เวียดนามส่งออกไปอาเซียน โตต่ำ 5.26%

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่าในปีนี้ เวียดนามส่งออกไปยังอาเซียนอยู่ที่ 23.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่อัตราการขยายตัวในปี 2559-2563 คาดว่าจะขยายตัวในระดับต่ำที่ร้อยละ 5.26 ซึ่งจากตัวเลขสถิติ ชี้ให้เห็นว่ามูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเวียดนามไปอาเซียน คาดว่าจะอยู่ที่ 55.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.4 ของยอดการส่งออกและนำเข้าของเวียดนามทั้งหมด โดยอาเซียนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของเวียดนามอันดับที่ 5 ของคู่ค้าต่างประเทศ หากแบ่งรายประเทศ พบว่าไทยและมาเลเซียเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนามกว่า 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาอินโดนีเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา ฟิลิปปินส์และสปป.ลาว ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนามไปอาเซียน ได้แก่ โทรศัพท์และชิ้นส่วน, เหล็กทุกชนิด, คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, เครื่องจักรและส่วนประกอบ, ยานยนต์และอะไหล่, เสื้อผ้า สิ่งทอและข้าว เป็นต้น ในขณะเดียวกัน สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ ผักและผลไม้, ขนมและธัญพืช, อุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบ, ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม, ยาง,  วัสดุพลาสติก เป็นต้น นอกจากนี้ นอกจากนี้ ในปี 2562 มูลค่าการนำเข้า-ส่งออกของเวียดนามไปยังอาเซียนอยู่ที่ 57.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และขาดดุลการค้ากับอาเซียน 6.85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับปี 2561

ที่มา : http://export.vccinews.com/detail/26004/vietnamese-exports-to-asean-grow-at-low-rate-of-5-26.html

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชากับไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 5,569 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีลดลงร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รายงานโดยกระทรวงพาณิชย์ของไทยแสดงให้เห็นว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกันยายนกัมพูชาส่งออกไปไทยรวม 958 ล้านดอลลาร์ ลดลงถึงร้อยละ 48 ในขณะเดียวกันการนำเข้าทั้งหมดของกัมพูชาจากไทยลดลงร้อยละ 9 มาอยู่ที่ 4,611 ล้านดอลลาร์ ซึ่งการลดลงของการค้าทวิภาคีส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยทำให้เกิดปัญหาในการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนจากความเข้มงวด ทำให้การเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างสองประเทศเป็นไปได้ยาก ในแง่ของการลงทุนแม้ว่าโลกจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่บริษัทไทยในกัมพูชาก็ยังคงดำเนินการผลิตตามปกติต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50776444/cambodia-thailand-bilateral-trade-5-5-billion-in-first-nine-months/

กัมพูชายังคงดึงดูด FDI อย่างต่อเนื่องจากโครงการลงทุนอีก 4 โครงการ

สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ได้อนุมัติโครงการลงทุนอีก 4 โครงการด้วยเงินลงทุนรวม 37.6 ล้านดอลลาร์ คาดว่าจะสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นถึง 6,338 ตำแหน่ง ซึ่งโครงการทั้ง 4 โครงการครอบคลุมถึงการจัดตั้งโรงงานซักย้อมสี โรงงานผลิตรองเท้า โรงงานผลิตอุปกรณ์เสริมสำหรับรองเท้า และโรงงานประกอบแผงโซลาร์เซลล์ โดยโครงการนี้เป็นของ Luentec Textile Solutions, Lecrown Shoes Industry, CFC Garment Pty และ Sunenergy Technology (Cambodia) ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเมืองหลวงพนมเปญ กำปงสปือ และ กำปงจาม โดยการลงทุนดังกล่าวท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติในเสถียรภาพเศรษฐกิจของกัมพูชา การเมืองและสังคมของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50776597/cambodia-continues-to-draw-fdi-despite-loss-of-eba-with-another-four-investment-projects-worth-37-6-million/

เมียนมาโปรโมตการท่องเที่ยวเสมือนจริงหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ

กระทรวงการโรงแรมและการท่องเที่ยวของเมียนมาจะเรียกร้องให้มีการประมูลสำหรับโครงการ digital marketing 12 โครงการเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในปีงบประมาณ 2563-2564 เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้ช่องทางการตลาดตามแบบเดิมมาใช้ในช่วงการระบาดของ COVID-19 สำหรับผู้ที่สนใจในการสร้าง content ส่งเสริมการการท่องเที่ยว เช่น วิดีโอการคุณภาพสูงจะไปยังกระทรวงการโรงแรมและการท่องเที่ยว ซึ่งนายอูอองโซ ไกด์ท้องถิ่นกล่าวว่า นับว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องและควรดำเนินการให้ที่สุด

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-tourism-promotions-go-virtual.html

ดันอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนสร้างลงทุนเพิ่ม 500 ล.

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้ความสำคัญกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green (BCG) Economy) และสนับสนุนในเกิดการลงทุนจากภาคธุรกิจเอกชนไปพร้อมกัน โดยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนได้มอบหมายให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการ เหมืองแร่เตรียมจัดงานประชาสัมพันธ์โครงการจัดการเศษโลหะอย่างยั่งยืน หรือ Green Scrap Metal Thailand 2020 ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะลดการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน ลดการสร้างของเสียในภาคอุตสาหกรรม ด้วยการนำกลับมาผลิตในรูปแบบใหม่ที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูนิโด) กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย รวมถึงผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ สำหรับการดำเนินโครงการดังกล่าวคาดว่าจะส่งเสริมผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรีไซเคิลตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานให้เข้าร่วมโครงการ 1,889 ราย และสนับสนุนผู้ประกอบการให้เป็นโรงงานนำร่อง 5-10 ราย ซึ่งคาดว่าจะสร้างให้เกิดมูลค่าการลงทุนของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการในการปรับปรุงเครื่องจักรและปรับปรุงกระบวนการผลิตมากกว่า 560 ล้านบาท การดำเนินงานโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ระยะเวลาการดำเนินงาน 5 ปี ตั้งแต่ปี 2561-2566 โดยได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก 4.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเงินจากหน่วยงานร่วมดำเนินโครงการอีกรวมเป็นเงิน 33.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  โดยกิจกรรมหลักของโครงการจะมีการทบทวนกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  การประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับยูป๊อป รวมทั้งส่งเสริมการใช้แนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (Best Available Technique) และแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (Best Environmental Practice) เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการติดตามประเมินผลโรงงานนำร่องที่มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่อไป การจัดการเศษโลหะอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยจะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อเนื่องมหาศาล  เพราะนำกลับมารีไซเคิลได้ ลดของเสียในระบบอุตสาหกรรม การใช้พลังงานในกระบวนการผลิตก็ลดลง  ซึ่งงาน Green Scrap Metal Thailand 2020 จะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 30 ตุลาคมนี้ เพื่อให้ความรู้ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ตลอดจนเพื่อสร้างประสิทธิภาพในภาคอุตสาหกรรมต่อไป”

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/454238?utm_source=sub_category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=industry

COVID-19 ผลักดันให้เวียดนามขาดดุลการคลังราว 6% ของ GDP

นาย Dinh Tien Dung รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่าในปีนี้ เวียดนามขาดดุลงบประมาณ 319.5-328 ล้านล้านด่อง (หรือ 13.78-14.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) คิดเป็นร้อยละ 4.99-5.59 ของ GDP ซึ่งสูงกว่าที่ตั้งเป้าไว้ในช่วงต้นปีนี้ที่ร้อยละ 3.44 ของ GDP ทั้งนี้ การขาดดุลงบประมาณที่อยู่ในระดับสูง เป็นผลมาจากรายรับงบประมาณอยู่ในระดับต่ำจากการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในช่วงได้รับผลกระทบของไวรัสโควิด-19 หากแบ่งรายรับ-รายจ่ายงบประมาณ พบว่าในปีนี้รายรับงบประมาณอยู่ที่ราว 57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 8.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับประมาณการในปีที่แล้ว ในขณะที่ รายจ่ายงบประมาณอาจสูงถึง 72.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 2.62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับประมาณการในปีที่แล้ว นอกจากนี้ คณะกรรมการด้านการเงินและงบประมาณ ได้เตือนว่าอัตราส่วนของการชำระหนี้ต่อรายรับงบประมาณอาจสูงถึงร้อยละ 25 สิ่งนี้อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านความมั่งคงทางการเงินของประเทศ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/covid-19-pushes-vietnam-fiscal-deficit-to-nearly-6-of-gdp-314586.html

Standard Chartered ปรับเป้า GDP เวียดนามชะลอตัว 3% ในปีนี้ และฟื้นตัวเหลือ 7.8% ในปีหน้า

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดได้ปรับเป้า GDP ของเวียดนามเหลือเพียงร้อยละ 3 ในปี 2563 และกลับมาขยายตัวร้อยละ 7.8 ในปีหน้า เนื่องจากการบริโภคที่เพิ่มขึ้นและได้รับแรงหนุนจากภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ทั้งนี้ นาย Chidu Narayanan นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดเอเชีย กล่าวว่า ‘เวียดนามถือเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียที่มีการขยายตัวในทิศทางที่เป็นบวกปีนี้ ท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด-19 และคาดว่าในไตรมาสที่ 4 กิจกรรมธุรกิจในประเทศจะกลับมาฟื้นตัว อีกทั้ง การปรับปรุงด้านการบริการและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน จะช่วยให้เวียดนามมีความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศแถบเอเชีย’ นอกจากนี้ เม็ดเงินทุน FDI คาดว่าจะไหลเข้าไปยังกลุ่มธุรกิจที่จดทะเบียนใหม่ลดลงในปีนี้ แต่ยังคงอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งอยู่ ด้วยมูลค่า 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากความไม่แน่นอนของอุปสงค์ทั่วโลกและความเชื่อมั่นในด้านการลงทุนที่หดตัวลง อย่างไรก็ตาม เวียดนามได้รับผลประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง แต่การไหลเข้าของการลงทุนมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ว่าด้วยมาตรการของรัฐฯ และการเคลื่อนย้ายของเทคโนโลยี จะช่วยส่งเสริมการไหลเข้าของเงินทุน FDI

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnam-growth-may-slow-to-3-in-2020-likely-to-rebound-to-78-in-2021-stanchart-787676.vov

เมียนมาเร่งปลูกขิงคุณภาพดีเพื่อการส่งออก

เมียนมามองเห็นความต้องการของต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นสำหรับพืชที่ใช้น้ำน้อยในการเพาะปลูก เช่น ขิง น้ำผึ้ง และกาแฟ ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ความต้องการขิงคุณภาพสูงเพิ่มมากขึ้น ขณะนี้เมียนมาสามารถส่งออกขิงได้เพียงปีละ 1 ตัน ซึ่งสหรัฐฯ มีความต้องการขิงมากกว่า 100 ตัน ดังนั้นเมียนมาจะต้องใช้เวลาในการวิจัยสายพันธุ์ขิงที่ทนทานและมีคุณภาพสูงสำหรับการเพาะปลูกปลูก นักวิจัยและนักลงทุนภาคเอกชนจำเป็นต้องจัดหาสายพันธุ์ที่มีคุณภาพส่วนกระบวนการผลิตและการเพาะปลูกจะตามมาเอง ขิงจะใช้เวลาประมาณ 3 ปีในการปลูกเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการในการส่งออก ปัจจุบันมีประมาณ 5,000 ครัวเรือนที่ปลูกขิงในรัฐฉานตอนใต้ ในอีกห้าปีข้างหน้าคาดว่าจะผลิตขิงได้มากกว่า 10,000 ตันต่อปีในพื้นที่ 10,000 เอเคอร์ ในอดีตบังกลาเทศยังนำเข้าขิงจากเมียนมาร์ แต่ปัจจุบันบังกลาเทศสามารถส่งออกขิงแห้งไปยังยุโรป

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-produce-better-quality-ginger-exports.html

สปป. ลาว: ความยากจนยังคงลดลง แต่ความคืบหน้าภายใต้การคุกคาม

สปป. ลาวมีความก้าวหน้าอย่างมากในการลดความยากจนในช่วง 25 ปีที่ผ่านมาโดยสัดส่วนของประชากรที่อาศัยอยู่ในความยากจนลดลงกว่าครึ่งหนึ่งจาก 46% ในปี 36 เป็น 18% ในปี 62 การค้นพบนี้มาจากรายงาน 2 ฉบับที่เผยแพร่โดย สำนักงานสถิติลาวและธนาคารโลก แต่ข่าวดีมาพร้อมกับข้อแม้: ผลประโยชน์บางส่วนจากความยากจนอาจถูกลบล้างไปได้จากผลกระทบของการระบาดของโควิด -19 ต่อเศรษฐกิจสปป.ลาว จากการสำรวจค่าใช้จ่ายและการบริโภคล่าสุดของสปป.ลาว (LECS) แสดงให้เห็นว่าอัตราความยากจนของประชากรในประเทศลดลง 6.3 % ในช่วง 6 ปีจาก 24.6% ในปี 56 เป็น 18.3% ในปี 62 หัวหน้าสำนักงานสถิติสปป.ลาวกล่าวว่า รายได้จากฟาร์มและการส่งเงินช่วยเหลือผู้คนในส่วนต่างๆของประเทศให้หลุดพ้นจากความยากจนเพิ่มขึ้น พื้นที่ชนบทได้ลดช่องว่างความยากจนกับเขตเมือง ปัจจัยหลายประการได้ชะลอการลดความยากจน โดยการหางานนอกภาคเกษตร ส่งผลให้ความไม่เท่าเทียมกันโดยรวมเพิ่มขึ้น ค่าจ้างเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 60 แต่หลายคนไม่สามารถเข้าถึงโอกาสจากการจ้างงานได้ ทั้งนี้ผลกระทบทางเศรษฐกิจของ COVID-19 เป็นความท้าทายอย่างยิ่งต่อความพยายามในการยุติความยากจน การระบาดสร้างแรงกดดันให้กับตลาดงานที่อ่อนแออยู่แล้ว ในขณะเดียวกันการกลับมาของแรงงานข้ามชาติโดยเฉพาะจากประเทศไทยทำให้การส่งเงินลดลงอย่างมาก รายงานการประเมินความยากจนคาดว่าความยากจนจะเพิ่มขึ้น 1.4 ถึง 3.1 % ในปี 63 ด้วยความท้าทายเหล่านี้จะต้องมีการแทรกแซงที่กว้างขวางโดยกำหนดเป้าหมายไปยังกลุ่มคนยากจนที่แตกต่างกันเพื่อฟื้นฟูการลดความยากจนในสปป. ลาว

ที่มา : https://moderndiplomacy.eu/2020/10/22/lao-pdr-poverty-continues-to-decline-but-progress-under-threat/

เกษตรกรเมืองชัยธานีร่วมมือกันเพื่อเพิ่มอุปทานของผลผลิตอินทรีย์

กลุ่มเกษตรอินทรีย์ในหมู่บ้านทองมัง เมืองชัยธานีไซธานีเวียงจันทน์ได้จัดตั้งสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ทองมังเพื่อจัดหาผลผลิตที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดและตอบสนองผู้บริโภค นางคำมนต์ หลวงลัท หัวหน้าสหกรณ์การเกษตรอินทรีย์ทองมังกล่าวในพิธีเปิดสหกรณ์ “ เราจะปรับปรุงร้านค้าที่ขายผลิตผลและสถานที่บรรจุผลิตผล เราจะจัดฝึกอบรมด้านการบริหารจัดการสหกรณ์และการผลิตสำหรับสมาชิกของเราตลอดจนการฝึกอบรมด้านการเงินและการตลาดให้ธุรกิจเราแข็งแกร่ง” โดยกลุ่มเหล่านี้มีเป้าหมายที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องและตั้งเป้าที่จะปลูกผักเพื่อสุขภาพบนพื้นที่ทำกินรอบเมืองหลวงเพื่อรองรับความต้องการของคนในประเทศรวมถึงสร้างความมั่นคงด้นอาหารแก่สปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Xaythany206.php