โพลชี้บริษัทยุโรปสนใจลงทุนในอาเซียนน้อยลง

สภาธุรกิจสหภาพยุโรป-อาเซียน (EU-ABC) เปิดเผยผลสำรวจที่แสดงให้เห็นว่า บริษัทจากยุโรปมีความพึงพอใจลดลงเกี่ยวกับโอกาสทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลสำรวจล่าสุดจาก EU-ABC พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม 73% คาดว่าการค้าและการลงทุนในอาเซียนจะเติบโตขึ้นในช่วง 5 ปีข้างหน้า ซึ่งตัวเลขดังกล่าวลดลงจากปี 2562 ที่ผู้ตอบแบบสำรวจถึง 84% คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว นอกจากนี้ 39% ของบริษัทที่ตอบแบบสำรวจ คาดว่าจะมีกำไรเพิ่มขึ้นในปี 2563 ซึ่งลดลงอย่างมากจากผลสำรวจปีที่แล้วที่ 60% ขณะเดียวกัน มีบริษัทเพียง 53% ที่ยกให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มอบโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุด ซึ่งลดลงจาก 63% ในปี2562 ทั้งนี้ ผลการสำรวจดังกล่าวสอบถามบริษัทในภาคผลิตและภาคบริการ 680 แห่งทั่วอาเซียนในระหว่างเดือนเม.ย.-ก.ค.ที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2020/41207

ออสเตรเลียให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่า 78.9 ล้านเหรียญออสฯ ให้กับเวียดนาม

ตามคำแถลงการณ์ประกอบงบประมาณของรัฐบาลออสเตรเลียในปี 2020-2021 เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ที่ผ่านมา เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (Official Development Assistance: ODA) ไปยังกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เงินทุนในการช่วยเหลือดังกล่าวปรับเพิ่มขึ้น 4.1 ล้านเหรียญออสฯ (2.9 ล้านเหรียญออสฯ) เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งเวียดนามจะได้รับเงินทุนราว 78.9 ล้านเหรียญออสฯ (หรือ 56.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปีงบประมาณ 2020-2021 ทั้งนี้ โครงการช่วยเหลือของออสเตรเลียในเวียดนามนั้น มีเป้าหมายเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในประเทศและการลงทุนจากต่างประเทศ รวมถึงส่งเสริมให้เวียดนามเข้าสู่ช่วงใหม่ของการพัฒนาเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เวียดนามเป็นที่ตั้งโครงการทางการเงินของออสเตรเลีย 500 โครงการ ด้วยเงินทุนรวมกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้ง การค้าระหว่างสองประเทศสูงถึง 7.732 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/australia-to-provide-aud789-million-oda-for-vietnam-24979.html

เวียดนามส่งออกมันสำปะหลังพุ่ง 12.1% ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) ได้เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากมันสำปะหลัง 1.94 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 685 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตัวเลขดังกล่าวแสดงถึงปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 12.1 และมูลค่าร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ ราคาส่งออกอยู่ที่ 352.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเฉพาะมันสำปะหลังเส้นที่ส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมากร้อยละ 81 ในแง่ของปริมาณและร้อยละ 90 ในแง่ของมูลค่า ทั้งนี้ จีนยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยการบริโภคมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากมันสำปะหลัง 1.58 ล้านตัน มูลค่า 547 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม การส่งออกมันสำปะหลังเส้นและแป้งมันสำปะหลัง คาดว่าจะเผชิญกับความท้าทายเนื่องจากความต้องการที่ลดลงจากจีน ประกอบกับสินค้าคงเหลือในประเทศอยู่ในระดับต่ำ

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/cassava-exports-enjoy-121-surge-over-nine-months-784473.vov

เงินจัตแข็งค่ากระทบส่งออก ถือเป็นโอกาสการนำเข้าของเมียนมา

สมาชิกคณะกรรมการของสมาพันธ์ข้าวเมียนมาเผย การส่งออกของเมียนมาได้รับแรงกดดันจากการที่เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงซึ่งส่งผลให้การส่งออกที่สำคัญเช่นข้าวมีราคาแพงขึ้นในตลาดต่างประเทศ เงินจัตแข็งค่าสูงสุดเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐนับตั้งแต่ปี 61โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงของธนาคารกลางเมื่อวันที่ 8 ตุลาคมลดลงแหลือ 1,300 จัตต่อดอลลาร์ แม้ว่าธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) จะซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐในตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อพยายามรักษาเสถียรภาพ ก่อนหน้านี้กระทรวงพาณิชย์ได้จำกัดการส่งออกข้าวเพื่อให้มีปริมาณสำรองเพียงพอสำหรับในประเทศในกรณีฉุกเฉินในช่วง COVID-19 แต่ถูกยกเลิกเนื่องจากฤดูเก็บเกี่ยวใหม่ใกล้เข้ามา จากข้อมูลจนถึงวันที่ 11 กันยายนระหว่างปีงบประมาณ 62-63 มีการส่งออกข้าวและปลายข้าวกว่า 2.5 ล้านตันไปยังกว่า 60 ประเทศ สร้างรายได้มากกว่า 774 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในทางกลับกันเงินจัตที่แข็งค่าสามารถเพิ่มการนำเข้าสินค้าสำคัญ เช่น ข้าวโพด เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปยังจีนและไทยเป็นจำนวนมากและขณะนี้ยังขาดแคลนสินค้าภายในประเทศซึ่งใช้เป็นอาหารสัตว์ เมื่อเดือนที่ผ่านมาผู้ค้าและผู้เพาะพันธุ์ปศุสัตว์ได้ขอใบอนุญาตนำเข้าข้าวโพด แต่ได้รับการคัดค้านจากเกษตรกรในพื้นที่ซึ่งกลัวว่าจะมีผลผลิตมากเกินไปหากไม่มีการควบคุม โดยทั่วไปแล้วจะมีข้าวโพดส่วนเกินในตลาดในประเทศแต่หลังจากส่งออกมากกว่า 2 ล้านตันในปีงบประมาณ 61-63  จึงมีความเป็นไปได้ที่จะต้องหันมานำเข้าแทน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/stronger-kyat-threatens-exports-presents-import-opportunities.html

การขาดรายได้ในช่วง COVID-19 จะเพิ่มภาระหนี้แก่สปป.ลาว

รายได้ในประเทศคาดว่าจะลดลงอีกจากร้อยละ 13.5 ในปี 2019 เป็นร้อยละ 10.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในปี 2020 ตามรายงานของธนาคารโลก ดังนั้นการขาดดุลการคลังคาดว่าจะสูงถึงร้อยละ 7.6 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากประมาณร้อยละ 5.1 ของ GDP ในปี 2019 ซึ่งจะส่งผลให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นซึ่งจะเพิ่มแรงกดดันต่อความสามารถในการชำระหนี้ของประเทศท่ามกลางวิกฤต COVID -19 นายกรัฐมนตรีทองลุน สีสุลธิ์ได้สั่งการกระทรวงการคลังให้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับรายได้ประชาชาติให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาทางการเงินของประเทศกระทรวงการคลังมีแนวทางในการเพิ่มรายได้โดยจะมีการเพิ่มค่าธรรมเนียมจากโครงการสัมปทานต่างๆ รวมถึงค่าธรรมเนียมอื่นๆ อย่างไรก็ตามการขาดดุลงบประมาณคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากผลกระทบที่ยาวนานของการแพร่ระบาดของ COVID -19 ต่อธุรกิจต่างๆ และจะทำให้สปป.ลาวมีความเสี่ยงสูงในการชำระหนี้ในอนาคต

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Projected197.php

รัฐบาลสร้างกองทุนเพื่อส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน

รัฐบาลได้จัดตั้งกองทุนเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาพลังงานหมุนเวียนท่ามกลางความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการใช้ไฟฟ้า ในสปป.ลาว นายกรัฐมนตรี Thongloun Sisoulith ได้รับรองพระราชกฤษฎีกานายกรัฐมนตรีที่ให้การสนับสนุนทางกฎหมายสำหรับการจัดตั้งและการดำเนินงานของกองทุนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาพลังงานสปป.ลาว โดยกองทุนนี้บริหารงานโดยกระทรวงพลังงานและการเหมืองซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจาก 5 กระทรวงและธนาคารแห่งสปป. ลาวเป็นผู้กำหนดนโยบายจุดมุ่งหมายของโครงการนี้คือการให้เงินกู้เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาพลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม เชื้อเพลิงชีวภาพและก๊าซ ซึ่งโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กจะได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนทางการเงินผ่านกองทุนนี้ นอกจากนี้กองทุนจะจัดหาเงินทุนสำหรับการขยายการจ่ายไฟฟ้าในพื้นที่ชนบทเพื่อการเกษตรและการส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ เงินทุนบ้างส่วนยังนำไปใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สร้างความตระหนักรู้ในด้านการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt196.php

SECC ของกัมพูชาและออสเตรเลียร่วมมือกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมการลงทุน

รัฐบาลออสเตรเลียร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (SECC) เปิดตัวการระดมทุนภายในประเทศ เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานผ่านโครงการ Security Market Project ซึ่งคาดว่าหากตลาดทุนในประเทศมีประสิทธิภาพจะช่วยให้กัมพูชาสามารถกระจายการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความพยายามในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง COVID-19 โดยออสเตรเลียได้ให้การสนับสนุนโครงการมูลค่ากว่า 50 ล้านเหรียญออสเตรเลียผ่าน “Investing in Infrastructure (3i)” ซึ่งรัฐบาลออสเตรเลียร่วมมือกับ SECC เพื่อปรับปรุงการระดมทุนในประเทศสำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคเพื่อพัฒนากรอบการกำกับดูแลหนี้สินระยะยาว การสร้างขีดความสามารถของผู้มีส่วนร่วมในตลาด และการพัฒนามาตรการ เพื่อให้ภาคเอกชนในกัมพูชามีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50771221/secc-australia-team-up-to-improve-domestic-capital-mobilisation-for-infrastructure-investment/

การค้าข้ามพรมแดนระหว่างไทยกัมกัมพูชาขยายตัวเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 1.09

การค้าข้ามพรมแดนระหว่างประเทศของไทยลดลงร้อยละ 7.42 ในช่วง 8 เดือนแรกเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากผลกระทบของการระบาดของ COVID-19 และ เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านมีมูลค่าอยู่ที่ 497 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.5 จากการส่งออกทั้งหมดอยู่ที่ 293 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.63 และการนำเข้า 204 พันล้าน ลดลงร้อยละ 14 ซึ่งยกเว้นกัมพูชาที่มีการค้าระหว่างประเทศเติบโตเล็กน้อยอยู่ที่ 1.09 หรือคิดเป็น 108 ล้านบาท โดยการค้าระหว่างประเทศกับมาเลเซียมีมูลค่ารวม 152 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 21 ตามด้วยการค้ากับ สปป.ลาว 123 พันล้าน ลดลงร้อยละ 6.33 และเมียนมาอยู่ที่ 114 พันล้านลดลงร้อยละ 13

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50771249/cross-border-shipments-between-thailand-cambodia-shows-modest-1-09-percent-growth-in-first-8-months/

INFOGRAPHIC : เวียดนามเผยดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือนก.ย.เพิ่มขึ้น

Nikkei และ HIS Markit ได้เปิดเผยว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Managers’ Index: PMI) สำหรับภาคการผลิตในประเทศเวียดนาม ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 45.7 ในเดือนสิงหาคม มาอยู่ที่ 52.2 ในเดือนกันยายน ซึ่งบนชี้ว่าสภาวะธุรกิจของภาคส่วนนี้ดีขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเดือนก่อน

ประเด็นสำคัญของปีนี้ พบว่า

  • การผลิตและยอดคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น
  • ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจแตะระดับสูงสุดในรอบ 14 เดือน
  • การจ้างงานยังคงลดลง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-manufacturing-purchasing-managers-index-pmi/188199.vnp

สิงคโปร์ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs เวียดนาม หวังเจาะตลาดขนาดใหญ่

ตามคำแถลงการณ์ของการประชุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่นครโฮจิมินห์ จัดโดยศูนย์กลางการลงทุนและส่งเสริมการค้า (ITPC) เปิดเผยว่าสิงคโปร์มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจภูมิภาค เนื่องจากมีจุดยุทธศาสตร์ในการเป็นศูนย์กลางทางการเดินเรือระหว่างประเทศ นอกเหนือจากนั้นยังมีทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพสูง ทั้งนี้ ตลาดอีคอมเมิร์ซในสิงคโปร์ยังเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กีปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการเวียดนามสามารถเข้าถึงตลาดอีคอมเมิร์ซและนำเสนอสินค้าไปยังตลาดสิงคโปร์ได้ นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าจะได้รับประโยชน์อย่างมาก แต่ธุรกิจในท้องถิ่นยังต้องมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล รวมถึงใส่ใจกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์และใบรับรองอื่นๆ อาทิ ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องทาการควบคุม (HACCP) เพื่อขยายส่วนแบ่งการตลาด.

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/singapore-helps-vietnamese-smes-penetrate-large-scale-markets-784308.vov