เจ้าท่า ลุยปรับปรุงท่าเรือเกาะสมุย บูมเที่ยวทะเลอ่าวไทย

กรมเจ้าท่า เร่งปรับโฉมใหม่ท่าเรือเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี คาดแล้วเสร็จปี 67 รองรับการท่องเที่ยวฝั่งอ่าวไทยเพิ่มสูงขึ้น-ยกระดับมาตรฐานท่าเรือให้ปลอดภัย นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.) เปิดเผยว่า กรมเจ้าท่าได้ดำเนินการตามแผนด้านโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำ เพื่อยกระดับท่าเรือให้ได้มาตรฐานและความปลอดภัย ซึ่งท่าเทียบเรือดังกล่าว เป็นท่าเรือสำคัญที่จะรองรับนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ซึ่งท่าเรือเกาะสมุย เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางไปยังเกาะพะงัน เกาะเต่า เกาะนางยวน และเกาะม้า จ.สุราษฎร์ธานี ในอนาคตอาจมีแนวโน้มนักท่องเที่ยวเดินทางเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กรมเจ้าท่า จึงดำเนินการปรับปรุงรื้อถอนท่าเทียบเรือเดิมบางส่วน และปรับปรุงท่าเรือดังกล่าว ได้แก่ ปรับปรุงโครงสร้างท่าเทียบเรือเพื่อส่งเสริมหน้าท่าพื้นที่ 864 ตารางเมตร และเพิ่มพื้นที่สะพานทางเดิน 2,340 ตารางเมตร สร้างอาคารพักคอยรองรับผู้โดยสารเรือครุยส์ ขนาด 1,800 ตารางเมตร และอาคารพักคอยด้านหลังท่าเทียบเรือ 182.25 ตารางเมตร และงานก่อสร้างด้านอื่นๆ ด้วยรูปแบบที่ทันสมัย และได้มาตรฐานความปลอดภัย คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จปี 67 ทั้งนี้ การปรับปรุงท่าเรือเกาะสมุยจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ และรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ในอนาคต หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย และรองรับการขยายตัวด้านเศรษฐกิจฝั่งอ่าวไทยในปัจจุบันและในอนาคต เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดี ตามนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อน และพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อีกด้วย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/822510

การส่งออกสินค้าผ่าน SSEZ ในกัมพูชา เพิ่มขึ้นในปี 2020 ที่ผ่านมา

เขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ (SSEZ) รายงานการส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 26.52 ในปี 2020 แม้จะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน โดยมูลค่าสินค้าที่ส่งออกจาก SSEZ อยู่ที่ 1.556 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งสินค้าหลักสำคัญในการส่งออก ได้แก่ เสื้อผ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ กระเป๋า วัสดุก่อสร้างและเฟอร์นิเจอร์ โดยรัฐบาลกัมพูชาตระหนักเสมอว่าภาคเอกชนถือเป็นพันธมิตรที่สำคัญในการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่ง SSEZ มีขนาด 1,113 เฮกตาร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2008 ตั้งอยู่ห่างจากท่าเรือสีหนุวิลล์ในจังหวัดพระสีหนุทางตะวันตกเฉียงใต้ของกัมพูชาประมาณ 13 กม.

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50808658/ssez-exports-increase-26-percent-in-2020/

ธนาคาร ACLEDA สำรองเงินให้กู้สำหรับ SMEs ภายในประเทศกัมพูชา

ประธานและกรรมการผู้จัดการกลุ่มของธนาคาร ACLEDA Bank Plc. ได้ประกาศว่าธนาคารได้สำรองเงินทุนไว้เกือบ 600 ล้านดอลลาร์ สำหรับการปล่อยสินเชื่อให้กับภาควิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สำหรับการเพิ่มสภาพคล่อง ประคองธุรกิจ และการขยายธุรกิจ ในกัมพูชาสำหรับปี 2021 นอกจากโครงการปล่อยสินเชื่อโดยตรงให้กับ SMEs แล้ว ธนาคาร ACLEDA ยังเข้าร่วมกับ SME Bank ของกัมพูชาในโครงการ SME Co-Financial Scheme (SCFS) โดย SCFS มีมูลค่าทุนรวมกว่า 100 ล้านดอลลาร์ เปิดตัวในวันที่ 1 เมษายน 2020 ที่ผ่านมา ซึ่งเงินทุนดังกล่าวได้รับการสนับสนุนร่วมกันจาก SME Bank of Cambodia และสถาบันที่เข้าร่วม 33 แห่ง (PFIs) โดยกลุ่ม PFI ประกอบด้วยธนาคารพาณิชย์ 24 แห่ง ธนาคารเฉพาะกิจ 6 แห่ง และ MFI 3 แห่ง ในการสนับสนุนภาควิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ภายในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50808671/acleda-bank-reserves-600-million-for-smes-this-year/

ยอดส่งออกเวียดนาม พุ่ง 50.5% ในม.ค.

สำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าการส่งออกของเวียดนามในเดือนมกราคม 2563 เพิ่มขึ้น 50.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยมูลค่า 27.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากบริษัทข้ามชาติผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ‘Samsung’ ที่ยกระดับการผลิตและส่งออกสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ‘Galaxy S21’ ทั้งนี้ สหรัฐฯ ยังคงเป็นผู้นำเข้าสินค้าเวียดนามรายใหญ่ที่สุดในเดือนมกราคม มูลค่าอยู่ที่ 7.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ พุ่ง 57.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาจีน สหภาพยุโรป อาเซียนและญี่ปุ่น ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน จีนยังคงเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มูลค่าอยู่ที่ 9.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ พุ่ง 72.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาเกาหลีใต้ อาเซียน ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เวียดนามเกินดุลการค้า 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในเดือนดังกล่าว แบ่งออกเป็นภาคเศรษฐกิจในประเทศขาดดุลการค้า 0.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ ภาคการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (รวมถึงน้ำมันดิบ) เกินดุลการค้า 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

  ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/865536/viet-nams-january-exports-up-505-per-cent-year-on-year.html

เวียดนามเผยดัชนี CPI เดือนม.ค. พุ่งขึ้น เหตุเทศกาลเต็ต

สำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเวียดนามในเดือนนี้ เพิ่มขึ้น 0.06% จากช่วงเดียวกันของเดือนก่อน โดยส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนมาจากความต้องการของผู้บริโภคสูงขึ้นในช่วงเทศกาลเต็ด (Tet) ที่กำลังจะมาถึง ด้วยเหตุนี้ ทำให้ราคาอาหารและค่าบริการพุ่งสูงขึ้น ในขณะที่ ราคาน้ำมันในประเทศปรับเพิ่มขึ้นตามตลาดโลก ทั้งนี้ ในบรรดากลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ 11 ประเภท มีอยู่ 9 รายการที่เพิ่มขึ้น ประกอบด้วยการขนส่งเพิ่มขึ้นสูงสุด 2.29% รองลงมาอาหารและบริการจัดเลี้ยง (0.44%), การศึกษา (0.33%), เครื่องดื่มและยาสูบ (0.32%) และสินค้าและบริการอื่นๆ (0.24%) ในขณะที่ราคาที่อยู่อาศัย ค่าน้ำค่าไฟ่และวัสดุก่อสร้างลดลง 2.31% และโทรคมนาคม 0.1% อย่างไรก็ตาม ดัชนี CPI หดตัว 0.97 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/80409/high-consumer-demand-for-tet-drives-up-january%C3%A2%E2%82%AC%E2%84%A2s-cpi.html

นายกฯ สปป.ลาวชื่นชมการตอบสนองของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต่อโควิด -19

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา Mr.Thongloun Sisoulith นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวชื่นชมและขอบคุณเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสำหรับความพยายามในการยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด -19 ในที่ประชุมประจำปีของกระทรวงสาธารณสุขยังได้มีการหารือเกี่ยวกับแผนด้านสาธารณสุขสำหรับปี 2564 เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด -19 เป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขถือเป็นแผนย่อยที่รวมอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปี 2559-2563 และ 2564-2568 โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนสุขภาพปี 2564 จะดำเนินตามกรอบยุทธศาสตร์การปฏิรูปด้านสุขภาพซึ่งเริ่มดำเนินการในปี 2559-2563 และระยะที่ 3 จะดำเนินการตั้งแต่ปี 2564-2568 นายกรัฐมนตรีมีเป้าหมายและความพยายามอย่างสูงที่จะทำให้ระบบสาธารณสุขของสปป.ลาวพัฒนาและเทียบเท่ามาตรฐานสากล แนวทางดังกล่าวจึงมีความสำคัญอย่างจึงต่อการพัฒนาสาธารณสุขของประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_PM_21.php

ตลาดในประเทศยังเป็นปัจจัยสำคัญของอุตฯการบินเวียดนาม ปี 64

เวียดนามควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ความต้องการเดินทางทางอากาศในประเทศเพิ่มสูงขึ้นในปี 2564 ซึ่งจำนวนผู้โดยสานทางอากาศสามารถกลับไปสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 ที่ 73 ล้านคนในปีนี้ เพิ่มขึ้น 23% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ของเวียดนามอย่าง SSI Securities Corp. คาดการณ์ว่าตลาดในประเทศยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญของอุตสาหกรรมการบินเวียดนาม จนกว่าจะสิ้นสุดครึ่งแรกของปี 2564 อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โควิด-19 ที่รุนแรงไปทั่วโลกนั้น ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลเวียดนามต้องปิดพรมแดนจนถึงครึ่งหลังของปีนี้ อีกทั้ง ประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 จะเป็นปัจจัยชี้ขาดในการปลดล็อกข้อจำกัดในการเดินทางในปัจจุบันและกลับมาเปิดให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/domestic-market-to-remain-priority-for-vietnam-aviation-industry-in-2021-316061.html

FDI เวียดนามเดือน ม.ค. พุ่ง 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่ายอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เมื่อวันที่ 20  ม.ค. 2564 อยู่ที่ 1.51 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.1% เมื่อเทียบรายปี ในจำนวนเงินลงทุนดังกล่าว มุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป ด้วยมูลค่าราว 1.54 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 76.4% ของยอดการลงทุนจากต่างชาติรวม รองลงมาภาคอสังหาริมทรัพย์ มูลค่า 179 ล้านเหรียญสหรัฐ, การขนส่ง คลังสินค้าและการเกษตร ป่าไม้ ประมง มูลค่า 111.9 และ 60.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ ทั้งนี้ สิงคโปร์เป็นผู้ลงทุนจากต่างประเทศรายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม เป็นเงินทั้งสิ้น 680.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (33.8% ของทั้งหมด) รองลงมาจีน ฮ่องกง ตามลำดับ

 ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/january-fdi-tops-15-billion-usd/195512.vnp

MTB อุ้มบริษัททัวร์ หนุนการท่องเที่ยวเมียนมา

ธนาคารการท่องเที่ยวแห่งเมียนมา (MTB) ได้เซ็น MoU กับสมาคมการท่องเที่ยวเมียนมา (Union of Myanmar Travel Association) เพื่อหาเงินกู้สำหรับสมาชิกสมาคมที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ที่ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องงดกิจกรรมทั้งหมดและผู้ประกอบการต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ซึ่งภาคการท่องเที่ยวเมียนมาได้รับผลกระทบมากที่สุด ทั้งนี้ธนาคารการท่องเที่ยวแห่งเมียนมา (MTB) เป็นธนาคารเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตจากธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) เมื่อปี 2561 ปัจจุบันมีสาขาทั้งหมด 6 แห่งเพื่อรองรับความต้องการของ SMEs และภาคการท่องเที่ยวในเมียนมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-tourism-bank-provide-loans-tour-companies.html

KB Bank รุกหนัก ภาคก่อสร้างเมียนมา

KB Bank พร้อมให้ความสำคัญกับภาคการก่อสร้างของเมียนมา นาย เฮอร์ยิน ประธานกรรมการกล่าวในงานการเปิดตัวในเมียนมามื่อวันที่ 27 มกราคม 64 KB Bank เป็นบริษัทย่อยของ KB Kookmin Bank จากเกาหลีใต้ที่ให้บริการ เช่น สินเชื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารดิจิทัล ธนาคารสำหรับองค์กรและโครงสร้างพื้นฐานด้านการธนาคาร แต่เป้าหมายคือภาคการก่อสร้าง โดยอย่างยิ่งในด้านการเงินการธนาคารดิจิทัลและที่อยู่อาศัย นี่คือจุดแข็งของ KB Kookmin Bank ซึ่งข้าสู่เมียนมาในปี 56 ด้วยการเปิดตัวสำนักงานใหญ่ในย่างกุ้ง รัฐมนตรีประจำเขตย่างกุ้ง นี่เป็นหนึ่งในหลาย ๆ ด้านของความร่วมมือระหว่างเมียนมาและเกาหลี ศูนย์อุตสาหกรรมเกาหลี – เมียนมา (KMIC) มีโครงการที่อยู่อาศัยทโรงงานและการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการ Dala Myothit ซึ่งลงนามร่วมกันระหว่างเมียนมากับเกาหลีใต้สามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับตลาดอสังหาริมทรัพย์ KB Kookmin Bank เป็นหนึ่งในธนาคารต่างประเทศอีก 7 แห่งที่ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการในประเทศ ณ ตอนนี้เป็นธนาคารต่างชาติแห่งแรกที่ตั้งบริษัทลูกในเมียนมาร์และจะได้รับใบอนุญาตให้เปิดสาขา 10 แห่งทั่วประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/kb-bank-focus-myanmars-construction-sector.html