“Xiaomi” ยืนยันเตรียมสร้างสายการผลิตสมาร์ทโฟนในเวียดนาม

เสียวหมี่ (Xiaomi) ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือสัญชาติจีน ประกาศเริ่มผลิตสมาร์ทโฟนในเวียดนาม โดย DBG Technology ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ DBG Electronics ของฮ่องกงที่ตั้งโรงงานในจังหวัดท้ายเงวียน (Thai Nguyen) ภาคเหนือของประเทศ ทั้งนี้ บริษัท DBG Technology  เผยว่าโรงงานแห่งใหม่ในเวียดนามจะเป็นศูนย์กลางในการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงมาเลเซียและไทย ในขณะที่ต้นทุนการขนส่งในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และต้นทุนโลจิสติกส์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งปัญหาดังกล่าว ทางผู้ผลิตสมาร์ทโฟนสัญชาติจีนได้จับมือกับพันธมิตรในการโลคัลไลเซชันด้านการผลิต

ที่มา : https://hanoitimes.vn/xiaomi-confirms-production-of-smartphones-in-vietnam-321190.html

AMRO ชี้ “ศก.เวียดนามเติบโตได้ดี”

สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 (AMRO) รายงานภาวะเศรษฐกิจไตรมาส คาดการณ์ว่าตัวเลขการเติบโต GDP ของเวียดนามสูงเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน รองจากฟิลิปปินส์ ปี 2565 และจะสูงเป็นอันดับที่ 1 ในปีหน้า ทั้งนี้ เศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มที่จะขยายตัว 6.3% ในปีนี้ และ 6.5% ในปีหน้า ซึ่งสูงกว่าตัวเลขอัตราการเติบโตของกลุ่มประเทศในภูมิภาคที่อยู่ประมาณ 4.3% และ 4.9% ตามลำดับ

นอกจากนี้ เวียดนามถือเป็นประเทศที่เปิดกว้างทางด้านเศรษฐกิจอย่างมาก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจีน แต่อย่างไรก็ดี ยังเผชิญกับความเสี่ยงจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนที่ได้สร้างแรงกดดันต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์และเงินเฟ้อทั่วโลก ส่งผลให้เงินเฟ้อในภูมิภาคเพิ่มสูงขึ้น 5.2% ในปีนี้ โดยเวียดนามยังมีฐานะทางการคลังที่แข็งแกร่ง ในขณะเดียวกันยังใช้นโยบายการคลัง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ รวมถึงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-economy-to-perform-well-amro-post955081.vov

วิกฤติขาดแคลนข้าวสาลี เหตุจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ดันส่งออกข้าวเวียดนามดีขึ้น

ปัญหาการหยุดชะงักของอุปทานข้าวสาลีทั่วไปที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้ผู้นำเข้าไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องแสวงหาวัตถุดิบหรือธัญพืชอื่นมาแทน ซึ่งจะเป็นผลดีต่อข้าวเวียดนาม โดยข้าวเวียดนามปรับราคาสูงขึ้นอย่างมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาและสูงกว่าข้าวไทยอีกด้วย ข้าวคุณภาพสูงของเวียดนามในเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 10-15 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ปริมาณการส่งออกข้าว อยู่ที่ 2.77 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 6.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่วนใหญ่จะส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าหลักที่มีความต้องการอย่างมาก โดยเฉพาะตลาดแอฟริกา ฟิลิปปินส์และมาเลเซีย ความต้องการข้าวเวียดนามที่เพิ่มขึ้นนั้นไม่เพียงแต่สามารถสังเกตได้ในตลาดดั้งเดิมเท่านั้น แต่ยังสามารถสังเกตได้ในตลาดระดับบนหรือตลาดไฮเอนด์ เช่น เยอรมนี สวีเดนและโปแลนด์ อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบางคนมองว่ายังเร็วเกินไปที่จะยินดีกับทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากผู้นำเข้าหลายรายเริ่มมองหาซัพพลาย เพื่อหาราคาข้าวที่ถูกกว่าท่ามกลางราคาข้าวเวียดนามที่เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1266243/wheat-shortages-bode-well-for-vietnamese-rice.html

“เวียดนาม” ยกระดับการส่งออกข้าวคุณภาพสูง

สมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) เปิดเผยว่าราคาข้าวขาวหัก 5% ของเวียดนามสูงกว่าราคาข้าวไทย อินเดียและปากีสถาน โดยเฉพาะราคาข้าวเวียดนาม 418 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน สูงกว่าราคาข้าวไทย 8 ดอลลาร์สหรัฐและสูงกว่าราคาข้าวปากีสถาน ($30) และอินเดีย ($75) ตามลำดับ ในขณะที่ราคาส่งออกข้าวขาวหัก 25% ของเวียดนามในปัจจุบัน อยู่ที่ 403 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เท่ากับข้าวไทย แต่ยังสูงกว่าราคาข้าวปากีสถานและอินเดีย นอกจากนี้ ข้าวคุณภาพสูงของเวียดนามจะส่งออกไปยังญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป โดยเร็วๆนี้ทางบริษัท Tan Long Group JSC กับธนาคารญี่ปุ่น “Kiraboshi” ได้ร่วมจัดพิธีในกรุงโตเกียว มีวัตถุประสงค์เพื่อโปรโมทข้าว “ST25” ซึ่งเป็นข้าวหอมที่ดีที่สุดในโลก ประจำปี 2562 สู่ตลาดญี่ปุ่น

 

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-boosts-export-of-highquality-rice/232263.vnp

“เวียดนาม-เม็กซิโก” ส่งเสริมความร่วมมือเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน

นายโด๋ถางไห่ (Do Thang Hai) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม นำคณะผู้แทนผู้ประกอบการชาวเวียดนาม 23 ราย เข้าร่วมการประชุมฟอรั่มธุรกิจไทย-เวียดนาม เมื่อวันที่ 4 ก.ค. วัตถุประสงค์เพื่อดำเนินความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าทวิภาคี นาง Luz Maria de la Mora ปลัดกระทรวงเศรษฐกิจเม็กซิโก กล่าวว่าในมุมมองของเม็กซิโกถือว่าตลาดเวียดนามเป็นตลาดเชิงกลยุทธ์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและหวังว่าทั้งสองประเทศจะประสานงานกันอย่างใกล้ชิด ตลอดจนใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ตามตัวเลขสถิติของกรมศุลกากรเวียดนาม ชี้ว่าในปี 2564 การค้าของทั้งสองประเทศ อยู่ที่ 5.06 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 37.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยเวียดนามสนใจที่จะลงทุนในเม็กซิโก อาทิ อุตสาหกรรมพลังงาน โทรคมนาคม การเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้สูง เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-mexico-promote-economic-trade-investment-cooperation/232181.vnp

“เวียดนาม” ตั้งเป้าศก.โต 7% ปีนี้

นาย Nguyen Chi Dung รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ กล่าวในที่ประชุมของรัฐบาลว่าเวียดนามตั้งเป้าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัว 7% ในปีนี้ ซึ่งสูงกว่าที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะขยายตัว 6-6.5% เพื่อให้บรรลุตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ เศรษฐกิจของเวียดนามในไตรมาสที่ 3 จะต้องขยายตัว 9% และในไตรมาสที่ 4 (6.3%) และเวียดนามเกินดุลงบประมาณ ทำให้นโยบายการคลังช่วยภาคธุรกิจและผู้อยู่อาศัย ทั้งนี้ สถาบันสินเชื่อจะต้องปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มเติม เพื่อลดแรงกดดันด้านต้นทุนการผลิตแก่กิจการและเศรษฐกิจ

ที่มา : https://asia.nikkei.com/Economy/Vietnam-targets-7-GDP-growth-this-year-investment-minister-says