เมียนมาลุ้นส่งออกน้ำผึ้งไป EU ภายในปีนี้

สมาคมการเลี้ยงผึ้งเมียนมาและกระทรวงพาณิชย์เผย ผู้เลี้ยงผึ้งอยู่ในช่วงเตรียมการเพื่อส่งออกน้ำผึ้งไปยังตลาดสหภาพยุโรปคาดว่าสิ้นปีนี้สามารถส่งออกได้กว่า 50% และส่งออกได้ถึง 800 ตันในปีงบประมาณ 63-64 ปัจจุบันตลาดหลักคือญี่ปุ่น อุตสาหกรรมส่งออกน้ำผึ้งสร้างรายได้ให้กับประเทศประมาณ 4 ดอลลาร์สหรัฐ มีฟาร์มผึ้งประมาณ 670 เฮกตาร์ที่สามารถผลิตน้ำผึ้ง 4,000 ถึง 5,000 ตันต่อปี ซึ่งทั่วประเทศมีโรงงานทำน้ำผึ้ง 6 แห่งโดยจะส่งออกระหว่าง 2,000 ถึง 3,000 ตันไปยังญี่ปุ่นและจีนในทุกๆ ปี ทั้งนี้ผู้เลี้ยงผึ้งต้องปฎิบัติตามมาตรฐานสากล เช่น การวิเคราะห์อันตรายและจุดควบคุมวิกฤต (HACCP) โดยการสนับสนุนของกระทรวงพาณิชย์และศูนย์การค้าระหว่างประเทศในการจัดหลักสูตร HACCP และส่วนแบ่งการตลาดสำหรับผู้เลี้ยงผึ้ง นอกจากนี้น้ำผึ้งยังสามารถผลิตได้จากน้ำหวานที่เก็บจากไนเจอร์ งา ดอกทานตะวัน สะระแหน่ เถาวัลย์ ถั่วแระ ดอกไม้ป่า และต้นลิ้นจี่

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-export-honey-eu-year.html

เผยราคากาแฟเมืองยวาร์งันยังทรงตัว แม้ COVID-19 ระบาดหนัก

นักธุรกิจเผยราคากาแฟเมืองยวาร์งัน รัฐฉาน ยังคงทรงตัวแม้มีการระบาดของโควิด -19 เทียบกับปีที่แล้ว โดยราคาเริ่มต้นของเมล็ดกาแฟสุก viss (1.6 กิโลกรัม) อยู่ที่ 600-700 จัตเมื่อปีก่อน เพิ่มขึ้นเป็น 800,900 ถึง 1000 จัต ซึ่งการเก็บเกี่ยวในทุกปีจะเริ่มช่วงเดือนธันวาคมและโดยพื้นที่เพาะปลูกมีมากกว่า 7,000 เอเคอร์ในเมืองยวาร์งัน ทั้งนี้คุณภาพของเมล็ดกาแฟลดลงเล็กน้อยในปีนี้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ถึงแม้ราคาอาจไม่เปลี่ยนแปลงมากนักแต่การส่งออกทำได้ยากขึ้น ปัจจุบันเมียนมาส่งออกกาแฟไปยังสหรัฐฯ และมีความพยายามจะขยายตลาดไปยังญี่ปุ่น เกาหลี แคนาดา และยุโรป ซึ่งเมล็ดกาแฟหนึ่งตันสามารถดึงราคาส่งออกได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่ 1,000 ถึง 8,000 ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้เมียนมามีพื้นที่ปลูกกาแฟประมาณ 50,000 เอเคอร์ทั่วประเทศ โดยการปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้ามีพื้นที่มากถึง 40,000 เอเคอร์ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/ywar-ngan-coffee-prices-stable-amid-covid-19-outbreak.html

Global Times เผยเวียดนาม ดาวรุ่งในเอเชียตะวันออกเฉีนงใต้

ตามรายงาน “Asia Economics Quarterly” ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น (HSBC) เปิดเผยว่าเศรษฐกิจเวียดนามเติบโตเร็วที่สุดในเอเชีย ปี 2563 และจะทะยานเป็นขึ้นเบอร์หนึ่งในภูมิภาคในปีนี้ เวียดนามได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวอย่างในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ 2.91% ในปี 2563 อีกทั้ง เศรษฐกิจยังคงขยายตัวได้ดีในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาและสามารถก้าวข้ามวิกฤตทางการเงินในเอเชีย รวมถึงวิกฤตการเงินโลก ด้วยเหตุนี้ เวียดนามพร้อมที่จะก้าวไปสู่ประเทศรายได้ปานกลาง ทั้งนี้ เวียดนามได้รับแรงหนุนจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน การส่งออกของเวียดนามไปยังสหรัฐฯ พุ่ง 24.5% ในปี 2563 ด้วยมูลค่าการส่งออก 76.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้เวียดนามเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่อันดับ 2 ของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้เวียดนามเกินดุลการค้ามาเป็นเวลาติดต่อกัน 5 ปี แตะระดับสูงสุด 19.1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 ประกอบกับอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ คือ การลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีกับกลุ่มเศรษฐกิจสำคัญของโลก โดยในปี 2563 เวียดนามได้ลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP), ข้อตกลงการค้าสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) และข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนามกับอังกฤษ (UKVFTA) เพื่อขยายตลาดส่งออก

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/global-times-vietnam-a-rising-star-in-southeast-asia-27640.html

เวียดนามนำเข้ารถยนต์ 2.35 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 63

ตามรายงานของสำนักงานศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในปี 2563 เวียดนามนำเข้ารถยนต์ 105,000 คัน เป็นมูลค่า 2.35 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในแง่ของปริมาณ ลดลง 24.5% และในแง่ของมูลค่า ลดลง 25.6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งในเดือนธันวาคม ปริมาณการนำเข้ารถยนต์อยู่ที่ 12,690 คัน เป็นมูลค่า 308 ล้านเหรียญสหรัฐ ในแง่ของปริมาณและมูลค่า เพิ่มขึ้น 3.7% และ 12.8% เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ตามลำดับ ทั้งนี้ ปริมาณการนำเข้าส่วนใหญ่ราว 88% ในเดือนสุดท้ายของปี มาจากประเทศไทย (7,696 คัน) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย (2,353 คัน) และจีน (1,158 คัน) นอกจากนี้ สมาคมผู้ผลิตรถยนต์เวียดนาม (VAMA) ระบุว่ายอดขายรถยนต์ในเวียดนามพุ่งขึ้น 45% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการจัดโปรโมชั่นครั้งใหญ่ในเดือนสุดท้ายของปี และลูกค้ารีบซื้อรถยนต์ก่อนที่นโยบายภาครัฐฯ จะปรับลดค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ 50% โดยจะหมดอายุภายในสิ้นปี อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญมองว่าในปีนี้ จะเป็นปีที่ลำบากอีกครั้ง สำหรับตลาดรถยนต์เวียดนาม สาเหตุจากผู้ประกอบการต่างๆ เลือกที่จะควบคุมการใช้จ่ายมากขึ้น

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-spends-us235-billion-to-import-cars-in-2020-316043.html

ไตรมาสแรกปี 63-64 ภาพรวมการค้าเมียนมา ดิ่งลง เมื่อเทียบกับปีก่อน

เมียนมามีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศรวม 8.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 63-64 ซึ่งน้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 2.5 พันล้านดอลลาร์ ผลมาจากการส่งออกที่ลดลงของก๊าซธรรมชาติ อัญมณี เสื้อผ้า และการประมงและผลิตภัณฑ์จากสัตว์อื่น ๆ จากการระบาดของ COVID-19 ส่วนการนำเข้าที่ลดลง คือ วัตถุดิบมาผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป  Cut-Make-Pack (CMP) วัสดุก่อสร้าง เชื้อเพลิงและน้ำมันดิบอื่น ๆ  ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 63 ถึง 25 มกราคม 64 มีมูลค่าการค้ารวม 8.9 พันล้านดอลลาร์ ส่งออกน้อยกว่าปีที่แล้ว 1.1 พันล้านดอลลาร์และการนำเข้าลดลง 1.4 พันล้านดอลลาร์และมูลค่าการค้าทั้งหมดลดลง 2.5 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 62-63 ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นแม้จะได้รับผลกระทบจากปัญหาด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง โดยมีปริมาณการส่งออกมากกว่าปีที่แล้วถึง 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าสำคัญได้แก่ ผัก ข้าว และปลายข้าวเพิ่มขึ้นและสินค้าเกษตรอื่น ๆ เช่น แตงโม พริก ถั่วลิสง และเมล็ดข้าวโพดก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์คาดภาพรวมการค้าปีงบปรพมาณ 63-64 จะแตะ 34,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐจะแบ่งเป็นการส่งออก 16.2 พันล้านดอลลาร์ ส่วนการนำเข้า 18.5 พันล้านดอลลาร์ส่งผลให้ขาดดุลการค้า 2.3 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-sees-reduced-trade-first-quarter-2020-21.html

นักลงทุนคาด เศรษฐกิจเมียนมาจะฟื้นตัวเร็วในอีก 3 ปีข้างหน้า

นักลงทุนคาดธุรกิจจะกลับสู่ภาวะปกติในไตรมาสที่สามของปีนี้ โดยภาคที่ได้รับความนิยมคือเทคโนโลยีสื่อและโทรคมนาคม (TMT) ซึ่งจะเป็นการลงทุนหรือการควบรวมกิจการและการเข้าซื้อกิจการมากที่สุดในอีกสองปีข้างหน้าจากการสำรวจโดย Ascent Capital Partners เมื่อเร็ว ๆ นี้ ในความเป็นจริงเศรษฐกิจคาดจะฟื้นตัวสูงถึง 7% ในปีนี้ตามที่กระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศของสหภาพแรงงานกล่าวในระหว่างการประชุมออนไลน์ที่ผ่านมา ซึ่งการฟื้นตัวจะได้รับแรงผลักดันจากแผนฟื้นฟูและปฏิรูปเศรษฐกิจเมียนมา (MERP) โดยให้ความสำคัญของภาคธุรกิจต่างๆ เช่น การผลิตและบริการในปีหน้าและมาตรการอย่างการปฏิรูประบบราชการและ Digital Transformation ที่จะเกิดขึ้น แต่เศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจยังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดของโควิด -19 และยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเกิดการฟื้นตัวเต็มที่เมื่อใด ซึ่ง Ascent Capital เป็นบริษัทที่จดทะเบียนกับ Monetary Authority of Singapore ถือว่าเป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนในเมียนมาที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยจัดลำดับความสำคัญไปทืภาคผู้บริโภค การศึกษา สุขภาพ บริการทางการเงิน โลจิสติกส์ ด้วยภาระผูกพันด้านเงินทุน 88 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Temasek Holdings ของสิงคโปร์ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย และผู้ประกอบการเครื่องดื่มภายในท้องถิ่น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/investors-expect-growth-accelerate-myanmar-over-next-three-years.html

สปป.ลาวประสบปัญหานักท่องเที่ยวตกต่ำเนื่องจากโควิด-19 รุนแรงมากขึ้น

จำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศที่มาเยือนแต่ละแขวงของสปป.ลาวลดลงอย่างมากในปีที่แล้วเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 62 เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด -19 แขวงจำปาสักลดลงประมาณ 90 % เมื่อเทียบกับปี 62 ในจำนวนนี้เป็นชาวต่างชาติ 142,435 คนลดลง 68 % เมื่อเทียบกับปี 62 อย่างไรก็ตามทางแขวงมีความหวังว่าการท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นในปีนี้และตั้งเป้าหมายไว้ที่ 283,000 คนในปี 64 ด้านเมืองวังเวียง แขวงเวียงจันทน์ นักท่องเที่ยวคนลดลงประมาณ 35 % โดยคาดว่าในปีนี้จะมีผู้คนมาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวริมแม่น้ำมากขึ้นและตั้งเป้าจะมีนักท่องเที่ยวชาวสปป.ลาวอย่างน้อย 300,000 คน หากการระบาดลดลงจะมีนักท่องเที่ยวชาวสปป.ลาวและชาวต่างชาติไม่ต่ำกว่า 500,000 คน  แขวงอุดมไซเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก มีนักท่องเที่ยวชาวสปป.ลาวและชาวต่างชาติเพียง 100,000 คนเท่านั้น ซึ่งลดลงประมาณ 40% เมื่อเทียบกับปี 62 ทำให้แขวงกำลังเร่งปรับปรุงที่พัก จัดกิจกรรมใหม่ ๆ และปรับปรุงคุณภาพการบริการเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มากขึ้นในปีนี้

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Province18.php

สปป.ลาวปรับปรุงชลประทานเพื่อการผลิตทางการเกษตรที่ยั่งยืน

โครงการปรับปรุงชลประทานนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาด้านชลประทานรวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในชนบทและการจัดการลุ่มน้ำในจังหวัดที่เป็นภูเขาทางตอนเหนือของสปป.ลาว โดยใช้แนวทางการวางแผนการใช้ที่ดินแบบบูรณาการที่มีประสิทธิภาพยั่งยืนและยืดหยุ่นได้ นอกจากนี้โครงการนี้จะช่วยเพิ่มเป้าหมายการส่งออกข้าวของรัฐบาลในปีนี้ไปยังตลาดโลก เนื่องจากสปป.ลาวมีแผนส่งข้าวขัดสี 2,000 ตันไปยังจีนในเดือนมกราคมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงโควต้าการค้าระหว่างรัฐบาลลาวและจีน โครงการดังกล่าวจะเป็นส่วนช่วยสำคัญในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของสปป.ลาวอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Norther18.php

กัมพูชาเกินดุลการชำระเงิน (BOP) ในปี 2020

ดุลการชำระเงินของกัมพูชา (BOP) เกินดุลร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2020 โดยมีการเติบโตที่ได้รับแรงหนุนจากการไหลเข้าของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและการส่งออกตามรายงานของธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ซึ่งการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 ในปี 2020 จากการส่งออกทองคำ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ จักรยาน ข้าว และยางพารา อย่างไรก็ตามการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มที่ถือเป็นสินค้าสำคัญลดลงประมาณร้อยละ 7.8 โดยรายงานของ NBC ระบุว่าการนำเข้าทั้งหมดที่มายังกัมพูชาลดลงร้อยละ 10.1 ในปี 2020 ซึ่งการลดลงเป็นผลมาจากการชะลอตัวของการนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า รองเท้า วัสดุก่อสร้าง ยานยนต์และเชื้อเพลิง ในส่วนของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของกัมพูชาในปี 2020 ลดลงร้อยละ 11.9 ในปี 2020 เช่นเดียวกัน สาเหตุหลักมาจากการลดลงของการลงทุนในภาคธนาคาร (ลดลงร้อยละ 14.2) และภาคการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (ลดลงร้อยละ 9.8)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50807074/payments-balance-up-kingdom-sees-a-1-7-percent-surplus-in-2020/

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชากับไทยต่ำกว่าเป้าหมาย

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยในปี 2020 ต่ำกว่าเป้าหมาย โดยทำได้เพียงครึ่งหนึ่งของเป้าหมายที่ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ที่รัฐบาลทั้งสองประเทศกำหนดไว้ในปี 2015 ซึ่งในปี 2019 การค้าทวิภาคีระหว่างสองประเทศมีมูลค่าอยู่ที่ 7.236 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 23 ตามข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ของไทย โดยการส่งออกของกัมพูชาไปยังไทยในปี 2020 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 1.148 พันล้านดอลลาร์ ลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 49.5 ส่วนกัมพูชานำเข้าสินค้าจากไทยมูลค่ารวมอยู่ที่ 6.089 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 14.8 เมื่อเทียบกับปี 2019 ซึ่งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยประจำกัมพูชากล่าวว่า โควิด-19 ถือเป็นส่วนที่ทำให้ทำให้การขนส่งสินค้าระหว่างสองประเทศเป็นเรื่องยาก แต่นักลงทุนและนักธุรกิจไทยยังคงมั่นใจในศักยภาพการลงทุนในกัมพูชาและยังคงมีการแสวงหาโอกาสในการลงทุนอยู่อย่างสม่ำเสมอ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50807076/thai-cambodia-2020-bilateral-trade-below-goal-by-50-percent/