Moody’s ยังคงจัดอันดับของกัมพูชาไว้ที่ B2

Moody’s ยังคงยืนยันจัดอันดับเครดิตผู้ออกตราสารหนี้ระยะยาวไว้ที่ระดับ B2 ของกัมพูชาจากการเติบโตของ GDP ที่มีแนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่ง รวมถึงหนี้สินภาครัฐที่ค่อนข้างต่ำ โดยมองว่าการลดทอนสิทธิประโยชน์ทางภาษี (EBA) จะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการส่งออกทั้งสิ่งทอเสื้อผ้าและรองเท้าที่ทำการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดเสถียรภาพได้ คือการขาดดุลทางการคลังเล็กน้อยเนื่องจากส่วนหนึ่งของการดำเนินนโยบายทางด้านภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการรักษาระดับการชำระภาษีให้สูงและหนี้สินภาครัฐในระดับที่ต่ำ โดยเชื่อว่าการเติบโตที่ชะลอตัวในจีนอาจนำความเสี่ยงต่อเนื่องมาถึงกัมพูชาเนื่องจากมีการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจค่อนข้างมาก ซึ่ง Moody’s ได้คาดการณ์การเติบโตของ GDP ไว้ที่ 7% ภายในปี 2562 และ 5.5% สำหรับปี 2563 จาก 7.5% ในปี 2561 ซึ่งอัตราการเติบโตอาจจะดูชะลตัวลงแต่กัมพูชาก็ยังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเติบโตสูง โดยการปรับอันดับเครดิตอาจขึ้นอยู่กับการดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างที่ชี้ไปที่ความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้นและเป็นการลดอุปสรรคในการทำธุรกิจ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความหลากหลายทางเศรษฐกิจและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50648299/moodys-maintains-cambodias-b2-rating-says-outlook-stable/

การจัดตั้งคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิทัลของกัมพูชา

รัฐบาลกัมพูชาได้จัดตั้งคณะกรรมการระหว่างกระทรวง เพื่อทำงานในการรวบรวมร่างกรอบนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลและนโยบายรัฐบาลดิจิทัล โดยคณะกรรมการนี้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังเป็นประทานในการประชุม ซึ่งคณะกรรมการได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่หลักในการรวบรวมและร่างกรอบนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลและกรอบนโยบายดิจิทัลเพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อตรวจสอบการอนุมัติ โดยคณะกรรมการจะจัดตั้งคณะทำงานแยกออกเป็นสองกลุ่ม คือด้านนโยบายเศรษฐกิจนำโดยสภาเศรษฐกิจแห่งชาติสูงสุดและอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ด้านนโยบายรัฐบาลนำโดยกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม ซึ่งมองว่ากัมพูชากำลังจะเริ่มนำวิธีการทำธุรกิจที่ชาญฉลาดมาใช้ในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น รวมถึงมีนวัตกรรมมามีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่แข็งแกร่งขึ้น แรงงานที่มีความเชี่ยวชาญทางดิจิทัลมากขึ้นและเศรษฐกิจที่มั่นคงมากขึ้น โดยจะมีการเชื่อมต่อรวมถึงการสร้างเครือข่ายข้อมูลการบริหารระดับชาติที่เชื่อมต่อทุกสำนักงานของเมืองหลวงแต่ละแห่งใน 25 จังหวัดภายใต้กรอบรัฐบาลดิจิทัล

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50648297/digital-economy-committee-formed/

กรีนลีดเดอร์สร้างโรงงานมะม่วงอบแห้งแห่งที่สาม

กรีนลีดเดอร์โฮลดิ้งกรุ๊ป จำกัด เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในฮ่องกงประกาศว่าจะเพิ่มการลงทุนในตลาดท้องถิ่น โดยการสร้างโรงงานแปรรูปมะม่วงแห่งใหม่ในจังหวัดทงบังคำของกัมพูชา ซึ่งแต่ละแห่งมีพื้นที่ 25,000 ตารางเมตรและสามารถผลิตมะม่วงอบแห้งได้มากถึง 2,000 ตันต่อปี โดยการผลิตส่วนใหญ่จะถูกส่งออกไปยังประเทศจีนและได้ทำการตั้งเป้าหมายที่จะส่งออกมะม่วงอบแห้งถึงปีละ 10,000 ตันต่อปีไปยังประเทศจีน ซึ่งบริษัทซื้อมะม่วงสดเกรด 2 ที่เป็นวัตถุดิบจากเกษตรกรผ่านโครงการทำสัญญาและแปรรูปเพื่อส่งออกไปยังตลาดจีน โดยเชื่อว่าการลงทุนนี้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาภาคเกษตรกรรมในท้องถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแปรรูปวัตถุดิบเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อการส่งออก ซึ่งบริษัทกล่าวว่าโรงงานใหม่แห่งนี้จะสามารถผลิตและแปรรูปแป้งได้มากถึง 130,000 ตันต่อปี โดยใช้มันสำปะหลังจากเกษตรกรในท้องถิ่นถึง 500,000 ตันต่อปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50648298/green-leader-to-build-third-dried-mango-plant/

รายได้จากศุลกากรของกัมพูชาถึงเป้าหมายก่อนสามเดือนที่กำหนดไว้

ในช่วง 9 เดือนแรกของปีกัมพูชามีรายรับ 2.3 พันล้านดอลลาร์จากการจัดเก็บภาษีและภาษีสรรพสามิตซึ่งเกินเป้าหมายของรัฐบาลตลอดทั้งปีแล้ว 5% โดยหลังจากนี้อีกสามเดือนคาดหวังว่าจะจัดเก็บภาษีได้อีก 800 ล้านดอลลาร์ภายในสิ้นปี ซึ่งรายได้จากการจัดเก็บจะถูกใช้ไปกับการลงทุนภาครัฐเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามลำดับเพื่อเป็นการลดการพึ่งพารัฐบาลต่างประเทศลง โดยเชื่อว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้จากภาษีศุลกากรและการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเป็นสัญญาณเชิงบวกที่หมายถึงประเทศกำลังนำเข้ามากขึ้นเพราะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว แสดงให้เห็นถึงแรงจูงใจในการต่อสู้กับการทุจริตและประสิทธิภาพของความพยายามร่วมกันของทุกหน่วยงาน ซึ่งยังมีช่องว่างมากมายสำหรับการปรับปรุงในเรื่องการจัดเก็บภาษี โดยบริษัท ใหญ่ทุกแห่งจะต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันด้านภาษี ซึ่งเมื่อปีที่แล้วกัมพูชามีรายรับและภาษีสรรพสามิต 2.5 พันล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 32% เมื่อเทียบกับปี 2560

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50647257/govt-reaches-customs-revenue-goal-three-months-in-advance/

กัมพูชามีอัตราภาษีนิติบุคคลที่ต่ำที่สุดใน SEA

กัมพูชาสร้างความน่าสนใจให้กับนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น โดยเป็นประเทศที่อัตราภาษีต่ำที่สุดในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่ง Trading Economics เป็นแพลตฟอร์มทางสถิติเศรษฐกิจออนไลน์แสดงให้เห็นว่ากัมพูชามีอัตราภาษีนิติบุคคลต่ำเป็นอันดับที่สามในภูมิภาครองจากบรูไนและสิงคโปร์ โดยอัตราภาษีนิติบุคคลของกัมพูชาในปัจจุบันอยู่ที่ 20% ซึ่งเท่ากับอัตราภาษีไทยและเวียดนาม โดยสิงคโปร์มีอัตราที่ต่ำที่สุดในภูมิภาคอยู่ที่ 17% รองลงมาคือบรูไนอยู่ที่ 18.5% ซึ่งผู้เชี่ยวชาญในประเทศและต่างประเทศต่างกล่าวว่าเป็นเรื่องสำคัญที่กัมพูชาจะต้องเสนออัตราภาษีนิติบุคคลที่ต่ำหรือให้มีการแข่งขันกันเกิดขึ้น ตามรายงานจากภาครัฐ FDI ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงได้รับประโยชน์จากเขตภาษีที่ต่ำโดย FDI เพิ่มขึ้นจาก 62 พันล้านดอลลาร์ในปี 2560 เป็น 77 พันล้านดอลลาร์ในปี 2561 เทียบกับกัมพูชา 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับปี 2561

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50647262/cambodia-has-one-of-the-lowest-corporate-tax-rates-in-sea/

การลดลงอย่างต่อเนื่องของนักท่องเที่ยวที่นครวัดในกัมพูชา

จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่อุทยานโบราณคดีอังกอร์ที่ตั้งอยู่ในเสียมเรียบยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องตามตัวเลขล่าสุดจาก Angkor Enterprise แสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 1.6 ล้านคนซื้อบัตรผ่านเข้าชมวัดตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกันยายนลดลงกว่า 12% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วในปี 2561 ทำรายได้เพียง 74 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งลดลง 13% ส่งผลมาจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนมาเยือนเสียมราฐน้อยลง ทั้งปัจจัยที่น่าสนใจที่ประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะเวียดนามกำลังแสวงหานักท่องเที่ยวชาวจีนและชาวเกาหลีใต้ ด้วยการลงทุนที่ใหญ่ขึ้นในแคมเปญเพื่อส่งเสริมแหล่งท่อวเที่ยว แต่ในทางตรงกันข้ามจำนวนนักท่องเที่ยวจีนในกรุงพนมเปญและสีหนุวิลล์ทางแถบชายฝั่งกลับกำลังเพิ่มสูงขึ้น โดยเพื่อแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้กัมพูชาจำเป็นต้องเสริมสร้างคุณภาพการบริการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งขอให้ภาครัฐมามีส่วนร่วมในการปรับปรุงบริการในอุตสาหกรรม โดยเมื่อปีที่ผ่านมา Angkor Enterprise ขายบัตรผ่านประตูเพื่อเข้าชมนครวัดให้กับนักท่องเที่ยวถึง 2.5 ล้านคน คิดเป็นรายรับกว่า 116 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50647145/tourist-decline-continues-at-angkor/

เกษตรกรกัมพูชาเลิกปลูกพริกไทยท่ามกลางผลผลิตที่ล้นตลาด

การลดลงของความต้องการพริกไทยในกัมพูชา ทำให้เกษตรกรจำนวนมากในกัมปอตหยุดการเพาะปลูกลงในฤดูกาลหน้า โดยเกษตรกรหลายคนพบว่าเป็นการยากที่จะขายผลผลิตของพวกเขา ซึ่งคาดว่า 20-25% ของเกษตรกรรายย่อยทั้งหมดจะทำการหยุดการเพาะปลูกหลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวในปีนี้ เหตุเพราะมีผลผลิตมากเกินไปทำให้ผลผลิตล้นตลาด โดยได้เปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน เช่น มะม่วง และด้วยอีกเหตุผลคือคำสั่งซื้อที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเพราะผู้ซื้อหันมาทำการเพาะปลูกเอง ซึ่งจากการตั้งข้อสังเกตที่มีการเพาะปลูกพริกไทยอยู่ที่ 290 ไร่ และเกษตรกรกว่า 445 คน จากจังหวัดกัมปอตและเคป โดยสร้างผลผลิตได้ที่ 100 ตันต่อปีแต่มีคำสั่งซื้อเพียง 70 ตันต่อปีจากผู้ซื้อ จึงทำให้เกิดอุปทานส่วนเกินส่งผลทำให้ราคาของพริกไทยทุกชนิดปรับตัวลดลง และจากข้อมูลของสมาคมพบว่า 50% ของพริกไทยที่ผลิตในกัมปอตส่งออกไปยังสหภาพยุโรปในขณะที่ 30% ถูกใช้ในการบริโภคภายในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50647117/farmers-quit-pepper-amid-oversupply/

กัมพูชาต้องมีนวัตกรรมมากขึ้นเพื่อสร้างความปลอดภัยจากการใช้จ่ายแบบไร้เงินสด

เนื่องจากมูลค่าการชำระเงินแบบไร้เงินสดเพิ่มขึ้นเป็น 9.9 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561 ตามข้อมูลจากธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) โดยเชื่อว่าสามรถผลักดันนวัตกรรมใหม่ๆจนทำให้กัมพูชากลายเป็นสังคมไร้เงินสดได้ แต่ผู้ประกอบการมองว่าหากไม่มีการช่วยเหลือจากรัฐบาลนวัตกรรมเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นและไม่ทันต่อการเติบโตของการเปลี่ยนแปลงภายในกัมพูชา ซึ่งเมื่อเดือนที่แล้ว VISA ประกาศแผนการรักษาความปลอดภัยของพวกเขา สำหรับกัมพูชาได้วางรากฐานสำหรับชุดความก้าวหน้าทางโลกไซเบอร์ซึ่งมีแนวโน้มของข้อมูลที่ละเอียดอ่อนและมีการดำเนินการป้องกันเพิ่มเติมสำหรับผู้ค้าและผู้บริโภค ซึ่งการรักษาความปลอดภัยของระบบนิเวศการค้าถือเป็นสิ่งที่สำคัญและมองว่าเป็นความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างเครือข่ายการชำระเงินทั้ง ผู้บริโภค ภาคธนาคาร และภาครัฐ โดยหากอนาคตมีการใช้จ่ายแบบสังคมไร้เงินสดมากขึ้นแล้วจะสามารถสร้างความยืดหยุ่นระหว่างผู้ค้าและผู้บริโภคได้มากขึ้น รวมไปถึงการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคชาวกัมพูชามากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50647100/more-innovation-needed-to-protect-cashless-payments/

ธนาคารชาติแห่งกัมพูชาเรียกร้องนโยบายการเงินสีเขียว

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ยังคงเรียกร้องให้สถาบันการเงินในกัมพูชาวางนโยบายเพื่อส่งเสริมด้านการเงินและการลงทุนที่เป็นมิตร โดยสิ่งนี้เกิดขึ้นหลังจากธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศของสวิส (BIS) ได้เปิดตัวกองทุนเปิดสำหรับธนาคารกลางที่ลงทุนในพันธบัตรสีเขียว ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่เน้นลงทุนในโครงการที่สนับสนุนการลดสภาวะโลกร้อน โดย NBC ซึ่งเป็นสมาชิกของคณะกรรมการที่ปรึกษา BIS ได้แสดงจุดยืนการสนับสนุนสำหรับความคิดริเริ่มนี้ เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนถูกมองว่าเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งที่อาจจะสร้างความไม่แน่นอนสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมทางสังคม ซึ่ง NBC สนับสนุนให้กับสถาบันทางการเงินทุกแห่งที่ร่วมมืออย่างจริงจังเกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมการเงินสีเขียว โดย ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมสมาคมธนาคารในประเทศกัมพูชาได้ลงนามสองฉบับเพื่อบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับ “ ความร่วมมือทางการเงินที่ยั่งยืน” เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความร่วมมือทางการเงินที่ยั่งยืนในภาคการธนาคาร

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/national-bank-cambodia-calls-green-finance-policies-105291

รอบเอเชีย: กัมพูชา

กระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชาได้เปิดตัวระบบออนไลน์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของใบรับรองในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ระบบ e-certificate มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างคุณภาพการให้บริการโดยการต่อสู้กับใบรับรอง “ปลอม” ที่ใช้ในการโกงนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยือนกัมพูชา โดย Khmer Times ได้รายงานว่าผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวที่ได้รับการฝึกอบรมจากกระทรวงการท่องเที่ยวจังหวัดหรือโรงเรียนฝึกอบรมที่ลงทะเบียนจะได้รับใบรับรองพร้อมรหัส QR

ที่มา : หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์