เกษตรกรแห่ปลูกกระเจี๊ยบมอญ สร้างรายได้งามตลอดปี

เกษตรกรเขตซะไกง์ ปลูกกระเจี๊ยบมอญ (Okra) ได้ตลอดทั้งปี สร้างรายได้งามให้เกษตรกร ซึ่งต้นทุนการเพาะปลูกประมาณ 300,000 จัต ซึ่งรวมปุ๋ย เมล็ดพืช ยาฆ่าแมลง และการไถพรวนเข้าไปด้วย กระเจี๊ยบมอญเหมาะที่จะปลูกในอากาศร้อน และผลผลิตจะลดลงในฤดูหนาว โดยสามารถวางขายได้สองเดือนหลังจากการเพาะปลูกทำให้เกษตรกรมีรายได้ต่อวันกว่า 50,000 จัต ทั้งนี้ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนเกษตรกรมักจะปลูกพริก แตงกวา หัวหอม ข้าวโพด ดอกเบญจมาศ ดอกแกลดิโอลัส กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี และมะเขือเทศ ในขณะที่เกษตรกรส่วนใหญ่เลือกปลูกกระเจี๊ยบมอญในฤดูมรสุมเนื่องจากสามารถปลูกได้ผลดีแม้ในฤดูฝน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/lucrative-ladies-fingers-attract-farmers-to-grow-all-year-round/

เกษตรกรเมืองจอกเซเฮ! ผลผลิตงาได้ราคาดี

เกษตรกรผู้ปลูกงาจากเมืองจอกเซ มัณฑะเลย์ ดีใจกับผลผลิตและราคาที่ดี สร้างความพึงพอใจให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น งามี 2 ประเภท คือ งาตะลินและงาตวง ปัจจุบันงา 1 ตะกร้าราคาจะอยู่ที่ 4,700 จัต. เมล็ดงาส่วนใหญ่จะใช้เป็นเครื่องปรุง ส่วนผสมในอาหารบางชนิด และแปรรูปเป็นขนมขบเคี้ยว ผลิตภัณฑ์งายอดนิยมคือน้ำมันงา ซเนื่องจากมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และน้ำมันงายังถูกนำมาใช้ทำเป็นยาแผนโบราณอีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/kyaukse-sesame-growers-happy-with-fair-price-bumper-yield/#article-title

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศ CLMVIP : ความเหมือนที่แตกต่าง

โดย ศูนย์วิจัยกรุงศรี

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ทำให้เศรษฐกิจของประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ (ในที่นี้จะเรียกโดยย่อว่า “CLMVIP”) ได้รับผลกระทบอย่างหนักในปี 2020 อย่างไรก็ดี ในปี 2021 หลายประเทศในกลุ่มนี้ มีแนวโน้มเติบโตในอัตราสูงราวร้อยละ 4-7 ปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของประเทศ CLMVIP ที่สำคัญ 3 ประการ คือ (i) ผลของมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากทั้งนโยบายการเงินและการคลัง โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (ii) การส่งออกที่ได้อานิสงส์จากวัฏจักรการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และ (iii) กระแสการรวมตัวกันภายในภูมิภาค (Regionalization) ที่เข้มแข็งขึ้น แม้ว่าประเทศในกลุ่ม CLMVIP จะมีปัจจัยสนับสนุนการเติบโตที่คล้ายคลึงกัน ในรายประเทศอาจมีลำดับการฟื้นตัวที่แตกต่าง เวียดนาม มีโอกาสฟื้นตัวโดดเด่นด้วยพื้นฐานเศรษฐกิจในประเทศที่แข็งแกร่ง และรายรับจากภาคต่างประเทศที่ขยายตัวดี ผนวกกับข้อได้เปรียบจากความตกลงการค้าเสรีสำคัญ อาทิ ความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) ความตกลงการค้าเสรีสหราชอาณาจักร-เวียดนาม (UKVFTA) รวมทั้งยังมีการควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ดี

ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ใน CLMVIP มีระดับการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปกว่าด้วยข้อจำกัดที่แตกต่างกัน โดยอินโดนีเซียและกัมพูชา อาจฟื้นตัวเป็นลำดับถัดจากเวียดนาม แม้อินโดนีเซียมีจำนวนผู้ติดเชื้อสูง แต่คาดว่าภาคส่งออกจะมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อีกทั้งยังได้ผลบวกจากแผนการขยายมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ รวมถึงแผนการฉีดวัคซีนและแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ กัมพูชาอาจได้แรงสนับสนุนจากการส่งออก นำโดยตลาดจีนและสหรัฐฯ ซึ่งอาจช่วยลดผลกระทบจากการถูกระงับสิทธิพิเศษทางภาษีบางส่วนจากสหภาพยุโรป ฟิลิปปินส์ แม้มีปัจจัยหนุนจากขนาดวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐมากถึงร้อยละ 4 ของ GDP   แต่การเบิกจ่ายยังเป็นไปอย่างล่าช้า และสถานการณ์การระบาดในประเทศค่อนข้างรุนแรง ส่งผลให้ตลาดแรงงานยังอ่อนแอ และกระทบต่อการฟื้นตัวของการใช้จ่ายเพื่อบริโภคในประเทศ สปป.ลาว มีโครงสร้างเศรษฐกิจที่ค่อนข้างอ่อนแอ อีกทั้งขนาดการกระตุ้นเศรษฐกิจค่อนข้างจำกัด ผลกระทบจากโควิด-19 จึงทำให้ฟื้นตัวล่าช้า ขณะที่เมียนมา เผชิญประเด็นด้านเสถียรภาพทางการเมืองหลังจากผู้นำทางทหารของเมียนมาเข้ายึดอำนาจและประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี ซึ่งส่งผลฉุดรั้งความเชื่อมั่นของนักลงทุนและคู่ค้าในระยะนับจากนี้ และอาจมีผลให้พัฒนาการทางเศรษฐกิจของเมียนมาในระยะยาวหยุดชะงักลงไปได้

อ่านต่อ : https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/regional-recovery-2021

ปีงบ 63-64 ส่งออกมะม่วงเมียนมา ดิ่งลง เหลือเพียง 278 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตามข้อมูลของกรมศุลกากรเมียนมา การส่งออกมะม่วงของเมียนมาร์สร้างรายได้ 278 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งปีแรก (ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงมีนาคม) ของปีงบประมาณ 2563-2564 ลดลงอย่างมากเนื่องจากปิดชายแดนจากผลกระทบด้านลบของ COVID-19 การส่งออกมะม่วงเพชรน้ำหนึ่ง (Seintalone) ไปจีนในปีนี้น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 50% การเพาะปลูกมะม่วงเขตอิรวดีมีพื้นที่มากสุดประมาณ 46,000 เอเคอร์ รองลงมาตือเขตพะโค พื้นที่ 43,000 เอเคอร์ และมัณฑะเลย์มีมะม่วง 29,000 เอเคอร์ เป็นต้น ทั้งนี้ในการส่งออกนอกเหนือจากจีนเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่แล้ว เมียนมายังส่งออกไปอินเดีย บังคลาเทศ ไทย สาธารณรัฐเกาหลี สิงคโปร์ และญี่ปุ่น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-278-mln-from-mango-exports-in-h1/

ปีงบฯ 63-64 ค้าชายแดนเมียนมาลดฮวบ 7.19 พันล้านดอลลาร์

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย 9 เดือนแรกของปีงบ 63-63 มูลค่าการค้าชายแดนรวม 7.189 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงมากกว่า 842 ล้าน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แบ่งเป็นการส่งออกรวม 4.69 พันล้านดอลลาร์ ส่วนดารนำเข้า 2.49 พันล้านดอลลาร์ เมียนมาเปิดค่ายการค้าชายแดน 18 ด่าน ปริมาณการค้าที่การค้าชายแดนมูเซ จีน-เมียนมามีมูลค่ารวม 3.66 พันล้านดอลลาร์ ลดลงกว่า 567 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ การเกษตร สัตว์ ทะเล ป่าไม้ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อื่นๆ การนำเข้า ได้แก่ สินค้าทุน วัตถุดิบ สินค้าส่วนบุคคล และผลิตภัณฑ์ CMP

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-border-trade-value-hits-7-19-bln-in-2020-2021fy/#article-title

7 เดือนแรกของปีงบฯ 63-63 ภาคปศุสัตว์ ประมง ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศถึง 5 โครงการ

ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 ถึงสิ้นเดือนเมษายน 2564 -ของปีงบประมาณ 2563-2564 คณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) เผย ภาคปศุสัตว์และประมงดึงดูดโครงการลงทุนจากต่างประเทศจำนวน 5 โครงการ สร้างรายได้กว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วย ฟาร์มสัตว์ปีก สุกร ไก่เนื้อ และกุ้ง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2531-2532 มีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 16 ประเทศประมาณ 926.218 ล้านดอลลาร์ไหลเข้าสู่ภาคปศุสัตว์และการประมง ในจำนวนนั้น ประเทศไทยมีการลงทุนสูงสุด โดยมีมูลค่ามากกว่า 380 ล้านดอลลาร์ รองลงมาคือสิงคโปร์ด้วยเงินประมาณ 130 ล้านดอลลาร์

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/livestock-fisheries-attract-five-foreign-investment-projects-in-seven-months/