ญี่ปุ่นครองแชมป์ปักหลักลงทุนในนครโฮจิมินห์

ตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงปัจจุบัน พบว่ามูลค่าเงินทุนของบริษัทญี่ปุ่นไปยังเมืองโฮจิมินห์ อยู่ที่ราว 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 82.39 ของเงินลงทุนรวมจากต่างชาติในเมืองดังกล่าว ซึ่งสาขาธุรกิจที่ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติมากที่สุด คือ วิศวกรรมเครื่องกล ด้วยมูลค่า 3.84 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาอิเล็กทรอนิกส์, บริการ, เคมีภัณฑ์, ยาง, พลาสติก, เครื่องนุ่งห่มและอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งนี้ องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) กล่าวว่าในเดือน มิ.ย. จำนวนผู้ประกอบการญี่ปุ่น 30 ราย ได้ขยายการผลิตไปยังเวียดนาม โดยจากผลสำรวจของบริษัทญี่ปุ่นราว 10,000 แห่ง ชี้ให้เห็นว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 41 มองว่ากำลังพิจารณาในการขยายการดำเนินงานไปยังเวียดนามในอีก 3 ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องมาจากได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจจีน-สหรัฐฯ ประกอบกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19

ที่มา : https://fintel.vn/japan-is-the-largest-foreign-investor-in-hcmc/

เวียดนามส่งเสริมตลาดน้ำตาลในประเทศ

คุณ Tran Tuan Anh รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวว่าขอให้หน่วยงานทุกภาคส่วน ดำเนินมาตรการเกี่ยวกับการเยียวยาทางการค้าระหว่างประเทศและส่งเสริมการตลาดแก่ผลิตภัณฑ์น้ำตาล ในขณะเดียวกัน ทางหน่วยงานจะสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับการนำเข้า การส่งออกและการผลิตที่อาศัยข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมธุรกิจในการป้องกันทางการค้า ทั้งนี้ ในปีนี้ กรมการนำเข้า-ส่งออก ยื่นกฤษฎีกาให้กับรัฐบาล ภายใต้ “185/2013 / ND-CP” ในการลงโทษสำหรับการละเมิดกิจกรรมทางการค้า การผลิตที่เกี่ยวข้องกับสินค้าลอกเลียนแบบหรือสินค้าต้องห้ามและการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค เป็นต้น นอกจากนี้ เวียดนามสามารถผลิตอ้อยอยู่ที่ 7.3 ล้านตัน และผลผลิตรวมประมาณ 769,000 ตัน ในปี 2562-2563

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-promotes-measures-to-manage-local-sugar-market-417510.vov

เตรียมสร้างโรงกลั่นขนาดเล็ก 5 แห่งในเขตมะกเว

เขตมะกเวกำลังพัฒนาโรงกลั่นน้ำมัน Octane 92 ขนาดเล็กจำนวน 5 แห่งซึ่งจะสามารถกลั่นน้ำมันได้ถึง 30,000 แกลลอนต่อวัน โครงการนี้ดำเนินการบนพื้นที่ 200 เอเคอร์ห่างจากจังหวัดปะโคะกูเป็นระยะทาง 5 ไมล์ Sunny Global Manufacturing Co. Ltd, Power 95, Petro China, Asia Energy และ Myanma Mandaing Company เป็นหนึ่งในบริษัทที่ชนะการประกวดราคาในการก่อสร้าง กำลังการผลิตคาดว่าจะอยู่ระหว่าง 3,000 แกลลอนและ 30,000 แกลลอนต่อวันเพียงพอที่จะรองรับการบริโภคในภูมิภาค หากอุปสงค์ในท้องถิ่นสูงขึ้นก็สามารถเพียงพอที่จะใช้ในท้องถิ่น เขตมาเกวผลิตน้ำมันของตัวเองจากบ่อที่ขุดด้วยมือ แต่จะถูกส่งไปยังโรงกลั่นในอิรวดี สะกาย พะโค และมัณฑะเลเพื่อกลั่นและแปรรูป ส่งผลให้ต้นทุนการขนส่งเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพที่ต่ำลง โรงกลั่นขนาดเล็กเหล่านี้สามารถปรับคุณภาพของน้ำมันได้ถึงมาตรฐานออกเทน 92 ซึ่งชาวมะกเวสามารถใช้น้ำมันที่มีคุณภาพสูงขึ้นในราคาที่ถูกลง นักลงทุนบางส่วนได้เริ่มปูถนนสายใหม่และวางโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นและกระบวนการที่จำเป็นในการสร้างโรงกลั่น บริษัท Sunny Global ซึ่งเป็นบริษัท ร่วมทุนระหว่างบริษัทในประเทศและบริษัทจากจีนสามารถสร้างโรงกลั่นและเริ่มดำเนินการภายในหกเดือน อย่างไรก็ตามเกิดความล่าช้าในการนำเข้าเครื่องจักรก่อสร้างเนื่องจากการระบาดของ COVID-19

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/magwe-region-build-five-small-scale-refineries.html

เงินเฟ้อเมียนมาผ่อนคลายลงจากอุปสงค์ที่ลดลง

รายงานของCentral Statistical Organization (CSO)ในเดือนมิถุนายน 63 การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลงอันเป็นผลมาจาก COVID-19 ได้ส่งผลต่อระดับเงินเฟ้อในเมียนมาลดลงตามไปด้วย สัญญาณของการผ่อนคลายเกิดขึ้นครั้งแรกในเดือนมีนาคมหลังจากมีผู้ติดเชื้อรายแรกในเมียนมา อัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาที่ร้อยละ 7.9 ในเดือนมิถุนายน ในความเป็นจริงแล้วเงินเฟ้อในเมียนมาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะเกิดการระบาด โดยพุ่งสูงขึ้นในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้วเมื่อรัฐบาลเลิกอุดหนุนอัตราค่าไฟฟ้าเป็นครั้งแรก ด้วยราคาไฟฟ้าและสิ่งจำเป็นอื่น ๆ เช่น อาหารและน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอัตราเงินเฟ้อแตะระดับสูงสุดที่ร้อยละ 9.2 ในเดือนกุมภาพันธ์ 63 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8 ของเดือนกรกฎาคม 62 ธุรกิจในท้องถิ่นได้รับความเดือดร้อนส่วนใหญ่ประสบปัญหายอดขายและกระแสเงินสดลดลงส่งผลให้การเข้าถึงสินเชื่อลดลงไปด้วย จากผลการสำรวจของธนาคารโลก ระบุว่าร้อยละ 16 บริษัทต่างๆ ปิดกิจการชั่วคราวเฉลี่ยแปดสัปดาห์จากการระบาดของ COVID-19 เป็นผลให้อัตราเงินเฟ้อของเมียนมาคาดว่าจะลดลงอีกในปีนี้ประมาณร้อยละ 6 จนถึงปีหน้า ขณะเดียวกันการเติบโตของ GDP คาดว่าจะลดลงจากร้อยละ 6.8 ในปีงบประมาณ 61-62 เหลือเพียงร้อยละ 1.8 ในปีงบประมาณปัจจุบัน การคาดการณ์ของธนาคารโลกนั้นเลวร้ายกว่ามาก GDP ของเมียนมาจะลดเหลือเพียงร้อยละ 0.5 ในปีนี้ ข้อมูลของธนาคารโลกและธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเซียเผยหากควบคุมการแพร่กระจายของไวรัสในประเทศได้รวดเร็วเท่าใด GDP อาจฟื้นตัวได้ในปีหน้าโดยแตะที่ระดับร้อยละ 6 และร้อยละ 7.2

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/pressure-eases-myanmar-inflation-due-declining-consumer-demand.html

สหภาพยุโรปสนับสนุนเงินทุน 2.5 ล้านยูโร ในโครงการป้องกันและบรรเทา COVID-19

สหภาพยุโรปได้จัดหาเงินจำนวน 2.5 ล้านยูโรให้กับสปป.ลาวภายใต้โครงการที่ชื่อว่า“ Civil Society Action to Prevent and Mitigate Covid-19” ภายใต้ความร่วมมือ Plan International องค์กรภาคประชาสังคมสปป.ลาว และสมาคมพัฒนาการเกษตรและสิ่งแวดล้อม พวกเขามีเป้าหมายที่จะสนับสนุนรัฐบาลสปป.ลาวในการบรรเทาผลกระทบด้านสุขภาพสังคมและเศรษฐกิจจากการระบาด COVID-19 ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานองค์กรภาคประชาสังคม นอกจากนี้ยังเสริมสร้างแผนการพัฒนาด้านสาธารณสุขรวมถึงให้ความสำคัญกับต่อเศรษฐกิจสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาความยากจนที่เป็นปัญหาที่สปป.ลาวเผชิญมาตลอด เงินทุนดังกล่าวจะเข้ามาช่วยทำให้สปป.ลาวพัฒนาต่อไปได้ภายใต้ปัจจัยพื้นฐานที่มั่นคงในแต่ละด้าน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_EU161.php

สปป.ลาวมีความเสี่ยงจากกระแสการเงินที่ผิดกฎหมาย

สปป.ลาวอาจเสี่ยงต่อการไหลเวียนทางการเงินที่ผิดกฎหมาย (IFF) แต่ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนในการตรวจสอบปัญหาและแหล่งที่มาของเงินที่ผิดกฎหมายซึ่งธนาคารโลกได้นิยาม“กระแสการเงินที่ผิดกฎหมาย” คือเงินที่ได้รับโอนหรือใช้อย่างผิดกฎหมายข้ามพรมแดน สถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติเปิดเผยผลการศึกษาเกี่ยวกับกระแสการเงินที่ผิดกฎหมาย พบว่าประเทศที่กำลังพัฒนาที่อุดมด้วยทรัพยากรจำนวนมากต้องสูญเสียรายได้จำนวนมหาศาลเนื่องจากกระแสการเงินที่ผิดกฎหมาย ส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและความพยายามในการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ โดยสถาบันยังกล่าวอีกว่าประเทศกำลังพัฒนาสูญเสียเงิน 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปีจากการโอนเงินที่ผิดราคาและการออกใบแจ้งหนี้               ที่ผิด การศึกษายังชี้ให้เห็นอีกว่าการจัดเก็บรายได้จากภาคทรัพยากรธรรมชาตินั้นต่ำกว่าศักยภาพ ซึ่งสปป.ลาวพึ่งพาภาคทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลักในการเติบโตด้านเศรษฐกิจ ดังนั้นปัญหาดังกล่าวจึงได้รับความสนใจมากขึ้นในฐานะความท้าทายในการพัฒนาที่สำคัญของประเทศ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos161.php

สถานการณ์ COVID-19 ในกัมพูชาไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ติดต่อกันเป็นวันที่ 5

กัมพูชาไม่พบผู้ป่วยเป็นวันที่ 5 ติดต่อกันจากผู้ติดเชื้อของไวรัส COVID-19 รายใหม่ โดยกัมพูชามีผู้ติดเชื้อภายในประเทศจนถึงปัจจุบันตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมจำนวน 273 ราย ซึ่งผู้ติดเชื้อ 273 คน ประกอบด้วยคนกัมพูชา 174 ราย ฝรั่งเศส 40 ราย จีน 17 ราย มาเลเซีย 13 ราย อินโดนีเซีย 8 ราย อเมริกัน 7 ราย อังกฤษ 5 ราย เวียดนาม 3 ราย แคนาดา 3 ราย เบลเยียม 1 ราย อินเดีย 1 ราย และคาซัคสถาน 1 ราย ในขณะเดียวกันวันนี้กระทรวงสาธารณสุขประกาศถึงผู้ป่วยฟื้นตัวรายใหม่ 13 ราย โดยขณะนี้ยอดผู้รักษาหายอยู่ที่ 251 ราย หรือมากกว่าร้อยละ 92 ซึ่งไม่มีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อ COVID-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50755704/cambodia-covid-19-situation-update-no-new-cases-for-5th-straight-day-13-new-recoveries/

การค้าข้ามพรมแดนระหว่างกัมพูชาและไทยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

การค้าข้ามพรมแดนของไทยลดลงร้อยละ 9.18 เมื่อเทียบเป็นรายปีในช่วงครึ่งปีแรกเนื่องจากมาตรการล็อคดาวน์ และสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ชะลอตัว มีเพียงกัมพูชาซึ่งเป็น 1 ใน 4 ประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทย โดยเป็นชาติเดียวที่มีการเติบโตทางด้านการค้า แต่เติบโตแบบชะลอตัวลงอยู่ที่ร้อยละ 2.27 ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศรายงานภาพรวมการค้าข้ามพรมแดนรวมมีมูลค่า 627 พันล้านบาท ในเดือนมกราคมถึงมิถุนายน โดยมาเลเซียเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดคิดจากมูลค่าการค้า จากตัวเลขทั้งหมดการส่งออกอยู่ที่ 365 พันล้านบาทลดลงร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะที่การนำเข้าหดตัวร้อยละ 9.98 สู่ 262 พันล้านทำให้เกินดุลการค้าอยู่ 103 พันล้านบาท ซึ่งผู้อำนวยการใหญ่กรมการค้าต่างประเทศกล่าวว่ามาตรการ ป้องกันการระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อการค้าและการท่องเที่ยว รวมถึงเศรษฐกิจโดยรวมทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50755682/cross-border-trade-between-cambodia-and-thailand-shows-marginal-increase/

EXIM BANK จัดงานสัมมนาออนไลน์ส่งเสริมนักธุรกิจ CLMV ลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ไทย

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา (ที่ 4 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ต้อนรับนายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ (ที่ 4 จากขวา) อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ผศ.ดร.สมชาย รัตนซื่อสกุล (ที่ 3 จากซ้าย) คณบดี คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) และนายทินกฤต สินทัตตโสภณ (ที่ 2 จากขวา) กรรมการผู้จัดการ บริษัท คามุ คามุ จำกัด วิทยากรในงานสัมมนาออนไลน์ Thai Franchise “Your Opportunity” จัดโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้าของ EXIM BANK (EXIM Excellence Academy : EXAC) ดำเนินรายการโดย ดร.นิ่มนวล ผิวทองงาม (ที่ 2 จากซ้าย) อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มธบ. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักลงทุนจาก CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) และอาเซียน ในการเลือกลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ไทยและโอกาสของธุรกิจใน CLMV ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่

ที่มา : https://thaipublica.org/2020/08/exim-bank-thai-brand-franchise-businesses-in-clmv/