการแสดงบรรจุภัณฑ์ ส่วนผสม และเครื่องจักรสำหรับการแปรรูปอาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรต่างๆ รวมถึงได้พบกับซัพพลายเออร์ที่มีคุณภาพ เพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจของผู้เข้าร่วมงาน ซึ่งกัมพูชามีอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรที่กำลังเติบโต ขณะนี้ประเทศเริ่มส่งออกอาหารแปรรูปและสินค้าเกษตรในปริมาณมากขึ้นหลังจากผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก โดยการให้ความช่วยเหลือจากประเทศต่างๆ เช่น จีน และเกาหลี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50628394/food-agro-processing-business-event-to-be-held-next-month/

สสว.เดินหน้าหนุน SMEs รุกตลาดใกล้ บุกตลาดไกล จัดเสวนากลยุทธ์บุกตลาดเพื่อนบ้าน

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จัดทำ โครงการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ให้บริการ SMEs สู่อาเซียน เดินหน้าสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ไทยรุกตลาดโลก พร้อมเดินสายจัดสัมมนาในแต่ละภูมิภาค ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี อุดรธานี ข่อนแก่น หาดใหญ่ เชียงราย และเชียงใหม่ ภายใต้หัวข้อ “รุกตลาดใกล้ บุกตลาดใหญ่” เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดต่างประเทศมาร่วมให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับกลยุทธ์ด้านการตลาดและการลงทุนกับเครือข่ายทางธุรกิจในกลุ่มประเทศดังกล่าว โดยกลุ่มเป้าหมายหลักเบื้องต้นคือกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งมีวัฒนธรรมการบริโภคสินค้าและพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใกล้เคียงกับไทยในหลายด้าน โดยการสร้างเครือข่าย (Network) ถือเป็นพันธกิจและเป้าหมายหลักของโครงการ เพื่อมอบโอกาสทางการตลาด ให้ผู้ประกอบการสามารถต่อยอดในการประกอบธุรกิจ

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3019713

ผู้ประกอบการเวียดนามเร่งโอกาสจากผลกระทบของความตกลงการค้าเสรี EVFTA

ในกรณีที่สหภาพยุโรปและเวียดนามลงนามข้อตกลงการค้าเสรี (EVFTA) คาดว่าจากผลของข้อตกลงการค้าเสรีฉบับนี้จะนำโอกาสทางการค้าให้ผู้ประกอบการอลูมิเนียมของเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการเวียดนามยังคงเผชิญกับการท้าทายใหม่ๆ ได้แก่ การแข่งขันทางการค้าที่รุนแรงของคู่แข่ง ข้อกำหนดที่เข็มงวดจากกฎด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และกฎหมายทางด้านแรงงาน เป็นต้น ในขณะที่ทางสมาคมอลูมิเนียมเวียดนาม ระบุว่าคุณภาพและแหล่งกำเนิดสินค้าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเป็นจุดอ่อน/ข้อบกพร่องที่เวียดนามต้องหาทางแก้ไขให้ได้ นอกจากนี้ ทางสภาหอการค้ายุโรป เผยว่าอัตราภาษีสินค้าส่งออกอลูมิเนียมของเวียดนามไปยังสหภาพยุโรปจะดำเนินการยกเลิกภายในระยะเวลา 8 ปี นับตั้งแต่ข้อตกลงการค้าเสรี (EVFTA) มีผลบังคับใช้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/523113/local-aluminium-firms-urged-to-tap-opportunities-from-evfta.html#YsCmtEq255yPhgmE.97

เวียดนาม เผยมูลค่าการลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2562

จากรายงานของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่ามูลค่าการลงทุนในภาคเกษตรกรรมอยู่ที่ 491.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในชวงครึ่งแรกของปี 2562 ด้วยจำนวนโครงการใหม่ 11 โครงการ รวมไปถึงโครงการที่มีอยู่ ในขณะนี้ ทางกระทรวงฯ จะดำเนินการสนับสนุนด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการก่อสร้างโรงงานแปรรูปพืชผลทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ รวมไปถึงฟาร์มเทคโนโลยีแปรรูปโควัวและนมวัว ด้วยจำนวนมูลค่ากว่า 3.8 ล้านล้านด่อง (หรือ 163.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) นอกจากนี้ ในช่วงตั้งแต่ปี 2556-2561 พบว่าอุตสาหกรรมการแปรรูปการเกษตร ป่าไม้และประมง มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 5-7 ต่อปี ดังนั้น มูลค่าการส่งออกรวมของอุตสาหกรรมนี้ จึงเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8-10 ปี โดยเฉพาะในปี 2561 ที่เพิ่มขึ้นอย่างประวัติการณ์ด้วยมูลค่ารวมราว 40.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/523123/almost-500m-invested-in-farm-product-processing-industry-in-h1.html#oaphoz97v5rXCALX.97

การท่าเรือเมียนมาเจรจาญี่ปุ่นขยายท่าเรือติวาลา

Myanma Port Authority (MPA) กำลังเจรจากับญี่ปุ่นเพื่อขยายอาคารอเนกประสงค์สำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศของท่าเรือติวาลา (Thilawa Multipurpose International Terminal: TMIT) MPA สร้าง TMIT โดยใช้เงินกู้กว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐจากความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) จากญี่ปุ่นและเปิดให้บริการในวันที่ 1 มิ.ย.62 นี้ เมียนมาสร้างท่าเรือใหม่แปดแห่งในย่างกุ้งภายในระยะเวลาสามปีและการขนถ่ายสินค้ากำลังดำเนินการกับอีก 41 ท่าเรือตามรายงานของ MPA ชายฝั่งเมียนมามีความยาว 1,385 ไมล์และท่าเรือเก้าแห่งสร้างขึ้นตามแนวชายฝั่ง ท่าเรือย่างกุ้งเป็นท่าเรือที่สำคัญเพราะมากกว่า 90% เป็นการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/mpa-negotiates-with-japan-to-expand-tmit-wharf