ญี่ปุ่นขอมีส่วนร่วมพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย

นาย U Myint San รองประธานคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) เผยรัฐบาลญี่ปุ่นยื่นข้อเสนอเพื่อเข้าร่วมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายแบบฐบาลต่อรัฐบาล (G2G) ถึงแม้มีการระบาดของ COVID-19 แต่ก็อนุมัติให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมทันทีและกำลังรอการสนับสนุนทางการเงินและทางเทคนิคเพื่อเริ่มต้นการก่อสร้างที่ล่าช้ามานาน โครงการการพัฒนาล่าสุดล่าสุดภายหลังจากจีนสนใจที่จะลงทุนในเขตเศรษฐกิจทวายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 63 ทวายคาดว่าจะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนซึ่งใหญ่กว่าติวลาในย่างกุ้งประมาณ 8 เท่าและใหญ่กว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวในยะไข่ถึงสิบเท่า เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายมีพรมแดนติดกับประเทศไทยโดยมีพื้นที่ 20,000 เฮกตาร์ซึ่งรวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมและท่าเรือ บริษัท อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างของไทยมีการลงนามบันทึกความเข้าใจเบื้องต้นระหว่างเมียนมาและไทยในปี 51 แต่หยุดชะงักลงในปี 56 เนื่องจากไม่สามารถหาเงินลงทุนได้ตามสัญญา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/japan-offers-participate-dawei-sez-development.html

DICA เปิดตัวแอปฯ ลงทุนออนไลน์เป็นครั้งแรกในเมียนมา

คณะกรรมการการลงทุนและการบริหาร บริษัท (DICA) ของเมียนมา จะเปิดตัวแอปพลิเคชันการลงทุนออนไลน์เพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนเพื่อดึงดูดนักลงทุน ฟังก์ชั่นใหม่ฯ นี้ จะช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการลงทุนโดยไม่ต้องไปที่สำนักงานของ DICA จึงเชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นให้เกิดการลงทุนมากขึ้นในช่วงเวลาที่การเดินทางเข้าประเทศยังถูกจำกัดจากการระบาดของ COVID-19 ทั้งยังลดการใช้กระดาษและลดจำนวนคนทำงานลง การเปิดตัวเกิดขึ้นหลังจาก DICA อนุญาตให้นักลงทุนและธุรกิจจดทะเบียนบริษัทผ่านระบบออนไลน์ ในปี 2561 ระบบการจดทะเบียนบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ Myanmar Companies Online (MyCO) ปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนมากกว่า 68,000 แห่ง กระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศ ได้อนุมัติใบอนุญาตทางออนไลน์มากขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/investment-applications-go-online-myanmar.html

ค้าชายแดนเมียนมา-ไทยต้นทุนค่าเสียหายพุ่งสูงขี้น

มีคำแนะนำสำหรับการถ่ายสินค้าเพื่อการค้าบริเวณชายแดนและบรรจุลงรถแยกที่สะพานมิตรภาพไทย – เมียนมา 2 ทำให้ผู้ค้าในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากจากความเสียหายที่เพิ่มขึ้น นาย U Aung Myint Oo ผู้อำนวยการ บริษัท การค้า Klohtoo Wah Co. Ltd. เผยสินค้าบางที่อย่างไม่สามารถตากแดดหรือฝนได้ เช่น แป้งข้าวเจ้าจะได้รับความเสียหายหากเปียก แต่การบรรจุสินค้าขึ้นรถบรรทุกของไทยจำเป็นต้องนำไปเก็บไว้ชั่วคราวที่อาคารผู้โดยสาร ซึ่งการขนย้ายสินค้ายังต้องใช้ค่าแรงเพิ่มเติม หลังจากมีผู้ตรวจพบ COVID -19 ในแม่สอดของประเทศไทยอีก 5 รายเมื่อเดือนที่แล้วสะพานมิตรภาพไทย – เมียนมา ปิดให้เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ การสัญจรกลับมาได้อีกครั้งในวันที่ 25 ตุลาคม โดยปกติรถบรรทุกจะใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมงเพื่อข้ามพรมแดนเข้าสู่ประเทศไทย ขณะนี้สมาคมผู้ค้าหน่วยงานภาครัฐและหอการค้าเมียนมากำลังเจรจากับเจ้าหน้าที่ไทยเพื่อหาทางออกที่ช่วยบรรเทาภาระนี้ ปัจจุบันในแต่ละวันมีรถบรรทุกมากกว่า 300 คันวิ่งผ่านสะพาน ส่วนใหญ่จะนำเข้าวัสดุก่อสร้างจากไทย ในขณะการส่งออกจะเป็นผักและผลไม้ เช่น ข้าวโพด พริก และถั่วลิสง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/more-costs-damage-incurred-while-trading-thai-border.html

ร่างคุ้มครองผู้บริโภคเมียนมาพร้อมประกาศใช้

จากรายงานของฝ่ายกิจการผู้บริโภคภายใต้กระทรวงพาณิชย์ เมียนมาได้จัดทำร่างโครงการคุ้มครองผู้บริโภคระดับชาติเป็นที่เสร็จสิ้นแล้ว เนื้อหาในร่างนี้จะรวมถึงการคุ้มครองผู้บริโภค การศึกษาการสื่อสารการตลาดและการดำเนินการเพื่อผู้บริโภค โดยได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคของเมียนมาและจะถูกส่งต่อไปยังรัฐบาล โครงการดังกล่าวเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 และจะประกาศให้สาธารณชนได้รับทราบต่อไป โปรแกรมนี้ได้รับความช่วยเหลือจากนานาชาติรวมถึงการขอความช่วยเหลือสำหรับผู้บริโภคออนไลน์

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/consumer-protection-program-drafted-myanmar.html

ปี 65 เมียนมาเดินหน้าสร้างทางด่วน พะโค-ไจ้โต

จากข้อมูลของกรมทางหลวง กระทรวงการก่อสร้างเผย การก่อสร้างทางด่วนที่เชื่อมระหว่างเมืองพะโคและเมืองไจ้โตในรัฐมอญคาดว่าจะเริ่มได้ในปีงบประมาณ 2565-2566 โดยจะได้รับเงินกู้ยืม 483.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB)  เพื่อสร้างทางด่วนระยะทาง 64 กม. โครงการนี้ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2571-2572 โดยจะมีสะพานข้ามแม่น้ำสีตึ้งยาว 2.3 กม. และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) จะเป็นผู้จัดหาเงินทุนสำหรับก่อสร้างสะพาน New Sittaung ด้วยเงินกู้ 27.8 พันล้านเยน ซึ่งโครงการนี้อยู่ภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก-ตะวันตก (EWEC) ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ทั้งนี้ทางหลวงจากพะโคถึงไจ้โตจะช่วยให้เข้าถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาและไปใกล้ย่างกุ้งได้ง่ายขึ้น อีกทั้ง EWEC ยังเชื่อมต่อไทยกับเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาและต่อไปยังพะสิมในเขตอิรวดี

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/construction-bago-kyaik-hto-expressway-commence-2022.html

ดอลลาร์อ่อนค่าลงต่อเนื่อง หวั่นกระทบส่งออกเมียนมา

ผู้ส่งออกเมียนมากังวลการค้าระหว่างประเทศและรายได้จากการส่งออกซึ่งได้รับผลกระทบจากความต้องการที่ลดลงและอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงจากธนาคารกลางเมียนมา (CBM) ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน อยู่ที่ 1,287.4 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งต่ำสุดในรอบ 2 ปี กระทรวงพาณิชย์ระบุว่าปริมาณการค้าในช่วงสามสัปดาห์แรกของปีงบประมาณปัจจุบันน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้ที่ได้รับในช่วงเวลาเดียวกันของงบประมาณ 62-63 ตลาดส่งออกเริ่มแย่ลงจากพิษ COVID-19 ยังได้รับผลกระทบค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่า หากยังลดลงอย่างนี้ผู้ส่งออกย่อมมีโอกาสขาดทุน รัฐบาลและ CBM จะต้องหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น นักวิเคราะห์การเงินคาดว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอาจยังคงต่ำกว่า 1300 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐไปอีกระยะ ทั้งยังชี้ให้เห็นว่าการที่ธนาคารกลางสหรัฐได้พิมพ์และใช้เงินจำนวน 3 ล้านล้านดอลลาร์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาและหากยังพิมพ์ธนบัตรต่อไปยิ่งทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงไปอีก

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-exporters-concerned-over-falling-dollar-rate.html

สหราชอาณาจักรพร้อมช่วยเหลือรัฐชานเดินหน้าโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและผังเมือง

นาย U Tun Aing Kyaw ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัยแห่งรัฐฉานเผยรัฐฉานจะร่างผังเมืองและพัฒนาโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐโดยความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร โครงสร้างพื้นฐานมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเมือง โดยจะดำเนินการตามแผนระยะสั้นและระยะยาวสำหรับการอนุรักษ์มรดกโบราณตลอดจนโครงการพัฒนาเมืองเพื่อปรับปรุงภูมิภาคให้ทันสมัยหากประสบความสำเร็จรัฐฉานจะพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ยังได้ดำเนินโครงการพัฒนาเมืองอีก 6 โครงการใน Moemeik, Mong Ton, Mong Hsat, Hopone ในขตปกครองตนเองปะโอ, Narnsam ในเขตปกครองตนเองของปะหล่อง และ Laukkai ในพื้นที่ปกครองตนเองโกก้าง นอกจากนี้ยังร่วมกับสวีเดนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในเมืองกะลอของรัฐฉาน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/shan-conduct-development-programmes-uk-aid.html

เมียนมาพร้อมขยายตลาดกาแฟผ่านสิงคโปร์

รายงานของ Myanmar Coffee Association เผยเมียนมาขยายการส่งออกกาแฟผ่านสิงคโปร์เพื่อเข้าถึงตลาดใหม่ ๆ จากการระบาดของ COVID-19 ความต้องการกาแฟในท้องถิ่นลดลงและผู้ค้าบางรายพยายามขยายตลาดในต่างประเทศและกำลังเชื่อมต่อกับตลาดใหม่ในภูมิภาคโดยผ่านสิงคโปร์ เมื่อเดือนที่แล้วสมาคมได้เข้าร่วมงาน Singapore Specialty Coffee Online Auction 2020 ซึ่งเป็นเวทีสำหรับผู้ผลิตเมล็ดกาแฟทั่วโลกเพื่อส่งเสริมเมล็ดกาแฟสู่ตลาดเอเชียโดยใช้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลาง เมียนมาเพิ่มความพยายามในการหาตลาดต่างประเทศหลังจากการส่งออกลดลงเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 การส่งออกลดลงครึ่งหนึ่งในปีงบประมาณ 62-63 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่ส่งออกมากกว่า 1,000 ตันไปยังสหรัฐฯ เยอรมนี จีน ไทยญี่ ปุ่นเกาหลี และยุโรป การส่งออกกาแฟอาจลดลงอีกในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าตรงกันข้ามกับแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในช่วงห้าปีที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกกาแฟเพิ่มขึ้น 4 เท่าเป็น 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 62-63 จาก 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 57 ประชากรร้อยละ90 ของประเทศมีประชากรดื่มกาแฟสำเร็จรูปที่นำเข้าจากต่างประเทศและที่เหลือบริโภคกาแฟในท้องถิ่น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-coffee-market-expand-through-singapore.html

ไทยเป็นตลาดส่งออกข้าวโพดเบอร์ต้น ๆ ของเมียนมา

นาย U Myo Thu รองอธิบดีองค์การส่งเสริมการค้าเมียนมาเผยปัจจุบันไทยเป็นนำเข้าข้าวโพดจากเมียนมาเป็นอันดับต้น ๆ โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของการเก็บเกี่ยวถูกส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ข้าวโพดที่ใช้ในอุตสาหกรรมหรืออาหารสัตว์เป็นที่ต้องการสูงในไทย จากการส่งออกไปยังจีนถูกระงับตั้งแต่ปี 61 ผลผลิตข้าวโพดส่วนใหญ่จึงถูกส่งออกไปยังไทย ซึ่งในปีงบประมาณ 62 – 63 มีการนำเข้ามากกว่ามากกว่าหนึ่งล้านตันเพิ่มขึ้นจาก 700,000 ตันในปีก่อนหน้า การส่งออกข้าวโพดเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 เมื่อเทียบเป็นรายปีในปีงบประมาณ 62 – 63 การส่งออกข้าวโพดต่อปีอยู่ที่ 2.5 ล้านตันเมื่อเทียบกับ 1.5 ล้านตันในปีก่อนหน้า ปัจจุบันเมียนมามีพื้นที่ปลูกข้าวโพด 1.5 ล้านเอเคอร์

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/thailand-becomes-top-corn-export-market-myanmar.html

แอป WavePay มีผู้ใช้งานมากกว่า 1 ล้านคน

WavePay แอปชำระเงินบนมือถือของ Wave Money มีผู้ใช้งานมากกว่า 1.1 ล้านรายต่อเดือนโดยมีมูลค่าการโอนเงินสูงถึงเกือบ 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายใน 9 เดือนแรกของปี 63 ซึ่งคิดเป็นการเติบโตโดยเฉลี่ย 162% ตั้งแต่เดือนมกราคม 63 ซึ่งรวมถึงเงินกว่า 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่โอนไปยังผู้ได้รับผลกระทบในชนบทจากกองทุน COVID-19 ของรัฐบาล ตั้งแต่เดือนมีนาคมผู้ที่ได้รับผลกระทบหลายแสนคนรวมถึงคนงานตัดเย็บเสื้อผ้า ข้าราชการ และเกษตรกรได้รับเงินฉุกเฉินในรูปแบบดิจิทัลโดยใช้ WavePay ซีอีโอของ Wave Money กล่าวว่าตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวบ่งชี้เชิงบวกของกาใช้เงินผ่านมือถือและรูปแบบการชำระเงินดิจิทัลมาใช้ในเมียนมาอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ Wave Money ยังจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้กับตัวแทนจำนวน 46 ล้านดอลลาร์ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกันยายน 63 รายงานปี 2562 สมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) ระบุว่าลูกค้าใช้บัญชีเงินมือถือบ่อยขึ้นและเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมประจำวัน เมื่อสิ้นปีที่แล้ว 35.8% ของบัญชี 372 ล้านบัญชีมีการใช้งาน 90 วัน บัญชีเงินมือถือที่ใช้งานได้ถูกกำหนดให้เป็นบัญชีที่ใช้ในการทำธุรกรรมอย่างน้อยหนึ่งรายการในช่วงเวลา 30 วันหรือ 90 วัน GSMA คาดการณ์ว่าภายในปี 2568 จำนวนบัญชีลูกค้าเงินมือถือต่อเดือนจะเกิน 370 ล้านบัญชี

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/wavepay-app-reaches-more-1-million-active-users.html