ผู้เชี่ยวชาญสปป.ลาวเน้นความสำคัญของนวัตกรรมเทคโนโลยี

เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล นักวิจัย นักเรียนและบุคคลจากภาคเอกชนรวมตัวกันเพื่อหารือเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาในยุคอุตสาหกรรม 4.0 การสัมมนาหัวข้อ“Science, Technology and Innovation in the I.R 4.0” การบรรยายครั้งนี้จัดขึ้นในการประชุมเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 3 และนิทรรศการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสปป.ลาว – ​​จีน จุดประสงค์คือเพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจในบทบาทความสำคัญและการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมในยุคอุตสาหกรรม 4.0 และการสนับสนุนนักวิจัยเพื่อให้แน่ใจคุณภาพงานและการให้บริการ นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่จะต้องให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและเพื่อขยายความร่วมมือกับรัฐบาลภาคเอกชนและองค์กรในสปป.ลาวและประเทศอื่น ๆ เพื่อรักษาความปลอดภัยการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องสร้างความตระหนักของสาธารณชนถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Experts.php

สปป.ลาว-จีน ร่วมมือในการควบคุมคุณภาพของการส่งออกสินค้าเกษตร

บันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกได้ลงนาม โดยอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ และ the Chairman of Yunnan Yuzhan Agriculture Development Co., Ltd ทั้งสองฝ่ายจะสร้างห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการทดสอบสุขอนามัยพืชและสัตว์และศูนย์ฝึกอบรมแบบบูรณาการรวมทั้งจัดนิทรรศการสินค้าเกษตร เจ้าหน้าที่จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในการตรวจสอบพืช สัตว์และผลิตภัณฑ์จากพืช รวมถึงมาตรฐานด้านสุขอนามัยของผลิตภัณฑ์ที่ถูกกฎหมาย โครงการดังกล่าวจะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสปป.ลาวและจีนและอำนวยความสะดวกในการส่งออกพืช สัตว์และผลิตภัณฑ์พืชไปยังจีน นอกจากนี้ยังจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจการเกษตรของทั้ง 2 ประเทศรวมถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมและส่งผลให้คนในท้องถิ่นมีรายได้มากขึ้น ซึ่งความร่วมมือนี้จะยกระดับมาตรฐานการเกษตรในประเทศสปป.ลาวและสร้างความมั่นใจว่าสินค้าเกษตรมีคุณภาพดีขึ้น

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos228.php

ปริมาณการขนส่งสินค้าในกัมพูชาเพิ่มขึ้น 18% ที่ PAS

ปริมาณการขนส่งสินค้าที่ Sihanoukville Autonomous Port (PAS) ซึ่งเป็นท่าเรือน้ำลึกแห่งเดียวของประเทศเพิ่มขึ้น 18% ในช่วงเก้าเดือนแรกของปีเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยประธานสมาคมผู้ขนส่งสินค้ากัมพูชา (CAMFFA) กล่าวว่าการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยสิ่งทอและสินค้าเกษตร ซึ่งสังเกตว่าการเติบโตในภาคการขนส่งเป็นผลมาจากประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของกัมพูชา โดยการนำเข้าและส่งออกของกัมพูชาอยู่ที่ประมาณ 70% ได้ทำการส่งผ่านท่าเรือและกำลังทำการก่อสร้างพื้นที่แห่งใหม่ด้วยการลงทุนประมาณ 203 ล้านเหรียญสหรัฐที่มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2566 จะช่วยเพิ่มพื้นที่จัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์ของท่าเรือเป็น 900,000 TEUs ต่อปี ซึ่งโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลญี่ปุ่นผ่านสัญญาเงินกู้ช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) โดยลงนามกับรัฐบาลกัมพูชาไว้ในปี 2560 ซึ่งในปี 2561 มีจำนวน 541,288 TEUs ผ่าน PAS ซึ่งเพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในปี 2563 คาดว่าปริมาณของตู้สินค้าที่ผ่านท่าเรือจะเกินกว่า 700,000 TEUs

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50651165/cargo-traffic-up-18-pct-at-pas-ceo/

เปิดตัวหอการค้าจีนในสีหนุวิลล์

หอการค้าแห่งใหม่ของจีนเปิดทำการในเมืองสีหนุวิลล์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยหอการค้าแห่งใหม่ของจีนตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ (SSEZ) นำโดย Chen Jiangang ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานของหอการค้าจีน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและการฝึกอาชีพกล่าวยกย่องการเคลื่อนไหวของจีนในครั้งนี้และเชื่อว่าจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศและส่งเสริมการลงทุนของจีนในพื้นที่ชายฝั่งของกัมพูชามากขึ้น ซึ่งหอการค้าจีนจะมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและส่งเสริมกัมพูชาให้กับนักลงทุนจีนที่สนใจที่จะลงทุนในกัมพูชา โดยจีนยังคงเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในกัมพูชาตามรายงานล่าสุดจากสภาเพื่อการพัฒนาประเทศกัมพูชา ซึ่งจีนถือเป็นยักษ์ใหญ่ในเอเชียตะวันออกลงทุนไปกว่า 7.8 พันล้านเหรียญสหรัฐตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคมคิดเป็นกว่า 35% ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50651144/china-chamber-of-commerce-opens-in-sihanoukville/

ปตท.สนใจส่งออกน้ำมันดิบของกัมพูชาในอนาคต

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แสดงความสนใจในการส่งออกน้ำมันดิบจากประเทศกัมพูชา โดยอธิบดีกรมปิโตรเลียมของกัมพูชากล่าวว่าบริษัทมีความกระตือรือร้นที่จะส่งออกน้ำมันดิบของกัมพูชา ซึ่งอยู่ในระหว่างการเจรจาเบื้องต้นกับกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน โดยปตท.อาจจะทำการหารือกับ บริษัท KrisEnergy เผื่อในอนาคตอาจจะได้ร่วมงานกันหลังจาก KrisEnergy เริ่มสกัดน้ำมันดิบจากแหล่งน้ำมัน Apsara เป็นครั้งแรก ซึ่ง KrisEnergy เป็นบริษัทจากทางประเทศสิงคโปร์ทำการสำรวจน้ำมันและก๊าซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยกำลังพัฒนา Block A ในบ่อน้ำมัน Apsara และคาดว่าจะมีการสกัดน้ำมันดิบครั้งแรกในปลายปีนี้หรือต้นปี 2563 ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเหมืองแร่และพลังงานพบกับตัวแทนของปตท.ที่กรุงพนมเปญและได้หารือเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในอุตสาหกรรมพลังงานและการพัฒนาน้ำมันของกัมพูชา แต่อย่างไรก็ตามน้ำมันดิบจะไม่ถูกกลั่นในประเทศและจะถูกขายในรูปแบบของน้ำมันดิบเท่านั้นเนื่องจากกัมพูชาขาดสิ่งอำนวยความสพดวกในการผลิต โดยเมื่อปีที่แล้วกัมพูชานำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 2.5 ล้านตันเพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50650625/ptt-keen-to-export-cambodian-crude-in-future/

การลงทุนในกัมพูชาพุ่งสูงขึ้นในปีนี้

สภาเพื่อการพัฒนาของกัมพูชา (CDC) ประกาศว่าได้อนุมัติโครงการลงทุนไปกว่า 831 โครงการด้วยเงินลงทุนทั้งสิ้น 22.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่ปี 2559 ถึงสิงหาคม 2562 ตามรายงานล่าสุด โดยรายงานเพิ่มเติมว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปีมีการอนุมัติโครงการลงทุนกว่า 222 โครงการมูลค่ารวม 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจำนวนโครงการการลงทุนและมูลค่าการลงทุนยังคงเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปีมีการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นประมาณ 94% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ในทางตรงกันข้ามการลงทุนในภาคเกษตรและโครงสร้างพื้นฐานกลับชะลอตัวลง ซึ่งจีนก็ยังคงเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในกัมพูชาซึ่งคิดเป็น 56% ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งหมด ในช่วงแปดเดือนแรกของปีลงทุนไปกว่า 7.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (35% ของการลงทุนทั้งหมด) ตามด้วยญี่ปุ่น (7.8%), เวียดนาม (2.9%), สิงคโปร์ (1.8 %), เกาหลีใต้ (1.7%), มาเลเซีย ( 1.36%) และประเทศไทย (0.9%)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50650679/cdc-approves-6bln-in-investment-projects-in-first-eight-months-of-the-year/

เวียดนามจะเปิดตัวเทคโนโลยี 5G ในสปป.ลาว

เวียดนามจะเริ่มให้บริการทดลองใช้ 5G ในสปป.ลาวโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการเต็มรูปแบบใน 4 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Viettel ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ตามรายงานข่าวสมาชิกกลุ่ม Viettel Unitel เป็นผู้ดำเนินการรายแรกที่เสนอเทคโนโลยี 5G ในสปป.ลาว มีสถานีฐาน 3G และ 4G 6,000 แห่งครอบคลุม 95% ของประเทศ มากกว่าครึ่งตลาดในประเทศที่มีประมาณ 3 ล้านราย ในเดือนกุปีนี้ Unitel ได้ช่วยแนะนำ SIM ให้กับสปป.ลาวซึ่งทำให้ประเทศติดอันดับที่ 7 จาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนในด้านบริการโทรคมนาคมขั้นสูง ซึ่ง 5G จะเปลี่ยนอุตสาหกรรมตามแนวตั้งจำนวนมาก รวมถึงภาคขนส่ง การดูแลสุขภาพและภาคเกษตรกรรม จะพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ที่ผลิตอุปกรณ์เป็น พันล้านและจะเปิดใช้งานนวัตกรรมในเกือบทุกอุตสาหกรรมสร้างการเชื่อมต่อที่ไม่จำกัด

ที่มา : https://www.opengovasia.com/vietnam-to-launch-5g-technology-in-laos/

WEF : เอเชียตะวันออกและแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก

จากรายงานของเวิร์ล อีโคโนมิกส์ ฟอร์ม (World Economic Form : 2019) เปิดเผยว่าดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก ซึ่งกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกเป็นภูมิภาคทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าภูมิภาคอื่นๆ ด้วยคะแนนสารสนเทศมากที่สุด โดยประเทศสิงคโปร์ขึ้นแท่นเป็นอันดับที่ 1 ของโลก เป็นประเทศที่ได้คะแนนสูงที่สุด (84.8/100) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านความมั่งคงในเศรษฐกิจมหภาค ระบบการเงิน และประสิทธิภาพของตลาด เป็นต้น ทางด้านข้อมูลของประเทศเวียดนามที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดสูงที่สุดในโลก ทำให้อันดับขยับเพิ่มขึ้นได้ถึง 10 อันดับ มาขึ้นเป็นอยู่ในอันดับที่ 67 ของโลกในปีนี้ เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเช่น ประเทศกัมพูชา (อันดับ 106) สปป.ลาว (อันดับ 113) ซึ่งการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศมีนับสำคัญต่อการจัดอันดับข้างต้น

ที่มา :  https://vietnamnews.vn/economy/536849/wef-east-asia-pacific-the-worlds-most-competitive-regional-economy.html#voVbdo0if7cB2tIC.97

เวียดนามเผยการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มพุ่งสูงขึ้น 10.4% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 62

จากรายงานสถิติของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MOIT) เปิดเผยว่ายอดการส่งออกเสื้อผ้าและสิ่งทอเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ด้วยมูลค่าประมาณ 24.77 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 โดยสถานการณ์ผันผวนทางเศรษฐกิจทั่วโลก และความท้าทายของผู้ประกอบการสิ่งทอในประเทศต่อการดำเนินธุรกิจ ทำให้ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ราคาสินค้าที่เอาท์ซอร์ซนั้นเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มภูมิภาคเดียวกัน ได้แก่ เกาหลีใต้ และจีน เป็นต้น ในขณะที่ การใช้จ่ายของเส้นใยและวัตถุดิบสิ่งทอประสบปัญหา เนื่องมาจากประเทศจีนเป็นแหล่งตลาดส่งออกรายสำคัญของประเทศ ซึ่งได้ลดการนำเข้า ในขณะเดียวกัน เสื้อผ้าก็ได้รับผลกระทบจากยอดคำสั่งซื้อลดลง ซึ่งปัญหาดังกล่าวข้างต้น เกิดขึ้นมาจากความกังวลของผู้นำเข้าในประเทศนั้นๆ เกี่ยวกับสถานการณ์สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ที่ไม่มีท่าทีผ่อนคลายลง

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/textile-and-apparel-export-turnover-up-104-per-cent-in-nine-months-404623.vov

เมียนมาเตรียมสร้างเขตอุตสาหกรรมสิ่งทอในย่างกุ้งและมัณฑะเลย์

กระทรวงที่ดินจัดสรรพื้นที่เพื่อจัดตั้งเขตพิเศษที่สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินโครงการนำร่องสำหรับอุตสาหกรรมและกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งแผนกำลังดำเนินการตามนโยบายสิ่งทอระดับชาติด้วยความช่วยเหลือของ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอของเมียนมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (NES) กระทรวงพาณิชย์นำ NES ไปใช้กับ 11 ภาคส่วน ซึ่งครอบคลุมภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มโดยมีการดำเนินการโดย No (3) อุตสาหกรรมหนักภายใต้การจัดตั้งของคณะกรรมการกระทรวงอุตสาหกรรม

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/separate-plots-planned-to-establish-specialized-textile-and-garment-zones-in-yangon-mandalay