งบประมาณประจำปี 2563 ของกัมพูชา

รัฐบาลได้วางแผนงบประมาณระดับชาติมากกว่า 7.66 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 ซึ่งจะแบ่งตามภาคต่างๆใน 39 กระทรวงและสถาบันต่างๆ โดยในส่วนของภาคธุรกิจเพื่อสังคมวางแผนตั้งงบประมาณรายจ่ายไว้ที่ 37.4% เพิ่มขึ้น 8.9% เมื่อเทียบกับปีนี้ ส่วนฝ่ายความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยแห่งชาติจัดสรรไว้ที่ 25.8% เพิ่มขึ้น 9.3% ส่วนฝ่ายการบริหารทั่วไปเพิ่มขึ้น 4.7% ในขณะที่ภาคเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้น 3.3% รวมถึงส่วนอื่นๆอีก ซึ่งมีกลยุทธ์ใหม่ที่ได้นำเสนอคือ การเพิ่มเงินเดือนสำหรับข้าราชการ ครู แพทย์ ตำรวจ ทหาร โดยยังคงไม่เก็บภาษีเจ้าหน้าที่ของรัฐและกองกำลังติดอาวุธทุกชนิดสำหรับเงินเดือนขั้นต่ำไม่ว่าจะได้รับเงินเดือนขั้นต่ำเท่าใดก็ตาม ซึ่งข่าวประชาสัมพันธ์ระบุว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาจะลดลงเป็น 6.5% ในปีหน้าซึ่งจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอยู่ที่ประมาณ 29.36 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/cambodias-national-budget-next-year-set-us766-billion-107098

ADB เผยแพร่กลยุทธ์การเป็นหุ้นส่วนใหม่ของกัมพูชา

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้รับรองยุทธศาสตร์ความร่วมมือในระดับประเทศ (CPS) ระยะเวลาห้าปีใหม่ โดยให้การสนับสนุนเป้าหมายของกัมพูชาในการเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงระดับสูงภายในปี 2573 ซึ่งภายใต้ยุทธศาสตร์ปี 2562-2566 ADB จะให้เงินกู้ยืมเพื่อพัฒนาและให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคการเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ 1.45 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ในเมืองและชนบท รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานทดแทนและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นสำคัญ โดยการสนับสนุนการปฏิรูปของภาครัฐและการพัฒนาขีดความสามารถของสถาบันจะยังคงเป็นหัวใจหลัก ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงการเข้าถึงและคุณภาพการบริการสำหรับชาวกัมพูชารวมถึงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ โดยเชื่อว่า CPS จะช่วยสร้างโอกาสในการทำงานที่ดีขึ้นสำหรับชาวกัมพูชาโดยลงทุนด้านการศึกษาทักษะและการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากประชากรวัยหนุ่มสาวของกัมพูชากำลังการขยายการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลและการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเป็นหัวใจของยุทธศาสตร์การเป็นหุ้นส่วนในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50654726/adb-releases-new-cambodia-partnership-strategy/

แรงงานสปป.ลาวได้ประโยชน์จากการปรับปรุงนโยบายด้านแรงงาน

แรงงานสปป.ลาวได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนที่มากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาและคนหนุ่มสาวส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงการพัฒนาทักษะการทำงานบางรูปแบบ หลายปีที่ผ่านมากระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมพยายามฝึกอบรมแรงงานโดยเตรียมคนหนุ่มสาวที่มีพื้นฐานไม่ดีและมีทักษะด้านอาชีพที่จำเป็น ตอนนี้คนหนุ่มสาวมีโอกาสมากขึ้นในการพัฒนาทักษะ เนื่องจากนโยบายแรงงานที่ดีขึ้น ซึ่งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ดำเนินการหลายขั้นตอนเพื่อปกป้องและส่งเสริมสิทธิของแรงงานสปป.ลาว หน่วยงานแรงงานได้ร่วมมือกับภาคเอกชนในการปรับปรุงบริการการจ้างงาน เสริมสร้างการคุ้มครองแรงงานและเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางอุตสาหกรรม นอกจากนี้ได้ปรับปรุงความปลอดภัยของการจ้างงานด้วยการเข้าถึงการคุ้มครองทางสังคมและการเจรจาซึ่งเสริมความแข็งแกร่งทั้งแรงงานและเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งในปัจจุบันสปป.ลาวมีแรงงานมากกว่า 551,200 คนซึ่งหลายคนไม่มีทักษะหรือมีทักษะเพียงเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 70 ทำงานในภาคอุตสาหกรรม

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-workers-benefitting-improved-labour-policies-107168

เวียดนามเผยราคาส่งออกชาพุ่งสูงขึ้นในตลาดจีน

จากรายงานทางสถิติของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 ราคาส่งออกกาแฟไปตลาดจีนเฉลี่ยอยู่ที่ 3,384 เหรียญสหรัฐฯต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งในช่วงครึ่งแรกของเดือนตุลาคม ปริมาณการส่งออกชาไปยังต่างประเทศโดยรวม 5,800 ตัน คิดเป็นมูลค่า 9.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 และ 0.4 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามลำดับ ถึงแม้ว่าตัวเลขจะขยายตัว แต่ราคาส่งออกเฉลี่ยลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 1,686 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ในขณะที่ ช่วงต้นปีจนถึงเดือนตุลาคมในปีนี้ เวียดนามส่งออกชา 175.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับราคาส่งออกโดยเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 อยู่ที่ 1,753 ต่อตัน โดยประเทศปากีสถานยังคงเป็นผู้นำเข้าชารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยความต้องการชาของขาวปากีสถานเพิ่มขึ้น

ที่มา :  https://english.vov.vn/economy/tea-export-price-enjoys-drastic-rise-in-chinese-market-405305.vov

EVFTA ส่งผลให้บริษัทโลจิสติกส์ เผชิญกับความท้าทายและโอกาส

ผู้ประกอบการโลจิสติกส์เวียดนามจำเป็นต้องพัฒนาในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น เพื่อที่จะพยุงธุรกิจ เมื่อข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหภาพยุโรป (EVFTA) มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งจะทำให้กระตุ้นอุปสงค์ด้านโลจิสติกส์เพิ่มมากขึ้น โดยคุณ Thi Thu Trang, ผู้อำนวยการหอการค้าเวียดนาม ระบุว่าเมื่อผลของข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA มีผลบังคับใช้ จะเปิดโอกาสแก่บริษัทบริการโลจิสติกส์ของสหภาพยุโรป ทำให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น แต่สามารถนำเงินทุน เทคโนโลยีใหม่ๆ และโอกาสในการร่วมมือของธุรกิจเพิ่มมากขึ้น โดยต้นทุนโลจิสติกส์เวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21-25 ของ GDP นอกจากนี้ โครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ของประเทศยังไม่พร้อม ส่งผลต่อความสามารถในการกระจายสินค้า และภาวการณ์แข่งขันของสินค้าเวียดนามลดลง

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/evfta-to-bring-logistics-firms-both-opportunities-and-challenges-405316.vov

หยุยลี่ แอร์ไลเริ่มบินตรงย่างกุ้งและเต๋อหง

เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาสายการบินหยุยลี่ (Ruili Airlines) ของจีนได้เริ่มให้บริการเที่ยวบินตรงเชื่อมต่อย่างกุ้งและเต๋อหยูนจังหวัดยูนนาน จะทำการบินสี่ครั้งต่อสัปดาห์ในวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และวันอาทิตย์จากสนามบินนานาชาติย่างกุ้ง (YIA) ไปเต๋อหง โดยจะทำการบินเครื่องบินโบอิ้ง 737 ซึ่งสามารถรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 144 คน เที่ยวบินตรงแรกเริ่มต้นระหว่างหมางซื่อไปยัง มัณฑะเลย์ ขณะนี้ YIA ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ 34 แห่งจากสายการบินต่างประเทศ 36 แห่ง มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมากกว่า 6% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาเนื่องจากเส้นทางใหม่ส่วนใหญ่มาจากจีน ปริมาณผู้โดยสารของย่างกุ้งเพิ่มขึ้นเป็น 4.6 ล้านคนในเก้าเดือนแรกของปี 62 ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมา 6.5% เนื่องจากการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤตยะไข่รัฐบาลจึงได้อนุญาตวีซ่าเดินทางสำหรับหกประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย เยอรมัน อิตาลี สเปน สวิตเซอร์แลนด์ และรัสเซียโดยมีค่าธรรมเนียม 50 เหรียญสหรัฐที่สนามบินย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และเนปิดอว์โดยเริ่มตั้งแต่เดือนนี้ ตุลาคมที่ผ่านมานักท่องเที่ยวจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง และมาเก๊าได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศโดยไม่ต้องขอวีซ่าในขณะที่อินเดียและชาวจีนจะได้รับการต่อวีซ่าในปีนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/ruili-airlines-starts-direct-flight-between-yangon-and-yunnans-dehong.html

เซรามิกอ่วมแน่!!! สหรัฐฯตัดสิทธิ GSP กระทบกว่า 4,000 ล.บาทต่อปี

กลุ่มเซรามิกส.อ.ท.มึน มาตรการระงับการให้สิทธิ GSP ของสหรัฐอเมริกา หลัง 25 เม.ย63 จะทำให้ผลิตภัณฑ์เซรามิก มีผลกระทบเป็นมูลค่า 4,185 ล้านบาทต่อปี เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ว่าการที่ สหรัฐอเมริกาประกาศจะระงับการสิทธิ GSP มีผลบังคับใช้ 25 เมษายน 2563 นั้น ทำให้ผลิตภัณฑ์เซรามิกมีผลกระทบเป็นมูลค่า 4,185 ล้านบาทต่อปี และมีผลกระทบกับมูลค่าการส่งออก เซรามิกของไทยเฉลี่ยสูงกว่า 20% ของมูลค่าส่งออกไปยังทั่วโลก โดยผลกระทบมากสุดคือเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิกส่งออกไปยังสหรัฐฯมูลค่า 1,949.42 ล้านบาท หรือ 32% ของมูลค่าส่งออกของไทยไปยังทั่วโลก ปัจจุบันอุตสาหกรรมเซรามิกประสบปัญหาหลายด้านอยู่แล้ว เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น วัตถุดิบในประเทศมีคุณภาพลดลง แต่มีราคาสูงขึ้น, ขาดแคลนวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ต้นทุนการผลิต อื่นๆ สูงขึ้น เป็นต้น  ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันลดลงและเมื่อระงับการให้สิทธิ GSP ยิ่งเป็นการซ้ำเติมต่ออุตสาหกรรมเซรามิก จึงขอให้ภาครัฐช่วยแก้ไขปัญหาโดยขอให้ ภาครัฐออกมาตรการใช้ผลิตภัณฑ์เซรามิก ส่งเสริมการใช้สินค้าไทย (Made in Thailand), มีมาตรการป้องกันสินค้าเซรามิกด้อยคุณภาพจากต่างประเทศที่ ส่วนการส่งออก ขอให้ภาครัฐแก้ไขปัญหาสิทธิ GSP ช่วยควบคุมค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ แต่ถ้าเป็นไปได้ก็ขอให้ค่าเงินบาทอยู่ในช่วง 31-33 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ, เร่งเจรจา FTA เพื่อเปิดตลาดกับประเทศเป้าหมาย

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/413096