หัวเว่ย จ่อลงทุน “ดาต้าเซนเตอร์” ในไทย ดิจิทัลฮับอาเซียน

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี ประเทศไทย ประกาศแผนจะลงทุน 700 ล้านบาท เพื่อสร้างศูนย์คอมพิวเตอร์  ขึ้นในประเทศไทย ในปี 2021 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการของหัวเหวยในการสนับสนุนไทยให้เป็นศูนย์กลางดิจิทัลของอาเซียน อาเบล เติ้ง ผู้บริหารหัวเหวยประเทศไทย กล่าวในงานแถลงข่าว “Powering Digital Thailand 2021: Huawei Cloud and Connect” ว่าจำนวนเงินลงทุนดังกล่าวเทียบเท่ากับเงินลงทุนทั้งหมดของศูนย์คอมพิวเตอร์แห่งแรกของหัวเหวยในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในปี 2018“ พันธกิจของเราคือการเติบโต และสร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทย” อาเบลกล่าวว่าเขาเชื่อว่าหัวเหวยสามารถช่วยให้ไทยทำเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียนเป็นจริงได้ ด้วยเทคโนโลยีโซลูชันแบบครบวงจร และประสบการณ์ในภาคอุตสาหรรมเทคโนโลยีของตน และหัวเหวยมีการเติบโตอย่างมหาศาลในภาคเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย โดยเริ่มจากนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งสะท้อนจุดมุ่งหมายของไทยในการเป็นผู้นำด้านดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน ผู้บริหารหัวเหวยประเทศไทยยังกล่าวว่าโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของไทยนั้นพร้อมแล้วที่จะทำให้ไทยก้าวมาเป็นผู้นำ เพราะความพยายามของรัฐบาลไทยที่ช่วยเร่งการวางระบบ5จี (5G) ผ่านการประมูลใบอนุญาต 5G ในเดือนกุมภาพันธ์ “เรามั่นใจใน ศักยภาพของไทยที่จะก้าวมาเป็นศูนย์กลางดิจิทัลแห่งแรกในอาเซียน ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยมีสัดส่วนร้อยละ 30 ของจีดีพีภายในปี 2030” อาเบลปิดท้าย

ที่มา : https://mgronline.com/china/detail/9630000117212

ยอดขายรถยนต์ของเวียดนามในเดือน ต.ค. พุ่ง 15%

สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ของเวียดนาม (VAMA) เปิดเผยว่ายอดขายรถยนต์ในเดือนตุลาคม อยู่ที่ 33,254 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แบ่งออกเป็นประเภทของรถยนต์ ดังนี้ รถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคล 25,339 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ตามมาด้วยรถยนต์เชิงพาณิชย์ 7,528 คัน (17%) และรถยนต์ใช้งานเฉพาะด้าน 387 คัน (71%) ทั้งนี้ ในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม ยอดขายรถยนต์อยู่ที่ 212,409 คัน ลดลงร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่ “THACO” เป็นผู้นำตลาดรถยนต์ของเวียดนามในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.8 ของยอดขายรวม รองลงมา TC Motor และ Toyota ตามลำดับ นอกจากนี้ ในส่วนของการนำเข้ารถยนต์ของเวียดนาม สำนักงานศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าปริมาณการนำเข้ารถยนต์ของเวียดนามในเดือนกันยายน อยู่ที่ 12,670 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากไทย อินโดนีเซียและจีน อย่างไรก็ตาม การผลิตรถยนต์ถือเป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม  คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3 ของ GDP อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมนี้ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ที่มา : http://hanoitimes.vn/car-sales-in-vietnam-surge-15-in-october-314798.html

“บิ่นห์เซือง” ดึงดูดเม็ดเงิน FDI เกินกว่าที่ตั้งเป้าไว้

บิ่นห์เซือง (Binh Duong) เป็นจังหวัดทางตอนใต้ของเวียดนาม ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ประมาณ 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งเกินกว่าที่ตั้งเป้าไว้ทั้งปีที่ร้อยละ 19 นายเหงียน ประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดบิ่นเซือง กล่าวว่าธุรกิจในท้องถิ่นพยายามอย่างหนัก ในการขจัดอุปสรรคต่างๆ จากการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคมในปี 2563 ทั้งนี้ ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจังหวัดบิ่นเซือง คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5, ยอดค้าปลีกสินค้าและบริการรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ในปีนี้ ในขณะเดียวกัน การเติบโตของ GDP จังหวัด อยู่ที่ราวร้อยละ 6.78 นอกจากนี้ หน่วยงานในท้องถิ่นให้ความสนใจเกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการลงทุนและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงปรับเปลี่ยนแนวทางในการดึงดูดการลงทุน เพื่อที่จะตอบสนองกับความต้องการของนักลงทุนที่หลากหลาย

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/binh-duong-overfulfills-yearly-fdi-attraction-goal/190251.vnp

การลงทุนในประเทศยังเพิ่มแม้ COVID-19 ระบาด

จากข้อมูลของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและการบริหารจัดการของเมียนมา (DICA) ถึงจะมีการระบาดของ COVID-19 แต่การลงทุนของนักลงทุนและประชากรในเมียนมาในปีงบประมาณ 62-63 มีมูลค่ากว่า 1,88 ล้านล้านจัต ซึ่งสูงกว่าปีงบประมาณที่แล้วประมาณ 200 ล้านจัต โดยอนุมัติให้ธุรกิจใน 130 แห่งลงทุนใน 9 ภาคธุรกิจ ย่างกุ้งได้รับการลงทุนที่สุดโดยมีมูลค่าการลงทุนกว่า 901 พันล้านจัต มัณฑะเลย์ 410 พันล้านจัต ขณะที่รัฐชาน 170 พันล้านจัต และอิรวดี 161 พันล้านจัตตามลำดับ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมโรงแรมและการท่องเที่ยว และการพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งนักลงทุนท้องถิ่นต้องได้รับการประเมินความสามารถในการลงทุนโดย Myanmar Investment Commission (MIC) ก่อนที่จะได้รับอนุมัติให้ลงทุนได้ จากนั้น MIC จะออกใบรับรองซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การลดหย่อนภาษี การยกเว้นภาษี และสิทธิพิเศษอื่น ๆ ในปีงบประมาณ 62-63 มีโอกาสในการทำงานมากกว่า 23,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นผลมาจากการลงทุนของนักลงทุนในประเทศ มีการจ้างงานคนในท้องถิ่น 22,700 คน และแรงงานต่างชาติกว่า 480 คน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-citizens-raise-investments-country-despite-pandemic.html

เส้นทางด่วนวังเวียง – หลวงพระบางได้รับการอนุมัติแล้ว

เมื่อเร็ว ๆ นี้รัฐบาลได้ให้การอนุมัติทางด่วนวังเวียง – หลวงพระบางตามแผนที่วางไว้ซึ่งเป็นทางหลวงที่จะย่นระยะการเดินทางระหว่างจุดท่องเที่ยวทั้งสองให้เหลือประมาณ 90 นาที ทางด่วนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของทางด่วนเวียงจันทน์ – บอเต็นความยาว 460 กิโลเมตร ตามแผนซึ่งจะเชื่อมเวียงจันทน์ไปยังโบเตนที่ชายแดน สปป.ลาว – ​​จีน นอกจากนี้เมื่อได้รับการอนุมัติหน่วยงานท้องถิ่นผู้พัฒนาจะขออนุมัติจากกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลจะต้องการพิจารณาหลายปัจจัยในการตัดสินใจและอนุมัติเส้นทาง เพราะจะต้องคำนึงถึงการลดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมรวมถึงเพิ่มผลตอบแทนทางเศรษฐกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Vangvieng222.php

เกษตรกร สปป.ลาวเรียกร้องรัฐบาลช่วยเหลือช่องทางการจัดจำหน่ายพืชผล

เกษตรกรเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือในการหาตลาดใหม่ทั้งในและต่างประเทศเพื่อขายผลผลิต คำขอดังกล่าวมีขึ้นในระหว่างงานแสดงความรู้เครือข่ายเกษตรกรสปป.ลาวและการประชุมสมัชชา งานนี้มีผู้เข้าร่วมกว่า 150 คนรวมถึงตัวแทนเกษตรกร 120 คนจากทั่วประเทศ สถาบันการศึกษา ศูนย์วิจัยการเกษตร องค์กรระหว่างประเทศและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยมีรองอธิบดีกรมส่งเสริมวิชาการและแปรรูปเกษตรและประธานเครือข่ายเกษตรกรลาว (LFN) เป็นประธาน การประชุมครั้งนี้ได้รับทุนจากโครงการ LURAS ความท้าทายมากมายที่เกษตรกรต้องเผชิญที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเราและขยายความช่วยเหลือในการหาตลาดใหม่เพื่อขายผลผลิตของเราและเพื่อให้แน่ใจว่าผลผลิตจะได้ราคาที่ดีรมถึง การจ่ายภาษีที่แตกต่างกันระหว่างอำเภอและจังหวัด ความต้องการเงินช่วยเหลือพิเศษสำหรับค่าไฟฟ้าของเกษตรกร  และต้องการการสนับสนุนระบบชลประทานและแหล่งน้ำพุธรรมชาติเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีในพื้นที่ชนบท  กิจกรรมดังกล่าวสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมพัฒนาทักษะการเพาะปลูก เทคนิคใหม่ในการทำการเกษตรที่ลดแรงงาน แต่เพิ่มการเก็บเกี่ยวรวมทั้งนโยบายพิเศษสำหรับเกษตรกรรวม 25 เรื่อง เช่นเทคนิคการเกษตรชื่อ“ beautiful wife rice” การวิจัยนโยบายเกี่ยวกับนโยบายการเก็บภาษีเกษตร เป็นต้น ซึ่งได้รับการแบ่งปันให้กับผู้เข้าร่วม

ที่มา :  http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Farmers222.php

กัมพูชาเริ่มเข้าใกล้ความเป็นจริงสำหรับเทคโนโลยี 5G ภายในประเทศ

Cellcard ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ Royal Group of Companies ได้ลงนามในกรอบข้อตกลงที่สำคัญกับ ZTE Corporation สำหรับการเปิดตัว 5G และการเพิ่มความครอบคลุม 4G ทั่วกัมพูชา โดยข้อตกลงดังกล่าวครอบคลุมการลงทุนที่สำคัญ ซึ่งจะกำหนดให้กัมพูชาเป็นหนึ่งในประเทศชั้นนำในภูมิภาคสำหรับการนำ 5G มาใช้ภายในประเทศ โดย Cellcard ดำเนินธุรกิจภายใต้วิสัยทัศน์ของ Royal Group ซึ่งเป็นการสนับสนุนโดยตรงต่อนโยบายของรัฐบาลสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้ชาวกัมพูชาทุกคนได้รับประโยชน์จากข้อได้เปรียบของการใช้ชีวิตในสังคมดิจิทัลในปัจจุบันของคนกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/782058/the-kingdom-comes-a-step-closer-to-5g/

ปริมาณสินเชื่อสำหรับผู้บริโภคภายในประเทศกัมพูชาเพิ่มสูงขึ้น

การขอสินเชื่อสำหรับการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 53 ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี ตามรายงานโดยเครดิตบูโรกัมพูชา (CBC) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการชั้นนำด้านข้อมูลเครดิตโซลูชัน การวิเคราะห์และบริการรายงานเครดิตแก่ธนาคารสถาบันการเงินรายย่อย โดยการขอสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้สวนทางกับการลดลงของการขอสินเชื่อในไตรมาสที่ 2 ของปีเมื่อเทียบกับตัวเลขในไตรมาสแรก ซึ่ง ณ เดือนกันยายน 2020 พอร์ตสินเชื่อของ PRASAC อยู่ที่ 2.862 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.43 เมื่อเทียบกับปี 2019 โดยประกอบไปด้วยสินเชื่อธุรกิจร้อยละ 64.31 และอีกร้อยละ 35.69 เป็นสินเชื่อส่วนบุคคล จากรายงานของ CBC อัตราส่วนของการชำระคืนล่าช้าภายใน 30 วันหลังจากวันครบกำหนด ณ เดือนกันยายน 2020 เท่ากับร้อยละ 2.42 สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลลดลงจากร้อยละ 2.64 ในเดือนมิถุนายน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50782059/big-rise-in-consumer-credit-bids-seen-as-recovery/

เวียดนามเผยการส่งออกปลาสวาย 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้

สมาคมผู้ผลิตปลาสวายของเวียดนาม  (VTFA) เปิดเผยว่าในปีนี้ มูลค่าการส่งออกของภาคการแปรรูปปลาสวายของเวียดนามรวม อยู่ที่ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากได้รับผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จากปัจจัยดังกล่าว ทำให้ยอดการส่งออกของปลาสวายลดลงถึง 1.04 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ธุรกิจในประเทศจึงต้องมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาคุณภาพของสินค้าและนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้กับวิธีการเพาะพันธุ์ปลาและส่งเสริมช่องทางการขายใหม่ รวมถึงยกระดับแบรนด์ของปลาสวายเวียดนาม ทั้งนี้ ทางสมาคม ระบุว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การส่งออกของเวียดนามขึ้นอยู่กับตลาดจีนเป็นสำคัญ ก่อนที่จะขายไปยังตลาดรัสเซียและสหภาพยุโรป นอกจากนี้ ธุรกิจในประเทศยังต้องเผชิญกับอุปสรรค ทั้งด้านเทคนิคและกฎระเบียบใหม่ที่กำหนดจากจีน พร้อมทั้งข้อกำหนดจากข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหภาพยุโรป (EVFTA)

ที่มา : https://vnexplorer.net/tra-fish-exports-eye-us1-5-billion-turnover-this-year-a2020121926.html

รัฐสภาเวียดนามเผยเศรษฐกิจโต 6% ปี 2564

สมัชชาแห่งชาติ หรือรัฐสภาเวียดนาม มีมติอนุมัติแผนเศรษฐกิจและสังคม ปี 2564 นับว่าเป็นหนึ่งใน 12 เป้าหมายที่สำคัญของการกระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมในปีหน้า ด้วยเสียงสนับสนุน (89.21%) เมื่อวันที่ 11 พ.ย. อย่างไรก็ตาม ในช่วงระหว่างการประชุมนั้น สมาชิกสภาค่อนข้างแสดงความกังวลต่อเป้าหมายของการเติบโต GDP ร้อยละ 6 เนื่องจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และยังเสนอให้ตั้งเป้าต่ำกว่าร้อยละ 5.5-6 ซึ่งการตั้งเป้าหมายของการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 6 แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาล ทั้งนี้ สมัชชาแห่งชาติคาดว่าจะมีมาตรการในการรับมือต่อปัญหานี้เสียที่รุนแรง โดยรัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างสถาบันสินเชื่อ รวมถึงธนาคารที่อ่อนแอ เพื่อความปลอดภัยของระบบธนาคาร นอกจากนี้ ยังขอให้รัฐบาลจัดสรรทรัพยากร เพื่อช่วยเหลือธุรกิจและผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสต่อไป โดยเฉพาะภาคการผลิต บริการ ท่องเที่ยวและการบิน รวมถึงผู้คนตกงานและผู้ที่มีรายได้ลดลง

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-economy-to-grow-6-in-2021-parliament-314788.html