รัฐบาลเมียนมาเตรียมสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลในการจัดการผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19 ได้ออกแถลงการณ์ว่าภาคเศรษฐกิจจะให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วนด้วยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำฉุกเฉินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจะเน้นไปที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม โรงแรมและธุรกิจการท่องเที่ยว และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะได้รับสิทธิพิเศษในการกู้ยืมเงิน สินเชื่อมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 สำหรับธุรกิจในหมวดหมู่นี้จะถูกเบิกจ่ายจากกองทุนจำนวน 100 พันล้านจัต ที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาล แบ่งออกเป็นทุนหมุนเวียน 50 พันล้านจัตและกองทุนสวัสดิการสังคม 50 พันล้านจัต ซึ่งอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 จะให้กู้เป็นระยะเวลาหนึ่งปี ผู้สมัครสินเชื่อต้องแสดงให้เห็นว่ามีการสร้างรายได้ในช่วงสองปีที่ผ่านมาและมีความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ หากไม่สามารถชำระคืนเงินกู้จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย สามารถสมัครได้ระหว่างวันที่ 30 มีนาคมถึง 9 เมษายน สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) ประกาศว่าบริษัทจะร่วมมือกับรัฐบาลในการตอบสนองต่อผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและช่วยให้ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในการขอสินเชื่อรัฐบาลประกาศอย่างเป็นทางการด้วยว่าจะมีการยกเลิกภาษีล่วงหน้า 2% สำหรับการส่งออกจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2562-2563

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-announces-priority-sectors-emergency-loans-myanmar.html

เศรษฐกิจเดือนก.พ.ทรุด ท่องเที่ยว-เกษตร-อุตฯพัง

นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนก.พ.63 มีสัญญาณชะลอตัวชัดเจนจากผลกระทบการแพร่ระบาดไวรัสโควิด ส่งผลให้การท่องเที่ยวชะลอตัวลงมาก โดยมีชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทยที่ 2.06 ล้านคน ลดลงไป 42.8% โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากจีนติดลบหนัก 84.9% นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ลบ 72.6% นักท่องเที่ยวฮ่องกงลบ 54.8% นักท่องเที่ยวมาเลเซียติดลบ 39.6% เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมมีสัญญาณชะลอตัวจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและปัญหาภัยแล้ง สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรชะลอตัวลงติดลบ 4.5% ต่อปี จากการลดลงของผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรมที่ชะลอตัวลงเช่นกัน สะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมคิดลบ 5.2% ต่อปี หลังการผลิตในหมวดยานยนต์ น้ำตาล และเม็ดพลาสติกปรับลดลง ด้านการบริโภคภาคเอกชนในภาพรวมมีสัญญาณทรงตัว แม้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกลับมาขยายตัว 4.6% ต่อปี แต่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งติดลบ 15.4% และปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ปรับตัวลดลง 3.7 ต่อปี ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว โดยการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนติดลบ 10.2% และปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ติดลบ 18.1% ต่อปี สำหรับการส่งออกในเดือนก.พ.ที่ผ่านมา การส่งออกติดลบ 4.5% ต่อปี จากก่อนหน้าขยายตัว 3.3% ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ลดลง

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/765965

รัฐบาลเพิ่มความเข้มงวดมาตรการป้องกันไวรัส covid-19

เมื่อวันที่ 29 มีนาคมได้มีการประชุมของคณะรัฐมนตรีในการออกมาตราป้องกันภัยจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในที่ประชุมได้ข้อสรุปว่าจะมีการปิดด่านระหว่างประเทศทั้งหมดและห้ามมิให้มีการเคลื่อนไหวสาธารณะโดยมีระยะเวลาควบคุม 3 สัปดาห์หรือมากกว่านั้นหากกรณีการแพร่ระบาดยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่จะมีบ้างอาชีพหรือบริการบ้างอย่างที่ได้รับการยกเว้นให้ยังมีการดำเนินการได้ตามปกติได้แก่ ทหาร ตำรวจ แพทย์และพยาบาล ผู้ให้บริการไฟฟ้าและน้ำประปา นักดับเพลิงตลอดจนผู้ให้บริการโทรคมนาคมและอาสาสมัครป้องกันไวรัส รวมถึงบริการด้านการขนส่งสินค้าต่างๆ ยังได้รับอนุญาตให้ดำเนินการได้ต่อไปเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและลดการพบปะกัน ทั้งนี้มาตราการดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่ประเทศไทยมีการสั่งปิดสถานประกอบต่างๆในประเทศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดทำให้แรงงานสปป.ลาวทะยอยกลับบ้านเกิดจำนวนมากซึ่งรัฐบาลมีความกังวลว่าแรงงานที่มาจากไทยอาจมีการนำเชื้อไวรัสมาแพร่ระบาด ทำให้ต้องมีมตราการที่เข้มงวดขึ้นกว่าเก่าเพื่อป้องกันการรุกรามของไวรัส หากสถานการณ์ยังมีแนวโน้มหนักขึ้นรัฐบาลจะมีมาตราการที่เข้มข้นขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดต่อไป

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_63.php

ผู้ประกอบการกัมพูชาและเวียดนามสร้างความร่วมเชิงกลยุทธ์ร่วมกัน

บริษัทในเครือของ Viettel Group ซึ่งเป็นบริษัทด้านการสื่อสารทางทหารของเวียดนาม และ MB Cambodia (MB) ของเวียดนาม ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระยะเวลา 5 ปี เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาและการมีส่วนร่วมระหว่างกันตามพิธีลงนามที่จัดขึ้นในกรุงพนมเปญ โดยเมื่อวันที่ 26 มีนาคม MB กัมพูชา ได้สนับสนุนด้านสินเชื่อให้กับ Metfone อย่างเต็มที่และให้บริการทางการเงินขององค์กรแก่บริษัทด้วยวงเงินสินเชื่อ 100 ล้านเหรียญสหรัฐและอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่ง Metfone ดำเนินธุรกิจในกัมพูชามานานกว่า 10 ปี โดยเป็นหนึ่งในบริษัทโทรคมนาคมชั้นนำของประเทศ สร้างงานให้กับคนงานกว่า 12,000 คนและสนับสนุนด้านงบประมาณกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50706770/cambodia-and-vietnamese-enterprises-adopt-measures-strengthen-strategic-collaboration/

กัมพูชามีการลงทุนใหม่มูลค่ารวม 900 ล้านเหรียญสหรัฐ

กัมพูชารายงานโครงการลงทุนใหม่ 40 โครงการมูลค่ารวมกว่า 900 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงสามเดือนแรกของปีนี้ตามรายงานของสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ซึ่งโครงการที่ได้รับอนุมัติยกตัวอย่าง เช่น การผลิตเสื้อผ้า สินค้าการท่องเที่ยว เครื่องใช้ในครัวเรือน เฟอร์นิเจอร์ หลอดไฟและแบตเตอรี่ รวมไปถึงการก่อสร้างโรงแรมห้าดาวและตลาดซูเปอร์มาร์เก็ต โดยโครงการ 40 โครงการเป็นของบริษัทหลายบริษัทที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองหลวงของกรุงพนมเปญและในจังหวัด ตาแกว, กันดาล, กัมปงสปือ, กำปงจาม, ตบุงคมุม, พระสีหนุ, เสียมเรียบ, และสวายเรียง ซึ่งโครงการลงทุนจะสร้างงานใหม่ให้กับคนในท้องถิ่นกว่า 30,000 ตำแหน่ง โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเมืองหลวงของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50706552/cambodia-new-investments-totaling-900-million-spread-over-nine-provinces/

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มเมียนมาประสบปัญหาเนื่องจากอียูยกเลิกคำสั่งซื้อ

โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าหลายแห่งในเมียนมาหยุดการดำเนินงานเนื่องจากสหภาพยุโรปซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญได้ยกเลิกคำสั่งซื้อเมื่อสัปดาห์ที่แล้วท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่แพร่กระจาย ประธานสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปแห่งเมียนมา (MGMA) กล่าวว่าตลาดสหภาพยุโรปคิดเป็น 70% ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป ข่าวร้ายมาจากการที่วัตถุดิบจากจีนเริ่มไหลกลับเข้ามาหลังจากการหยุดงานสามเดือนเนื่องจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ในยุโรปร้านค้าทั้งหมดปิดตังลง นั่นเป็นเหตุผลที่โรงงานปิดตัวลงและลดจำนวนคนงาน  การปิดโรงงานผลิตเสื้อผ้ามากขึ้นส่งผลเกิดการประท้วงที่ Grand Enterprises Garment Co. Ltd ที่เขตอุตสาหกรรม East Dagon เนื่องจากบริษัทประกาศเลิกจ้างแรงงานหลายพันคน ก่อนที่จะยกเลิกคำสั่งซื้อมีโรงงานอย่างน้อย 20 แห่งจาก 500 โรงงานต้องปิดตัวลงทำให้มีคนว่างงานมากกว่า 10,000 คน ตั้งแต่เดือนมกราคมโรงงานตัดชุด 38 แห่งซึ่งรวมถึงโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าได้ปิดตัวลง นอกเหนือจากสหภาพยุโรปแล้วตลาดสหรัฐก็เริ่มยกเลิกคำสั่งซื้อ จนถึงตอนนี้มีเพียงบริษัทจากญี่ปุ่นและเกาหลียังไม่ได้ยกเลิกคำสั่งซื้อ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/more-woes-myanmar-garment-industry-eu-cancels-orders.html

ผู้มีตั๋วเครื่องบินเท่านั้นที่อนุญาตให้เข้าสนามบินย่างกุ้ง

สนามบินนานาชาติย่างกุ้ง (YIA) จะทำการจำกัดการเข้าถึงอาคารผู้โดยสารของอาคารตามประกาศของกรมการบินพลเรือนและกระทรวงสาธารณสุขและการกีฬา ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ผ่านมา (29 มีนาคม) เป็นต้นไป ผู้โดยสารที่มีตั๋วเครื่องบินและพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าสนามบินเท่านั้นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ COVID-19 YIA

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/only-ticket-holders-allowed-inside-yangon-airport.html

เวียดนามปลดล็อกกฎระเบียบนำเข้า “รถยนต์” กรุยทางสู่ MRA อาเซียน ส.ค.นี้

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเผย ‘เวียดนาม’ ปรับปรุงเงื่อนไขนำเข้ารถยนต์ ผ่อนปรนให้ตรวจสอบคุณภาพเฉพาะล็อตแรกที่นำเข้า ยกเลิกการใช้หนังสือรับรองคุณภาพที่ออกโดยประเทศผู้ส่งออก ให้เวียดนามประเมินโรงงานการผลิตของประเทศผู้ส่งออกแทน ชี้ช่วยอำนวยความสะดวกผู้ส่งออกไทยมากขึ้น ด้านอาเซียนเตรียมดันลงนาม MRA ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 52 สิงหาคมนี้ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เวียดนามได้ออกและบังคับใช้กฤษฎีกา ฉบับที่ 17 (Decree 17/2020) ปรับปรุงเงื่อนไขการนำเข้ารถยนต์ที่เคยกำหนดไว้ในกฤษฎีกา ฉบับที่ 116 (Decree 116/2017) จากเดิมกำหนดให้รถยนต์นำเข้าต้องถูกตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยในทุกล็อตที่นำเข้า ปรับเป็นตรวจสอบเฉพาะรถยนต์ล็อตแรกที่นำเข้า รวมทั้งยกเลิกการใช้หนังสือรับรองคุณภาพรถยนต์นำเข้า (Vehicle Type Approval Certificate: VTA) ที่ออกโดยหน่วยงานในประเทศผู้ส่งออก ปรับเป็นกำหนดให้โรงงานผลิตหรือประกอบรถยนต์ของประเทศผู้ส่งออก ต้องได้รับการประเมินโรงงานการผลิต (Conformity of Production: COP) โดยหน่วยงานตรวจสอบของเวียดนาม (Vietnam Register) ซึ่งผลการตรวจสอบและผลการตรวจประเมินจะมีอายุ 36 เดือน ทั้งนี้ การผ่อนปรนกฎระเบียบการตรวจสอบรถยนต์นำเข้าของเวียดนาม จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ส่งออกรถยนต์ของไทยมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องขอเอกสาร VTA รวมทั้งไม่ต้องถูกตรวจรถยนต์ที่ส่งออกไปเวียดนามทุกล็อต ซึ่งตั้งแต่ปี 2561 กระทรวงพาณิชย์ได้พยายามเรียกร้องและผลักดันเวียดนามเรื่องนี้มาโดยตลอด นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 กระทรวงคมนาคมของเวียดนามได้ออก Circular 05/2020 ซึ่งกำหนดแนวทางในการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยด้านเทคนิค และป้องกันสิ่งแวดล้อมสำหรับรถยนต์ที่ผลิต/ประกอบในประเทศ และรถยนต์นำเข้าตามกฤษฎีกาฉบับใหม่ โดยจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 15 เมษายน 2563 ทั้งนี้ Circular 05/2020 ยังเปิดโอกาสให้หน่วยงานตรวจสอบของเวียดนาม ยอมรับผลการตรวจสอบรับรองมาตรฐานรถยนต์จากหน่วยงานของประเทศที่เวียดนามมีข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ด้วย ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี เนื่องจากขณะนี้อาเซียนอยู่ระหว่างเตรียมลงนามข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ผลการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ยานยนต์ระหว่างกัน โดยที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 26 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563 ได้ขอให้เวียดนามเร่งรัดกระบวนการภายในให้แล้วเสร็จ เพื่อให้สามารถลงนามข้อตกลงฯ ได้ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 52 ในเดือนสิงหาคมนี้ ที่เวียดนาม โดยขณะนี้ประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศยกเว้นเวียดนาม ได้แสดงความพร้อมที่จะลงนามข้อตกลงดังกล่าวแล้ว ข้อตกลง MRA จะทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องยอมรับผลการทดสอบ ที่ออกโดยหน่วยงานตรวจสอบที่ได้ขึ้นทะเบียนในประเทศผู้ส่งออก โดยไม่ต้องทำการทดสอบซ้ำในประเทศผู้นำเข้า ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคในการนำเข้าและส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ตลอดจนสร้างตลาดและฐานการผลิตร่วมในภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ ในปี 2562 เวียดนามนำเข้ารถยนต์จากไทย จำนวน 74,993 คัน มูลค่า 1,527 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53 ของการนำเข้าทั้งหมด โดยมีปริมาณการนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 34 จากปี 2561 โดยคาดว่าภายหลัง Decree 17 บังคับใช้ ประกอบกับการทำข้อตกลงยอมรับร่วมผลการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ยานยนต์ของอาเซียน จะทำให้ไทยสามารถส่งออกรถยนต์ไปเวียดนามได้มากขึ้น

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-440168

เวียดนามเผยดัชนีราคาผู้บริโภคไตรมาสแรก ขยายตัวสูงสุดตั้งแต่ปี 2559-2563

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ปรับตัวขึ้นร้อยละ 5.56 นับว่าสูงสุดตั้งแต่ปี 2559-2563 โดยสาเหตุสำคัญจากความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น ในเดือนม.ค. – ก.พ. (ช่วงปีใหม่เต็ด : Tet), ภายในงานแถลงข่าววันที่ 27 มี.ค. ณ กรุงฮานอย รวมถึงราคาอาหารและผักที่ปรับสูงขึ้นร้อยละ 13.21 และ 4.14 ตามลำดับ โดยการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้น เริ่มขึ้นในช่วงปลายเดือนม.ค. ปีนี้ ดังนั้น ความต้องการผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ไฟฟ้าและน้ำเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาสินค้าดังกล่าวปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.43, 9.89 และ 4.75 ตามลำดับ สำหรับราคาน้ำมันเฉลี่ยในช่วงไตรมาสแรก ลดลงร้อยละ 5.75 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลกระทบของโควิด-19 และสงครามราคาน้ำมันระหว่างโอเปกและรัสเซีย ทั้งนี้ อุปสงค์การท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในช่วงวันปีใหม่ แต่เมื่อเผชิญกับการแพร่ระบาดทำให้แพ็คเกจทัวร์ลดลง นอกจากนี้ ทางสำนักงาน GSO ระบุว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในช่วง 3 เดือนแรก ปรับตัวขึ้นร้อยละ 3.05

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/firstquarter-cpi-sees-highest-rise-in-20162020-411898.vov

เวียดนามเกินดุลการค้า 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ช่วงไตรมาสแรก

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าเวียดนามเกินดุลการค้าอยู่ที่ 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งมูลค่ามากกว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถึงแม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดหนักของโรคโควิด-19 ในกลุ่มตลาดส่งออกสำคัญ สำหรับภาคธุรกิจในประเทศขาดดุลการค้า 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ ภาคการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเกินดุลการค้า 7.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้น มูลค่าการส่งออกช่วงไตรมาสแรก 59.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และสินค้าส่งออกหลัก 8 รายการที่มีมูลค่าส่งออกมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสหรัฐอเมริกายังคงเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 15.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาจีน สหภาพยุโรป อาเซียน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ในขณะเดียวกัน มูลค่าการนำเข้า 56.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.9 และสินค้านำเข้าหลัก 14 รายการที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจีนยังคงเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 13.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 18 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาเกาหลีใต้ อาเซียน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ทางสำนักงานดังกล่าวคาดว่าเมื่อข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA มีผลบังคับใช้จะทำให้เวียดนามส่งออกไปยังสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 ในปีนี้ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากข้อตกลง

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-enjoys-trade-surplus-of-us28-billion-in-first-quarter-411899.vov