ธนาคารโลกคาดการณ์เศรษฐกิจลาวปี 2563 จะเติบโตร้อยละ 1

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 ธนาคารโลก ประจำ สปป. ลาวได้เผยแพร่รายงาน Lao Economic Monitor ฉบับล่าสุดเกี่ยวกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและหนี้สินของสปป. ลาวในปี 2563 โดยคาดว่าเศรษฐกิจลาวจะขยายตัวร้อยละ 1 ในกรณีที่การแพร่ระบาดไม่รุนแรง และอาจจะหดตัวติดลบร้อยละ 1.8 ในกรณีรุนแรง ด้านการขาดดุลงบประมาณปี 2563 จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.5 – 8.8 ของ GDP (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.1 เมื่อปี 2562) ด้านหนี้สินปี 2563 จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 65 – 68 ของ GDP (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 59 เมื่อปี 2562) และด้านเงินสำรองระหว่างประเทศปี 2563 จะลดลง โดยครอบคลุมการนำเข้าน้อยกว่าหนึ่งเดือน

การแพร่ระบาดดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานและการขจัดความยากจน เนื่องจากภาคการขนส่ง การท่องเที่ยว การบริการ และการโรงแรมมีผลประกอบการลดลงอย่างมาก ทำให้เกิดการว่างงานคิดเป็นร้อยละ 11

ของการจ้างงานทั้งหมด และคิดเป็นร้อยละ 22 ของการจ้างงานในเขตตัวเมือง ทั้งนี้ คาดว่าจะมีประชากรประมาณ 96,000 – 214,000 คน จะพบประสบความยากจน สปป. ลาวจำเป็นต้องลงทุนในการสร้างระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็ง เพื่อรับมือกับเหตุฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ และจัดหาทรัพยากรที่เพียงพอต่อการให้บริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ

ที่มา : https://globthailand.com/laos-01062020/

สภาการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาวเสนอให้รัฐบาลพิจารณาแก้ไขผลกระทบของมาตรการสกัดกั้นโรค โควิด 19 ต่อภาคเอกชน

โควิด-19 กระทบเศรษฐกิจ CLMV เติบโตต่ำสุดในรอบ 2 ทศวรรษ ประเทศยิ่งพึ่งพารายได้จากต่างประเทศมาก ยิ่งกระทบหนัก (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3100)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์เรื่อง COVID-19 กระทบเศรษฐกิจ CLMV เติบโตต่ำสุดในรอบ 2 ทศวรรษ ประเทศยิ่งพึ่งพารายได้จากต่างประเทศมาก ยิ่งกระทบหนัก โดยระบุว่า การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจ CLMV ผ่านทางการพึ่งพารายได้จากต่างประเทศในธุรกิจท่องเที่ยว และภาคการส่งออก โดยประเทศที่พึ่งพารายได้จากต่างประเทศมาก ยิ่งได้รับผลกระทบในเชิงลบมาก      

  • กัมพูชา เป็นประเทศที่ได้รับรับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากพึ่งพารายได้จากต่างประเทศทั้งในธุรกิจท่องเที่ยวและภาคการส่งออก โดยคาดว่าธุรกิจท่องเที่ยวจะหดตัวประมาณ 60% ในปีนี้ ส่วนภาคการส่งออกนั้น กัมพูชายังพึ่งพาการส่งออกไปยังตลาด EU และสหรัฐฯ มากที่สุด ซึ่งในปัจจุบัน ประเทศสหรัฐฯ และประเทศในกลุ่ม EU คือประเทศที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 มากที่สุดในเวลานี้ จึงคาดว่ามูลค่าส่งออกจะหดตัวถึง 10% ในปีนี้ ส่งผลให้เศรษฐกิจกัมพูชาโดยรวมจะหดตัวกว่า 0.9% ในปี 2563
  • เวียดนาม เวียดนามได้รับผลกระทบปานกลาง เนื่องจากพึ่งพารายได้จากต่างประเทศในภาคการส่งออกเท่านั้น และยังโชคดีที่ เวียดนามมีประเทศคู่ค้าหลักที่หลากหลายทำให้การกระจายความเสี่ยงในการส่งออกค่อนข้างดี ประกอบกับสินค้าส่งออกหลักของเวียดนาม คือ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะได้รับอานิสงค์จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปด้วยการทำงานที่บ้าน (Work From Home) จึงทำให้อุปสงค์ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า เพิ่มขึ้น และทำให้ภาพรวมการส่งออกของเวียดนามหดตัวไม่มากนัก คาดว่ามูลค่าการส่งออกของเวียดนามจะหดตัวประมาณ 5% ในปีนี้ ประกอบรัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปแบบเงินให้เปล่า และการลดภาษี คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามจะยังคงเติบโตได้ในระดับ 3.6% ในปีนี้
  •  เมียนมา  เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ค่อนข้างน้อย เพราะมีรายได้จากภาคการส่งออกและธุรกิจท่องเที่ยวค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกของเมียนมาก็ได้รับผลกระทบค่อนข้างหนัก เนื่องจากสินค้าส่งออกหลักของเมียนมา คือ ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งได้รับผลกระทบหนักจากราคาเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ สินค้าส่งออกสำคัญอันดับสองของเมียนมา คือ เสื้อผ้าและสิ่งทอ ก็ได้รับผลกระทบหนักทั้งจากการปิดโรงงานในจีน และจากอุปสงค์สินค้าที่ลดลงในตลาด EU จึงคาดว่ามูลค่าการส่งออกของเมียนมาจะหดตัวถึง 10% ในปีนี้ อย่างไรก็ตาม EU ได้จัดตั้งกองทุนเงินช่วยเหลือฉุกเฉิน (Quick Assistance Fund) มูลค่า 500 ล้านยูโร เพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมสิ่งทอในเมียนมาที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งจะช่วยอุดหนุนการจ้างงานและการบริโภคของครัวเรือน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่ากองทุนเงินช่วยเหลือฉุกเฉินของ EU ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1% ของ GDP จะช่วยพยุงรายได้ของประชาชน และทำให้การบริโภคในครัวเรือนยังเติบโตได้ในระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนวิกฤตโควิด-19 นอกจากนี้ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของเมียนมาก็ยังคงเป็นไปตามกำหนดการเดิม จึงคาดว่าในภาพรวมเศรษฐกิจเมียนมาจะยังเติบโตได้ในระดับ 4.3% ในปี 2563
  • สปป.ลาว ก็เป็นอีกประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้พึ่งพารายได้จากธุรกิจท่องเที่ยว หรือภาคการส่งออกมากนัก อย่างไรก็ตาม ธุรกิจท่องเที่ยวของลาวพึ่งพานักท่องเที่ยวไทยมากที่สุด ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หนักที่สุดในอาเซียนในปีนี้ จึงคาดว่าธุรกิจท่องเที่ยวของลาวน่าจะได้รับผลกระทบหนักตามไปด้วย ส่วนภาคการส่งออกของสปป.ลาวคาดว่ามูลค่าการส่งออกจะหดตัวประมาณ 5% ในปีนี้ ยังโชคดีที่ ภาคการส่งออกของสปป.ลาวส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเหมืองแร่และการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งไม่ได้ทำให้เกิดการจ้างงานกับผู้คนจำนวนมาก ส่วนธุรกิจท่องเที่ยวก็เพิ่งเริ่มพัฒนาและยังมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับ GDP จึงทำให้รายได้ของประชากรส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก และทำให้การบริโภคในครัวเรือนยังเติบโตได้ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 นอกจากนี้ การลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงซึ่งมีมูลค่ากว่า 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ยังคงดำเนินไปตามกำหนดการเดิม จึงทำให้เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 มากนัก เมื่อดูภาพรวมแล้ว คาดว่าเศรษฐกิจสปป.ลาวจะยังเติบโตได้ในระดับ 3.9% ในปี 2563

แม้ว่าวิกฤตโควิด-19 จะทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทLกลุ่ม CLMV อยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 2 ทศวรรษ แต่เศรษฐกิจ CLMV ก็ยังสามารถเติบโตได้ในระดับ 3.4% ในปีนี้ นอกจากนี้ เศรษฐกิจ CLMV ดยรวมยังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างรวดเร็วใน 1-2 ปีข้างหน้า โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะอยู่ที่ระดับ 6.4% ในปี 2564และ 6.5% ในปี 2565

ที่มา : https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/z3100.aspx

ประกาศสถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ ที่ 20/2563 เรื่อง การขออนุญาตอยู่ต่อของคนต่างประเทศใน สปป. ลาว ในระยะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (เพิ่มเติม)

อุตสาหกรรมแปรรูปใน สปป. ลาว มีแนวโน้มขยายตัวลดลง

ภาคอุตสาหกรรมแปรรูปใน สปป. ลาว ต้องเผชิญกับปัญหาและความท้าทายในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจาก อุตสาหกรรมแปรรูปใน สปป. ลาว ส่วนใหญ่พึ่งพาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก โดยในช่วงปี 58 – 60 อุตสาหกรรมแปรรูปมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่ในปี 61 เป็นต้นมาอุตสาหกรรมดังกล่าวมีแนวโน้มขยายตัวลดลง แต่ในภาพรวมยังช่วยให้เศรษฐกิจ สปป. ลาว ขยายตัว ดังนั้น เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมแปรรูปและเศรษฐกิจของ สปป. ลาว ขยายตัวเพิ่มขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจําเป็นต้องส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าวให้มีความยั่งยืน โดยกําหนดรูปแบบอุตสาหกรรมแปรรูปในแต่ละท้องถิ่น ให้ชัดเจน ส่งเสริมการผลิตสินค้าแบบโรงงานและชุมชน สร้างกลไกควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปและหัตถกรรม ให้มีความสะดวก พร้อมทั้งผลักดันให้กลายเป็นห่วงโซ่การผลิต และสร้างความเชื่อมโยงตลาดเสรีในและนอกภูมิภาค รวมทั้งการพัฒนาแรงงานให้มีฝีมือและสามารถแข่งขันกับนานาชาติ

ที่มา : https://globthailand.com/laos-25032020/

สปป. ลาวเตรียมพัฒนาระบบชำระเงินให้มีความทันสมัยเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางการชำระเงิน

ธนาคารแห่ง สปป. ลาว กล่าวว่า ปัจจุบันเป็นยุคที่โลกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงและทำงานร่วมกันได้โดยอัตโนมัติ โดยเฉพาะด้านการเงินและการธนาคารที่ใช้เทคโนโลยีทางการเงิน FinTech เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจโดยใช้นวัตกรรมในการต่อยอดธุรกิจบนพื้นฐานการแข่งขันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยก้าวไปสู่ระบบ High Value Service เพื่อความมั่นคงทางธุรกิจ ส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสถาบันการเงินและเงินตราของ สปป. ลาวในระยะ 10 ปี (2559 – 2568) และวิสัยทัศน์ปี 2573 ได้เน้นการพัฒนาระบบชำระเงินของประเทศให้เป็นศูนย์กลางการชำระเงินที่ทันสมัย ปลอดภัย

ที่มา : https://globthailand.com/laos-03012020/

ไซยะบุรี สู่ หลวงพระบาง เขื่อนใหม่บนความกังวล 2 ฝั่งโขง

น้ำโขงจัดเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ 6 ประเทศ จีน-เมียนมา-ไทย-ลาว-กัมพูชา-เวียดนาม ใช้ประโยชน์ร่วมกันมาซึ่งที่ผ่านมาประเทศที่ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือจีน ได้เริ่มโครงการก่อสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ส่งผลให้แม่น้ำโขงเกิดการเปลี่ยนแปลงตามมาด้วยโครงการก่อสร้างเขื่อนยกระดับน้ำโขงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใน สปป.ลาว ที่เพิ่งเปิดดำเนินการอย่าง เขื่อนไซยะบุรี เขื่อนนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากชุมชน และภาคประชาสังคมทั้งในไทยและ สปป.ลาว ในเรื่องของระบบนิเวศ การทำประมง แต่ถึงอย่างไรล่าสุด สปป.ล่าวได้เริ่มดำเนินโครงการเขื่อนหลวงพระบาง จัดเป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำที่ “ถอดแบบ” มาจากเขื่อนไซยะบุรีโดยโครงการนี้มีผู้ร่วมทุน 3 ประเทศ ประกอบด้วย เวียดนาม สปป.ลาว  ไทย อย่างไรก็ตามชาวบ้านส่วนใหญ่ต่างกังวลกับโครงการก่อสร้างเขื่อนไม่ต่างกับเขื่อนแห่งอื่นๆ มีการกล่าวกันว่า น้ำในแม่น้ำโขงลดต่ำลง เป็นเพราะจีนไม่ปล่อยน้ำจากเขื่อนทำให้การก่อสร้างครั้งจะต้องมีการศึกษาอย่างระเอียดทั้งในแง่ของพลังงานและระบบนิเวศที่มั่นคงและปลอดภัย 

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-407210