หลวงพระบาง สปป.ลาว อนุมัติเขตเศรษฐกิจใหม่เพื่อการท่องเที่ยวและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

เมืองหลวงพระบาง สปป.ลาว เตรียมเปิดตัวเขตเศรษฐกิจใหม่สำหรับการพัฒนาระบบนิเวศ การเกษตร และการท่องเที่ยว บนพื้นที่ 7,693 เฮกตาร์ ในเมืองหลวงพระบางและเขตเชียงเงิน จากการประชุมสภาประชาชนแขวงหลวงพระบาง สมัยสามัญครั้งที่ 1 (ชุดที่ 2) เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในหลวงพระบางได้อนุมัติร่างข้อตกลงสองฉบับเพื่อร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้กับเมืองหลวงพระบาง โครงการนี้ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงการผลิตทางการเกษตรและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางการเกษตรในภูมิภาค ขณะเดียวกัน ได้กำหนดสิทธิและบทบัญญัติสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขตเศรษฐกิจ รวมถึงค่าชดเชยที่คาดหวังสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/05/30/luang-prabang-approves-new-economic-zone-for-tourism-economic-growth/

กัมพูชาเสนอจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะ สำหรับบริษัทเกาหลีใต้เพื่อกระตุ้นการลงทุน

กัมพูชาเสนอจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะสำหรับบริษัทเกาหลีใต้หวังดึงดูดการลงทุน ซึ่งเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้จะได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อตอบสนองความต้องการของบริษัทเกาหลีใต้ ที่สนใจเข้ามาลงทุนและดำเนินธุรกิจภายในกัมพูชาด้วยการปรับปรุงสภาพแวดล้อมด้านการลงทุนใหม่ ให้สอดรับกับความต้องการของภาคการลงทุน โดยเศรษฐกิจของกัมพูชาในปัจจุบันเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีมากกว่าร้อยละ 7 สำหรับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเศรษฐกิจกัมพูชาเริ่มฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ขณะที่กัมพูชามีความพยายามเป็นอย่างมากที่จะเชื่อมนักลงทุนเข้ามายังกัมพูชามากขึ้น ผ่านเครือข่ายความตกลงการค้าเสรีระดับภูมิภาคและทวิภาคี (FTA) รวมถึงเขตการค้าเสรีอาเซียน อาเซียนบวกหนึ่ง, RCEP, กัมพูชา-จีน FTA, กัมพูชา-เกาหลีใต้ FTA และกัมพูชา-สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ FTA

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501490362/cambodia-proposes-exclusive-special-economic-zone-for-korean-firms-to-boost-investment/

Royal Group เตรียมสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งใหม่ในจังหวัดกันดาล

บริษัท Royal Group ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ของกัมพูชา กำลังพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) แห่งใหม่ในจังหวัดกันดาล เพื่อรองรับความต้องการพื้นที่การผลิตที่มีคุณภาพรอบกรุงพนมเปญที่เพิ่มขึ้นเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งใหม่นี้มีชื่อว่า เขตเศรษฐกิจพิเศษรอยัล กรุ๊ป กันดาล (RGKSEZ) ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 120 เฮคเตอร์ ซึ่งเชื่อมต่อกับเขตเศรษฐกิจพิเศษรอยัล กรุ๊ป พนมเปญ (RGPPSEZ) ที่บริษัทดำเนินการอยู่เดิม บริษัท รอยัล กรุ๊ป โดยคาดว่าเมื่อดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบจะสามารถสร้างงานให้กับชาวกัมพูชาได้ประมาณ 200,000 ตำแหน่ง ซึ่งปัจจุบัน เขตเศรษฐกิจพิเศษรอยัล กรุ๊ป พนมเปญ มีบริษัทผู้ผลิต 85 แห่ง และบริษัทที่ไม่ได้ผลิตสินค้า 29 แห่ง มีพนักงานรวมกว่า 43,000 คน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501466083/royal-group-developing-new-sez-in-kandal/

ทางการพร้อมผลักดันโครงการเขตเศรษฐกิจกัมพูชา-ญี่ปุ่น (CJSEZ)

รัฐบาลกัมพูชากำลังจัดเตรียมนโยบายในการเตรียมความพร้อมจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษกัมพูชา-ญี่ปุ่น (CJSEZ) เพื่อเป็นการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นมากขึ้น โดยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (11 ก.พ.) มีการประชุมระหว่างรัฐมนตรีทั้งสองประเทศเพื่อหารือและเตรียมเอกสารแนวคิดในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศกัมพูชา นำโดย Sun Chanthol รองนายกรัฐมนตรีและประธานสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) เป็นประธาน โดยคาดว่าโครงการนี้จะมีส่วนสำคัญในการดึงดูดการลงทุนของญี่ปุ่นมายังกัมพูชา รวมถึงก่อให้เกิดการจ้างงาน การพัฒนาขีดความสามารถและทักษะให้กับแรงงานในท้องถิ่น อีกทั้งมีส่วนในการสนับสนุนเศรษฐกิจผ่านการส่งออกที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากกัมพูชามีตลาดเผื่อการส่งออกที่ขนาดใหญ่ขึ้น สำหรับปัจจุบัน CDC ได้อนุมัติโครงการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นไปแล้วกว่า 149 โครงการ ด้วยเงินทุนรวมประมาณ 2.9 พันล้านดอลลาร์ ณ เดือนสิงหาคม 2022 โดยลงทุนในอุตสาหกรรมการเสื้อผ้า รองเท้า สินค้าสำหรับเดินทาง ชิ้นส่วนรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ยางรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ แผงโซลาร์เซลล์ และอุตสาหกรรมประกอบจักรยาน เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501439391/cambodia-japan-sez-project-on-the-cards/

CDC ยอมรับข้อเสนอ UK ในการจัดตั้ง Green SEZ

สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) เห็นชอบต่อคำขอจากเอกอัครราชทูตอังกฤษให้จัดตั้ง “เขตเศรษฐกิจพิเศษสีเขียว (Green SEZ)” และพร้อมที่จะช่วยส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนยังกัมพูชา โดยคำร้องขอดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างการเข้าเยี่ยมคารวะโดยคณะผู้แทนซึ่งนำโดย Dominic Williams เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำกัมพูชา เข้าพบ Sun Chanthol รองนายกรัฐมนตรีและรองประธานลำดับที่ 1 ของ CDC เพื่อปรับปรุงความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของกัมพูชา ภายใต้การรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ โดยเน้นไปที่การให้ลำดับความสำคัญ คือการปรับปรุงถนนแห่งชาติหมายเลข 5, การก่อสร้างทางด่วนพนมเปญ-บาเว, การตรวจสอบบนทางด่วนพนมเปญ-เสียมราฐ-ปอยเปต รวมถึงการปรับปรุงทางด่วนพนมเปญ-สีหนุวิลล์ (PPSV) และโครงการฟูนันเตโช ซึ่งจะเป็นโครงการประวัติศาสตร์ของประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501436295/cdc-consents-to-uk-proposal-for-establishing-green-sez/

2023 มูลค่าการส่งออก-นำเข้า ผ่าน SSEZ กัมพูชา แตะ 3.36 พันล้านดอลลาร์

ปริมาณการนำเข้าและส่งออกรวมของเขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ (SSEZ) มีมูลค่า 3.36 พันล้านดอลลาร์ สำหรับในปี 2023 เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 34.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยมูลค่าการค้าผ่าน SSEZ คิดเป็นประมาณกว่าร้อยละ 7.18 ของปริมาณการค้าทั้งหมดของกัมพูชา สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ SSEZ ถือเป็นโครงการเรือธงภายใต้โครงการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ซึ่งร่วมลงทุนโดยนักลงทุนจีนและกัมพูชา ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดพระสีหนุ โดยเป็นเขตอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศในแง่ของขนาดและจำนวนผู้ประกอบการในเขต ซึ่งปัจจุบันมีองค์กรและบริษัทเอกชนรวมกว่า 180 แห่ง จากทั้งทางฝั่งจีน ยุโรป สหรัฐฯ และจากภูมิภาคอื่นๆ สร้างการจ้างงานให้กับคนในท้องถิ่นเกือบ 30,000 ตำแหน่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501435871/ssezs-export-import-valued-at-3-36-billion-in-2023/

การส่งออกของกัมพูชาผ่าน RGPPSEZ ขยายตัวต่อเนื่องแตะ 1.6 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2023

มูลค่าการส่งออกของ Royal Group Phnom Penh Special Economic Zone (RGPPSEZ) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสำหรับในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา นับจากปี 2016 ที่มีการส่งออกที่มูลค่า 316 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าที่มูลค่า 683 ล้านดอลลาร์ ในปี 2021 หลังจากนั้นก็เพิ่มขึ้นสองเท่าอีกครั้งในเวลาเพียงหนึ่งปีคิดเป็น 1.346 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2022 โดยในปี 2023 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ของเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ที่มูลค่า 1,621 ล้านดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 7 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของประเทศ ตามรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชา โดยปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตกว่า 86 แห่ง จาก 14 ประเทศทั่วโลกตั้งโรงงานผลิตในโซนดังกล่าว สร้างการจ้างงานกว่า 43,800 คน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501429922/royal-group-phnom-penh-sezs-exports-crosses-1-6-billion-in-2023/

การลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษทั่ว สปป.ลาว เติบโตในปี 2566

แม้ สปป.ลาว เผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจในปี 2566 แต่การลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษทั่วประเทศยังเติบโตได้ โดยมีบริษัทประมาณ 178 แห่ง เข้าไปลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) ทั่วประเทศ ทำให้เกิดโอกาสในการทำงานมากกว่า 3,600 ตำแหน่ง การลงทุนประกอบด้วยบริษัทในภาคบริการ 127 แห่ง ภาคอุตสาหกรรม 18 แห่ง ภาคการค้า 30 แห่ง และภาคเกษตรกรรม 3 แห่ง การลงทุนรวมกันมีมูลค่าเป็นเงิน 520 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีทุนจดทะเบียน 178 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ เขตเศรษฐกิจพิเศษยังสนับสนุนให้เกิดร้านค้าและสถานประกอบการกว่า 2,645 แห่ง สร้างรายได้ต่อปีสูงถึง 174 พันล้านกีบ (มากกว่า 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ให้กับงบประมาณของรัฐบาล โดยธุรกิจเหล่านี้จ้างคนงาน 3,644 คน แบ่งเป็นแรงงานลาว 3,572 คน และแรงงานต่างด้าว 72 คน

ที่มา: https://laotiantimes.com/2024/01/03/laos-sezs-surge-with-major-investments-fueling-economic-growth-amid-lingering-concerns-for-worker-safety

คณะกรรมการจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวก์ได้รับการจัดตั้งใหม่

ตามคำสั่งที่ 3/2023 ของคณะกรรมการกลางเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียนมาร์ ที่ออกเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวก์ขึ้นใหม่ ภายใต้บทที่ 5 มาตรา 9 (D) ของกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียนมาร์ พ.ศ. 2557 ทั้งนี้คณะกรรมการกลางได้ปฏิรูปคณะกรรมการจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวก์ และแต่งตั้ง U Kyaw Shwe Tun จากกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานคณะกรรมการ พร้อมทั้งมีนาย U Win Myint รองอธิบดีกรมพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัยซึ่งเกษียณอายุแล้วทำหน้าที่เป็นรองประธาน และสมาชิกประกอบด้วย U San Shwe Maung จากรัฐบาลรัฐยะไข่ หัวหน้าแผนกการวางแผนภายใต้กระทรวงการวางแผนและการเงิน ผู้บริหารเขต ของกรมบริหารทั่วไปเขตเจ้าผิวก์ ภายใต้กระทรวงมหาดไทย เจ้าหน้าที่ของการท่าเรือเมียนมา (รัฐยะไข่) ภายใต้กระทรวงคมนาคมและการสื่อสาร และผู้อำนวยการกรมพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัย (รัฐยะไข่) ภายใต้กระทรวงการก่อสร้าง นอกจากนี้ คณะกรรมการยังได้แต่งตั้ง ดร. จ่อ ซาน อู เป็นเลขานุการและรองผู้อำนวยการใหญ่องค์การส่งเสริมการค้าเมียนมาร์ สังกัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นเลขานุการร่วม โดนคณะกรรมการมีหน้าที่ปฏิบัติตามภารกิจของคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวก์และเขตเศรษฐกิจพิเศษที่กำหนดไว้ในกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียนมาร์อย่างเคร่งครัด

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/kyaukpyu-sez-management-committee-reestablished/#article-title

หนังสือเชิญแสดงความสนใจ สำหรับสมาคมวิสาหกิจที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลเมียนมา ในความร่วมมือโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวก์

ในการจัดตั้งสมาคมวิสาหกิจที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลของเมียนมา คณะกรรมการกลางเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียนมาภายใต้กระทรวงพาณิชย์จะเรียกร้องให้มีการแสดงหนังสือความสนใจ (EOI) และมาตรการต่างๆ กำลังดำเนินการเพื่อจัดตั้งสมาคมหน่วยงานที่ได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาลเมียนมา เพื่อร่วมมือกันในโครงการท่าเรือทะเลลึกนอกชายฝั่ง เขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวก์ บริษัทที่เป็นของชาวเมียนมาจะถูกตรวจสอบเพื่อเข้าร่วมกลุ่มภายใต้กฎและข้อบังคับ โดยบริษัทจะต้องเป็นบริษัทเอกชนในประเทศหรือบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนภายใต้กฎหมายบริษัทเมียนมาปี 2017 จะต้องดำเนินการต่อเนื่องตั้งแต่การจัดตั้งบริษัท และจะต้องถือแบบฟอร์มแยกบริษัทและใบรับรองการจดทะเบียนบริษัทที่ออกโดยคณะกรรมการการลงทุนและการจดทะเบียนบริษัท และต้อง ไม่ถูกระงับบนระบบทะเบียนออนไลน์ MyCO ของ DICA ทั้งนี้ บริษัทจะต้องจัดตั้งขึ้นมานานกว่า 10 ปีหรือต้องมีประสบการณ์ 5 ปีในกระบวนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ประสบความสำเร็จ หากนิติบุคคลถูกจัดตั้งขึ้นในรัฐยะไข่ ระยะเวลาในการจัดตั้งนิติบุคคลที่กำหนดจะผ่อนคลายลงในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ มูลค่าการซื้อขายขั้นต่ำเฉลี่ยต่อปีจะต้องเท่ากับ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือจำนวนเทียบเท่าในสกุลเงินต่างประเทศหรือสกุลเงินท้องถิ่นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และจะต้องไม่ถูกขึ้นบัญชีดำหรือถูกตัดสิทธิ์โดยกระทรวง สภาเนปิดอว์ และรัฐบาล รวมทั้งบริษัทเหล่านั้นจะต้องจ้างพนักงานที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญเพียงพอซึ่งสามารถให้การสนับสนุนทางเทคนิคแก่โครงการได้ แต่ละหน่วยงานจะต้องเสนอเอกสารยืนยันว่าพวกเขาสามารถลงทุนอย่างน้อย 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในข้อเสนอ ต้องส่งรายงานงบการเงินในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาพร้อมกับใบรับรองด้านภาษีจากสำนักงานสรรพากรที่เกี่ยวข้องด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/eoi-invited-for-myanmar-gde-consortium-in-kyaukphyu-sez-collaboration/#article-title