โรงไฟฟ้าถ่านหินแรกในเกาะกงของกัมพูชายังไม่ได้ข้อสรุป

นักลงทุนของโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งแรกในเกาะกงยังคงมองหาผู้ซื้อตามที่กระทรวงเหมืองแร่และพลังงานได้กล่าว โดยในปี 2560 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐเริ่มเจรจาเกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 2,400 เมกะวัตต์ในเกาะกง ซึ่งความคืบหน้าของโครงการหยุดชะงักเพราะก่อนหน้านี้นักลงทุนและผู้ซื้อไม่สามารถตกลงเงื่อนไขการซื้อได้ โดยโรงงานแห่งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า 3,600 เมกะวัตต์สำหรับตลาดในประเทศไทยในขณะที่ 200 ถึง 300 เมกะวัตต์จะถูกขายเพื่อการใช้งานในกัมพูชา ซึ่งกัมพูชาอนุญาตให้นักลงทุนทำการศึกษาความเป็นไปได้หาก บริษัทพบว่ามีศักยภาพในความเป็นไปได้ทางภาครัฐฯยินดีที่จะอนุญาตและสามารถเริ่มเจรจากับผู้ซื้อได้ โดยในกัมพูชามีโรงไฟฟ้าถ่านหินอยู่บ้าง อาทิเช่น บริษัท Cambodian Energy Co Ltd (CEL) ของมาเลเซียดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 50 เมกะวัตต์สองแห่งในจังหวัดพระสีหนุ บริษัท Han Seng Coal Mine Co Lte สร้างโรงงานผลิตถ่านหินขนาด 200 เมกะวัตต์ในจังหวัดอุดรมีชัย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50643517/koh-kongs-first-coal-fired-plant-up-in-the-air-ministry/

เวียดนามเผยยอดขายรถยนต์ดิ่งลง ในเดือนสิงหาคม

จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตยานยนต์เวียดนาม (VAMA) เปิดเผยว่าในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ยอดขายรถยนต์ลดลงร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว ด้วยปริมาณรถยนต์ 21,480 คัน ทางด้านยอดขายรถยนต์ทุกประเภทลดลงร้อยละ 21 โดยแบ่งออกเป็นประเภทยานยนต์ ดังนี้ รถยนต์ที่นั่ง (Passenger Car) รถยนต์เชิงพาณิชย์ (Commercial Ones) รถยนต์เฉพาะกิจ (Special use-vehicles) ลดลงร้อยละ 21, 12, และ 37 ตามลำดับ โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 ยอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หากแยกประเภทรถยนต์ พบว่ารถยนต์ที่นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ในขณะที่ ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ และรถยนต์ใช้งานเฉพาะด้าน (Special Purpose Vehicle) ลดลงร้อยละ 1.6 และ 28 ตามลำดับ ซึ่งบริษัทรถยนต์ “THACO” ประสบความสำเร็จในการขายรถยนต์ในช่วงเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 5,975 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.3 ของส่วนแบ่งการตลาดรวม รองลงมาโตโยต้า ฟอร์ด และฮอนด้า ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ยอดขายดังกล่าวไม่ได้สะท้อนถึงอำนาจในการซื้อยานยนต์ของประเทศ เนื่องจากตัวเลขดังกล่าวยังไม่ได้รวมยอดขายของผู้ผลิตรายอื่น ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของ VAMA นอกจากนี้ ภายในงานมอเตอร์โชว์ ปี 2562 นับว่าเป็นโอกาสอันดีของผู้บริโภคในการเลือกซื้อรถยนต์ที่มีชื่อเสียง และสามารถเข้าถึงการส่งเสริมการตลาดได้

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/automobile-sales-decrease-in-august-403009.vov

เวียดนามเผยยอดมูลค่าการส่งออกผักผลไม้ 2.53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลของสำนักงานเกษตรกรรมแปรรูป และการส่งเสริมการตลาด (Agrotrade) ภายใต้กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 มูลค่าการส่งออกผักผลไม้ของเวียดนามอยู่ที่ 2.53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งตั้งแต่เดือนมกราคมไปจนถึงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ประเทศจีนยังคงเป็นผู้นำเข้าผักผลไม้รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70.5 ของมูลค่าการส่งออกผักผลไม้ของเวียดนามโดยรวม ด้วยมูลค่า 1.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รองลงมาสหรัฐอเมริกาที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 ด้วยมูลค่า 84.07 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเกาหลีใต้ ตามลำดับ นอกจากนี้ ทางด้านสำนักงานเกษตรแปรรูปฯ (Agrotrade) คาดว่าสถานการณ์การส่งออกจะเผชิญกับอุปสรรคมากมาย เนื่องมาจากความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลก ความตึงเครียดของสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่มั่นใจของการค้าและการลงทุน เป็นต้น

ที่มา : https://en.nhandan.com.vn/business/item/7908002-fruit-veg-exports-reach-us$2-53-billion-in-eight-months.html

KB Kookmin พร้อมปล่อยสินเชื่อบ้านให้ผู้มีรายได้น้อย

ธนาคาร KB Kookmin ของเกาหลีใต้เข้าร่วมในการพัฒนาที่อยู่อาศัยของรัฐบาลสำหรับครัวเรือนที่มีรายได้น้อยในย่างกุ้ง มีการลงนามเพื่อสนับสนุนโครงการในระหว่างการมาเยือนของประธานาธิบดี มู แจ อิน ของเกาหลีใต้เมื่อเดือนที่แล้ว KB Kookmin วางแผนช่วยเหลือเงินทุนแก่ผู้อยู่อาศัยและการจ้างงาน ซึ่งอยู่ในระหว่างการหารือเกี่ยวกับรายละเอียดของผลิตภัณฑ์สินเชื่อ รวมถึงอัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาเงินกู้และแผนการอื่น ๆ  ธนาคารเปิดสำนักงานตัวแทนในเมียนมาตั้งแต่ปี 56 โดยให้การสนับสนุนนโยบายด้านที่อยู่อาศัยและการเงินกับกระทรวงการก่อสร้างและการก่อสร้างธนาคารเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยและโครงสร้างพื้นฐาน และลงนาม MOU กับกระทรวงการก่อสร้างและ CHID Bank เพื่อขยายความร่วมมือ KB Microfinance ก่อตั้งในเดือน มี.ค. 60 มี 13 สาขา โดยส่วนใหญ่เป็นการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อการเชื่อมต่อไฟฟ้า และสินเชื่อธุรกิจขนาดเล็ก จนถึงขณะนี้ KB ไมโครไฟแนนซ์ได้จัดหาเงินทุนประมาณ 20 พันล้านให้แก่ชาวเมียนมา 48,000 คน ธนาคาร KB Kookmin อยู่ในระหว่างดำเนินการขอใบอนุญาตธนาคารในเมียนมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/kb-kookmin-bank-provide-home-loans-low-income-households.html

งาน Business matching ปี 62 ไทย – เมียนมา จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเมียนมา

การจับคู่ทางธุรกิจไทย – เมียนมา ปี 62 จัดโดยสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำเมียนมาจัดขึ้นที่โรงแรมพูลแมนย่างกุ้งเซนเตอร์พอยต์ในย่างกุ้งเป็นครั้งแรกในวันที่ 11 ก.ย 62การจับคู่ทางธุรกิจรวม 14 บริษัทขนส่งจากประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทวิภาคีทางเศรษฐกิจระหว่างนักธุรกิจของเมียนมาและไทย โดยหวังว่าการจับคู่ทางธุรกิจจะทำให้ บริษัท โลจิสติกส์ที่มีชื่อเสียง 14 ของไทยเป็นที่รู้จักในเมียนมา เช่น คลังสินค้า รถบรรทุก ระบบนำทาง และการขนส่งทางอากาศ เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มการค้าส่งออกและนำเข้าของเมียนมา การจับคู่ทางธุรกิจจะช่วยส่งออกสินค้าของเมียนมาไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประเทศอื่น ๆ ด้วยและจะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/thai-myanmar-business-matching-logistic-2019-held-for-the-first-time-in-myanmar

อุตสาหกรรมผัก สปป.ลาวกำลังเผชิญกับความท้าทาย

อุตสาหกรรมผักสปป.ลาวกำลังเผชิญกับความท้าทายหลายอย่าง เวทีสนทนาเรื่องผักระดับภูมิภาคหัวข้อ“ การยอมรับเพื่อสนับสนุนการแทรกแซงในเกษตรกรรายย่อยเพื่อการผลิตผักสดที่ปลอดภัยตลอดทั้งปี” ที่จัดขึ้นในเวียงจันทน์เมื่อวานนี้ งานนี้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากภาครัฐ เอกชน นักวิจัย และเกษตรกรได้แลกเปลี่ยนความเข้าใจในประเด็นทางสังคม เศรษฐกิจ เทคนิค และที่เป็นประเด็นท้าทายในห่วงโซ่ผักและอุปสรรคสำคัญต่างๆ และการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งการผลิตผักเป็นกิจกรรมที่สำคัญสำหรับเกษตรกรและเป็นแหล่งอาหารและรายได้ และสามารถเป็นความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือนได้ ที่ผ่านมาพื้นที่เพาะปลูกผักทั้งหมดเพิ่มขึ้นทุกปีแต่มีความท้าทายหลายอย่าง บางครั้งในฤดูฝนผักหลายชนิดต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสามารถในการปลูก ทั้งการเข้าถึงข้อมูลตลาดทั้งในและต่างประเทศของเกษตรกรค่อนข้างลำบาก ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เช่น ต้นทุนแรงงาน เป็นสาเหตุให้ความสามารถในการแข่งกันกับประเทศเพื่อนบ้านลดลง ดังนั้นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) และภาคเอกชนต้องพัฒนานวัตกรรมการผลิตและระบบห่วงโซ่อุปทานตลอดจนการแก้ไข เพื่อให้มีผักบริโภคได้ทั้งปี

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/vegetable-industry-laos-facing-several-challenges-103966

กัมพูชาทำข้อตกลงขยายการผลิตไฟฟ้าถ่านหินในสปป.ลาว

กัมพูชาตั้งเป้าที่จะขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าตามข้อตกลงกับสปป.ลาว เป็นเวลา 30 ปีมูลค่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อเข้าสู่โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินในสปป.ลาว สามารถเข้าถึงไฟฟ้าที่ 2,400 เมกะวัตต์ที่ 7.7 เซนต์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อชั่วโมงและเป็นราคาที่ต่ำกว่าการนำเข้าจากไทยและเวียดนาม ADB ระบุกำลังการผลิตทั้งหมดของกัมพูชาอยู่ที่ 2,175 เมกะวัตต์ในปี 61 คิดเป็น 62% จากพลังงานน้ำและ 36% จากเชื้อเพลิงฟอสซิล บริษัท TSBP Sekong Power and Mineral มีกำลังการผลิต 600 เมกะวัตต์ ขณะที่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนเซกงจะมีกำลังการผลิต 1,800 เมกะวัตต์ ปัจจุบันการลงทุนเพิ่มอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะภาคก่อสร้าง ซึ่งมีผลกระทบต่อการใช้พลังงานในปี 62 และปีต่อ ๆ มาสูงกว่าที่คาดไว้ ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นหนึ่งวันก่อนการประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีฮุนเซนและนายกรัฐมนตรีลาวทองลุน สีสุลิด ก่อนหน้านี้รัฐบาลเคยคิดจะเปลี่ยนไปใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทนถ่านหินเพราะราคาที่สูงและถือเป็นอุปสรรคทางเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา : https://en.vodhotnews.com/electricity-capacity-to-expand-with-laos-coal-deal/

เมย์แบงก์มุ่งเน้นไปยังกัมพูชาเพื่อเพิ่มรายได้ระหว่างประเทศ

เมย์แบงก์ซึ่งตั้งอยู่ในมาเลเซียมุ่งเน้นไปที่ตลาดสำคัญหลายแห่งสำหรับการขยายตัวในภูมิภาครวมถึงกัมพูชา โดยตั้งเป้าหมายที่จะนำเทคโนโลยีการเงินการธนาคารชุดล่าสุดมาสู่ตลาด ซึ่งมุ่งเน้นที่การเติบโตของแฟรนไชส์ในประเทศจีน, ฟิลิปปินส์และกัมพูชา และมีแผนที่จะส่งเสริมการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างทีมงานในต่างประเทศและสำนักงานใหญ่ในมาเลเซียผ่านแพลตฟอร์มอัตโนมัติสำหรับการอนุมัติสินเชื่อ โดยปัจจุบันรายได้ของเมย์แบงก์จากกิจกรรมระหว่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 35% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งเมย์แบงก์ประสบความสำเร็จอย่างมากในประเทศกัมพูชาตั้งแต่ปี 2536 ที่เริ่มเข้ามาลงทุน โดยเมย์แบงก์ยังคาดว่าจะสามารถเติบโตได้ 12-15% ในปีหน้า แม้ว่า GDP จะลดลงมาที่ 6.5% ซึ่งธนาคารมีเป้าหมายที่จะเป็นธนาคารเพื่อการค้าปลีกชั้นนำในประเทศกัมพูชาในอีก 5 ปีข้างหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50642309/maybank-to-focus-on-cambodia-among-others-to-increase-international-revenue/

บริษัทไต้หวันวางแผนขยายการเพาะปลูกต้นไม้ในกัมพูชา

ผู้ประกอบการชาวไต้หวันประกาศแผนการที่จะขยายพื้นที่เพาะปลูกไม้ในกัมพูชาบนพื้นที่ 5,000 เฮกเตอร์ โดยสมาคมอุตสาหกรรมไม้แปรรูปของกัมพูชาเป็นเจ้าของพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่ในจังหวัดกำปงธม และจัดหาผลิตภัณฑ์ไม้ให้กับผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ในท้องถิ่น ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศขอให้ บริษัท ทำงานอย่างใกล้ชิดกับการบริหารป่าไม้ในโครงการใหม่ โดยในเดือนเมษายน Beijing Fushide Investment Management Ltd และ East Consulting Management Ltd ได้ประกาศแผนการลงทุนในอุตสาหกรรมไม้ของกัมพูชาระหว่างการประชุมกับรัฐมนตรี ซึ่งบริษัทตั้งเป้าที่จะส่งออกไม้ไปยังประเทศจีน โดยจากข้อมูลของกระทรวงในระหว่างเดือนมกราคมจนถึงเดือนมิถุนายน บริษัทท้องถิ่น 5 แห่งส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไปต่างประเทศ และอีก 3 รายได้รับใบอนุญาตในการแปรรูปไม้ภายในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50642277/taiwanese-firm-to-expand-timber-plantation/

ปตท. ชงโมเดลธุรกิจLNGเสนอกกพ. หนุนไทยก้าวสู่ฮับในภูมิภาคอาเซียน

ปตท.จัดทำรูปแบบธุรกิจแอลเอ็นจีต่อกกพ.เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นฮับในภูมิภาคนี้ มั่นใจไทยมีความพร้อมทั้งความต้องการใช้ โครงสร้างพื้นฐานสถานีรับจ่ายก๊าซแอลเอ็นจีและด้านภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลาง ขณะที่  นายวุฒิกร สติฐิต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังเปิดงาน Gas Day 2019 Energy fuel for today and tomorrow ว่า ปตท.อยู่ระหว่างจัดทำรูปแบบธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG)เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางซื้อขายก๊าซแอลเอ็นจีในภูมิภาคนี้ (แอลเอ็นจี ฮับ) เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยรูปแบบธุรกิจดังกล่าว ปตท.มีศักยภาพในการส่งออกแอลเอ็นจีไปตลาดในภูมิภาคนี้ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานรองรับสถานีรับจ่ายแอลเอ็นจี (แอลเอ็นจี เทอร์มินอล) ทำได้อยู่แล้ว โดยปีนี้จะรีโหลดแอลเอ็นจีใส่เรือ เพื่อ ขนไปจำหน่ายให้กับลูกค้า เบื้องต้นได้มีการเจรจากับลูกค้าโรงงานอุตสาหกรรมบางราย และในอนาคตจะต่อยอดไปจำหน่ายในต่างประเทศ ซึ่งทางบริษัทฯ มองว่าประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเป็นฮับอาเซียน เนื่องจากมีความได้เปรียบทั้งโครงสร้างพื้นฐาน และมีความต้องการใช้แอลเอ็นจีมาก และด้านภูมิศาสตร์ประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลาง CLMV ทำให้ไทยมีศักยภาพที่จะเป็นฮับแอลเอ็นจี ในอาเซียน โดยกลุ่ม ปตท.ดำเนินธุรกิจก๊าซครบวงจรเพื่อมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและไฟฟ้า โดยการขนส่งก๊าซฯไม่จำเป็นต้องผ่านทางท่อเท่านั้นแต่ขนส่งผ่านรถ และเรือได้

ที่มา : ผู้จัดการรายวัน 360 องศา