เกษตรกรเลี่ยงชำระเงินกู้ตั้งแต่ปี 55

เกษตรกรที่เป็นหนี้เงินกู้ธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตรของเมียนมา (MADB) จำนวน 200 พันล้านจัต ยังไม่ได้ชำระตั้งแต่ปี 55 ส่วนใหญ่มาจากจังหวัดอิรวดี พะโค และย่างกุ้ง ปัจจุบันการออมลดลงต่ำมากขณะที่สินเชื่อเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบพบว่ามีเงินฝาก 77 พันล้านจัต แต่เงินกู้ยืมรวมทั้งสิ้น 1.7 ล้านล้านจัตในปีงบประมาณ 61-62 เหตุผลหนึ่งที่เกษตรกรเลี่ยงการชำระคือ การชำระหนี้เจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงกว่า MADB ที่มีอัตราดอกเบี้ยเพียง 8% ขณะเดียวกันสภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้ยากที่จะรักษาคุณภาพและผลผลิตไม่คงที่ ซึ่งส่งผลให้รายได้ผันผวนตลอดหลายปี และการขาดแรงงานรุ่นใหม่ๆ ที่หลั่งไหลไปทำงานในต่างประเทศแทน MADB ได้ขยายการชำระคืนเงินกู้ในเดือน ต.ค. – ธ.ค. ปีที่แล้วจนถึงเดือน มิ.ย. – ก.ย. ที่ผ่านมา ทั้งการที่ธนาคารปล่อยเงินกู้มากขึ้น เช่น เกตรกรผู้ปลูกข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 150,000 จัต จาก 100,000 จัต ขณะเดียวกันเกษตรกรที่ปลูกพืชอื่น ๆ สามารถกู้เพิ่มขึ้นสองเท่าเป็น 100,000 จัต ปัจจุบัน MADB ให้สินเชื่อแก่เกษตรกรตาม 3 ฤดูการเพาะปลูกหลัก ได้แก่ มรสุม ก่อนมรสุม และฤดูหนาว

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/farmers-have-shirked-loan-repayments-2012.html

การสูญเสียข้าวสาเหตุให้เกิดการขาดแคลนในประเทศ

พื้นที่ปลูกข้าว 105,206 เฮกตาร์ถูกทำลายคิดเป็น 13% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด เนื่องจากน้ำท่วมในช่วงฤดูฝนของปีนี้ซึ่งสปป.ลาวจะไม่บรรลุเป้าหมายการผลิตปี 62 ที่ 4.4 ล้านตันได้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้  กล่าวว่าปัญหาน้ำท่วมรวมถึงปัญหาน้ำประปาทำให้กระทรวงลดการคาดการณ์การผลิตข้าวจาก 4.4 ล้านเป็น 3.5 ล้านตัน จากการสูญเสียพื้นที่เพาะปลูกโดยแขวงสะหวันนะเขตได้รับผลกระทบมากที่สุด นอกจากนี้บางพื้นที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำหรือได้รับผลกระทบจากการระบาดของแมลงซึ่งทำให้พืชเสียหาย 1,200 เฮกตาร์อย่างไรก็ตามกระทรวงจะใช้งบประมาณของรัฐบาลจำนวน 352.9 พันล้านกีบ เพื่อสนับสนุน 288 โครงการในการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก 900,000 เฮกตาร์ และตั้งเป้าเพิ่มผลผลิตในฤดูฝนถัดไป อีกทั้งมีเป้าหมายการส่งออก 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีหน้า นอกจากนี้มีการคาดการณ์จะเกิดความแห้งแล้ง อุทกภัยที่รุนแรงโดยผลผลิตอาจลดลง 10% ในปี 63 และ 30% ในปี 93 สิ่งนี้อาจส่งผลต่อความมั่นคงด้านอาหารซึ่งรัฐบาลกำลังทำงานกับองค์กรพัฒนาเอกชนในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดในอนาคต

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/rice-losses-causing-harvest-shortfall-minister-tells-na-108699

NA ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเรื่องความล่าช้าในการส่งออกพืชผล

ประธานสมัชชากล่าวถึงกรณีปัญญาความล่าช้าในการส่งออกพืชผลที่ด่านจังหวัดจำปาสัก โดยได้ถามไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้านายเข็มมะนี พลเสนาในระหว่างการประชุม NA โดยคุณปานีได้ยกกรณีของเหตุการณ์ที่ด่านระหว่างประเทศวังเวียง – ช่องเม็ก ระหว่างจำปาสักและจังหวัดอุบลราชธานีในประเทศไทย เมื่อเจ้าหน้าที่ใช้เวลาประมาณ 9 ชั่วโมงในการออกใบอนุญาตแก่ผู้ประกอบการ จากกรณีดังกล่าวผู้ประกอบการชี้ให้เห็นว่าการล่าช้าที่ยาวนานเช่นนี้อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของพืชผลที่ขนส่งได้ จากกรณีดังกล่าวรัฐมนตรีกล่าวว่าการส่งออกสินค้านั้นต้องผ่านการตรวจจากเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ จุดตรวจจึงอาจเกิดความล่าช้าในตอนนี้อยู่ระหว่างการแก้ไข โดยปัญหาดังกล่าวรองนายกรัฐมนตรี ได้ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้มีการจัดโซนตรวจสินค้าเฉพาะเพื่อลดความล่าช้า นอกจากประเด็นดังกล่าวได้มีการเรียกร้องเกี่ยวกับการควบคุมราคาที่เขตแดนรวมถึงการนำเข้ายานพาหนะหรูหรา โดยรัฐบาลได้สั่งให้กระทรวงการคลังและภาคส่วนอื่น ๆดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆทั้งนี้รัฐมนตรีได้ให้คำสํญญาในการแก้ปัญหาและจะรายงานในภายหลัง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/na-questions-trade-minister-over-border-delays-crop-exports-108700

กัมพูชาวางแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในประเทศ

รัฐบาลได้เปิดตัวกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในกัมพูชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มรายได้จากภาคการท่องเที่ยวในขณะที่ปรับปรุงวิถีชีวิตของชุมชนในชนบทและช่วยปกป้องทรัพยากรภายในประเทศ ซึ่งรัฐบาลวางแผนนโยบายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศไว้ในปี 2562-2573 ในการประชุมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนชุมชนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในประเทศเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวของกัมพูชา ซึ่งมีกระทรวงการท่องเที่ยว กระทรวงสิ่งแวดล้อม และกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยชุมชนได้รับประโยชน์จากการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ซึ่งเป็นการดีที่กระทรวงจะเน้นการพัฒนาชุมชนเหล่านี้ให้เป็นผู้ให้บริการการท่องเที่ยว เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงชุมชนมากขึ้น โดยรัฐบาลจะต้องทำงานร่วมกับผู้ประกอบการท่องเที่ยว คู่ค้าเพื่อการพัฒนาและคนในท้องถิ่น ซึ่งกัมพูชาได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ 4.8 ล้านคน ในช่วงเก้าเดือนแรกของปีเพิ่มขึ้น 10% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50662325/plan-to-boost-ecotourism-launched/

กัมพูชาขอความช่วยเหลือจากญี่ปุ่นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่

รัฐบาลกัมพูชาได้ขอให้ญี่ปุ่นร่วมช่วยในการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและงานสาธารณะภายในประเทศในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 25 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม โดยพูดถึงการลงทุนในภาคการก่อสร้างระบบการขนส่งอัตโนมัติหรือ AGT สำหรับเมืองหลวงของกัมพูชาได้ดำเนินการไปอย่างช้าๆส่วนหนึ่งเป็นเพราะขาดเงินทุนในการก่อสร้างจากนักลงทุนในการดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งระบบ AGT จะช่วยบรรเทาปัญหาจราจรติดขัดภายในเขตเมือง โดยมีต้นทุนในการก่อสร้างอยู่ที่ประมาณ 800 ล้านเหรียญสหรัฐ รวมถึงรัฐบาลกำลังตั้งสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเพื่อลดความแออัดภายในเขตเมือง ซึ่งสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ AGT ในขณะที่บริษัทสองแห่งจากจีนกำลังดำเนินโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยวและรถไฟฟ้าใต้ดินภายในกรุงพนมเปญ โดยประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในผู้ให้ความช่วยเหลือกัมพูชาที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาได้รับเงินช่วยเหลือจำนวน 135 ล้านเหรียญสหรัฐจากญี่ปุ่นซึ่งอยู่ในรูปของเงินช่วยเหลือและเงินกู้ยืมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50662323/assistance-from-japan-sought-as-kingdom-mulls-new-big-ticket-projects/

หนุนอีเพย์เมนต์อาเซียน

ประธานสำนักระบบชำระเงิน สมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่าในปี 63 มีแผนสนับสนุนธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศภายในอาเซียน ภายใต้แผน 3 ปีโครงการพัฒนาระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะการให้บริการโอนเงินและการใช้จ่ายผ่านคิวอาร์โค้ดระหว่างประเทศ ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน คาดว่าจะเริ่มเห็นการให้บริการดังกล่าวชัดเจนขึ้นช่วงกลางปี 63 ซึ่งขณะนี้ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อม และพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับบริการนี้แล้ว ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่าธนาคารเตรียมให้บริการธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศในตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้น ทั้งการโอนเงินและการใช้จ่ายผ่านคิวอาร์โค้ด หลังจากที่ผ่านมาได้เปิดใช้คิวอาร์โค้ดระหว่างไทยกับสิงคโปร์ไปแล้ว ในปีนี้คาดว่าจะเปิดให้บริการเพิ่มเติมระหว่างไทยและกัมพูชา และเปิดให้บริการระหว่างไทยและสปป.ลาวในไตรมาส 1 ปี 63 ทั้งนี้ ธนาคารยังได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารกลางเมียนมา ให้เป็นผู้ชำระราคาระหว่างเงินบาทและเงินจ๊าด ซึ่งธนาคารจะขยายธุรกรรมการโอนเงินและการใช้จ่ายผ่านคิวอาร์โค้ดระหว่างไทยกับเมียนมาต่อไป นอกจากนี้ธนาคารมีแผนขยายการให้บริการไปทั่วอาเซียนและอยู่ระหว่างเจรจากับประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งในช่วงเริ่มต้นจะเน้นตลาดสิงคโปร์และ CLMV เป็นหลัก ตามความพร้อมและโอกาสทางธุรกิจ โดยการโอนเงินระหว่างประเทศจะเน้นประเทศเพื่อนบ้านที่มีแรงงานในไทยและต้องการส่งเงินกลับบ้าน ส่วนการใช้จ่ายผ่านคิวอาร์โค้ดจะเน้นกลุ่มนักท่องเที่ยวและร้านค้าเป็นหลัก

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 21 พ.ย. 2562 (กรอบบ่าย)

นักลงทุนต่างชาติได้รับอนุญาตเข้าถือหุ้นสายการบินเวียดนาม 34%

เมื่อเร็วๆนี้ นายกรัฐมนตรีได้ลงนามเกี่ยวกับการเข้าถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติที่เข้าไปลงทุนและเจ้าของกิจการสายการบิน จากเดิมอยู่ในอัตราร้อยละ 30  แต่ปัจจุบันเพิ่มขึ้นอยู่ในอัตราร้อยละ 34 ด้วยพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 89/2019/ND-CP แก้ไขปรับปรุงจากพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 92/2559 ประกอบกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสายการดำเนินธุรกิจสายการบิน และกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ซึ่งการร่างพระราชกฤษฎีกาของกระทรวงคมนาคม ในหัวข้อความเป็นเจ้าของใหม่ของนักลงทุนต่างชาติ ไม่เพียงแต่จะดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผลประโยชน์ของนักลงทุนในประเทศอีกด้วย โดยการลดเงื่อนไขของธุรกิจให้ง่ายขึ้นและเอื้ออำนวยแก่นักลงทุนที่เข้ามาทำธุรกิจสายการบิน ซึ่งในแง่ของการบริหารการบิน จะต้องใช้เงินลงทุนขั้นต่ำ 100 พันล้านด่อง ทั้งนี้ พระราชกฤษฎีกาจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม   พ.ศ.2563

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/foreign-investors-permitted-to-hold-34-percent-stake-at-vietnamese-airlines-406400.vov

เวียดนามเผยยอดส่งออกปลาหมึกพุ่งสูงขึ้นไปยังตลาดสหรัฐฯ ในปี 2562

จากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่ามูลค่าการส่งออกปลาหมึกในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 จะสูงถึง 11.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 63.7 ซึ่งสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ปลาหมึกแห่ง ปลาหมึกหมัก ปลาหมึกแช่เย็นแช่แข็ง และปลาหมึกแปรรูป เป็นต้น ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำเข้าปลาหมึกรายใหญ่ อยู่อันดับที่ 6 ของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.7 ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้นในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเมื่อเกิดสถานการณ์กดดันทางการค้าสหรัฐฯ และจีน  ทำให้สหรัฐฯ ต้องเพิ่มอัตราภาษีในกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ปลาหมึกที่มาจากจีน ขณะเดียวกัน นับว่าเหตุการณ์ดังกล่าว จะสร้างโอกาสทางการค้าแก่เวียดนาม

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-export-of-squid-octopus-to-us-surges-in-2019-406397.vov

โครงการที่จะนำการเปลี่ยนแปลงสู่ฝั่งแม่น้ำของซิตตเวในปีหน้า

ซีอีโอ BXT International Co (BXT) บริษัทพัฒนาแห่งเกาหลีใต้กล่าวว่าโครงการพัฒนาริมน้ำที่หลากหลายตามแนวแม่น้ำกาลาดานในเมืองซิตตเว ของรัฐยะไข่ ตอนนี้คืบหน้าไป 90% แล้ว ส่วนที่เหลือคือการสร้างถนน ท่อระบายน้ำ และโครงข่ายพลังงาน โครงการพัฒนาฝั่งแม่น้ำของซิตตเว ประกอบไปด้วยหน่วยงานราชการ เขตอุตสาหกรรม โรงแรมและร้านค้าต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 เฟสบนพื้นที่ 36 เฮคเตอร์ใกล้กับตลาดเมียวมาและท่าเรือ ในเฟส 3 เป็นการพัฒนาอาคารพาณิชย์โดยความร่วมมือกับบริษัทของสหรัฐอเมริกาเมื่อได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) จะมีการสร้างทั้งหมด 70 รายการ เนื่องจากรัฐยะไข่เป็นหนึ่งในรัฐที่มีการพัฒนาน้อยที่สุดรัฐบาลจึงได้ยกเว้นภาษีเป็นเวลา 7 ปี แม้จะห่างไกลและยากจนแต่ซิตตเวมีความปลอดภัย สวยงาม และเหมาะสมสำหรับการลงทุน ถึงแม้จะมีปัญหาในรัฐยะไข่ โครงการนี้รัฐถือหุ้น 30% ซึ่งผู้ซื้อหลังจากทำการดาวน์ 20% และ BXT จะยกเว้นดอกเบี้ยให้ถ้าสามารถชำระคืนทั้งหมดภายใน 2 ปี

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/project-bring-changes-sittwes-waterfront-next-year.html

กระทรวงการก่อสร้างเดินหน้าโครงการที่พักให้เช่าราคาถูกสำหรับพนักงาน

กระทรวงการก่อสร้างเริ่มดำเนินโครงการที่อยู่อาศัยราคาถูกใกล้กับเขตอุตสาหกรรมติว่า ในเขตเมืองตาน-ลยีน เขตการปกครองไลง์ตายา เขตการปกครอง Dagon Seikkan (Yoma) และโครงการที่อยู่อาศัยให้เช่าสำหรับพนักงานในเนปิดอร์ ภายในปีงบประมาณ 62-63 ที่พักจำนวน 7,300 หน่วยสำหรับข้าราชการถูกสร้างขึ้นในเนปิดอร์, ย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์ เป็นเวลาสามปีจากปีงบประมาณ 59-60 ถึง 61-62 ส่วนใหญ่อยู่ในมัณฑะเลย์ สามปีที่ผ่านมาได้สร้างที่พักอาศัย 520 แห่งในรัฐคะฉิ่น 318 แห่งในรัฐกะยา 150 แห่งในรัฐกะเหรี่ยง 162 รัฐชิน 1,262 แห่งในเขตซะไกง์ 252 แห่งในเขตตะนาวศรี 672 ในเขตพะโคะ 552 ในเขตมะกเว 1,530 ในมัณฑะเลย, 252 ในรัฐมอญ 666 ในรัฐยะไข่ 732 ในรัฐฉาน และ 224 ในเขตอิระวดี ตั้งแต่ปี 60 -62 ได้ขาย 8,416 หน่วยให้กับเจ้าหน้าที่บริการและคนที่มีรายได้น้อยในเมืองใหญ่รวมถึงย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และเนปิดอว์ นอกจากนี้ยังมีแผนการผ่อนชำระด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งการให้สินเชื่อมีไว้สำหรับผู้ซื้อที่ผ่านเกณฑ์ขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) และความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA)

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/construction-ministry-continues-implementing-low-cost-staff-rental-housing-projects