การจัดฝึกอบรมหลักสูตรประเมินโครงการเพื่อให้ผู้หญิงในชนบทมีทักษะการทำงานในสปป.ลาว

สหภาพสตรีสปป.ลาวและกระทรวงความเสมอภาคทางเพศและครอบครัวสาธารณรัฐเกาหลี ได้ร่วมมือกันจัดฝึกอบรมอาชีพให้สตรีสปป.ลาวเพื่อพัฒนาโอกาสในการทำงาน โครงการฝึกอบรมนี้ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงความเสมอภาคทางเพศและครอบครัวสาธารณรัฐเกาหลี ดำเนินการโดย the Dorundorun Asia Women Bridge การประชุมครั้งนี้จะรายงานความคืบหน้าของโครงการและความท้าทายที่เราเผชิญในอนาคตรวมทั้งหารือเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะของผู้หญิงและวิธีการสร้างความสามารถ ซึ่งโครงการฝึกอบรมสายอาชีพเริ่มขึ้นในปี 59 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้หญิงมีทักษะที่จำเป็นในการหางาน หลักสูตรนี้มุ่งเป้าไปที่ผู้หญิงด้อยโอกาสในชนบทที่พยายามหางานทำและหาเลี้ยงชีพ ล่าสุดผู้หญิง 57 คนที่ด้อยโอกาสจากทั่วประเทศได้เรียนรู้ทักษะในด้านการทำอาหาร การตัดเย็บและการเสริมความงาม

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Course_256.php

เวียดนามตั้งเป้า GDP ขยายตัว 7% ในปี 2564-2568

จากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลและวิเคราะห์เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NCIF) คาดการณ์ว่าเวียดนามจะมีอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเวียดนาม (GDP) ที่ระดับร้อยละ 7 ต่อปี ในช่วงปี 2564-2568 สำหรับเศรษฐกิจมหภาคอยู่ในระดับทรงตัว อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 3.5-4.5 ต่อปี และผลิตภาพแรงงานจะขยายตัวร้อยละ 6.3 ต่อปี โดยข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) คาดว่าจะมีผลกระทบเขิงบวกมากกว่าความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) เนื่องมาจากมีกลุ่มประเทศที่ลงนามข้อตกลงการค้าเสรีกับเวียดนามอยู่แล้ว ซึ่งทั้ง 2 ของความตกลงการค้าเสรีดังกล่าวนั้น จะส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานอย่างมาก โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานมาก ได้แก่ เสื้อผ้า สิ่งทอ และรองเท้า  เป็นต้น นอกจากนี้ เขตการค้าเสรีจะช่วยให้เวียดนามปรับปรุงนโยบายและสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-gdp-expected-to-expand-7-in-20212025-406577.vov

อุตสาหกรรมน้ำตาลเวียดนาม ดิ่งลงอย่างมาก

จากข้อมูลของสมาคมอ้อยและน้ำตาลเวียดนาม (VSSA) เปิดเผยว่าปัจจุบันเวียดนามมีจำนวนธุรกิจน้ำตาลกว่า 40 แห่ง และในช่วงปี 2560-2561 มีโรงงานผลิตน้ำตาลทั้งประเทศจำนวน 37 โรงงาน ผลผลิตน้ำตาลรวมทั้งสิ้น 1.47 ล้านตัน ขณะเดียวกัน ในปี 2561-2562 มีผลผลิตน้ำตาล 1.17 ล้านตัน สำหรับพื้นที่ปลูกอ้อมในประเทศลดลงร้อยละ 30-60 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบในการป้อนเข้าสู่โรงงาน ประกอบกับเกษตรกรเลิกปลูกอ้อย เพราะว่ายิ่งเกษตรกรเพาะปลูกมากเท่าไหร่ก็ยิ่งขาดทุนมากเท่านั้น จึงหันไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน ทั้งนี้ อุตสาหกรรมน้ำตาลเวียดนามได้รับความกดดันจากการฉ้อโกงทางการค้าและการลักลอบนำเข้าจากประเทศไทย ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลเวียดนามอย่างมาก และเป็นเวลายาวนาน โดย 1 ใน 3 ของโรงงานได้ปิดตัวลง และพื้นที่ไร่อ้อยหลายแห่งถูกทิ้งไว้ ซึ่งผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลต้องการแรงสนับสนุนจากภาครัฐบาลมากยิ่งขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาการลักลอบสินค้า และการปลอมแปลง เพื่อที่ว่าเพิ่มความสามารถในการแข่งขันสินค้าต่างประเทศในตลาดเวียดนามได้

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-sugar-industry-in-serious-decline-406612.vov

ยอดนักท่องเที่ยวผ่านชายแดนเมียนมามากว่า 1.1 ล้านคน

ตั้งแต่เดือน ม.ค. ถึง 21 พ.ย.62 มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 1.1 ล้านคนเดินทางมาเมียนมาผ่านประตูชายแดนท่าขี้เหล็ก นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาจากประเทศไทย จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาถึงสนามบิน ท่าเรือ และประตูด่านชายแดนระหว่างเดือน ม.ค. ถึงเดือน ก.ย. ของปีนี้เพิ่มขึ้นกว่า 600,000 คนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในปี 61 เดือน ม.ค. ถึงเดือ ธ.ค. นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนกว่า 3.5 ล้านคน และ 3.4 ล้านคนในปี 60 ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ใช้ประตูชายแดนเพื่อเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/over-11-m-tourists-visit-myanmar-via-border

รายได้จากการส่งออกทางทะเลมากกว่า 110 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในรอบเดือนนี้

เมียนมามีรายรับมากกว่า 110 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกสินค้าทางทะเลในช่วงเวลาหนึ่งเดือนของปีงบประมาณนี้มากกว่า 18 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันก่อน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ถึง 8 พ.ย.ในปี 62-63 มูลค่าการส่งออกทางทะเล 114.582 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ปีที่แล้วมีมูลค่า 95.949 ล้านเหรียญสหรัฐฯ :ซึ่งมากกว่า 18.578 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปัจจุบันปริมาณของสินค้าทางทะเลรวมถึง ปลา และกุ้งส่งออกน้อยกว่าของประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นจำเป็นต้องปรับปรุงระบบการทำฟาร์มมากกว่าการใช้วิธีจับตามธรรมชาติ ด้วยความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากอินโดนีเซีย ไต้หวัน และจีน กำลังสร้างฟาร์มปลา โรงงานอาหารปลา และโรงงานห้องเย็นโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเป้าหมายในการสร้างรายได้สูงถึง 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีแผนที่จะให้สินเชื่อ SME เพื่อช่วยในการจัดหาพื้นที่ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาและกุ้ง

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/over-110-m-earned-from-marine-export-in-a-month

IFD หนุนฟื้นเอฟทีเอไทย-อียู หวังดัน “จีดีพีไทย” โต1.63%

พาณิชย์ชง กนศ.ฟื้น FTA ไทย-อียูสุดคุ้ม ดัน GDP โต 1.63% แต่ยังต้องรอบคอบ 3 ประเด็น ระหว่างงานสัมมนาเผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง “ผลกระทบจากการจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป” (FTA ไทย-อียู) ซึ่งกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (ไอเอฟดี) จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่กรมจะนำผลการศึกษานี้เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) และคณะรัฐมนตรีพิจารณาฟื้นการเจรจาเอฟทีเอ ผลศึกษาสรุปว่า หากลดภาษีนำเข้าสินค้าทุกรายการ จะส่งผลให้จีดีพีไทยขยายตัว 1.63% การส่งออกเพิ่มขึ้น 3.43% การนำเข้าเพิ่มขึ้น 3.42% การลงทุนเพิ่มขึ้น 2.74% ตลอดจนตัวเลขด้านเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น สวัสดิการสังคมเพิ่มขึ้น 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ การบริโภคครัวเรือนเพิ่มขึ้น 1.32% ขณะที่เงินเฟ้อลดลง 0.41% และจำนวนคนจนลดลง 3.9 แสนคน โดยสินค้าที่จะได้ประโยชน์ เช่น ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์อาหารอื่น ๆ เคมีภัณฑ์ ยาง และพลาสติก เป็นต้น ส่วนสาขาอาจจะได้รับผลกระทบ เช่น น้ำตาล ผัก ผลไม้ และถั่ว เป็นต้น ประเด็นที่อียูขอให้ยืดอายุสิทธิบัตรชดเชยความล่าช้าในการขึ้นทะเบียนยา ไม่ควรเกิน 2 ปี จากอายุการคุ้มครองสิทธิบัตร 20 ปี หรือจำกัดระยะเวลาขอบเขตความล่าช้าที่เหมาะสม การให้อิสระในการกำหนดกฎหมายภายใน ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนายาร่วมกัน รวมถึงการขยายระยะเวลาคุ้มครองลิขสิทธิ์หลังผู้สร้างสรรค์สิ้นชีวิตอีก 50 ปี สำหรับมาตรการเยียวควรช่วยเหลือค่ายาสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย โดยขยายระบบประกันสังคม การตั้งกองทุนเพื่อเยียวยาผลกระทบ รวมถึงการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ ส่งเสริมธุรกิจการทดสอบมาตรฐานสินค้า เป็นต้น

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-394635

รัฐมั่นใจ อีอีซี ดันไทยผงาดเอเชีย

สุริยะ เร่งเดินหน้า อีอีซี ดึงทุกภาคส่วนร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาเศรษฐกิจ ให้ประเทศพ้นปัจจัยลบเศรษฐกิจโลกผันผวนย้ำ อีอีซี คือความหวังดันไทยผงาดภูมิภาคเอเชีย ขณะที่ อุตตม กล่าวถึงนักลงทุนทั้งไทย-ต่างประเทศต่างสนใจลงทุนภายในประเทศ มั่นใจเป็นโอกาสและจุดเปลี่ยนประเทศ ด้าน ณัฏฐพล เร่งแผนผลิตบุคลากรป้อน อีอีซี โดยนายสุริยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในงานสัมมนา “EEC NEXT: ทุนไทย-เทศ ปักหมุด EEC” หัวข้อ “ดึงอุตสาหกรรม เป้าหมายลงพื้นที่ EEC” ถึงสถานการณ์การแข่งขันทางการค้าและระบบเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมาที่สงครามการค้าระหว่างประเทศ ยักษ์ใหญ่อย่างจีนและสหรัฐ ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องส่งผลให้การส่งออกในภาพรวมของโลกชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่มั่นใจว่า อีอีซี จะช่วยยกระดับเศรษฐกิจไทยได้ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีความได้เปรียบในการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค และเป็นจุดยุทธศาสตร์ด้านโลจิสติกส์ ที่เป็นประตูสู่เชื่อมต่อไปยังประเทศเศรษฐกิจ

ที่มา : นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 พ.ย. 2562

เนื้อหมูขึ้นราคา ทำให้ต้นทุนอาหารพุ่งสูงขึ้น

ราคาเนื้อหมูปรับตัวสูงขึ้น เป็นผลจากการระบาดของโรคไข้หวัดหมูแอฟริกา ส่งผลให้แนวโน้มราคาอาหารขยับเพิ่มขึ้นในซูเปอร์มาร์เก็ตและภัตตาคาร โดยจากแหล่งสำรวจของสำนักข่าวเวียดนาม “VnExpress” เปิดเผยว่าราคาผลิตภัณฑ์เนื้อหมูซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารในนครโฮจิมินห์ ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 5-25 ตัวอย่างเช่น ราคาไส้กรอกเนื้อหมูเพิ่มขึ้นจาก 120,000 ด่องต่อกิโลกรัม (5.2 ดอลลาร์สหรัฐ) ขยับมาเป็น 150,000 ด่องต่อกิโลกรัม (6.5 ดอลลาร์สหรัฐ) เป็นต้น ประกอบกับราคาข้าวและก๋วยเตี๋ยวที่มีส่วนประกอบจากเนื้อหมูก็มีต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 30,000 ด่อง ซึ่งทางเจ้าของร้านอาหารในนครโฮจิมินห์ กล่าวว่าไม่สามารถขึ้นราคาได้อีกแล้ว ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสรรหาเนื้อหมูที่มีขนาดเล็กลง และหาซัพพลายเออร์ที่ราคาถูกลง ทั้งนี้ จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) ระบุว่าราคาเนื้อหมูปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 19 ในช่วงตั้งแต่เดือนพ.ย. ปีที่แล้ว และอาจเพิ่มขึ้นอีกในสิ้นปีนี้ รวมถึงคาดว่าจะขาดแคลนเนื้อหมูกว่า 200,000 ตัน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/pork-price-hikes-drive-up-related-food-costs-406471.vov

บริษัทอีคอมเมิร์ซ “เซนโด” ระดมทุนไปกว่า 61 ล้านเหรียญสหรัฐ

เซนโด (Sendo) เป็นผู้ให้บริการด้านไอทีใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยการมุ่งเน้นไปยังเมืองใหญ่ในระดับ “Tier 2” ประกอบกับเป็นแหล่งตลาดช้อปปิ้งออนไลน์ที่มีผู้เยี่ยมชนมากที่สุดในอันดับที่ 2 ของอีคอมเมิรซ์ในเวียดนาม ด้วยการระดมแหล่งเงินทุนในระดับ “Series C” ไปกว่า 61 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจากการแถลงข่าวของบริษัทเซนโด ในวันพุธที่ผ่านมา เปิดเผยว่าการลงทุนดังกล่าว มาจากผู้ถือหุ้นรายเดิมและนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงกองทุนอินโดนีเซีย EV Growth และกลุ่มเครือธนาคารกสิกรไทย ซึ่งการระดมทุนในครั้งนี้ จะนำมาขยายแพลตฟอร์มแบบบูรณาการ รวมถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 3/2562 เซนโดแซงหน้าคู่แข่งอย่าง Tiki ที่อยู่ในอันดับที่ 2 ของตลาดอีคอมเมิรซ์เวียดนามที่มีผู้เยี่ยมชมมากที่สุด ขณะที่ ช้อปปี้ (Shopee) ยังคงขึ้นแท่นผู้นำในประเทศอยู่

https://english.vov.vn/economy/ecommerce-firm-sendo-nets-61-mln-in-latest-funding-round-406468.vovที่มา :

เมียนมาอนุญาตเพิ่มวงเงินการลงทุนในระดับภูมิภาค

กระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศเผย คณะกรรมการการลงทุนของภูมิภาคและรัฐสามารถเพิ่มการลงทุนในโครงการพัฒนาระดับภูมิภาคได้ จากเดิมที่มีอำนาจการลงทุนสูงสุด 5 ล้านเหรียญสหรัฐและ 6 พันล้านจัต และถ้าหากจำนวนมากกว่านี้ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม MIC จะเพิ่มจำนวนเงินหากการลงทุนนั้นมีไว้เพื่อการพัฒนา ตัวอย่างคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการก่อสร้างถนนและโทรคมนาคมนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงและต้องใช้วงเงินจำนวนมาก หากสามารถทำได้จะพัฒนาภาคธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามนโยบายของคณะกรรมการด้านลงทุนและบริหารบริษัท (DICA) รัฐและภูมิภาคได้รับอนุญาตให้ตั้งคณะกรรมการการลงทุนเพื่อกำกับดูแลและปรับปรุงการลงทุน ในขณะเดียวกันก็ต้องส่งข้อมูลกลับไปยัง MIC

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/approval-investment-limits-can-be-raised-official-says.html