ฝรั่งเศสขยายการสนับสนุนห่วงโซ่คุณค่าเกษตรกรรมยั่งยืนของลาวผ่านโครงการ Mekong Tea

รัฐบาลฝรั่งเศสกำลังสนับสนุนห่วงโซ่คุณค่าของเกษตรกรรมเพื่อยั่งยืนของสปป.ลาว ผ่านโครงการ Mekong Tea Project เพื่อเสริมสร้างห่วงโซ่มูลค่าการผลิตชาในสปป.ลาวและเพิ่มผลประโยชน์ให้กับเกษตรกรรายย่อย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและป่าไม้ดร. ลิงค์แฮม ดวงสะหวัน กล่าว่า “ชาคุณภาพปานกลางถึงสูงให้รายได้ค่อนข้างสูงแก่ชุมชนในท้องถิ่น ศักยภาพนี้ควรได้รับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์เพื่อให้ทั้งชุมชนท้องถิ่นและทรัพยากรธรรมชาติได้รับประโยชน์จากรูปแบบการพัฒนาที่ยั่งยืน” ทั้งนี้วัตถุประสงค์หลักของโครงการสามปีนี้คือการเพิ่มรายได้ของเกษตรกรรายย่อยผ่านการกำกับดูแลห่วงโซ่มูลค่าชาที่ดีขึ้นและการเข้าถึงตลาดที่ดีขึ้นด้วยการส่งเสริมผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_France_47.php

โครงการนำร่องผลิตภาชนะปราศจากพลาสติกในกัมพูชา

กลุ่มผู้รักสิ่งแวดล้อมกำลังจะเปิดตัวโครงการนำร่องในการใช้วัสดุจากธรรมชาติในการผลิตชามและจาน เพื่อจุดประสงค์ในการลดการใช้พลาสติกในภาชนะบรรจุ โดยภาชนะมีคุณสมบัติในด้านความสามารถในการย่อยสลายทางชีวภาพ อีกทั้งยังมีมุมมองต่อโครงการที่นอกจากจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมีส่วนช่วยลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก โดยการแทนที่ด้วยวัตถุดิบธรรมชาติภายในประเทศ และในการทำเช่นนี้จะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรภายในประเทศอีกทางด้วย ซึ่งภาชนะที่ทำจากวัสดุธรรมชาติคาดว่าจะตั้งราคาไว้ที่ระหว่าง 800 ถึง 1,000 เรียล เพื่อส่งเสริมการลดการใช้งานจากพลาสติก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50821939/pilot-project-to-produce-plastic-free-bowls-and-plates/

กัมพูชาเผชิญกับความเสี่ยงของการแพร่ระบาดระลอกใหม่

กัมพูชากำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ภายในพื้นที่ทั่วประเทศ โดยความเสี่ยงดังกล่าวเกิดจากเหตุการณ์การหลบหนีของกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูงจำนวน 4 คน ซึ่งสองคนได้รับการทดสอบแล้วพบว่าผลเป็นบวก (ติดเชื้อโควิด-19) และถูกสงสัยว่าจะเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์จากทางสหภาพยุโรป โดยได้มีการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ หลายแห่งในเมืองหลวงของกัมพูชา ส่งผลทำให้สีหนุวิลล์มีจำนวนผู้ติดเชื้อแล้วกว่า 115 ราย ซึ่งภาพรวมของสถานการณ์โควิด-19 ภายในประเทศรายงานโดยกระทรวงสาธารณสุขของกัมพูชาได้ยืนยันผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มเติมอีก 31 ราย (ณ วันที่ 7 มี.ค. 21) ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็น 987 ราย ซึ่งได้รับการรักษาตัวจนตรวจไม่พบเชื้อแล้วจำนวน 510 ราย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50821805/cambodia-faces-risk-of-covid-19-spreading-to-more-localities/

เวียดนามเล็งเปิดเผยรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

นาง Nguyen Thi Thanh Huong รองผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งชาติของเวียดนาม กล่าวในที่ประชุมจังหวัดกว๋างนิญว่าเวียดนามจะไม่เปิดประเทศอย่างเต็มที่ จึงจะต้องเลือกตลาดต่างประเทศที่มีความต้องการสูงและมีความพร้อมท่องเที่ยวแบบแพ็คเกจทัวร์เหมาจ่าย แต่ว่ารีสอร์ทต้องมีพื้นที่การแยกกักและไม่มีการถ่ายเทอากาศ ทั้งนี้ คุณ Nguyen Manh Tien รองประธานคณะกรรมการสมัชชาแห่งชาติ เรียกร้องให้ทางกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกกฎระเบียบและมาตรการ เพื่อดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมา อย่างไรก็ตาม เมื่อมองดูประเทศเพื่อนบ้าน พบว่าประเทศไทยเล็งที่จะเปิดพรมแดนระหว่างประเทศอีกครั้ง เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้ามาแต่ว่าต้องมีหลักฐานการฉัดวัคซีน COVID-19 แล้ว นอกจากนี้ ในปัจจุบัน เวียดนามมีวัคซีน AstraZeneca จำนวน 117,600 โดสที่ได้รับเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20210308/vietnam-eyes-stepwise-plan-to-reopen-to-foreign-tourists/59656.html

เวียดนามเผยการเบิกจ่ายโครงการลงทุนภาครัฐ พุ่ง 10.6% ช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ มีการเบิกจ่ายโครงการลงทุนภาครัฐ ประมาณ 40.9 ล้านล้านดอง (1.77 พันล้านเหรียญสหรัฐ) คิดเป็น 9% ของแผนปีนี้ ถือว่าอยู่ในระดับสูงสุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้น 10.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยมีการเบิกจ่ายเงินทุนจากส่วนกลางถึง 5.6 ล้านล้านดอง (242.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) ทั้งนี้ กระทรวงการก่อสร้าง รายงานว่าอัตราการเบิกสูงสุด 10.2% ของแผนปีนี้ ตามมาด้วยกระทรวงสาธารณธสุข 9.4% และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 9.1% นอกจากนี้ สำนักงานฯ ระบุว่าสถานะการเบิกจ่ายลดลงในเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ‘เทศกาลตรุษจีน’ และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในบางจังหวัด ทำให้ความคืบหน้าของบางโครงการชะลอตัวลง

  ที่มา : https://en.nhandan.com.vn/business/item/9650802-public-investment-disbursement-rises-10-6-in-first-two-months.html

พาณิชย์เมียนมา เว้นภาษีนำเข้า-ส่งออกชั่วคราว

กรมการค้า กระทรวงพาณิชย์ (MOC) เผยเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 64 ส่งออกและผู้นำเข้าไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาตสำหรับสินค้าส่งออกพิกัดศุลกากร (HS Code) 37 รายการ และการนำเข้า 72 รายสำหรับการนำเข้า ระหว่างวันที่ 8 มีนาคมถึง 9 เมษายน 2564 เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า สินค้าส่งออกที่ได้รับการยกเว้น เช่น หอมกระเทียม ข้าว ปลายข้าว น้ำตาลทรายดิบ ยางธรรมชาติ ฯลฯ สินค้านำเข้า เช่น ปลาหั่นบาง (ปลาแซลมอนและปลาทูน่า) แป้ง เมล็ดถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม ฯลฯ ส่วนภาษีหัก ณ ที่จ่าย 2% ยังได้รับการยกเว้นจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 64 เนื่องจากความยากลำบากในการชำระภาษีจากการปิดทำการของธนาคารเอกชน นอกจากนี้ยังไม่สามารถทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศได้ในระหว่างนี้ อย่างไรก็ตามการลดภาษีและการยกเว้นใบอนุญาตจะไม่สามารถรับมือกับการชะลอตัวของการค้าท่ามกลางสภาวะทางการเมืองในปัจจุบัน ด้านผู้ส่งออกชายแดนมูเซเผย แม้การค้าทางทะเลจะหยุดชะงัก แต่การยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะช่วยการค้าชายแดนกับจีนและไทยราบรื่นมากยิ่งขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/moc-grants-temporary-tariff-exemption-for-export-import-items/

“พาณิชย์” เร่งตั้งกองทุน FTA ช่วยเอกชนจากเปิดเสรีการค้า

คณะทำงานพัฒนากองทุนฯ เห็นชอบตั้ง “กองทุนเอฟทีเอ” มอบกรมเจรจาฯ เร่งสรุปแหล่งรายได้ก่อนเสนอ “จุรินทร์” พิจารณา ก่อนเข้าสู่กระบวนการจัดตั้งกองทุนตามกฎหมายต่อไป นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะทำงานพิจารณาแนวทางการพัฒนากองทุนช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผล กระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ครั้งที่ 1/2564 ที่มีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สภาเกษตรกรแห่งชาติ และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยเข้าร่วม ว่า คณะทำงานฯ ได้พิจารณาข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนเอฟทีเอ ก่อนที่จะนำเสนอนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พิจารณา สำหรับข้อสรุปเกี่ยวกับการจัดตั้ง กำหนดให้ความช่วยเหลือจากกองทุน แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่รูปแบบเงินจ่ายขาด เช่น ทุนวิจัยพัฒนา ทุนจัดหาที่ปรึกษา ทุนฝึกอบรม ทุนจัดกิจกรรมสนับสนุนการตลาด และรูปแบบเงินหมุนเวียน เช่น เงินลงทุนในสิ่งก่อสร้าง และค่าเครื่องมืออุปกรณ์ และในส่วนการดำเนินงาน มีข้อเสนอว่า กองทุนควรให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคเกษตร ภาควิชาการ และธนาคารของรัฐ ในระดับพื้นที่ เป็นตัวกลางสำหรับประสานงานและเสนอคำขอรับความช่วยเหลือไปยังหน่วยบริหารกองทุนเอฟทีเอ ส่วนประเด็นเกี่ยวกับแหล่งรายได้เข้ากองทุนเอฟทีเอ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้เสนอว่า นอกจากเงินสนับสนุนจากภาครัฐแล้ว กองทุนควรจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ได้ประโยชน์จากเอฟทีเอสมทบเข้ากองทุนเพิ่มเติม เพื่อให้กองทุนสามารถดำเนินการได้อย่างยั่งยืน  ทั้งนี้ แนวคิดในการจัดตั้งกองทุนเอฟทีเอ เพราะมีเสียงเรียกร้องจากภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะภาคเกษตร ที่ขอให้มีกลไกช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเอฟทีเอ ให้สามารถปรับตัวรับมือกับการแข่งขันในตลาดการค้าเสรี อีกทั้งยังเป็นข้อแนะนำจากคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วมความตกลง CPTPP ของรัฐสภา ที่เสนอให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเอฟทีเอด้วย

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/471345

MAFF กัมพูชา คาดผลผลิตข้าวเปลือกสูงถึง 2.6 ล้านตัน ในช่วงฤดูแล้ง

ทั่วประเทศกัมพูชามีการเพาะปลูกข้าวในช่วงฤดูแล้งมากกว่า 642,583 เฮกตาร์ ข้อมูล ณ วันที่ 4 มีนาคม 2021 ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 140 ของแผนการเพาะปลูก (459,200 เฮกตาร์) แม้ว่ากัมพูชาและประเทศอื่น ๆ ในลุ่มแม่น้ำโขงจะประสบปัญหาระดับน้ำต่ำในปี 2020 ตามรายงานจากกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง (MAFF) คาดว่าจะสร้างผลผลิตข้าวเปลือกสูงถึง 2.6 ล้านตัน ในช่วงฤดูแล้ง ตามรายงานของ General Directorate of Agriculture (GDA) ที่กระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมงระบุว่ากัมพูชาส่งออกข้าวเปลือกไปเวียดนามในช่วง 2 เดือนแรกของปีอยู่ที่ 707,595 ตัน โดยเป็นการส่งออกอย่างเป็นทางการจำนวน 345,600 ตัน ซึ่งราคาข้าวเปลือกอยู่ที่ประมาณ 950 ถึง 1,170 เรียลต่อกิโลกรัม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50821318/maff-expects-2-6-million-tonnes-of-dry-season-paddy-this-year/

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและจีนลดลงร้อยละ 5.2 ในปี 2020

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและจีนมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 8,118 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2020 ลดลงร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยจากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบเป็นรายปีที่มูลค่า 1,086 พันล้านดอลลาร์ ในขณะเดียวกันกัมพูชานำเข้าสินค้าจากจีนรวม 7.031 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับในปี 2019 ซึ่งการนำเข้าจากจีนที่ลดลงส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการชะลอตัวของการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า เนื่องจากมีมาตรการปิดกั้นหรือจำกัดการส่งออกของกัมพูชา รวมถึงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็ส่งผลทำให้กัมพูชานำเข้าสินค้าลดลงไปด้วย ส่วนกัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรไปยังจีนเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ข้าว มะม่วง และมันสำปะหลัง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50821332/8-1-billion-recorded-as-cambodia-china-trade-volume-in-2020-showing-a-5-2-percent-drop/

ผู้เลี้ยงแพะเมืองกะเล่ปลื้ม ราคาพุ่ง ไม่พอขาย

ความต้องการแพะของเนินเขาชิน เมืองกะเล่ เขตเขตซะไกง์ และเขตตะมู่ ส่งผลให้ราคาในตลาดสูงขึ้น ผู้เลี้ยงแพะเผยนมแพะราคาถ้วยละ 1,000 จัต มีรายได้ต่อวันประมาณ 10,000 จัต ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงมีรายได้มากขึ้นเนื่องจากมีผู้ซื้อแพะจำนวนมากในช่วงฤดูกาลนี้ มีผู้เลี้ยงแพะเชิงพาณิชย์เพียง 10 รายเท่านั้นที่ทำธุรกิจธุ์ปศุสัตว์ในเมืองกะเล่ ดังนั้นความต้องการจึงสูงกว่าอุปทานส่งผลให้ราคาสูงขึ้น แพะตัวผู้ขายได้ประมาณ 100,000 จัต ส่วนแพะตัวเมียขายได้ประมาณ 50,000 หรือ 80,000 จัตขึ้นอยู่กับขนาด ปีที่แล้วอินเดียเข้ามาซื้อแพะในเมียนมาร์ นอกจากนี้ยังมีการขายแพะได้ราคาดีหลายร้อยตัวจากเมืองโมนยวา เมืองปะค็อกกู และเมืองมยิงยานแถบชายแดนพม่า – อินเดีย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/goat-breeders-earn-good-profit-on-upward-market-in-kalay/