นครเกียนซางอนุมัติโครงการรวม 20 โครงการ ด้วยมูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากรายงานของคณะกรรมการประชาชนในจังหวัดเกียนซาง เปิดเผยว่าเขตจังหวัดเกียนยาง (Kien Giang) มีมูลค่าการลงทุนกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยโครงการรวม 20 โครงการ ซึ่งการลงทุนดังกล่าว มาจากการได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ซึ่งโครงการลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ โครงการขุดเหมืองหินปูน และดินเหนียว รวมทั้งปูนซีเมนต์ เป็นต้น ดำเนินการโดยบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ด้วยเงินลงทุนประมาณ 467.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ ทางคณะกรรมการของจังหวัดเกียนซางจะมุ่งเน้นการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางด้านธุรกิจและกฎหมายให้สอดคล้องกับนักลงทุนให้รอบด้าน และให้สิทธิประโยชน์ทางด้านนโยบายของภาครัฐ รวมไปถึงหารือกับหน่วยงานท้องถิ่นของจังหวัดในการหาทางแก้ไขกับปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้โครงการดังกล่าวสามารถสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/523409/kien-giang-approves-20-projects-worth-total-2-billion.html#Y7gIoZtx3Ge2ZYqw.97

สนามบินพุกามต้องมีการปรับปรุง

สนามบินพุกามไม่สามารถปรับปรุงและซ่อมแซมได้ เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับเมืองโบราณที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และจะไม่สามารถดำเนินการในแผนระยะยาว สนามบินพุกามมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการปรับปรุงซึ่งจำเป็นต้องวางแผนในอนาคต จากการเป็นพื้นที่มรดกโลกส่งผลให้ตอนนี้นักเดินทางต่างชาติไปเที่ยวพุกามมากขึ้นและสายการบินนานาชาติได้ให้ความสนใจในการบินตรงไปยังพุกาม กรมการบินพลเรือน (DCA) แจ้งว่าสายการบินบางกอกแอร์เวย์สว่าไม่ได้รับอนุญาตให้บินตรงระหว่างกรุงเทพฯ และพุกามได้เนื่องจากไม่ใช่สนามบินนานาชาติ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/pakokku-airport-needs-to-upgrade-minister

มิ.ย.62 เงินเฟ้อเมียนมาพุ่ง 8.08%

อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วงปลายเดือน มิ.ย.อยู่ที่ 8.08% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ 7.82% ในช่วงปลายเดือน พ.ค. อัตราเงิน อัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบปีต่อปีอยู่ที่ 9.51% โดยเขตมะกเว มีเงินเฟ้อสูงสุดอยู่ที่ 12.31% รองลงมาคือรัฐมอญ 10.14% และมัณฑะเลย์ที่ 9.99% จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเมียนมา (Central Statistical Organization: CSO) ในปี 55 ได้ทำการสำรวจครัวเรือนและการบริโภคของครัวเรือน 32,669 ครัวเรือนใน 82 เมืองทั่วประเทศเพื่อคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคและอัตราเงินเฟ้อ ในอดีตอัตราเงินเฟ้อคำนวณโดยใช้ปี 49 เป็นปีฐาน แต่ตอนนี้ 2012 ถูกใช้เป็นปีฐานในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อ ภายใต้แผนพัฒนาแห่งชาติห้าปีฉบับที่ 2  (จากปี 59 – 60 ถึง ปี 63-64) รัฐบาลได้วางแผนลดอัตราเงินเฟ้อผ่านนโยบายการเงินการคลัง การค้า และนโยบายสกุลเงินต่างประเทศ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/average-inflation-hits-808-pc-in-june

ผู้ทำการค้าในสปป.ลาว ประสบปัญหาหลังจากการระงับการนำเข้าจุดผ่านแดนท้องถิ่นเข้าสู่ประเทศจีน

ผู้ทำการค้าในจังหวัดทางตอนเหนือของสปป.ลาวมีทางเลือกน้อยลงในการนำสินค้าเข้าประเทศจีนหลังจากทางการจีนสั่งห้ามนำเข้าจุดผ่านแดนท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดรวมถึงสินค้าเกษตรสามารถเข้าสู่ประเทศจีนได้เฉพาะที่ด่านชายแดนบ่อเต็น ในแขวงหลวงน้ำทา การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการส่งออกในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งทางการสปป.ลาวยังไม่ได้รับข้อมูลที่เป็นทางการจากคู่ค้าจีนว่าเหตุใดจึงถูกห้ามนำเข้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ค้าจำนวนมากในแขวงพงสาลีและอุดมไซ เนื่องจากต้องใช้จ่ายเพิ่มเพื่อขนส่งสินค้า อย่างไรก็ตามผู้ค้าในจังหวัดหลวงน้ำทายังไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากนักธุรกิจจีนในภูมิภาคสามารถส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีนผ่านด่านชายแดนทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งตอนนี้จีนเป็นนักลงทุนต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดในสปป.ลาวและเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองของประเทศ การเพิ่มขึ้นของนักลงทุนจีนในสปป.ลาวและโครงการความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นระหว่างรัฐบาลทั้งสองเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้การนำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นการส่งออกของสปป.ลาวไปยังประเทศจีน กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในปีนี้ ในขณะที่การนำเข้าจะลดลง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/traders-suffer-after-curb-import-entry-points-china-101193

การลงทุนภาคเอกชนในสปป.ลาว ชะลอตัวลง

การลงทุนของผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศไม่ได้เติบโตตามที่วางแผนไว้แม้จะมีมาตรการเพิ่มเติมของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นการเติบโตของภาคเอกชนและรักษาเศรษฐกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแผนการและการลงทุนกล่าวว่าบริษัทเอกชนลงทุนในโครงการ 1,266 โครงการในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ด้วยทุนจดทะเบียน 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตามเงินทุนที่โอนผ่านธนาคารจริงมีเพียง 1.09 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือเท่ากับ 40% ของเป้าหมายในปีนี้ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติสปป.ลาวกล่าวว่าการเติบโตของภาคเอกชนที่ซบเซาเป็นผลมาจากนโยบายงบประมาณของรัฐบาลในการจัดลำดับความสำคัญในการชำระหนี้ โดยการขยายตัวของสินเชื่อที่ชะลอตัวลงเป็นเครื่องบ่งชี้ที่ชัดเจนว่าการลงทุนภาคเอกชนจะชะลอตัวลง ในไตรมาสแรกของปีนี้สินเชื่อเติบโตถึง 3.13% อีกทั้งสปป.ลาวมีโอกาสมหาศาลที่จะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติมากขึ้นเนื่องจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนกำลังบังคับให้บริษัทในภูมิภาคพิจารณาย้ายฐานการผลิตจากจีนไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากข้อพิพาททางการค้า ดังนั้นสปป.ลาวจำเป็นต้องปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนและสร้างความเชื่อมั่นมากขึ้น

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Private.php

กลุ่มธนาคารรายย่อยของกัมพูชายังคงเติบโตได้ดี

การเติบโตของสินเชื่อและเงินฝากในภาคการเงินที่มีผู้คนหนาแน่นในช่วงครึ่งปีแรกเป็นผลมาจากการบริหารเศรษฐกิจมหภาคที่ดีและการเมืองในประเทศที่มาเสถียรภาพ โดย NBC เปิดเผยว่าเงินให้สินเชื่อในภาคธนาคารและสินเชื่อรายย่อยเพิ่มขึ้นประมาณ 22.4% ในครึ่งปีแรก มูลค่าอยู่ที่ 27.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งกลุ่มธนาคารรายย่อยในกัมพูชายังคงมีส่วนสำคัญที่จะผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ ลดความยากจน และความไม่เท่าเทียมในสังคม โดยกัมพูชามีธนาคารพาณิชย์ 44 แห่ง ธนาคารพาณิชย์เฉพาะธุรกิจ 15 แห่ง สถาบันการเงินไมโครไฟแนนซ์ 74 แห่ง และผู้ประกอบการสินเชื่อชนบท 254 ราย สินทรัพย์รวมในภาคธนาคารและการเงินรายย่อยเพิ่มขึ้น 19.2% ในครึ่งปีแรกสู่ระดับ 44.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50629111/banking-microfinance-sectors-maintain-strong-growth/

SCG รายงานผลประกอบการทางการเงินที่แข็งแกร่งในครึ่งปีแรกในกัมพูชา

กลุ่ม บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (SCG) รายงานผลประกอบการเป็นบวกในช่วงครึ่งปีแรกรวมถึงการดำเนินงานในกัมพูชา จากรายงานตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายนรายได้จากการขายของ SCG เพิ่มขึ้น 11% ในตลาดกัมพูชาซึ่งสูงถึง 226 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยให้บริการออกแบบข้อมูลจำเพาะ ,วัสดุ และหลังคา ซึ่งรวมถึงการออกแบบการติดตั้ง SCG ยังคงขยายการเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นนวัตกรรมและมูลค่าเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งมั่นที่จะรวมแนวคิดเศรษฐกิจเข้ากับการดำเนินงานที่ครบวงจร โดยมีโซลูชั่นเพื่อตอบสนองลูกค้าภายในตลาดกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50628722/scg-reports-strong-financial-performance-in-h1/

เวียดนามเผยยอดการส่งออกไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้ มีมูลค่ามากกว่า 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากคำแถลงของรองประธานสมาคมผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์ไม้เวียดนาม (The Timber and Forest Product Association of Vietnam) เปิดเผยว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2562 ยอดการส่งออกไม้ และผลิตภัณฑ์ไม้ของเวียดนามมีมูลค่ารวมมากกว่า 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสหรัฐอเมริกายังคงเป็นตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ตามมาด้วยญี่ปุ่น จีน และสาธารณรัฐเกาหลี ตามลำดับ ในปัจจุบัน วัตถุดิบการแปรรูปไม้ในประเทศเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75 และอีกร้อยละ 25 มาจากการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งการขยายตัวส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้เวียดนามยังคงสามารในการตั้งเป้าหมายที่กำหนดไว้ คิดเป็นมูลค่ารวม 10.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/523360/wood-and-forest-products-exports-exceed-6b.html#HMjZayWBD2de6ima.97

เวียดนามเกินดุลการค้า 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2562

จากรายงานของสำนักงานสถิติเวียดนาม (The General Statistic Office of Vietnam) เปิดเผยว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2562 ยอดเกินดุลการค้าของเวียดนามมีมูลค่า 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการส่งออก ของเวียดนามมีมูลค่า 24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 88.1 ของรายได้รวมจากการส่งออก ซึ่งสินค้าส่งออกสำคัญที่สุดของเวียดนาม ได้แก่ โทรศัพท์และชิ้นส่วนประกอบ รองลงมาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และเสื้อผ้า สิ่งทอ ตามลำดับ สหรัฐอเมริกายังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ตามมาด้วยสหภาพยุโรป และจีน ตามลำดับ นอกจากนี้ ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เวียดนามมีมูลค่าการนำเข้ารวม 143.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะเดียวกัน จีนยังคงเป็นตลาดนำเข้าสำคัญที่สุดของเวียดนาม ตามมาด้วยสาธารณรัฐเกาหลี และกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-books-18-billion-usd-trade-surplus-in-seven-months/156949.vnp

โลจิสติกส์จะโตเป็นสามเท่าภายในปี 2573

กลุ่มโลจิสติกส์ของเมียนมาจะเพิ่มเป็นสามเท่าของจำนวนปัจจุบันภายในปี 2573 ตามแผนแม่บทด้านโลจิสติกส์ระดับประเทศ เกี่ยวกับแผนแม่บทการขนส่งแห่งประเทศเมียนมา (2014) และแผนแม่บทการขนส่งแห่งชาติ (2017) เมียนมาได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ที่ให้การส่งเสริมภาคการขนส่งทางทะเลอย่างสม่ำเสมอ โดยในแผนแม่บทด้านโลจิสติกส์แห่งชาติ (2017) ความต้องการสินค้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นสามเท่าภายในปี 2573 มีการสร้างท่าเรือแปดแห่งในย่างกุ้งภายในระยะเวลาสามปีและการขนถ่ายสินค้ากำลังดำเนินการในท่าเรือ 41 แห่งตามรายงานของการท่าเรือแห่งเมียนมา (Myanma Port Authority :MPA) โดยท่าเรือย่างกุ้งเป็นท่าเรือที่สำคัญที่สุดเพราะมากกว่า 90% ของการค้าทางทะเลระหว่างประเทศอยู่ที่ท่าเรือแห่งนี้

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/logistics-sector-to-grow-threefold-by-2030-minister