กัมพูชาและไทยลงนามในข้อตกลงการจดทะเบียนข้ามพรมแดน

กัมพูชาและไทยได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นข้ามพรมแดน เพื่อปูทางให้ บริษัท ไทย และ บริษัท กัมพูชา เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ท้องถิ่นได้ โดยได้ลงนามกันที่กรุงเทพฯระหว่างผู้อำนวยการตลาดหลักทรัพย์ประเทศกัมพูชา (SECC) และ เลขาธิการ ก.ล.ต. ประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมถึงแนวทางช่วยเหลือผู้ออกตราสารที่ต้องการเสนอขายหลักทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นตราสารทุนหรือตราสารอนุพันธ์ทั้งในประเทศไทยและประเทศกัมพูชา โดยเชื่อว่า MoU เป็นขั้นตอนสำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือในตลาดทุนระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลสองแห่งทั้งด้านของความเชื่อมั่นและการดำเนินการจดทะเบียนข้ามพรมแดนให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งตลาดหลักทรัพย์กัมพูชาเปิดตัวในปี 2555 มี บริษัท จดทะเบียน 5 แห่ง โดยมีการระดมทุนทั้งหมด 120 ล้านเหรียญสหรัฐใน CSX นับตั้งแต่เปิดตัว

ที่มา : https://www.b2b-cambodia.com/news/cambodia-thailand-sign-agreement-on-cross-border-listings/

กัมพูชาเปิดตัวแผนแม่บทเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวใน 2 สถานที่มรดกโลก

กรุงพนมเปญของกัมพูชา ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ 4 ยุทธศาสตร์รวมถึงการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาและสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ฟื้นฟูในส่วนพื้นที่อุทยานโบราณคดีอังกอร์และวัดพระวิหารในจังหวัดทางตอนเหนือ โดยแหล่งท่องเที่ยวหลักสองแห่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง 9.7% และ 5.5% ในช่วงเจ็ดเดือนแรกของปีนี้ ซึ่งเชื่อมั่นว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวใหม่เป็นสิ่งที่จำเป็นในการดึงดูดนักท่องเที่ยวมายังจังหวัด จากรายงานระบุว่าในช่วงเจ็ดเดือนแรกของปีนี้กัมพูชาให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 3.84 ล้านคนเพิ่มขึ้น 11.1% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนถึง 1.5 ล้านคนในช่วงดังกล่าวเพิ่มขึ้น 37% เมื่อเทียบเป็นรายปีนักท่องเที่ยวเวียดนามพุ่งขึ้นเกือบ 480,000 คนเพิ่มขึ้น 4.6% เมื่อเทียบเป็นรายปีและนักท่องเที่ยวสปป.ลาวเกือบ 220,000 คนลดลง 1.9%

ที่มา : https://english.cambodiadaily.com/business/cambodia-unveils-masterplan-to-boost-tourism-in-2-world-heritage-sites-153334/

พัฒนาเชิงพื้นที่เชื่อมโลกยกระดับเศรษฐกิจ

การสัมมนาประจำปีของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ปี 2562 ชูแนวคิดพัฒนาพื้นที่ไทย เชื่อมไทยก้าวไกลเชื่อมโลกโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เน้นย้ำขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ให้เป็นรูปธรรม เพื่อเกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ไทยเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ลดความเหลือมล้ำในสังคม และให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางภูมิภาคนี้ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การศึกษาและสาธารณสุข ทั้งนี้การพัฒนาเชิงพื้นที่มุ่งเน้นการเข้าถึงและการเชื่อมโยงเป็นสำคัญ ซึ่งไทยมีภูมิศาสตร์ที่ดีแต่ต้องเสริมโครงสร้างพื้นฐาน เช่นถนน รถไฟ สนามบิน โครงข่ายอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงแต่ละภูมิภาค ซึ่งโครงการรถไฟทางคู่จะเป็นตัวเปลี่ยนเกมส์สำคัญทั้งการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร รวมถึงการเชื่อมโยงสู่ต่างประเทศ เช่น การพัฒนาท่าเรือระนองเป็นประตูสู่เอเชียใต้ ซึ่งมีหัวใจสำคัญที่ไทยต้องปรับตัว 2 บริบท คือ 1.การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีหรือดิสรัปชั่น 2.การเตรียมตัวรองรับการปฏิวัติอุตสาหกรรม

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/847742

‘หม่อมเต่า’ เผย ที่ประชุม รมต.แรงงาน CLMTV เห็นชอบการเคลื่อนย้าย-คงสิทธิประกันสังคมต่างด้าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ปลัดกระทรวงแรงงาน รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีแรงงานในกลุ่มประเทศ CLMTV ครั้งที่ 3 ณ อัปสรา พาเลส รีสอร์ทและคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา ในหัวข้อ “Toward the Protection of Migrant Workers in CLMVT Countries: Social Security Cooperation” โดยสมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน เป็นประธานในพิธีเปิด การประชุมในครั้งนี้ได้มีการให้ความเห็นชอบร่วมกันในหลักการของแผนงาน เพื่อการเคลื่อนย้ายและการคงสิทธิทางประกันสังคมสำหรับแรงงานต่างด้าวในกลุ่มประเทศ CLMTV และร่างแถลงการณ์ร่วมเพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการจะร่วมกันพัฒนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนย้ายและคงสิทธิทางประกันสังคมสำหรับแรงงานต่างด้าวกลุ่มประเทศ CLMTV ให้เป็นรูปธรรมต่อไป ซึ่งจะมีการตั้งคณะทำงานร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรี โดยจะมีการรับรอง ในการประชุมระดับรัฐมนตรีแรงงานในกลุ่มประเทศ CLMTV ครั้งที่ 4 ณ สปป.ลาว ต่อไป

ที่มา : https://www.prachachat.net/csr-hr/news-372745

เวียดนามตั้งเป้าหมายเจาะตลาดฮาลาล

จากข้อมูลของงานส่งเสริมการลงทุนและการค้า (ITPC) ณ นครโฮจิมินห์ ระบุว่าหากเวียดนามไม่ทำการค้าในกลุ่มตลาดฮาลาล จะเสียมูลค่าการส่งออกไปกว่า 23.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งทางผู้อำนวยการศูนย์การค้าและการลงทุน มองว่าตราสินค้าที่ได้รับรองตามมาตรฐานฮาลาลนั้น จะแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจของชาวมุสลิมในการบริโภคผลิตภัณฑ์ได้ นับว่ามีส่วนสำคัญในการปกป้องผู้บริโภค เพราะไม่เพียงแต่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางศาสนา แต่ยังสอดคล้องกับมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารที่เข็มงวดของชาวมุสลิม ผ่านการรับรองจากเครื่องหมายรับรองฮาลาล จากสถิติประชากร ระบุว่าชาวมุสลิมทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 1.8 พันล้านคนทั่วโลก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23 ของประชากรโลก ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มประชากรชาวมุสลิมอยู่ในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทำให้ประเด็นดังกล่าวข้างต้น จะทำให้เวียดนามได้เปิดโอกาสในการขยายตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น และช่วยส่งเสริมขีดความสามารถในการส่งออกไปยังต่างประเทศ รวมไปถึงเวียดนามมีข้อได้เปรียบในด้านวัตถุดิบ ในการผลิตสินค้าฮาลาล เช่น กาแฟ ข้าว อาหารทะเล เครื่องเทศ ถั่ว ผัก เป็นต้น และได้ยอมรับว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยว ด้วยเหตุนี้ การเติบโตของร้านอาหารและโรงแรม จึงเป็นไปตามมาตรฐานฮาลาล

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/535542/viet-nam-needs-to-target-halal-markets.html#jG1m6ZpFBfmp8ztb.97

จังหวัดหล่างเซินเวียดนามตั้งเป้าการลงทุน 3.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากคำแถลงการณ์ของรองประธานคณะกรรมการประจำจังหวัด ในวันจันทร์ที่ผ่านมา ณ กรุงฮานอย เปิดเผยว่าเขตจังหวัดหล่างเซิน (Lang Son) ในชายแดนภาคเหนือ ได้มีการลงนามข้อตกลงการลงทุน ด้วยโครงการมากกว่า 100 โครงการ และเงินทุนประมาณ 3.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยจังหวัดดังกล่าว ได้นำเสนอโครงการ 37 โครงการที่ต้องการเงินทุนจากนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ ในช่วงตั้งแต่ปี 2562-2568 และสามารถแบ่งประเภทของอุตสาหกรรม ดังนี้ การขนส่งและโครงสร้างพื้นฐาน 8 โครงการ, การค้าและการท่องเที่ยว 9 โครงการ และภาคเกสรกรรม ป้าไม้ ประมง 9 โครงการ รวมไปถึงมุ่งเน้นในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมให้แก่นักลงทุน ให้โปร่งใสมากขึ้นและมีเสถียรภาพ ซึ่งเขตพื้นที่จังหวัดจะดำเนินตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเร่งปฏิรูปการบริหารท้องถิ่น นอกจากนี้ ในช่วงปี 2554-2561 เศรษฐกิจท้องถิ่นมีการขยายตัวร้อยละ 8-9 หากจำแนกอุตสาหกรรม พบว่าภาคการเกษตร ป่าไม้ มีสัดส่วนร้อยละ 20.3, ภาคอุตสาหกรรม การก่อสร้างร้อยละ 19.7 และภาคบริการร้อยละ 49.78 เป็นต้น ในขณะที่ จังหวัดดังกล่าวได้ตั้งเป้าหมายในการเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวมในภูมิภาคร้อยละ 8-9 ในปี 2563 และรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 2,600-2,700 ดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา :  https://vietnamnews.vn/economy/535540/lang-son-aims-to-attract-343b-in-investment.html#3x13l4BQWmBYQVFX.97

กำไรการส่งออกประมงทางทะเลพุ่ง 660 ล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้

สหพันธ์ประมงเมียนมาระบุว่าจนถึงเดือน ส.ค.ของปีงบประมาณนี้มีรายได้แตะ 667.007 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่ม15.788 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตั้งแต่เดือน ต.ค.ถึง ส.ค.ของปี 60-61 ภาคการเดินเรือ 651.219 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออก 536,396.055 ตัน ในช่วงปีงบประมาณนี้การส่งออกทางทะเลมีจำนวน 544,533.187 ตัน ปีนี้การส่งออกอาจจะไม่ต่างจากปีที่แล้วเนื่องจากความล่าช้าและการปิดกั้นเส้นทางการค้าทางทะเลของจีน ซึ่งเดือนนี้การส่งออกจะไม่เพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่ใช่ฤดูการจับปลา ปีงบประมาณที่ผ่านมารายได้จากการส่งออกอยู่ที่ 720 ล้านเหรียญสหรัฐสูงเป็นประวัติการณ์ในรอบทศวรรษ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/marine-export-earnings-hit-over-660-m-usd-this-fy

สมาคมอุตสาหกรรมข้าวเมียนมาส่งออกข้าวไปยังจีน

สมาคมอุตสาหกรรมข้าวเมียน (MRF) ส่งออกข้าว 250,000 ตันไปยังจีนโดยมีการลงนาม MOU กับธัญพืชและน้ำมันกับจีน ในเดือน พ.ย.ระหว่างการจัดงานธัญพืชและน้ำมันแห่งชาติของจีนที่จัดโดย MRF ส่วน MOU ดังกล่าวลงนามในเดือนมิ.ย.โดยจะส่งออกข้าว 100,000 ตัน แต่ปัจจุบันส่งออกอยู่ที่ 90,000 ตัน การส่งออกข้าวไปจีนผ่านข้อตกลงระหว่างรัฐผ่านระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าของจีนและส่วนใหญ่ส่งออกผ่านชายแดน อย่างไรก็ตามการส่งออกได้ลดลงในปีงบประมาณปัจจุบันเนื่องจากการหยุดชะงักจากการตรวจจับสินค้าที่ผิดกฏหมาย ดังนั้นเมียนมาจึงเล็งตลาดส่งออกใหม่สำหรับข้าวผ่านทางทะเล กระทรวงพาณิชย์ระบุว่าโมซัมบิกและไลบีเรียเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ ซึ่งเมียนมาส่งข้าวมากกว่า 30,000 ตันทุกสัปดาห์ จากข้อมูลในช่วงปีงบประมาณ 60-61 เมียนมาส่งออกข้าวสูงถึง 3.6 ล้านตัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-rice-federation-export-rice-china.html