ผู้ผลิตเหล็กเวียดนามได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด

สมาคมเหล็กเวียดนาม (VSA) กล่าวว่าผู้ประกอบการเผชิญปัญหาการผลิตที่ลดลงอย่างหนักและการดำเนินธุรกิจในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งบรรดาบริษัทของสมาคม มีผลผลิตเหล็ก 5.4 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 15 ในขณะเดียวกัน ปริมาณการบริโภค 4.4 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนการส่งออกเหล็กถึง 300,000 ตัน ลดลงร้อยละ 38 เมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งนี้ สมาคมมองว่าในปีนี้ อุตสาหกรรมเหล็กจะเผชิญกับความลำบาก รวมถึงระบบการคุ้มครองของตลาดทั่วโลกและยังไม่มีวี่แววถึงการฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ซึ่งผลกระทบของโควิด-19 ส่งผลให้ราคาเหล็กในตลาดโลกปรับตัวลดลง ส่งผลให้ราคาเหล็กในประเทศดิ่งลงและกิจกรรมการซื้อขายในประเทศ นอกจากนี้ ผู้ผลิตเหล็กในประเทศต้องเร่งปรับโครงสร้างผลิตภัณฑ์ เพื่อยกระดับการแข่งขันและมองหาตลาดส่งออกให้มากขึ้น ส่วนภาครัฐควรขยายกำหนดระยะเวลาชำระภาษีและลดภาษีแก่ผู้ผลิตเหล็ก เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรอดในสถานการณ์ยากลำบาก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/steel-producers-hit-hard-by-pandemic/171598.vnp

MIC อนุมัติการลงทุนด้านแรงงานและการดูแลสุขภาพ

คณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) จะเร่งอนุมัติการลงทุนในโครงการที่ต้องใช้แรงงานมากและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้มั่นใจว่าคนงานจำนวนมากหางานได้มากที่สุดเพื่อชดเชยผลกระทบของการเลิกจ้างในภาคอื่น ๆ เช่น การผลิตและการท่องเที่ยว MIC จะเร่งการอนุมัติสำหรับธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพและอุปกรณ์ทางการแพทย์รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์การผลิต เช่น หน้ากากอนามัย นอกจากนี้ยังจะให้ความสำคัญกับสถานประกอบการด้านเภสัชกรรมผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในวันที่ 3 เมษายนอนุมัติเงิน 555 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับโครงการใหม่ 11 โครงการในภาคการผลิตการก่อสร้างและการบริการ ในขณะเดียวกันมีการอัดฉีดเงินทุนเข้าโครงการที่มีอยู่ 13 โครงการ คาดว่าจะสร้างตำแหน่งงานได้มากกว่า 3,234 คน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mic-accelerate-approvals-labour-intensive-healthcare-investments.html

ข้าวถุงปรับขึ้นราคา 20% มากสุดรอบ 10 ปี

ราคาข้าวเปลือก-ข้าวสารพุ่ง ข้าวถุงรั้งไม่อยู่ แห่ปรับราคาขึ้น 20% สูงสุดรอบเกือบ 10 ปี นายกสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย เปิดเผยว่า จากราคาข้าวเปลือกที่ขยับสูงขึ้นมากในเวลานี้ (ข้าวเปลือกเจ้าตันละ 9,000-10,900 บาท ขึ้นกับคุณภาพและความชื้น สูงสุดในรอบ 7 ปี) ส่งผลถึงต้นทุนข้าวสารที่ใช้ผลิตข้าวสารบรรจุถุงปรับตัวสูงขึ้น และมีผลให้ราคาข้าวสารบรรจุถุงปรับตัวจากเดิมแล้วในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาประมาณ 20% ถือเป็นการปรับราคาสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี สำหรับราคาข้าวสารบรรจุถุงนี้ถือว่ามีการปรับราคาช้ากว่าราคาข้าวที่ขายตามร้านยี่ปั๊ว ซาปั๊ว หรือร้านที่ตักข้าวชั่งกิโลขายทั่วไป ที่เมื่อราคาข้าวจากโรงสีปรับตัวสูงขึ้น เมื่อซื้อมาขายก็สามารถปรับราคาขึ้นได้เลย ขณะที่ผู้ประกอบการข้าวถุงต้องผูกสัญญาไว้กับห้างโมเดิร์นเทรดต้องแจ้งทางห้างฯ ล่วงหน้า 10-15 วันจึงจะปรับราคาได้ เวลานี้มีหลายแบรนด์ที่แจ้งทางห้างฯ เพื่อขอปรับราคาแล้ว อย่างไรก็ดีในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมนี้จะมีข้าวนาปรังเก็บเกี่ยวรอบสองออกสู่ตลาด คาดจะทำให้ราคาข้าวถุงอ่อนตัวลง จากนี้ไปราคาข้าวถุงคงปรับขึ้นอีกไม่มาก ขอให้เห็นใจผู้ประกอบการด้วยเพราะเป็นการปรับขึ้นตามกลไกตลาด ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่มีการปรับเพราะตลาดมีการแข่งขันสูง และการที่ราคาข้าวเปลือกปรับตัวสูงขึ้นทุกฝ่ายควรที่จะยินดีกับชาวนา

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/429431?utm_source=homepage_hilight&utm_medium=internal_referral

โควิด-19 ฉุดเศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกหาย 1-1.5 ล้านล้านบาท

นายธนวรรธน์  พลวิชัย  อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่าการปรับตัวลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทุกรายการในเดือนมี.ค.2563 นี้ปรับตัวลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ทำการสำรวจในรอบ21 ปี 6 เดือน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมเดือน มี.ค. อยู่ที่ 41.6 ลดลงจากเดือนก.พ.63 ที่อยู่ในระดับ 52.5 สำหรับปัจจัยลบที่มีผลต่อ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคคือความกังวลต่อการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 เนื่องจากสถานการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น, รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อบริหารจัดการและควบคุมโควิด-19 ประกอบกับการสั่งปิดห้างสรรพสินค้าและสถานที่ต่างๆ ทำให้เกิดการปิดกิจการยกเลิกการจ้างงาน มีแรงงานตกงาน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และหากสถานการณ์ไม่สามารถควบคุมได้รุนแรงเหมือนกรณีอิตาลีเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวลงไปอีก อย่างแน่นอน

ที่มา:https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/875266?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

ธนาคารพาณิชย์เวียดนามหั่นเป้ากำไรลง จากการแพร่ระบาดโควิด-19

ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งในเวียดนามได้ปรับลดกำไรเป้าหมายลงในปี 2563 และเตรียมการส่งเสริมบริษัทที่ประสบปัญหารุนแรงจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นอกเหนือจากนี้ ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) ออกคำสั่งเมื่อวันที่ 31 มี.ค. ถึงธนาคารพาณิชย์ให้ตัดต้นทุนและจ่ายโบนัส รวมถึงงดจ่ายเงินปันผล โดยธนาคารพาณิชย์ Nam A Bank ได้ทำการตรวจสอบผลการดำเนินงานในปี 2562 และแผนของปีนี้ ซึ่งในปัจจุบันตั้งเป้ากำไรก่อนภาษีอยู่ที่ 34 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ ลดลงร้อยละ 13.5 จากปีที่แล้ว แต่ก็มีแผนที่จะดำเนินเป้าหมายอื่นให้ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ประกอบกับทางธนาคารได้ปล่อยผลิตภัณฑ์สินเชื่อ 42.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แก่ลูกค้าบุคคลในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 9.9 ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชน์ฮานอย (SHB) วางเป้ากำไรลดลงในปีนี้ ด้วยมูลค่าน้อยกว่า 1 ล้านล้านด่ง และยังวางแผนที่จะลดต้นทุนการดำเนินงาน รวมถึงผู้บริหารได้อาสาที่จะตัดค่าจ้างลงร้อยละ 50 จนกว่าสถานการณ์โรคโควิด-19 จะสิ้นสุดลงไป ขณะที่ หัวหน้าแผนกสามารถตัดค่าจ้างได้ประมาณร้อยละ 10-30 นอกจากนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่าการเติบโตของสินเชื่อปรับลดลงในปีนี้ อยู่ที่ร้อยละ 0.65 และ 1.72 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/commercial-banks-cut-profit-target-amid-covid19-pandemic-412360.vov

เวียดนามส่งออกไม้พุ่ง 16% ในไตรมาสแรก

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม เปิดเผยว่าในไตรมาสแรกของปีนี้ มูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมคาดว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ขยายไปยังทั่วโลกและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ผลของการสำรวจความคิดเห็นของบริษัทไม้แปรรูป 124 ราย เกี่ยวกับผลกระทบจากไวรัส มองว่าภาคอุตสาหกรรมที่ดำเนินธุรกิจส่งออกจะมีแนวโน้มลดลงในอีกเร็วๆนี้ และผู้ประกอบการร้อยละ 76 มองว่าอุตสาหกรรมฯ จะขาดทุนราว 127.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีเพียงร้อยละ 7 ยังคงดำเนินงานตามปกติ ในขณะเดียวกัน ร้อยละ 51, 35 ได้ลดกำลังการผลิตลงและหยุดดำเนินงานแล้ว ตามลำดับ นอกจากนี้ สมาคมไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้เวียดนาม (VTFPA) ระบุว่าตั้งแต่เดือนมี.ค. ผู้ส่งออกร้อยละ 80 ที่ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯและสหภาพยุโรป ได้รับคำสั่งซื้อถูกยกเลิกหรือความล่าช้าจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ ทางสมาคมเรียกร้องให้รัฐบาลบันทึกอุตสาหกรรมไม้แปรรูปไว้ในรายการผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการขยายเวลาชำระภาษีและค่าเช่าที่ดิน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/wood-export-turnover-grows-16-percent-in-q1/171448.vnp

MIC ลดค่าธรรมเนียมสมัคร 50% สำหรับนักลงทุนจากการระบาดของ coronavirus

คณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) ประกาศเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2563 นักลงทุนที่ต้องการสมัครขออนุญาตลงทุนในประเทศจะได้รับส่วนลด 50% ทั้งนักลงทุนชาวเมียนมาและนักลงทุนต่างชาติ วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนและช่วยให้ธุรกิจประหยัดค่าใช้จ่ายในช่วงเวลาที่ COVID-19 ระบาดอยู่ในขณะนี้ MIC อนุมัติการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมูลค่ามากกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก 11 ธุรกิจและการลงทุนในท้องถิ่นมูลค่า 50,000 ล้านจัต เมื่อวันที่ 3 เมษายน 1 วันหลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 20 ราย ซึ่งรวมถึงการลงทุนในภาคต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมการก่อสร้างและบริการนอกเหนือจากการขยายธุรกิจที่มีอยู่แล้ว 13 แห่ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mic-halves-application-fees-investors-coronavirus-bites.html

สหภาพยุโรปให้เงินฉุกเฉิน 5 ล้านยูโรแก่แรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าชาวเมียนมา

สหภาพยุโรป (EU) จะให้เงินสด 5 ล้านยูโร (7.9 พันล้านจัต) ให้กับแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าชาวเมียนมาที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 กองทุนเงินสดฉุกเฉิน Myan Ku (เงินช่วยเหลือด่วน) สำหรับอุตสาหกรรมเน้นผลิตเสื้อผ้าแบบแบบ Cutting Making และ Packaging (CMP) ที่ตกงานเนื่องจาก COVID-19 ณ สิ้นเดือนมีนาคมมีพนักงานกว่า 25,000 คนจาก 40 โรงงานถูกปลดในขณะที่ 350,000 คนมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกพักงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างหรือตกงาน อุตสาหกรรมมีการว่าจ้างมากถึง 700,000 คนส่วนใหญ่เป็นแรงงานหญิงในโรงงาน 600 แห่ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/eu-provides-eu5-million-emergency-cash-myanmar-garment-workers.html

ผู้แทนสปป.ลาวจะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนพิเศษ

นาย Saleumxay Kommasith รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสปป.ลาวจะเข้าร่วมการประชุมผู้นำอาเซียนผ่านทางวิดีโอระดับในเรื่องการเตรียมการพิเศษสำหรับมาตราการป้องกัน COVID-19 วาระสำคัญของการประชุมสุดยอดคือการตอบสนองโดยรวมในระดับภูมิภาคต่อการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ซึ่งขณะนี้กำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญสำหรับอาเซียนในการรักษาสุขภาพของประชาชนรวมถึงการรักษาเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสังคมในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญในปัจจุบัน ผู้เข้าร่วมประชุมยืนยันความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของอาเซียนในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคโดยเฉพาะการบำรุงรักษาห่วงโซ่อุปทานระดับภูมิภาคสำหรับสินค้ายาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการต่อสู้กับโรคระบาด อย่างไรก็ตามในที่ประชุมยังเสนอให้แต่ละประเทศควรดำเนินการตามกรอบแนวทางของ WHO เพื่อให้สอดคล้องกับภาพรวมของสากลและได้มาตราฐานในการป้องการและควบคุมโรคระบาด

ที่มา:http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos_to_join_74.php

นายกรัฐมนตรีกำชับในเรื่องการแจกจ่ายอุปกรณ์ททางการแพทย์ให้เพียงพอ

เมื่อเร็วๆนี้ได้มีการประชุมร่วมกันของคณะรัฐมนตรีกับคณะทำงานเฉพาะกิจแห่งชาติเพื่อการป้องกันและควบคุม COVID-19 โดยในที่ประชุมได้หารือกันถึงเรื่องการช่วยเหลือประชาชนอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพสิ่งสำคัญในการช่วยเหลือคืออุปกรณ์ทางการแพทย์และยารักษารวมถึงหน้ากากอนามัยที่นายกรัฐมนตรีกำชับต่อเจ้าหน้าที่ว่าต้องมีแจกจ่ายให้เพียงพอและให้เจ้าหน้าที่สอดส่องและดำเนินคดีต่อผู้ที่อาจนำหน้ากากอนามัยมาขายในช่วงนี้ซึ่งถือเป็นการทำผิดกฎหมาย นอกจากนี้ในที่ประชุมนายกรัฐมนตรีได้แจ้งให้คณะกรรมการเฉพาะกิจจัดตั้งทีมงานเฉพาะด้านเพื่อดูแลเรื่องการจัดหาและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้เพียงพอในสถานการณ์การแพร่ระบาดCOVID-19 ในปัจจุบัน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_PM_aid_74.php