จับตาเศรษฐกิจเมียนมาร์ เมื่อแบรนด์หรูตบเท้าเข้ามาลงทุน

เมียนมาเหมือนหลายประเทศกำลังพัฒนาที่ยังมีช่องว่างระหว่างชนชั้น กลุ่ม HNWI หรือ high net worth individual เริ่มเปิดตัวมากขึ้น คือผู้ที่มีทรัพย์สินเป็นเงินสดหรือเงินลงทุนมากกว่า 1 ล้านดอลลาร์ บริษัทที่ปรึกษาแห่งหนึ่งในเมียนมาระบุเศรษฐีเหล่านี้เมีเชื้อสายจีนเสียเป็นส่วนใหญ่ และมักมีสายสัมพันธ์กับผู้นำทางทหาร กับนักธุรกิจในแวดวงค้าอัญมณี หรืออุตสาหกรรมตัดไม้ขนาดใหญ่ หลังการเลือกตั้งเมื่อปี 2012 เศรษฐกิจก็เริ่มกระเตื้องอันเป็นผลจากการไหลเข้าของเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์เฟื่องฟู เศรษฐกิจที่โตปีละ 7% ทำให้ธุรกิจค้าปลีกในประเทศโตไปด้วย อย่างไรก็ตามการผุดขึ้นของห้างสรรพสินค้าดูเน้นไปที่ผู้บริโภคระดับรากหญ้าและชนชั้นกลางมากกว่า ส่วนกลุ่มเศรษฐีก็ยังนิยมบินไปช้อปปิ้งสินค้าแบรนด์เนมที่ต่างประเทศ เช่น ไทย ฮ่องกง สิงคโปร์ หรือไม่ก็ยุโรป เนื่องจากนาฬิกาและรถยนต์เป็นสิ่งที่แสดงฐานะทางสังคม ช่วงไม่กี่ปีมานี้ แบรนด์สินค้าหรูได้ให้ความสนใจและเริ่มเข้ามาบุกเบิก เช่น นาฬิกาแฟรงก์ มุลเลอร์ ตามด้วยร้าน Swiss Time Square ซึ่งเป็นศูนย์รวมนาฬิกาหรูหลากหลายยี่ห้อ และยังมีค่ายรถยนต์ที่มาเปิดโชว์รูม เช่น จาร์กัวร์ แลนด์โรเวอร์ บีเอ็มดับบลิว และเมอร์เซเดสเบนซ์ ยังไม่นับรวมเครื่องสำอางแบรนด์ไฮเอนด์ที่เข้ามาทำตลาด ธุรกิจเหล่านี้ไม่ได้ตอบสนองเฉพาะกลุ่มเศรษฐี หากยังรวมถึงกลุ่มชาวเมียนมาโพ้นทะเลที่เคยอพยพไปตั้งรกรากในต่างประเทศแล้วกลับมาดำเนินธุรกิจในบ้านเกิด และชนชั้นระดับกลางค่อนไปทางสูงซึ่งเป็นกลุ่มใหม่และกำลังเพิ่มจำนวนขึ้น สำหรับผู้ประกอบการไทยลองประเมินดูว่านอกจากอสังหาริมทรัพย์ และบริการทางการแพทย์ (โรงพยาบาลเอกชน) เรามีสินค้าหรือบริการอะไรที่พอจะดึงดูดลูกค้ากระเป๋าหนักจากเมียนมาได้บ้าง 

ที่มา: https://www.smethailandclub.com/aec-1924-id.html

การลงทุนจากต่างชาติในไมโครไฟแนนซ์กัมพูชา แรงส่งการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ

ไมโครไฟแนนซ์ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว วัตถุประสงค์คือขยายสินเชื่อให้กับประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ปี 2560 มียอดปล่อยสินเชื่อประมาณ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 1 ใน 4 ของธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด ปัจจุบันมีผู้ให้บริการทั้งหมด 68 ราย มี 5 รายที่ครองส่วนแบ่ง 80% โดยการปล่อยสินเชื่อจะแบ่งเป็น ภาคครัวเรือน 33% การเกษตร 30% และค้าปลีก 19% จากประชากรที่ใช้สินเชื่อ 1.7 ล้านคน ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กัมพูชาได้เพิ่มทุนจดทะเบียนไมโครไฟแนนซ์ ทำให้ต้องหาพันธมิตรจากต่างประเทศมากขึ้น ผลดีคือ การบริการที่หลากขึ้นเพราะแข่งขันสูง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การบริโภคภาคครัวเรือนเพิ่ม ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นนักลงทุนไทยควรปรับกลยุทธ์ให้เหมาะกับโอกาสทางธุรกิจ เช่น พัฒนาระบบ e-payment เพื่อขยายช่องทางและเชื่อมต่อพื้นที่ห่างไกล โดยเฉาะสินค้าที่เป็นที่นิยมอย่างมอเตอร์ไซค์หรือเครื่องจักรทางการเกษตร

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/50318.pdf

31 ธันวาคม 2561

The OPPORTUNITY : ธุรกิจแปรรูปมันสำปะหลังในกัมพูชา

http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/50368.pdf

ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

24 ธันวาคม 2561

ธุรกิจร้านอาหารไทย ในเมียนมา (2)

การทำธุรกิจร้านอาหารสมัยนี้หรือที่ต่างประเทศ จำเป็นต้องรอบรู้ และใช้หลักการคิดแบบคนรุ่นก่อนไม่ได้ที่อาศัยความอดทน ขยัน ทำงานกันเป็นครอบครัว ซึ่งระบบเก่าไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในยุคปัจจุบัน แนวคิดคือต้องแบ่งต้นทุนออกเป็นสองส่วนคือ หนึ่งต้นทุนคงที่ คือไม่ว่าคุณจะขายมากขายน้อย ต้นทุนนั้นก็จะเท่าเดิม แล้วนำมาหารจากมูลค่าการขาย เช่น ค่าเช่าร้านค้า หากจ่ายเดือนละหนึ่งหมื่นบาท รายรับจากการขายเดือนละหนึ่งแสนบาท คิดเป็น 10% ถ้าขายได้สองแสนบาท ค่าเช่าจะเหลือแค่ 5% เท่านั้น ต้นทุนอีกประเภทคือต้นทุนผันแปร ต้นทุนนี้จะแปรผันตามยอดขาย ยิ่งขายดี ยิ่งต้องจ่ายเยอะ เช่น ต้นทุนวัตถุดิบอาหารสด (Food Costs) เมื่อขายดีขึ้นเราต้องซื้อวัตถุดิบอาหารสดมากขึ้นเป็นตามไปด้วย หลังจากนั้นต้องควบคุมค่าใช้จ่ายให้ได้และตั้งสมมติฐานว่ายอดขายได้ 100% ปัจจัยค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ 1) ค่าวัตถุดิบอาหารสด ต้องประมาณ 30-35% หากน้อยไปอย่าชะล่าใจ นั่นหมายความว่า เราเอาสินค้าไม่ได้คุณภาพมาบริการลูกค้าแล้วลูกค้าจะไม่กลับมาอีก 2) ค่าเช่าร้าน จะต้องอยู่ประมาณ 10-15% โดยประมาณ อย่าสูงกว่านี้ 3) ค่าแรงงาน ควรจะประมาณ 15-20% ส่วนนี้ต้องรวมค่าแรงคนในครอบครัวไปด้วย 4) ค่าภาษี ควรจะเตรียมไว้ 10% 5) ค่าน้ำค่าไฟ ควรจะมีไว้ 5% 6) ค่าใช้จ่ายจิปาถะ เช่น ค่าของแตกหัก ค่าเสื่อมราคาเครื่องมือ อยู่ที่ 10% 7) ค่าต้นทุนการเงิน หากไม่กู้มาเราเสียโอกาสในดอกเบี้ยเงินฝากไป หากกู้มาเราก็ต้องจ่าย ดังนั้นควรมี 5% รวมแล้วประมาณ 85-100% ดังนั้นหากคุมงบไม่ได้ไปต่อไม่ได้อย่างแน่นอน

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/news/570552

ธุรกิจร้านอาหารไทยในเมียนมา (1)

พูดถึงอาหารไทยในเมียนมานั้น แม้จะมีชายแดนอยู่ติดกับไทยแต่อาหารจะแตกต่างจากอาหารไทย โดยได้รับอิทธิพลจากอินเดียมากกว่าไทย ในอดีตจะหาทานอาหารไทยในย่างกุ้งยากมาก จะมีร้านอยู่ไม่เกินสิบร้านที่ให้บริการอาหารไทยแท้ๆ เช่น ร้านสีลม ร้านไพลิน ร้านบางกอก เป็นต้น ปัจจุบันมีร้านอาหารไทยเปิดกันกันเยอะมาก เพราะมีทัวร์จากไทยเข้าไปไหว้พระมากกว่าแต่ก่อนเยอะ ส่วนด้านการลงทุน โดยมากที่นี่จะตกม้าตายกันที่ค่าเช่าร้านเพราะค่าเช่าที่นี่แพงมาก หากรายได้ไม่ดีจริงอยู่ไม่ได้แน่นอน ซึ่งถ้าจะทำร้านอาหารควรจะทำให้มีคลาสหรือการเจาะตลาดผู้บริโภคระดับบนไปเลย เมื่อดูเรื่องกำลังซื้อของผู้บริโภคที่นี่จะแบ่งระดับได้อย่างชัดเจน คนรวยจะรวยมาก คนจนก็จนติดดินมากด้วยเช่นกัน ดังนั้นควรเจาะกลุ่มเป้าหมายระดับสูง เริ่มจากการตกแต่งร้านต้องสวยงาม มีห้อง VIP ไว้คอยต้อนรับแขกมีระดับ อาหารดูดี ตกแต่งจานอย่างสวยงาม วัตถุดิบมีคุณภาพ รสชาติอร่อย และสุดท้ายบริการต้องดี ชาวเมียนมาเวลาจะเชิญผู้เขียนไปทานข้าวมักจะเป็นร้านอาหารไทยที่มีระดับ อีกย่างที่ต้องคอยระวังคือ ไม่ควรทำบุฟเฟต์ เพราะคนเมียนมาจะทานเยอะมาก ผู้เขียนเคยทำร้านอาหารหมูกระทะ ขายดีมาก มีลูกค้า 200-300 คนต่อวัน แต่ยิ่งขายเยอะ ยิ่งเจ๊งเร็ว เพราะเวลาเติมไลน์อาหารลงทั้งของคาวของหวาน ปรากฏว่าชาวเมียนมาทานหมดทุกอย่าง จนต้องปิดกิจการไปเลย

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/news/569820

SME น่าลงทุนเวียดนาม เมื่อคนในประเทศกำลังซื้อสูงขึ้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย เผยข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) ที่ชี้ว่า กำลังซื้อของผู้บริโภคเวียดนาม เพิ่มขึ้นกว่า 9.31% ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 61 เมื่อแยกอัตราเงินเฟ้อออกไป โดยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2561 ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าและบริการที่จำเป็นต้องใช้ในงานแต่งงาน, อุปกรณ์การเรียนในปีการศึกษาใหม่ และเสื้อผ้าสำหรับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น นอกจากนี้ ชาวเวียดนามยังเพิ่มความต้องการในการปรับปรุงที่พัก เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปีใหม่ ซึ่งกำลังซื้อที่สูงขึ้นส่งผลให้ราคาน้ำมันและการขนส่งที่เกี่ยวข้องปรับตัวสูงขึ้น 3.45% ส่วนตัวเลขดัชนีอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 9.31% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ รายได้จากการขายปลีกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2561 เพิ่มขึ้นกว่า 12.2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ประกอบกับผู้บริโภคใช้จ่ายด้านอาหารเพิ่มขึ้น 13.3% รองลงมา คือ เครื่องนุ่งห่ม, เครื่องใช้ภายในบ้าน, ผลิตภัณฑ์เพื่อการศึกษา และยานพาหนะ ตามลำดับ ส่งผลให้มีรายได้จากการให้บริการด้านที่พักอาศัยและอาหาร เพิ่มขึ้น 8.3% จากปีก่อน รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 15.6% และรายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้น 9.3% โดยเมืองที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ Ho Chi Minh, Hai Phong, Thanh Hoa และ Da Nang เป็นต้น

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/17528

สร้างแบรนด์ อาหารไทย สิ่งที่ควรรู้ไว้ก่อนไปต่างแดน

จากทุกรัฐบาลที่ผ่านมา มีการผลักดันให้อาหารไทยก้าวไกลในระดับโลกด้วยคำขวัญที่ว่า “ครัวไทยสู่ครัวโลก” ผู้ประกอบการจะต้องใช้ความได้เปรียบจากความแข็งแกร่งมาต่อยอดการสร้างแบรนด์ของตัวเองและควรเรียนรู้เพิ่มเติมโดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งมีความคุ้นเคยกับอาหารไทยอยู่แล้ว สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญคือ มาตรฐานด้านรสชาติ คือ คงรสชาติดั้งเดิมไว้มากที่สุด ใช้วัตถุดิบส่วนใหญ่เป็นของไทยและปรับรสชาติตามความต้องการของผู้บริโภคในประเทศนั้นๆ แต่รสชาติต้องมีความใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุด มาตรฐานด้านบรรจุภัณฑ์ ต้องมีมาตรฐานสอดคล้องกับจุดยืนของผลิตภัณฑ์อาหาร ตรงกลุ่มเป้าหมาย มีองค์ประกอบสำคัญอย่าง ชื่อ ตราสินค้า สัญลักษณ์ทางการค้า รายละเอียดกฎหมายข้อบังคับต่างๆ มาตรฐานทางด้านผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการควรศึกษาเรื่องมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ที่จะส่งออกเพื่อความมั่นใจของผู้บริโภคในประเทศนั้นๆ เช่น มาตรฐาน GMP, HACCP, Halal และ Codex การประสบความสำเร็จยังมีอีกหลายองค์ประกอบ เช่น ทั้งด้านการตลาด การจัดหาตัวแทนจำหน่าย รวมถึงการบริหารจัดการ อย่างน้อยความเข้าใจใน 3 มาตรฐานจะช่วยให้ผู้ประกอบการเริ่มต้นได้ดี เพียงแค่นี้ก็สามารถมีแบรนด์อาหารไทยที่จะช่วยสร้างความประทับใจให้คนอาศัยในต่างแดนไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างชาติก็ตาม

ที่มา: https://www.smartsme.co.th/content/101451