เกษตรกรมโหย่ติ ประสบผลสำเร็จในการปลูกงาได้ตลอดทั้งปี

ชาวบ้านในพญายี อำเภอมโหย่ติ จังหวัดมะกเว เขตมะกเว ประสบความสำเร็จในการใช้น้ำบาดาลปลูกงาดำตลอดทั้งปี เกษตรกรมีการไถไร่อย่างเป็นระบบ งาดำเริ่มปลูกเมื่อวันที่ 24 เมษายน 64 หลังจากมีเรือนเพาะชำแล้ว จะทำการปลูกบนพื้นที่ขนาด 1 เอเคอร์ และรดน้ำด้วยผ่านท่อด้วยระบบสปริงเกอร์งาสามารถให้ผลผลิตได้หลังจากปลูก 100 วัน งามีการปลูกในประเทศตลอดทั้งปี โดยเฉพาะเมียนมาร์ปลูกงาขาว งาดำ ปัจจุบันเมียนมาส่งออกงาไปยังจีนส่วนใหญ่ผ่านเส้นทางชายแดน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cultivation-of-sesame-succeeds-in-myothit/#article-title

ราคาถั่วเหลืองพุ่งตามอุปสงค์ที่แข็งแกร่ง

ราคาถั่วเหลืองอยู่ที่ 68,550 ต่อถุงต่อถุงในปลายเดือนมกราคม-ปลาย ม.ค. 64 จากความต้องการจากต่างประเทศที่สูงส่งผลให้ราคาสูงถึง 80,000 จัตต่อถุงในต้นเดือนมิถุนายน โดยปกติเมียนมาส่งถั่วเหลืองไปยังจีนผ่านด่านชายแดนมูเซ นอกจากตลาดจีนแล้ว ยังส่งออกไปไทยใน และอินเดียทางทะเล ความท้าทายที่ครั้งใหญ่ของการผลิตถั่วเหลืองคือการพื้นที่เพาะปลูกในปีที่ผ่านมา ระหว่างปี 56-57 และปี 62-63  ลดลงเหลือ 40,000 เอเคอร์ การลผลิตถั่วเหลืองยังต้องการสนับสนุนทางเทคนิคสำหรับโรคก่อนการเก็บเกี่ยวและความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว ควบคู่ไปกับการสำรวจตลาด ในปีงบประมาณ 62-63 มีพื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลืองมากกว่า 360,000 เอเคอร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากกว่า 340,000 เอเคอร์ที่จดทะเบียนในปีงบประมาณ 61-62 การส่งออกถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ในปี 2559 ส่งออกถ 1,700 ตัน ส่งออก 2,000 ตันในปี 60 และ 7,000 ตันในปีงบประมาณ 61-62

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/soybean-price-rises-on-steady-demand/

MADB สาขามะริด ปล่อยเงินกู้ 5,000 ล้านจัต ช่วยเกษตรกรในฤดูมรสุม

ธนาคารพัฒนาการเกษตรแห่งเมียนมา (MADB) สาขามะริด ได้ปล่อยเงินกู้ช่วยเหลือภาคการเกษตรจำนวน 5 พันล้านจัต สำหรับการปลูกข้าวในช่วงมรสุมครอบคลุมเกษตรกรกว่า 6,122 คนใน 5 ตำบลในอำเภอมะริด เขตตะนาวศรี โดยใช้เกณฑ์จ่าย 150,000 จัตต่อเอเคอร์ สูงสุดไม่เกิน 10 เอเคอร์ ดอกเบี้ยร้อยละ 5 เหมือนเช่นเดียวกันกับปีที่แล้ว

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/madb-to-disburse-k5-bln-monsoon-crop-loans-for-over-6000-farmers-in-myeik-district/#article-title

ราคามะนาวเมืองจาอี้นเซะจี้ ร่วงอย่างต่อเนื่อง

มะนาวมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายในเมืองจาอี้นเซะจี้ (Kya-in-Seikkyi) จังหวัด ก่อกะเระ รัฐกระเหรี่ยง  เกษตรกรในท้องถิ่นมีการปลูกเชิงพาณิชย์และหารายได้เสริมให้กับครอบครัวเป็นจำนวนมากบนพื้นที่กว่า 10,000 เอเคอร์ ทำให้มะนาวออกผลสู่ตลาดเป็นอย่างมากส่งผลให้ราคาจึงลดลงอย่างต่อเนื่อง ในฤดูมรสุมปีที่แล้ว ราคามะนาวแตะ 15 จัตต่อลูก แต่พุ่งเป็น 150 หรือ 200 จัตต่อผลแต่ขึ้นอยู่กับขนาดของลูกมะนาว แต่ปีนี้ราคาร่วงลงเหลือลูกละ 40 จัต ทั้งนี้เมื่อถึงฤดูเก็บเก็บเกี่ยวมะนาวจะถูกส่งไปยังขายยังเมืองมะละแหม่ง รัฐมอญ และเขตย่างกุ้ง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/lemon-price-constantly-drops-in-kya-in-seikkyi/#article-title

วิกฤติทางการเมืองในเมียนมาทำให้ประชากรอีก 3.4 ล้านคนต้องเผชิญกับ ‘ความหิวโหย’

โดยโครงการอาหารโลก (World Food Programme, WFP)

ตั้งแต่รัฐประหารในเมียนมาเมื่อกุมภาพันธ์ 2564 ยิ่งทำให้ประเด็น ‘ความไม่มั่นคงทางอาหาร’ ของประเทศที่มีแต่เดิมรุนแรงขึ้น ประมาณว่าอีก 1.5 – 3.4 ล้านคนในเมียนมาจะประสบกับความหิวโหย และ 3 ใน 4 ของประชาชนจะเปราะบางต่อ ‘ความยากจน’ โดยเฉพาะผู้คนในพื้นที่เขตเมืองซึ่งได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำ และผลกระทบระยะยาวที่มีต่อระบบอาหารในพื้นที่ชนบท

เพราะวิกฤติทางการเมืองทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว การค้าขายติดขัด การลงทะเบียนเปิดธุรกิจน้อยลงกว่าปีก่อนหน้า ซึ่งทางธนาคารโลกคาดการณ์ว่า GDP ของเมียนมาร์อาจหดตัวถึง 10% ในปี 2564

นอกจากนี้ วิกฤติทางการเมืองทำให้การดำเนินการภาครัฐ 90% ต้องพักลงชั่วคราว การให้บริการสาธารณสุข สถาบันการศึกษา และโรงงานในย่างกุ้งกว่า 13 แห่ง (มีนาคม 2564) ต้องปิดตัวลง ผู้คนสูญเสียงานและรายได้ขณะที่ราคาข้าวและน้ำมันทำอาหารสูงขึ้น 5% และ 18% ตามลำดับ และสูงมากในบริเวณชายแดนในรัฐยะไข่ คะฉิ่น และฉิ่น ทั้งค่าใช้จ่ายในภาคขนส่งที่แพงขึ้น และธนาคารพาณิชย์ประมาณ 2,000 แห่งทำงานไม่ได้ตามปกติ การชำระเงินระหว่างประเทศ การถอนเงิน การโอนเงินระหว่างธนาคาร รวมถึงการส่งเงินกลับบ้านของชาวเมียนมามากกว่า 4 ล้านคนจากต่างประเทศซึ่งเป็นรายได้หนึ่งแหล่งที่สำคัญ ต้องประสบปัญหา – เหล่านี้เป็นสัญญาณสำคัญต่อประเด็นความยากจน และความหิวโหยในเมียนมา

เมียนมาเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างต่ำที่เศรษฐกิจพึ่งพิงอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ อัญมณี เป็นต้น โดยที่ภาคบริการคิดเป็น 42% ของ GDP ภาคอุตสาหกรรมคิดเป็น 36% และภาคเกษตรกรรมคิดเป็น 22% ขณะที่ด้านการค้าขายส่วนมากค้าขายภายในภูมิภาคโดยมีจีนเป็นหุ้นส่วนหลักที่ส่งออก 31% และนำเข้า 34% ตามมาด้วยประเทศไทยและสิงคโปร์ ส่วนในด้านการลงทุนมีสิงคโปร์ลงทุน 34% และฮ่องกง 26%

อย่างไรก็ดี ในภาวะปกติจนถึงมกราคม 2564 ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารในเมียนมามาจาก – ความเปราะบางต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความขัดแย้งและความตึงเครียดระหว่างชุมชน และผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจ

เช่นการศึกษาของ Fill the Nutrient Gap ในปี 2562 ระบุว่าอาหารที่มีโภชนาการและดีต่อสุขภาพยังคงมีราคาสูงจนคนเมียนมาไม่สามารถเข้าถึงได้ 9 ใน 10 ของครัวเรือนสามารถเข้าถึงอาหารที่ให้พลังงาน 4 ใน 10 สามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ

ขณะที่หลังจากวิกฤติทางการเมือง WFP ประเมินว่าปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความไม่มั่นคงทางอาหารมาจาก ‘การสูญเสียรายได้และสูญเสียงานของครัวเรือน จากเหตุการณ์ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยตั้งฉากทัศน์ไว้ที่ 3 เดือนและ 6 เดือนหลังจากเดือนมีนาคม 2564 โดยเฉพาะว่าในกลางเดือนมีนาคมจะเป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าวบริเวณปากน้ำอิรวดี และเตรียมดินเพื่อทำนาในช่วงพฤษภาคม – มิถุนายน

ทว่าด้วยสถานการณ์ของเมียนมาในตอนนี้ซึ่งกระทบกับภาคการเกษตร แรงงาน และการคมนาคมขนส่ง ย่อมส่งผลทำให้อาจไม่สามารถปลูก-เก็บเกี่ยวพืชผลได้ ทั้งที่จะเป็นอาหารเลี้ยงปากท้องของคนเมียนมาเอง

ที่มา :

/1 https://www.sdgmove.com/2021/06/04/myanmar-after-takeover-face-food-insecurity/

/2 https://www.wfp.org/publications/myanmar-analysis-economic-fallout-and-food-insecurity-wake-takeover-2021

YIA ขยายเวลาระงับเที่ยวบินเข้าประเทศถึงสิ้นเดือน มิ.ย. 64

ประกาศของกระทรวงคมนาคมและการสื่อสาร เผย ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้ง (YIA) ได้ขยายเวลาระงับเที่ยวบินขาเข้าทั้งหมดจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ทั้งนี้กรมการบินพลเรือนและกระทรวงสาธารณสุขและกีฬา ประกาศจะระงับการให้กับผู้โดยสารตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2563 เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตามจะยกเว้นให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล ชาวต่างชาติ นักการทูต และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานของสหประชาชาติ แต่จะต้องติดต่อสถานทูตเมียนมาในต่างประเทศหรือสถานกงสุลในเมียนมาร์เพื่อยกเว้นวีซ่า นอกจากนี้ Myanmar Airways International (MAI) และ Air KBZ ได้ระงับการบินภายในประเทศไปยังท่าขี้เหล็ก, กะเลย์, เชียงตุง, ทวาย, มะริด และ เกาะสอง ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม ถึง 8 มิถุนายน ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/yia-extends-suspension-of-all-incoming-international-flights-till-30-june/