งานแฟร์แสดงสินค้าทั่วโลก เลื่อน-ยกเลิกหนีไวรัสร้าย

ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า ทูตพาณิชย์ของไทยที่ประจำในประเทศต่างๆ ทั่วโลก รายงานว่า ประเทศต่างๆ ที่เป็นเจ้าภาพจัดงานแสดงสินค้า หรืองานแฟร์สินค้ากลุ่มต่างๆที่มีกำหนดจัดในปีนี้ รวมถึงงานแฟร์ที่ไทยจะจัดในต่างประเทศ เช่น ในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านได้ยกเลิกแล้ว 13 งาน ทั้งในเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และมีอีก 77 งาน ที่ผู้จัดขอเลื่อนจัดงาน โดยเป็นงานแฟร์ที่จะจัดในจีน ฮ่องกง ไทเป 21 งาน, อิตาลี 13 งาน, เยอรมนี 9 งาน ที่เหลืออยู่ในอาเซียน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (อียู) โลก และงานแฟร์ที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดในต่างประเทศที่ยกเลิกแล้ว เช่น งานท็อป ไทย แบรนด์ ในเวียงจันทน์, มินิไทยวีก เมืองเซบู เป็นต้น ส่วนงานประเทศอื่นๆเป็นเจ้าภาพ และผู้ประกอบการไทยจะเข้าร่วม เช่น ฟู้ดเดกซ์ เจแปน, เจแปน กอล์ฟแฟร์, โซล ลิฟวิ่ง ดีไซน์ แฟร์, โคเรีย บิวด์ 2020, เจ นิวยอร์ก สปริง เป็นต้น ดังนั้น จะต้องติดตามว่าผู้จัดงาน จะจัดชดเชยในภายหลังหรือไม่ เพราะงานแฟร์มีความสำคัญมากต่อเอสเอ็มอีของไทยที่จะสามารถเจรจาหาลูกค้าในต่างประเทศ  อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า กรมได้ปรับกลยุทธ์การทำงานให้เหมาะสม ทั้งการจัดงานแสดงสินค้าไทยในต่างประเทศ, การเข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติ ในต่างประเทศ โดยใช้วิธีการจัดงานแสดงสินค้าในรูปแบบออนไลน์ เอ็กซิบิชันแทนที่เป็นกิจกรรมที่เพิ่มการส่งออกในรูปแบบใหม่ๆ รองรับกรณีที่ไม่สามารถเดินทางไปพบปะกันได้

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/business/1798436

เวียดนามสามารถตอบสนองความต้องการหน้ากาก

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ได้รับรองว่าเวียดนามเป็นผู้ส่งออกเสื้อผ้ารายใหญ่ เพื่อตอบสนองความต้องการหน้ากากของผู้คนที่กำลังต่อสู้กับการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยจากการประชุมในวันที่ 17 มีนาคม ณ กรุงฮานอย ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) และผู้ประกอบการสิ่งทอ เปิดเผยว่าไฮไลท์สำคัญในการประชุมเกี่ยวกับความต้องการหน้ากากจำนวนมาก เนื่องจากในปัจจุบัน ประชากรชาวเวียดนามและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศ ขณะที่ หน้ากากผ้าที่ผลิตในประเทศจะใช้สารต้านเชื้อแบคทีเรียและวัสดุกันน้ำที่เป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวงอนามัย รวมถึงเป็นทางเลือกที่ดีในการป้องกันการติดเชื้อ ทั้งนี้ ทางกระทรวงอุตฯ คาดว่าจะมีการจำหน่ายหน้ากากราว 23.2 ล้านชิ้นในตลาดตั้งแต่วันที่ 15-31 มี.ค. และขยายปริมาณจำหน่ายหน้ากากมากกว่า 8.88 ล้านชิ้น ตั้งแต่วันที่ 31 มี.ค.-14 เม.ย. รวมถึงเสนอให้ภาครัฐพิจารณาใช้งบประมาณในการสั่งซื้อหน้ากากจากผู้ผลิตในประเทศ เพื่อที่จะส่งเสริมการผลิตและจำหน่ายแก่สาธารณชน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-able-to-meet-demand-for-face-masks-411461.vov

เวียดนามนำเข้าเนื้อสุกรพุ่งสูงขึ้น 200%

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท เปิดเผยว่าในวันที่ 15 มีนาคม เวียดนามนำเข้าเนื้อสุกรประมาณ 25,300 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 205 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการขาดแคลนผลผลิตเนื้อสุกรและการแพร่ระบาดของไข้อหิวาต์สุกรแอฟริกัน (ASF) โดยส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศแคนาดา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29 ตามมาด้วยเยอรมัน, โปแลนด์, บราซิลและสหรัฐอเมริกา ในขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีเรียกร้องให้กระทรวงข้างต้นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินมาตรการเรื่องลดราคาเนื้อสุกร ทั้งนี้ ทางกระทรวงฯ ขอความร่วมมือกับบริษัทปศุสัตว์รายใหญ่ให้ปรับลดราคาสุกรมีชีวิตอยู่ที่ 70,000 ด่งต่อกิโลกรัม (3 ดอลลาร์สหรัฐ) ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์เรียกร้องกับทางกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าให้ช่วยเหลือธุรกิจเวียดนามในการหาแหล่งวัตถุดิบจากการนำเข้าท่ามกลางสถานการณ์ไวรัสโคโรนา ซึ่งขัดขวางการค้าผ่านชายแดน นอกจากนี้ จากสถิติของกระทรวง ระบุว่าจำนวนสุกรทั่วโลกรวม 678 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว โดยในช่วงตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เวียดนามนำเข้าเนื้อกระบือเพิ่มขึ้นร้อยละ 128 ปริมาณอยู่ที่ 19,356 ตัน, เนื้อวัว (14,160 ตัน,เพิ่มขึ้นร้อยละ 217) และเนื้อสัตว์ปีก (48,300 ตัน,เพิ่มขึ้นร้อยละ 86)

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-pork-imports-up-over-200-411457.vov

อิรวดี ทุ่มงบ 100 ล้านจัต ซื้ออุปกรณ์การแพทย์

ด้วยเป้าหมายที่จะป้องกัน COVID-19 รัฐบาลภูมิภาคอิรวดีใช้จ่าย 100 ล้านจัตสำหรับอุปกรณ์การแพทย์ เช่น เครื่องช่วยหายใจและชุดป้องกัน โดยเงินจะถูกเก็บรวบรวมผ่านกองทุนของรัฐบาลเขตอิระวดีและถูกส่งไปยังกรมอนามัยในภูมิภาค แม้เมียนมาจะไม่พบผู้ป่วย COVID-19 แต่ต้องหาทางเตรียมการไว้ ดังนั้นจึงต้องการงบประมาณเพียงพอที่จะซื้อเครื่องช่วยหายใจและชุดป้องกัน และควรเตรียมพื้นที่สำหรับ COVID-19 อีก เมียนมามีโรงพยาบาลระดับอำเภอ 200 เตียงจำนวนห้าเตียงในเขตอิระวดี ในเขตอำเภอปะทิวมีโรงพยาบาลขนาด 500 เตียง หากพบผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็น COVID-19 ในภูมิภาคอินวดี จะถูกส่งตัวไปที่ที่โรงพยาบาลเขตพะสิม

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/ayeyawady-region-to-spend-ks-100-million-on-medical-equipment

รัฐบาลเมียนมาเตรียมแผนรับมือผลกระทบ COVID-19 ต่อเศรษฐกิจของประเทศ

นางอองซานซูจีที่ปรึกษาของรัฐบาลเมียนมากล่าวในที่อยู่ทางโทรทัศน์เกี่ยวกับมาตรการที่จะดำเนินการเพื่อป้องกันควบคุมไวรัสหากตรวจพบในเมียนมา โดยรัฐบาลจะลดภาษีและอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบและป้องกันการว่างงาน รักษาโรงงานให้ทำงานและลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ สินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ และยกเว้นภาษีสำหรับธุรกิจที่มีความเสี่ยงอย่างการผลิตเสื้อผ้า, โรงแรมและการท่องเที่ยวและ SMEs ภาษีล่วงหน้า 2% สำหรับสินค้าส่งออกจะถูกยกเลิกไปจนถึงสิ้นปีงบประมาณนี้ ธนาคารกลางของเมียนมาประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.5%  โดยการร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการรับมือกับวิกฤตการณ์ในครั้งนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ ขณะนี้คณะทำงานระดับชาติกำลังทำงานในแผนระยะสั้นและระยะยาวเพื่อแก้ไขปัญหาการระบาด หนึ่งในแผนดังกล่าวคือความพยายามที่จะกระตุ้นการค้าและการท่องเที่ยว การสร้างงานใหม่ และการฝึกอบรมสำหรับผู้ว่างงาน โดยการปิดโรงงานหาแหล่งวัตถุดิบอื่น เสริมความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทานสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับภาค SME

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/govt-preparing-plans-counter-virus-impacts-countrys-economy-state-counsellor-says.html

นายกรัฐมนตรีสปป.ลาวเรียกร้องให้ผู้คนปลูกพืชเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคเอง

นายกรัฐมนตรีสปป.ลาวเรียกร้องให้ชาวสปป.ลาวเริ่มปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ที่บ้านเพื่อบริโภคในกรณีที่เสบียงอาหารจะหมดไปท่ามกลางการระบาดของโควิด -19 โดยประชาชนควรเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ที่คาดเดาไม่ได้เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสยังคงเพิ่มขึ้นในประเทศเพื่อนบ้าน ท่ามกลางความกังวลว่าหากมีการหยุดชะงักของการค้าระหว่างประเทศจะทำให้เกิดการขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศโดยเฉพาะอาหารเนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่การปิดประเทศอาจกลายเป็นจริง เช่นในประเทศไทย ผู้ประกอบการท่องเที่ยวกำลังเรียกร้องให้รัฐกำหนดให้ปิดประเทศเป็นเวลาสองสัปดาห์เพื่อป้องกันไม่ให้โควิด -19  แพร่กระจายไปยังพื้นที่ต่างจังหวัด สมาพันธุ์ธุรกิจท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทยเสนอให้ปิดการเชื่อมโยงทั้งทางบกและทางอากาศเป็นเวลาสองสัปดาห์หรือไม่เกินหนึ่งเดือนซึ่งเป็นมาตรการเร่งด่วนในการรับมือกับการระบาดของโรค ทั้งนี้ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสปป.ลาวกล่าวว่าความกังวลดังกล่าวนั้น ผู้บริโภคสปป.ลาวจะไม่ประสบปัญหาการขาดแคลนอาหารอย่างจริงจัง เขาเสริมว่าชุมชนชนบทในสปป.ลาวมีประเพณีการทำการเกษตรแบบพึ่งพาตนเองมานานซึ่งหมายความว่าผลกระทบของการหยุดชะงักทางการค้าในประเทศจะไม่รุนแรงเท่ากับในประเทศอื่น ๆ

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/03/18/lao-pm-urges-people-to-grow-crops-raise-animals-for-own-consumption/

เพิ่มสามโครงการการลงทุนในกัมพูชาเพื่อสร้างงานกว่า 2,000 ตำแหน่ง

สภาเพื่อการพัฒนาของกัมพูชา (CDC) ได้อนุมัติโครงการลงทุนสามโครงการด้วยเงินทุนรวม 7 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยโครงการใหม่สามโครงการจะสร้างงานเกือบ 2,000 ตำแหน่ง สำหรับคนในท้องถิ่น ซึ่งโครงการลงทุนแรกมูลค่าอยู่ที่ 2.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นของ บริษัท จินหมิงหลี่เจี้ยนวันจำกัดซึ่งจะสร้างโรงงานผลิตเส้นด้ายในเขตกงปิสซีจังหวัดกำปงสปือสามารถจ้างพนักงานได้ที่ 180 คน โครงการที่ 2 เงินลงทุนจำนวน 2.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งอยู่ในจังหวัดตบุงคุมเป็นของ บริษัท ซูเซ็น(กัมพูชา) อุตสาหกรรมจำกัด โดยต้องการคนงานอยู่ที่ 726 ตำแหนน่งในการผลิตเสื้อผ้า โครงการที่สามยังคงอยู่ในภาคการตัดเย็บเสื้อผ้าคือ บริษัท มิลล์ยูไนเต็ดแมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด เงินลงทุนอยู่ที่ 2.3 ล้านเหรียญสหรัฐในการก่อสร้างโรงงานในจังหวัดกันแลนด์คาดว่าจะสร้างงาน 912 ตำแหน่งให้กับคนในท้องถิ่น แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ แต่การลงทุนใหม่ในภาคเสื้อผ้ายังคงดำเนินต่อไปโดยให้ความหวังกับเยาวชนสำหรับโอกาสการจ้างงาน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50702925/three-investment-projects-to-create-2000-jobs/

ธนาคารกลางของกัมพูชาประกาศมาตรการกระตุ้นสินเชื่อภายในประเทศ

ธนาคารกลางกัมพูชาได้ประกาศมาตรการใหม่ 3 มาตรการ เพื่ออำนวยความสะดวกและกระตุ้นให้สถาบันการเงินมีสภาพคล่องที่แข็งแกร่งขึ้น โดยสนับสนุนให้สถาบันการเงินของประเทศดำเนินการให้กู้ยืมเงินกับภาคเอกชนต่อไปท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งผู้อำนวยการธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ได้บรรยายสรุปว่า NBC จะชะลอการดำเนินงานของ Capital Conservation Buffer (CCB) จนถึงปีหน้า, ลดอัตราดอกเบี้ยในการดำเนินงานด้านสภาพคล่อง (LPCO) และลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับหนังสือรับรองการฝากเงิน (NCD) เพื่ออำนวยความสะดวกด้านสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินรายย่อย รวมถึงกระตุ้นให้สถาบันการเงินดำเนินการให้สินเชื่อต่อไปได้ โดยก่อนหน้านี้ NBC ได้ขอให้สถาบันการเงินทุกแห่งรักษาอัตราส่วนเงินกองทุนไว้ที่ 50% อย่างไรก็ตามเมื่อเร็วๆนี้ NBC ได้ขอให้เพิ่มเป็น 100% ส่วนต่อมาคือการลดอัตราดอกเบี้ยของ LPCO จาก 3% เป็น 2.5% สำหรับสินเชื่อระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี สำหรับสินเชื่ออายุไม่เกิน 6 เดือนจาก 2.8% เป็น 2.3% และสำหรับสินเชื่ออายุไม่เกิน 3 เดือนจาก 2.6% เป็น 2.1% เป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50702862/the-central-bank-announces-measures-to-boost-lending/

สิงคโปร์เตรียมพร้อมจัดหาสินค้าอุปโภคบริโภคกรณีโควิด-19

รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ กล่าวในการเยี่ยมชมศูนย์กระจายสินค้าของ NTUC Fariprice ย่าน Joo Koon เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2563 ว่า ชาวสิงคโปร์ต้องเตรียมใจให้พร้อมในการรับมือกับการป้องกันการแพร่ระบาย COVID-19 หลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าจะมีมาตรการป้องกันที่เข้มงวดในหลายๆ เดือนที่ผ่านมา ดังนั้น ต้องเตรียมใจให้พร้อมหากสถานการณ์ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยยกตัวอย่างการแพร่ระบาดในเกาหลีใต้ รวมถึงสิงคโปร์ต้องปรับโซ่อุปทานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความมั่นคงและมีอุปทานที่เพียงพอในประเทศ เนื่องจากประเทศอื่น ๆ มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ๆ ส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานของโลกเกิดภาวะชะงักตัวลง มีความจำเป็นต้องตรวจสอบสถานะสินค้าคงคลังและตรวจสอบสถานที่กระจายสินค้า โดยยกตัวอย่าง ในอดีตสิงคโปร์นำเข้าข้าวส่วนมากมาจากไทยหรือเวียดนาม แต่ในปัจจุบันสิงคโปร์นำเข้าข้าวมาจากญี่ปุ่นหรืออินเดียด้วยเช่นกัน เนื่องจากขณะนี้มีสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อโลก ด้วยเหตุนี้ ภาครัฐจะสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของจำนวนคู่ค้าของสิงคโปร์ โดยมองหาผู้ประกอบการรายใหม่ในประเทศที่ไกลออกไปเพื่อช่วยให้สิงคโปร์กระจายความเสี่ยงได้อย่างต่อเนื่อง หรือสินค้าในกลุ่มประเภทบะหมี่ต่าง ๆ ที่สิงคโปร์มีทั้งการนำเข้าและมีการผลิตในประเทศ ทำให้ไม่ต้องทำการกักตุนสินค้าประเภทนี้มากนัก อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้ที่ทุกอย่างจะสามารถผลิตในสิงคโปร์ เนื่องจากข้อจำกัดด้านพื้นที่และกำลังคน แต่จะเพิ่มระดับความสามารถในการผลิตในประเทศ โดยเฉพาะในรายการสินค้าสำคัญที่จำเป็นสำหรับช่วงเวลาที่ต้องการ

ที่มา : http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=9769&index

ลดค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น เพื่อส่งเสริมการจ่ายแบบไร้เงินสดท่ามกลางโควิด-19

องค์กรการรับชำระเงินแห่งชาติ (NAPAS) แถลงการณ์เมื่อวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมา ระบุว่าค่าธรรมเนียมในการโอนเงินข้ามธนาคารจะปรับลดเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ เพื่อส่งเสริมการชำระไร้เงินสด ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางองค์กรข้างต้นจะปรับลดค่าธรรมเนียมอีกครึ่งหนึ่งจากในปัจจุบันอยู่ที่ 1,800 ด่ง เหลือ 900 ด่ง และการทำธุรกรรมทางการเงินรวมตั้งแต่ 500,001 ด่ง (21 ดอลลาร์สหรัฐ) จนมาอยู่ที่ 2 ล้านด่งต่อครั้ง ซึ่งเริ่มใช้ในวันที่ 25 มีนาคมจนถึงปลายเดือนธันวาคม ทั้งนี้ ธนาคารกลางเวียดนามได้เรียกร้องแก่ธนาคารพาณิชย์และสาขาที่อยู่ในต่างประเทศ ให้ปรับลดค่าธรรมเนียมจากการโอนเงินข้ามธนาคาร อยู่ในระดับน้อยกว่า 900 ด่งต่อครั้ง นอกจากนี้ การส่งเสริมชำระไร้เงินสดเป็น 1 ในมาตรการที่สำคัญในการขจัดอุปสรรคในการทำธุรกิจและการผลิต ท่ามกลางโควิด-19 โดยจากการสำรวจของ IDG Vietnam เปิดเผยว่าร้อยละ 79 ยังคงนิยมชำระผ่านเงินสดในเวียดนาม อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆนี้ นายกรัฐมนตรีขอให้ทางธนาคารกลางอนุมัติโครงการนำร่องที่เกี่ยวกับการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/further-fee-reductions-to-promote-cashless-payments-amid-covid19/170196.vnp