เมียนมาคาดราคาน้ำตาลพุ่งตามราคาตลาดโลก

ผู้ค้าน้ำตาลในเมียนมาคาดราคาน้ำตลาดจะสูงขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเนื่องจากความต้องการทั่วโลกที่สูงขึ้นและการระบาดของ COVID-19 ทำให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงักนำไปสู่การขาดแคลนในบางส่วนของโลกรวมถึงจีน เมียนพยายามมานานหลายปีจะต้องการจะเพิ่มการผลิตน้ำตาล แต่ก่อนหน้ามีข้อกำหนดทางศุลกากรที่เข้มงวดการส่งออกน้ำตาลไปยังจีนจึงหยุดชะงักไปเมื่อต้นปี ขณะเดียวกันชาวไร่อ้อยในพื้นที่ก็ต้องลดการผลิตลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น สต๊อกน้ำตาลก่อนหน้านี้ที่เมืองชายแดนมูเซถูกขายจนหมด นอกจากนี้ยังมีความต้องการน้ำเชื่อมบางส่วนจากจีนด้วยเช่นกัน ซึ่งปริมาณสำรองน้ำตาลทั่วโลกกำลังลดลงและราคาสูงขึ้น กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมาได้หารือกับโรงงานน้ำตาลไปเมื่อวันที่ 13 ตุลาคมเกี่ยวกับการกำหนดราคาขั้นต่ำอ้อยก่อนสิ้นเดือนนี้ก่อนฤดูการหีบอ้อยจะเริ่มขึ้น ปัจจุบันราคาอ้อยอย่างเป็นทางการอยู่ที่ 42,000 จัตต่อตัน ในอนาคตอาจจะไม่ต่ำกว่า 40,000 จัตต่อตันซึ่งหนุนราคาท้องถิ่นให้สูงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เมื่อสต็อกในท้องถิ่นลดลงและพื้นที่เพาะปลูกลดลงราคาอ้อยและน้ำตาลอาจเพิ่มขึ้นอีกในปีหน้า ก่อนหน้านี้เมียนมาส่งออกน้ำตาลทรายดิบไปยังจีนแต่เนื่องจากข้อจำกัดการนำเข้าและการปราบปรามการค้าที่ผิดกฎหมายทำให้ชาวไร่ค่อยๆ เลิกปลูกอ้อยมากขึ้น ในความเป็นจริงคนวงในคาดการณ์การหดตัวของพื้นที่เพาะในปีงบประมาณ 63-64 เหลือเพียง 350,000 เอเคอร์ลดลงร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับ 7 ปีที่แล้วและต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะเดียวกันก็มีนำเข้าน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์เนื่องจากโรงงานน้ำตาลมีเพียง 2 แห่งจาก 29 แห่งที่สามารถผลิตน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ปีงบประมาณ 62-63 มีการนำเข้าน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์มากกว่า 57,000 ตันซึ่งน้อยกว่าก่อนหน้านี้ประมาณร้อยละ 40-50 เนื่องจากราคาที่สูงขึ้นและข้อจำกัดของรัฐบาลเมียนมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-anticipates-higher-sugar-prices-demand-rises.html

พาณิชย์เมียนมาคาดภาคการค้าขยายตัว 109.73%

กระทรวงพาณิชย์ เผยเมียนมามีรายได้จากการค้าเกินเป้าหมายสำหรับปีงบประมาณ 2562-2563 ปริมาณการค้ามีมูลค่า 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับเป้าหมายที่ 33,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐและเทียบกับ 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณที่แล้ว โดยในปีนี้ได้ร่วมมือกับสมาคมผู้ผลิตและส่งออกผลไม้ดอกไม้และผักของเมียนมาเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดผลไม้ในท้องถิ่นในช่วง COVID-19 นอกจากนี้ยังจัดตั้ง Myanmar Online Expo Park และจัดงาน Myanmar International Expo of Organic and Natural Products ทางออนไลน์ในเดือนสิงหาคม ปีงบประมาณนี้มีการส่งออกมีมูลค่าประมาณ 17,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 18.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2561-2562 โดยการส่งออกพบว่าเพิ่มขึ้น 851 ล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้น 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้การค้าต่างประเทศขยายตัวกว่า 10%  ส่วนใหญ่ โดยภาคการส่งออกส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าและสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ในขณะที่การนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน สินค้าขั้นกลา งวัสดุเสื้อผ้า และสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งอุปสงค์จากต่างประเทศมีแนวโน้มเชิงบวก ตัวอย่างเช่น ความต้องการหัวหอมจากบังกลาเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้ราคาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ด้านการส่งออก ความต้องการสินค้าอื่น ๆ เช่น น้ำผึ้งและกาแฟมีเสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งน้ำผึ้งสามารถส่งออกไปยังสหภาพยุโรป (EU) ส่วนความต้องการกาแฟจากต่างประเทศก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยมีการถูกส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และยุโรป ในช่วงห้าปีที่ผ่านมามูลค่าการส่งออกกาแฟเพิ่มขึ้นเป็นสี่เท่าคิดเป็นมูลค่ากว่า 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้จาก 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2557 และเมียนมายังเริ่มส่งออกเบียร์ซึ่งเมื่อเดือนที่แล้ว Carlsberg Myanmar ได้เริ่มส่งออกเบียร์ Tuborg Beer ไปยังจีน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/trade-sector-exceeds-10973pc-estimates-minister-commerce.html

เมียนมาซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา 20 ล้านจัต ในช่วงมรสุม

จากข้อมูลของกรมกิจการผู้บริโภคภายใต้กระทรวงพาณิชย์ รัฐบาลเมียนมารับซื้อข้าวเปลือกมรสุมมูลค่า 20 ล้านจัตในปีงบประมาณ 2563-2564  โดยข้าวเปลือกจะรับซื้อจาก 10 เมืองในเขตย่างกุ้ง 26 เมืองในอิระวดี 28 เมืองในเขตพะโค 7 เมืองในเขตทานินธารี และ 5 เมืองในรัฐยะไข่ ซึ่งคณะกรรมการจัดการผลิตผลทางการเกษตร (APMC) ที่นำโดยกระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดราคา 520,000 จัต สำหรับทุกๆ 100 ตะกร้าเป็นราคาสำหรับเกษตรกรในช่วงมรสุมและฤดูร้อนซึ่งต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน เช่น มีความชื้น 14% และไม่มีส่วนผสมของแกลบ ฝุ่น ทราย และหิน ปัจจุบันราคาตลาดอยู่ที่ประมาณ 500,000 จัตต่อ 100 ตะกร้าในช่วงมรสุม แม้ว่าราคาข้าวเปลือกแห้งจะสูงกว่า 500,000 จัต แต่ข้าวเปลือกที่เพิ่งเก็บเกี่ยวได้จะมีราคาต่ำกว่า 500,000 จัต

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-buy-k20-million-worth-monsoon-paddy-farmers.html

COVID-19 กระทบอสังหาริมทรัพย์เมียนมาหยุดนิ่ง

นาย U Nay Min Thu กรรมการผู้จัดการของ iMyanmarHouse.com เผย แม้ก่อนหน้านี้ตลาดอสังหาฯ จะไม่แข็งแกร่งมากนัก แต่ก็เริ่มฟื้นตัวก่อนที่จะมีการกลับมาของ COVID-19 แม้จะสามารถควบคุมการระบาดได้ แต่ก็ต้องใช้เวลานานกว่าตลาดจะฟื้นตัว ในช่วงเดือนที่ผ่านมาผู้ซื้อบ้านไม่สามารถขนย้ายหรือเลือกดูอสังหาริมทรัพย์ได้เพราะข้อจำกัดในการเดินทาง ทั้งค่าธรรมเนียมการเช่ายังลดลง ไม่เฉพาะพาร์ทเมนท์เท่านั้นแต่ยังรวมถึงร้านค้าด้วย ทั้งนี้คาดว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์จะกลับสู่ภาวะปกติในช่วงไตรมาสแรกของปี 2564 หากอัตราการติดเชื้อสามารถควบคุมได้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งตลาดอสังหาริมทรัพย์มากกว่าร้อยละ 90 ถูกระงับทั้งการขายและการเช่า

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/real-estate-market-standstill.html

เมียนมาส่งออกหยกมากกว่า 2,000 ตัน รายได้ทะลุ 420 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมียนมามีรายได้กว่า 420 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกหยกเกือบ 2,000 ตันในปีงบประมาณ 2562-2563 มากกว่า 63 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออก 410 ตันเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ปีนี้เส่งออก 1,964.488 ตันมูลค่า 420.036 ล้านเดอลลาร์สหรัฐฯ ปีที่แล้วมีรายได้ 356.876 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกหยก 1,548.452 ตัน ในช่วง 56 เดือนที่ผ่านมามีรายได้มากกว่า 2,496 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกหยกรวมถึงสูงเป็นประวัติการณ์กว่า 971 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2560-2561

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/india-proposes-oil-refinery-expand-presence-myanmar-energy.html

เงินจัตแข็งค่ากระทบส่งออก ถือเป็นโอกาสการนำเข้าของเมียนมา

สมาชิกคณะกรรมการของสมาพันธ์ข้าวเมียนมาเผย การส่งออกของเมียนมาได้รับแรงกดดันจากการที่เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงซึ่งส่งผลให้การส่งออกที่สำคัญเช่นข้าวมีราคาแพงขึ้นในตลาดต่างประเทศ เงินจัตแข็งค่าสูงสุดเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐนับตั้งแต่ปี 61โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงของธนาคารกลางเมื่อวันที่ 8 ตุลาคมลดลงแหลือ 1,300 จัตต่อดอลลาร์ แม้ว่าธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) จะซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐในตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อพยายามรักษาเสถียรภาพ ก่อนหน้านี้กระทรวงพาณิชย์ได้จำกัดการส่งออกข้าวเพื่อให้มีปริมาณสำรองเพียงพอสำหรับในประเทศในกรณีฉุกเฉินในช่วง COVID-19 แต่ถูกยกเลิกเนื่องจากฤดูเก็บเกี่ยวใหม่ใกล้เข้ามา จากข้อมูลจนถึงวันที่ 11 กันยายนระหว่างปีงบประมาณ 62-63 มีการส่งออกข้าวและปลายข้าวกว่า 2.5 ล้านตันไปยังกว่า 60 ประเทศ สร้างรายได้มากกว่า 774 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในทางกลับกันเงินจัตที่แข็งค่าสามารถเพิ่มการนำเข้าสินค้าสำคัญ เช่น ข้าวโพด เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปยังจีนและไทยเป็นจำนวนมากและขณะนี้ยังขาดแคลนสินค้าภายในประเทศซึ่งใช้เป็นอาหารสัตว์ เมื่อเดือนที่ผ่านมาผู้ค้าและผู้เพาะพันธุ์ปศุสัตว์ได้ขอใบอนุญาตนำเข้าข้าวโพด แต่ได้รับการคัดค้านจากเกษตรกรในพื้นที่ซึ่งกลัวว่าจะมีผลผลิตมากเกินไปหากไม่มีการควบคุม โดยทั่วไปแล้วจะมีข้าวโพดส่วนเกินในตลาดในประเทศแต่หลังจากส่งออกมากกว่า 2 ล้านตันในปีงบประมาณ 61-63  จึงมีความเป็นไปได้ที่จะต้องหันมานำเข้าแทน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/stronger-kyat-threatens-exports-presents-import-opportunities.html

ราคาแตงโมเมียนมาพุ่งขึ้น 3 เท่า จากความต้องการของจีน

ราคาส่งออกแตงโมไปจีนเพิ่มขึ้นกว่าสามเท่าผลจากต้นทุนการขนส่งที่สูงและการผลิตในประเทศที่ลดลงจากพิษ COVID-19 ปัจจุบันมีรถบรรทุกแตงโมเพียง 15 คันที่ข้ามพรมแดนไปยังจีนในแต่ละวันเมื่อเทียบกับ 300 คันต่อวันก่อนการระบาด นอกจากนี้ผลผลิตแตงโมในท้องถิ่นลดลงถึง 1 ใน 3 ของการเก็บเกี่ยวในปีที่แล้วส่งผลให้ราคาสูงขึ้น ปัจจุบันแตงโมของเมียนมาราคาสูงถึง 4,000 หยวนต่อตันเมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่ 1,200 หยวนต่อตัน ส่วนค่าใช้จ่ายในการจ้างรถบรรทุกในการขนส่งอยู่ที่ 1 ล้านจัตจากเดิมอยู่ที่ 600,000 จัต สาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาค่าจ้างคนขับสูงขึ้นเพราะต้องมีใบรับรองสุขภาพที่ระบุว่าปลอดจากเชื้อไวรัส COVID-19 อีกทั้งผู้ยังต้องออกค่าใช้จ่ายเองจึงทำให้ขาดแคลนคนขับและราคาค่าจ้างสูงขึ้นตามไปด้วย ขณะนี้มีเกษตรกรปลูกแตงโมมากเพราะราคาที่สูงขึ้นตามความต้องการของตลาด ในปี 2562-2563 สามารถเก็บเกี่ยวแตงโมไดประมาณ 800,000 ตัน ซึ่งร้อยละ 75 ถูกส่งออกไปยังจีน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-watermelon-prices-triple-high-chinese-demand.html

World Bank ชี้ ธุรกิจครอบครัวเมียนมายังน่าเป็นห่วง

จากรายงานของธนาคารโลกกว่าร้อยละ 85 ของธุรกิจครอบครัวและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเมียนมายังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวในช่วงหลายเดือนจนถึงเดือนมิถุนายนเนื่องจากพิษของ COVID-19 ข้อมูลดังกล่าวถูกรวบรวมจาก COVID-19 Monitoring Platform โดยธนาคารโลกของเมียนมาในเดือนมีนาคมและพฤษภาคมซึ่งได้สำรวจธุรกิจประมาณ 500 แห่งจาก 12 ภาคส่วนใน 6 พื้นที่ ได้แก่ เขตย่างกุ้งเ ขตมัณฑะเลย์ และรัฐชิน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคการผลิต บริการ และภาคอื่น ๆ เช่น เกษตรกรรมและการค้า จากการสำรวจร้อยละ 85 มองว่าธุรกิจยังไม่ฟื้นตัว ในความเป็นจริงความเสียหายได้เพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม โดยร้อยละ 81 เห็นว่ารุนแรงกว่าเมื่อเทียบกับร้อยละ 69 ในเดือนมีนาคม ซึ่งธุรกิจในย่างกุ้งจะได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ที่อยู่ที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ รัฐบาลได้รวบรวมกองทุน COVID-19 มูลค่า 1 แสนล้านจัต เพื่อเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะเวลา 12 เดือนให้กับธุรกิจ SMEs จำนวน 3,000 ถึง 4000 รายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กองทุนเงินกู้นี้มาจาก Japan International Cooperation Agency (JICA) จำนวนเงิน 15,000 ล้านเยน (190 พันล้านจัต) ภายใต้โครงการเงินกู้ฉุกเฉินสองขั้นตอนกับ Myanma Economic Bank ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐ ขณะนี้กองทุนเงินกู้ชุดที่สามได้รับการอนุมัติและจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา เช่น รัฐชิน รัฐกะฉิ่น รัฐฉาน รัฐคายาห์ และเขตทานินธารี เงินกู้จำนวน 500 ล้านจัตจะถูกจัดสรรให้กับธุรกิจในพื้นที่เหล่านี้โดยจะปล่อยกู้ผ่านธนาคารเอกชน 11 แห่งซึ่งกู้ยืมจาก Myanma Economic Bank ในระยะเวลาเงินกู้ 5 ปีและอัตราดอกเบี้ยกำหนดโดยธนาคารกลางเมียนมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/no-recovery-sight-myanmar-family-businesses-world-bank.html

อินเดียขยายโควตานำเข้าถั่วเพื่ออุ้มเกษตรกรในเมียนมา

ภายหลังการเจรจา 2 เดือน อินเดียได้อนุมัติการนำเข้าถั่วเขียว 150,000 ตัน ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 มีนาคม 2564 ตามประกาศของรัฐบาลเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ซึ่งจะขยายจากกรอบเวลาเดิมคือสามเดือนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม นอกจากนี้ยังจะผลักดันราคาและเปิดโอกาสให้เกษตรกรและผู้ค้าในท้องถิ่นสร้างรายได้เพิ่มขึ้น อินเดียเริ่มกำหนดโควต้าการนำเข้าถั่วในเดือนสิงหาคม 2560 โดยปีนี้กำหนดโควต้าไว้ที่ 400,000 ตัน สำหรับถั่วที่จะส่งออกระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม อย่างไรก็ตามเกษตรกรเมียนมาสามารถส่งออกได้เพียง 100,000 ตันเท่านั้น ซึ่งเมียนมาถือเป็นผู้ผลิตถั่วและพัลส์รายใหญ่ที่สุดให้กับอินเดีย ขณะนี้อินเดียได้ให้โควต้าการนำเข้าถั่วเขียวไปแล้ว 150,000 ตัน ไปจนถึงเดือนมีนาคม 2564 ในขณะเดียวกันเมียนมาส่งออกถั่วและพัลส์ไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บังกลาเทศ และเนปาล ความต้องการที่สูงขึ้นมีแนวโน้มทำให้ราคาสูงขึ้นตามไปด้วย ราคาถั่วเขียวได้พุ่งสูงถึง 1.12 ล้านจัตต่อตันเมื่อเทียบกับ 1.08 จัตล้านต่อตันก่อนการประกาศในวันที่ 1 ตุลาคม 2563

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/india-extension-bean-import-quota-benefit-myanmar-farmers.html

ภาคการผลิตเมียนมาได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ครั้งใหม่

จากข้อมูลล่าสุดของการสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) โดย IHS Markit ในเดือนกันยายนภาคการผลิตของเมียนมาได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตรการล็อกดาวน์ครั้งใหม่ภายหลังพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เพิ่มสูงขึ้น ให้โรงงานปิดตัวลงเป็นเวลาสองสัปดาห์และให้พนักงานบางส่วนทำงานจากที่บ้าน ดัชนี PMI ของเมียนมาลดลงสู่ระดับ 35.9 ในเดือนกันยายนจาก 53.2 ในเดือนสิงหาคม และ 51.7 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งดัชนีจะมีค่าระหว่าง 0 ถึง 100 โดยค่าที่สูงกว่า 50 แสดงถึงการซื้อโดยรวมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่วนคะแนนที่ต่ำกว่า 50 หมายถึงการซื้อลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ผลกระทบดังกล่าวมีความรุนแรงในเดือนเมษายนเมื่อดัชนี PMI อยู่ที่ 29 อุปสงค์ในประเทศลดลงท่ามกลางข้อจำกัดครั้งใหม่ในขณะที่อุปสงค์จากต่างประเทศก็ซบเซาลงเช่นกัน โดยความต้องการที่ลดลงมาจากตลาดเอเชีย ได้แก่ อินเดีย ไทย เวียดนาม และกาตาร์ เนื่องจากโรงงานหลายแห่งปิดทำการชั่วคราวในเดือนกันยายนระดับการจ้างงานโดยรวมลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-manufacturing-sector-hit-new-lockdown-measures.html