ธนาคารแห่งชาติกัมพูชาทบทวนมาตรการควบคุมราคาบ้าน

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) กำลังทบทวนมาตรการควบคุมราคาบ้านที่มีการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อของกัมพูชาจะต่ำที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปีนี้ ด้านดัชนีราคาบ้านพักและที่อยู่อาศัย (RPPI) ซึ่งเริ่มเปิดตัวในกลางปี 2022 เพื่อวัดราคาบ้านโดยรวมทั่วประเทศเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 9 ภายในปี 2022 เมื่อเทียบกับปี 2020 โดย NBC กำลังติดตามราคาบ้านอย่างใกล้ชิด และอาจใช้มาตรการเพิ่มเติมเพื่อควบคุมราคาหากจำเป็น ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นตัววัดเงินเฟ้อของกัมพูชาอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ในปี 2022 และคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ภายในปีนี้ สำหรับมาตรการควบคุมราคาบ้านอาจส่งผลกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ของกัมพูชา รวมถึงผู้ซื้อบ้านอาจต้องเผชิญกับอุปสรรคในการเข้าถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัยอันเนื่องจากมาตรการและราคาบ้านที่อาจชะลอตัวลงหรือลดลงในอนาคต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501490347/the-national-bank-of-cambodia-reviews-measures-of-housing-prices/

‘เมียนมา’ เผยราคาน้ำมันออกเทน 92 ดีดตัวขึ้น 2,000 จ๊าตต่อลิตร

ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 92 กลับมาดีดขึ้นที่ 2,015 จ๊าตต่อลิตรในเมื่อวันที่ 10 ต.ค. หลังจากราคาน้ำมันร่วงลง 5 วันติดต่อกัน ในขณะที่ราคาเบนซินออกเทน 95 อยู่ที่ 2,115 จ๊าตต่อลิตร และราคาดีเซล 2,310 จ๊าตต่อลิตร ทั้งนี้ คณะกรรมการกำกับการนำเข้า การจัดเก็บและการจำหน่ายเชื้อเพลิง ระบุว่าดัชนีราคากำหนดโดยราคากลางของตลาดภูมิภาคเอเชีย (MOPS) ซึ่งเป็นพื้นฐานในการกำหนดราคาสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันจำนวนมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีอิทธิพลต่อราคาเชื้อเพลิงในประเทศ นอกจากนี้ เมื่อเดือน ส.ค. 2565 พบว่าราคาน้ำมันแตะระดับสูงสุดที่ 2,605 จ๊าตต่อลิตร และราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 อยู่ที่ 2,670 จ๊าตต่อลิตร

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/octane-92-price-rebounds-to-over-k2000-per-litre/#article-title

ราคาน้ำมันเบนซินในกัมพูชาลดลง 250 เรียลต่อลิตร

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชา (MoC) ประกาศราคาน้ำมันเบนซินในช่วงสัปดาห์นี้ ลดลง 250 เรียลต่อลิตร อยู่ที่มูลค่า 4,300 เรียลต่อลิตร ขณะที่น้ำมันดีเซล ลดลง 200 เรียลต่อลิตร อยู่ที่ 4,650 เรียลต่อลิตร ซึ่งได้ประกาศราคาไว้สำหรับช่วงวันที่ 11-21 ตุลาคม 2023 ด้าน Pen Sovicheat โฆษกกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเสริมว่า พลังงานเชื้อเพลิงโดยส่วนใหญ่ของกัมพูชานำเข้ามาจากสิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม สำหรับผู้ประกอบการค้าปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในกัมพูชา ได้แก่ Tela Sokimex, Papa Savimex, Lim Long และบริษัทต่างชาติอื่นๆ ด้านผู้นำเข้าเชื้อเพลิงรายสำคัญของกัมพูชา ได้แก่ Total, Caltex และ PTT โดยกระทรวงพาณิชย์จะประกาศราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในทุกๆ 10 วัน เพื่อให้ทันต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501374895/gasoline-prices-down-250-riel-per-litre/

‘เมียนมา’ เผยราคาน้ำตาลพุ่ง หลังจำหน่ายน้ำตาลสด

จากข้อมูลของตลาดน้ำตาล ระบุว่าราคาน้ำตาลในประเทศพุ่งสูงอีกครั้ง เพียงสองเดือนก่อนที่จะจำหน่ายน้ำตาลชนิดใหม่ออกสู่ตลาด สำนักข่าวท้องถิ่นเมียนมา GNLM เปิดเผยข้อมูลตลาดน้ำตาลในย่างกุ้ง (28 ก.ย.66) พบว่าราคาน้ำตาลขายส่ง อยู่ที่ 3,750 จ๊าตต่อวิสส์ อย่างไรก็ดี ราคาขายส่งปรับตัวเพิ่มขึ้น 3,800 จ๊าตต่อวิสส์ในวันที่ 29 ก.ย. ทั้งนี้ ผู้ค้าน้ำตาลรายหนึ่งบอกกับสำนักข่าวเมียนมาว่าราคาประมูลน้ำตาลที่ขายให้กับโรงงาน ก่อนที่โรงงานจะเริ่มดำเนินการ ทำให้ราคาน้ำตาลในตลาดเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sugar-price-peaks-again-two-months-before-release-of-fresh-sugar/#article-title

‘เมียนมา’ เผยราคาข้าวโพดดิ่งลงฮวบ

ตามข้อมูลของหอการค้าและอุตสาหกรรมของเขตย่างกุ้ง เปิดเผยว่าราคาข้าวโพด (FOB) ในปัจจุบัน อยู่ที่ 270-290 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และราคาข้าวโพดในประเทศ อยู่ที่ 1,130-1,150 จ๊าตต่อ viss ทั้งนี้ สมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมา (MCIA) ระบุว่าเมียนมาส่งออกข้าวโพดไปยังตลาดจีนและไทยผ่านเส้นทางชายแดน และยังส่งออกไปยังจีน อินเดีย เวียดนามและฟิลิปปินส์ผ่านทางทะเล นอกจากนี้ ประเทศไทยอนุญาตให้นำเข้าข้าวโพดแบบฟอร์มดี (Form D) ระหว่างวันที่ 1 ก.พ.-31 ส.ค. อย่างไรก็ดี ประเทศไทยกำหนดอัตราภาษีสูงสุด 73% เพื่อปกป้องเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดในประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/corn-prices-in-steep-decline/#article-title

‘เมียนมา’ เผยราคาน้ำตาลพุ่ง 3,400 จ๊าตต่อวิสส์

ธนาคารกลางเมียนมา (CBM) เปิดเผยว่าหลังจากการออกธนบัตรใหม่ 20,000 จ๊าต ที่มีผลต่อความเชื่อเรื่องความเสี่ยงของภาวะเงินเฟ้อ และสต็อกน้ำตาลที่อยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ราคาน้ำตาลพุ่ง 3,400 จ๊าตต่อวิสส์ ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ที่ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น พบว่ามีบริษัทหลายแห่งวางแผนการเพาะปลูก 200,000 จ๊าตต่อเอเคอร์ สำหรับการเพาะปลูกอ้อยใหม่ในปี 2566-2567 นอกจากนี้ อูวินเท (U Win Htay) รองประธานสมาคมผลิตภัณฑ์น้ำตาลและอ้อยของเมียนมา กล่าวว่าการผลิตน้ำตาลของเมียนมา อยู่ที่ประมาณ 450,000 ตันต่อปี และส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีนและเวียดนาม แต่ว่าในปัจจุบันส่งออกไปยังเวียดนามเท่านั้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/local-sugar-price-surges-to-k3400-per-viss/#article-title

‘เมียนมา’ เผยราคาข้าวพันธุ์ชเวโป ปอว์ ซาน ดันราคาตลาดข้าวพุ่ง

ศูนย์ค้าข้าววาดัน (Wahdan) เปิดเผยข้อมูลวันที่ 17 ก.ค. 2566 ว่าราคาข้าวพันธุ์ชเวโป ปอว์ ซาน (Shwebo Pawsan) หรือข้าวไข่มุกของเมียนมา ปรับตัวพุ่งสูงขึ้นแตะ 112,000 จ๊าดต่อกระสอบ ส่งผลกระทบต่อราคาข้าวพันธุ์อื่นๆ เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย อาทิเช่น ราคาพันธุ์ข้าวปอว์ ซาน อยู่ที่ 91,000 – 96,000 จ๊าดต่อกระสอบ และราคาข้าวสารใหม่ อยู่ที่ 89,000 จ๊าดต่อกระสอบ เป็นต้น ทั้งนี้ สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) ประกาศที่จะร่วมมือกับโรงสีข้าว ผู้ค้าข้าวและธุรกิจต่างๆ ในการรักษาเสถียรภาพของราคาข้าวและการควบคุมตลาดข้าวให้มีราคาอยู่ในระดับที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังทำการตรวจสอบผู้ผลิตข่าวเท็จ ข่าวปลอมและข่าวลือที่นำไปเผยแพร่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อทำให้ผู้บริโภคเกิดความกังวล

ที่มา : https://borneobulletin.com.bn/myanmar-exports-over-420kt-of-beans-pulses/

“เมียนมา” เผยราคาถั่วแระ ต่ำกว่า 3 ล้านจ๊าดต่อตัน

หอการค้าและอุตสาหกรรมเขตย่างกุ้ง รายงานว่าถั่วแระ (Pigeon Pea) ปรับตัวลดลงต่ำกว่า 3 ล้านจ๊าดต่อตัน ขณะที่จากข้อมูลในวันที่ 5 มิ.ย. ราคาทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3.33 ล้านจ๊าดต่อตัน จากนั้นในวันที่ 27 มิ.ย. ราคาตกต่ำอย่างมากอยู่ที่ 2.94 ล้านจ๊าดต่อตัน โดยตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าถั่วแระลดลงราว 390,000 จ๊าดต่อตันในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับราคาถั่วเขียวผิวดำและถั่วพัลส์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/pigeon-pea-price-plunges-down-to-below-k3-mln-per-tonne/#article-title

“เมียนมา” เผยราคาเชื้อเพลิงในประเทศ พุ่ง 2,000 จ๊าดต่อลิตร

คณะกรรมการกำกับการนำเข้า การจัดเก็บและการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของเมียนมา รายงานว่าราคาน้ำมันเตาในประเทศ (ดีเซลและออกเทน 92) ขยับเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่า 2,000 จ๊าดต่อลิตร โดยราคาเชื้อเพลิงในประเทศถูกกำหนดมาจากราคาน้ำมันเบนซินอ้างอิงราคากลางของเอเชีย (MOPS) ซึ่งเป็นที่กำหนดราคาผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ ตามข้อมูลในเดือน สิ.ค. 65 พบว่าราคาน้ำมันออกเทน 92 พุ่งสูงขึ้นอยู่ที่ 2,605 จ๊าดต่อลิตร ราคาน้ำมันออกเทน 95 และดีเซล ขยับเพิ่มสูงขึ้นแตะ 2,670 จ๊าดต่อลิตร และ 3,245 จ๊าดต่อลิตร ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-honey-exports-exceed-330-tonnes-in-may/#article-title

“เมียนมา” เผยราคาน้ำตาลพุ่งทะยาน

ราคาน้ำตาลมีทิศทางที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในตลาดภายในประเทศ และอยู่ในระดับจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ประมาณ 3,300 จ๊าดต่อ Viss เป็นผลมาจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น อยู่ที่ 680 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ประกอบกับสต๊อกสินค้าในประเทศอยู่ในระดับต่ำและการนำเข้าน้ำตาลจากต่างประเทศน้อยลง ทำให้ราคาน้ำตาลสูงขึ้น ทั้งนี้ ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น สาเหตุมาจากการส่งเสริมผู้ปลูกอ้อย นอกจากนี้ คุณ อูวินเท (U Win Htay) รองประธานสมาคมผลิตภัณฑ์น้ำตาลและอ้อยของเมียนมา กล่าวว่าก่อนหน้านี้ เมียนมาส่งออกน้ำตาลไปยังจีนและเวียดนาม ซึ่งเกินกว่าที่บริโภคไว้ในประเทศ แต่ในปัจจุบันเมียนมาส่งออกเพียงแค่ประเทศเวียดนาม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sugar-price-on-upward-spiral/#article-title