ราคายางพุ่งต่อเนื่อง ทะลุ 900 จัตต่อปอนด์

จากข้อมูลของคลังสินค้า Mawlamyine Commodity Depot ราคายางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 900 จัตต่อปอนด์ ยางธรรมชาติราคาอยู่ที่ 710 จัตต่อปอนด์ ในขณะที่ยางแผ่นรมควัน (RSS) แตะที่ 720 จัตต่อปอนด์ในปลายเดือนมกราคม 64 แต่ปัจจุบันยางธรรมชาติได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 930 จัตต่อปอนด์ และ 940 จัตต่อปอนด์สำหรับยางแผ่นรมควัน (RSS) ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่าราคายางสูงขึ้นเนื่องจากการผลิตลดลงในช่วงนอกฤดูท่องเที่ยวในเดือนมิ.ย.- ส.ค.63 นี่คือสาเหตุที่ราคายางมีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงนอกฤดูท่องเที่ยวปีนี้ อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ราคายางสูงขึ้นในปีนี้คือการนำไปผลิตถุงมือยางเพื่อป้องกัน COVID-19 ปัจจุบันความต้องการยางจากจีนและไทยยังมีอย่างต่อเนื่อง ด้านการเพาะปลูกพบว่าในปี 63 รัฐมอญมีพื้นที่เพาะปลูกยางที่ใหญ่ที่สุดโดยสามารถผลิตยางได้กว่า 240 ล้านปอนด์ จากข้อมูลปี 61-62 เมียนมามีพื้นที่สวนยางมากกว่า 1.628 ล้านเอเคอร์ โดยรัฐมอญมีพื้นที่ 497,153 เอเคอร์ รองลงมาคือเขตตะนาวศรี 348,344 เอเคอร์ และรัฐกะเหรี่ยง 270,760 เอเคอร์ โดยการผลิตยางประมาณ 300,000 ตัน ร้อยละ 70 ถูกส่งออกไปจีน และในทุกๆ ปีเมียนมาส่งออกยางดิบกว่า 200,000 ตันสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศมากกว่า 200 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rubber-price-stays-on-rise-hit-over-k900-per-pound/

7 เดือนแรกของปีงบ 63-64 เมียนมาส่งออกเมล็ดงาพุ่ง 287.75 ล้านเดอลลาร์สหรัฐ

กรมศุลกากรเมียนมา เผย 7 เดือนแรก (ตุลาคม-เมษายน) ของปีงบประมาณปัจจุบัน 63-64 ส่งออกเมล็ดงา 287.75 ล้านดอลลาร์ ในวันที่ 8 ก.ค.64 ราคาส่งออกลดลงเหลือ 130,000-148,000 จัตต่อถุง เนื่องจากเงินจัตอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมิ.ย.64 ราคาจะอยู่ที่ 135,000-160,000 จัตต่อถุง ทั้งนี้ เมียนมาส่งออกเมล็ดงานไปต่างประเทศถึงร้อยละ 80 มีจีนเป็นคู่ค้าหลักและกระจายไปตลาดอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สหราชอาณาจักร เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ กรีซ โปแลนด์ กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ส่วนการปลูกงาเขตมะกเวเป็นแหล่งปลูกเมล็ดงารายใหญ่ของประเทศ และยังมีบางส่วนที่เปลูกในเขตมัณฑะเลย์และเขตซะไกง์ สำหรับพืชน้ำมันสำหรับประกอบอาหาร เมล็ดงานมีพื้นที่เพาะปลูกสูงสุด คิดเป็น 51.3% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด จากสถิติการส่งออกงาของเมียนมา ในปีงบประมาณ 58-59 มีการส่งออกมากกว่า 96,000 ตัน มูลค่า 130 ล้านเดอลลาร์สหรัฐ ปีงบฯ 59-60 อยู่ที่ 100,000 ตัน มูลค่า 145 ล้านเดอลลาร์สหรัฐ ปีงบฯ 60-61 อยู่ที่ 120,000 ตัน มูลค่า ล้านเดอลลาร์สหรัฐ ปีงบฯ 61-62 อยู่ที่ 125,800 ตัน มูลค่า 212.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปีงบฯ 62-63 มีการส่งออกมากกว่า 150,000 ตัน มูลค่า 240 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sesame-seeds-export-tops-us287-75-mln-in-seven-months/

สปป.ลาว ลักเซมเบิร์ก ตอกย้ำความร่วมมือพัฒนา

ราชรัฐลักเซมเบิร์กได้ยืนยันความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในฐานะพันธมิตรที่เชื่อถือได้และยาวนานสำหรับสปป.ลาว โดยลงนามในข้อตกลงใหม่ระยะเวลาห้าปีมูลค่า 1.68 ล้านล้านกีบ (95 ล้านยูโร) โครงการความร่วมมือนี้จะมุ่งเน้นไปที่พื้นที่ที่มีความสำคัญในการพัฒนาเช่นเดียวกับ ICP IV ในปัจจุบัน ได้แก่ สุขภาพและโภชนาการ การพัฒนาท้องถิ่น การฝึกอบรมสายอาชีพ และการส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาลที่ครอบคลุม โดยจะเริ่มต้นพัฒนาในพื้นที่ต้นแบบก่อนได้แก่ แขวงบ่อแก้ว แขวงบริคัมไซ แขวงคำม่วน แขวงเวียงจันทน์ สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 NSEDP (2021-2025)

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Asean131.php

ผู้ส่งออกข้าวกัมพูชาเร่งชิงส่วนแบ่งการตลาดข้าวโลก

ผู้ส่งออกข้าวกัมพูชาเตรียมรับกับความต้องการข้าวในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น จากรายงานขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ที่คาดการณ์ว่าส่วนแบ่งการตลาดข้าวทั่วโลกอย่างในประเทศ อินเดีย ไทย เวียดนาม ปากีสถาน และสหรัฐอเมริกาจะหดตัวลงในช่วง 10 ปีข้างหน้า สวนทางกันกับการคาดการณ์แนวโน้มการค้าธัญพืชทั่วโลกที่จะขยายตัวร้อยละ 21 โดยการส่งออกข้าวคาดว่าจะขยายตัวถึงร้อยละ 35 สู่ 62 ล้านตัน ภายในปี 2030 ซึ่งในปัจจุบันส่วนแบ่งการส่งออกของผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ 5 อันดับแรก ได้แก่ อินเดีย ไทย เวียดนาม ปากีสถาน และสหรัฐอเมริกา ครอบคลุมร้อยละ 74 ของตลาดส่งออกข้าวทั้งหมด โดยการส่งออกข้าวของกัมพูชาลดลงร้อยละ 35 คิดเป็นการส่งออกข้าวสารรวม 233,031 ตัน ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50889686/rice-exporters-set-to-grab-larger-share-of-global-market-report/

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมายังกัมพูชาลดลงกว่าร้อยละ 50 ในช่วง ม.ค.-พ.ค.

กระทรวงเศรษฐกิจและการคลังกัมพูชาเปิดเผยว่าปริมาณการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ลดลงถึงร้อยละ 50 ในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค. เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งโครงการลงทุนในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2021 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 825 ล้านดอลลาร์ คาดสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นจำนวน 30,000 ตำแหน่ง โดยการลดลงอย่างมากเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งกัมพูชากำลังร่างกฎหมายสนับสนุนการลงทุนฉบับใหม่ โดยปัจจุบันอยู่ในวาระการประชุมของคณะรัฐมนตรีที่กำลังจะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 9 ก.ค. นี้ ซึ่งในปี 2020 กัมพูชาได้อนุมัติโครงการลงทุนรวมกว่า 238 โครงการ ทั้งในและนอกเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZs) มูลค่ารวม 8.2 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับผลลัพธ์ 2019

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/889495/fdi-flow-drops-50-percent-jan-may/

อันดับไทย ‘ดิ่ง’ ฟื้นตัวโควิดช้า ‘ต่ำสุดอาเซียน’

หนังสือพิมพ์นิกเคอิจัดทำดัชนีฟื้นตัวจากโควิด-19 ไทยติดอันดับเกือบท้ายตาราง 118 จากกว่า 120 ประเทศและดินแดน ต่ำสุดในอาเซียน โดยดัชนีการฟื้นตัวจากโควิด-19 ที่หนังสือพิมพ์นิกเคอิของญี่ปุ่นจัดทำขึ้น วัดจากกว่า 120 ประเทศ/ดินแดน อันดับสูงหมายถึง ประเทศ/ดินแดนนั้นใกล้ฟื้นตัวเต็มที เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อยืนยันแล้วต่ำ อัตราการฉีดวัคซีนดี และ/หรือมาตรการรักษาระยะห่างเข้มงวดลดลง ซึ่งไทยอยู่ในอันดับ 118 คะแนนรวม 26 คะแนน ต่ำกว่ามาเลเซีย ที่อยู่ในอันดับ 114 คะแนนรวม 29 คะแนน อินโดนีเซีย อันดับ 110 (31 คะแนน) ฟิลิปปินส์ อันดับ 108 (32 คะแนน) เวียดนามและกัมพูชาครองอันดับ 100 ร่วมกัน (34 คะแนน) สปป.ลาว อันดับ 66 (48 คะแนน) โดยสิงคโปร์ทำได้ดีที่สุดในอาเซียนอยู่ที่อันดับ 12 (65 คะแนน) ส่วนที่หนึ่งของตารางตกเป็นของ จีน 76.5 คะแนน ตามด้วย มอลตา (76 คะแนน) อันดับ 3 โปแลนด์ (69 คะแนน) อันดับ 4 อิตาลี (68 คะแนน) อันดับ 5 ออสเตรีย (67.5 คะแนน)

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/947712

‘ธนาคารเอดีบี’ ส่งเสริมภาคเอกชนในเวียดนาม

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) อนุมัติเงินทุนช่วยเหลือด้านเทคนิค มูลค่า 4.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อช่วยให้รัฐบาลเวียดนามส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมถึงปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ (SOE) โดยความช่วยเหลือดังกล่าว เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและยกระดับขีดความสามารถของสถาบัน ทั้งนี้ การจัดหาเงินทุน ประกอบไปด้วยเงินช่วยเหลือจำนวน 2.7 ล้านเหรียญสหรัฐที่มาจากรัฐบาลแคนาดาและเงินทุน 1.9 ล้านเหรียญสหรัฐที่มาจากรัฐบาลออสเตรเลีย อีกทั้ง โดนัลด์ แลมเบิร์ต ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาภาคเอกชนหลักของธนาคารเอดีบี กล่าวว่าเวียดนามประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ด้วยการรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูง

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/adb-helps-boost-private-sector-development-in-vietnam-871924.vov

สนง.สถิติแห่งชาติเวียดนาม ชี้ไตรมาสสอง โควิด-19 ดันคนกว่าล้านคนตกงาน

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เผยว่าการระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 4 นั้น ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อตลาดแรงงานเวียดนาม แรงงานกว่า 1.2 ล้านคนถูกพักงานในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เพิ่มขึ้นมากกว่า 87,000 คน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งหากแบ่งช่วงอายุแรงงาน พบว่าตั้งแต่เดือนเม.ย.-มิ.ย. แรงงานที่อยู่ในช่วงอายุ 15-24 ปี ตกงานกว่า 389,000 คน คิดเป็น 21.8% ของแรงงานทั้งหมด ทั้งนี้ อัตราการว่างงานในเมืองอยู่ที่ 2.8% สูงกว่าชนบทที่ 2.49% โดยการระบาดในครั้งนี้ ทำให้รายได้ของแรงงานที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดลงลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลง 226,000 ดอง (10 เหรียญสหรัฐ) จากไตรมาสแรก อีกทั้ง ภาคอุตสาหกรรมและก่อสร้างได้รับผลกระทบมากที่สุด ลดลงประมาณ 464,000 ดอง (20 เหรียญสหรัฐ) จนถึง 6.7 ล้านดอง (290 เหรียญสหรัฐ) ต่อเดือน รองลงมาภาคบริการ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/covid-19-drives-millions-of-people-out-of-jobs-in-q2-gso-317960.html

9 เดือนแรกของปีงบ 63-64 เมียนมาส่งออกถั่วแระไปแล้วกว่า 136,000 ตัน

ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2563 ถึง 26 มิ.ย.2564 เมียนมาส่งออกถั่วแระกว่า 136,632 ตันในปีงบประมาณปัจจุบัน 2563-2564 สร้างรายได้เข้าประเทศ 91.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถั่วแระส่วนใหญ่จัดส่งไปยังอินเดียซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ จะมีส่งออกไปสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ปากีสถาน สหราชอาณาจักร และมาเลเซียด้วย แต่มีปริมาณไม่มากนัก เมียนมาส่งออกถั่วดำ 250,000 ตันและถั่วแระ 100,000 ตันภายใต้ข้อตกลง G to G (รัฐถึงรัฐ) ในปีงบประมาณ 2564-2565 และปีงบประมาณ 2568-2569 ทั้งนี้การค้าแบบ G-to-G ได้เริ่มต้นในปี 2559 และทั้งสองประเทศได้ลงนาม MoU เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ในปีงบประมาณ 2560-2561 เมียนมาส่งออกส่งถั่วดำ ถั่วแระ และถั่วเขียวเขียวกว่าล้านตันไปยังตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม รายได้ขึ้นทะเบียนเพียง 713 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากราคาลดลง ทั้งนี้เมียนมาส่งออกถั่วชนิดต่างๆ กว่า 1.6 ล้านตัน สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 1.195 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-over-136000-tonnes-of-pigeon-peas-as-of-25-june/

อาเซียนและ FMs รัสเซียให้คำมั่นที่จะส่งเสริมความร่วมมือในภาคสาธารณสุข

บรรดาชาติอาเซียนและรัสเซียได้ให้คำมั่นที่จะส่งเสริมความร่วมมือในด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนและยารักษาโรค และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังเกิดโรคระบาด สมาชิกในกลุ่มอาเซียนจะให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ของการดำเนินโครงการและแผนปฏิบัติการภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน-รัสเซีย ซึ่งครอบคลุมด้านการเมือง ความมั่นคง สังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจทั้งนี้ในที่ประชุมยังได้มีการหารือเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ของกลุ่มสมาชิกอาเซียนเพื่อลองรับการขยายของกลุ่มเศรษฐกิจในอนาคต

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Asean131.php