ท่าเทียบเรือกำแพงกันดินเมืองคาเลวาคืบหน้าไปแล้ว 40%

หน่วยงาน Water Resources and Improvement of River Systems Department ของเมืองคาเลวา เผยก่อสร้างท่าเทียบเรือกำแพงกันดินเสร็จแล้ว 40% ในตลาดเมืองคาเลวา จังหวัดกะเล่ เขตซะไกง์ โครงการจะแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม 64 โดยโครงการนี้เริ่มก่อสร้างวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 64 ขณะนี้กำลังสร้างกำแพงกันดินยาว 350 ฟุต โดยบริษัท Chindwin Dragon (Chindwin Nagar) ซึ่งมีงบประมาณการก่อสร้าง 150 ล้านจัต จากกองทุนรัฐบาลในส่วนของภูมิภาคสำหรับปีงบปรัมาณ 63-64 เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วจะมีภูมิทัศน์สวยงาม เป็นระเบียบและสามารถป้องกันดินถล่มได้

ที่มา : https://cdn.myanmarseo.com/file/client-cdn/gnlm/wp-content/uploads/2021/04/21-April-2021.pdf

ครึ่งปีแรกการค้าทางทะเลเมียนมา ลดฮวบ 4.3 พันล้านดอลลาร์

กระทรวงพาณิชย์เผยมูลค่าการค้าทางทะเลของเมียนมาในช่วงครึ่งปีแรก (1 ต.ค. -2 เม.ย. ) ของปีงบประมาณ 63-64 เหลือ 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐลดลงอย่างมากถึง 4.3 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะเดียวกันมูลค่าการค้าชายแดนอยู่ที่ 5.6 พันล้านดอลลาร์ลดลง 264 ล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นผลจากการระบาดของ COVID-19 ที่ประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มความเข้มงวดมาตรการป้องกันตลอดชายแดน สำหรับการค้าทางทะเลหยุดชะงักในภาคโลจิสติกส์การหยุดเดินเรือบางส่วนและการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์รวมถึงการขาดเงินหมุนเวียนเนื่องจากการปิดธนาคารเอกชน โดยการค้าภายโดยรวมของประเทศแตะระดับต่ำที่ 15.78 พันล้านดอลลาร์งลดลง 20.36 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งการค้าทางทะเลสร้างรายได้ 26,000 ล้านดอลลาร์จากมูลค่าการค้าโดยรวมที่ 36,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงปีงบประมาณ 62-63 เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร สินค้าประมง แร่ธาตุ ปศุสัตว์ สินค้าจากป่า สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในขณะเดียวกันก็นำเข้าได้แก่สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และวัตถุดิบทางอุตสาหกรรม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/maritime-trade-drops-by-4-3-bln-in-h1/

เกาหลีใต้ยุติการหาทุนโครงการในเมียนมา ท่ามกลางวิกฤตในประเทศส่อเค้ารุนแรงขึ้น

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา The Korea Herald เผย วิกฤตการณ์ที่ยืดเยื้อในเมียนมารัฐบาลเกาหลีใต้ไตัดสินใจหยุดการจัดหาเงินทุนผ่านกองทุนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจเกาหลี (EDCF) สำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลที่นั่นจนถึงปีหน้า EDCF เป็นกองทุนที่ดำเนินการโดยเกาหลีใต้เปิดตัวในปี 2530 เพื่อช่วยเหลือประเทศยากจนและด้อยพัฒนาโดยการขยายเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ โดย EDCF เสนอเงินกู้ 70,000 ล้านวอน (62.79 ล้านดอลลาร์) เพื่อสร้างสวนอุตสาหกรรมเกาหลี-เมียนมา ซึ่งมีกำหนดจะสร้างขึ้นในปี 2567 ขณะเดียวกันรัฐบาลทหารยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานอย่างไรภายหลังการการรัฐประหาร

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/exclusive-korea-stops-financing-infra-projects-in-myanmar-amid-deepening-crisis

ธุรกิจทอเสื่อเพิ่มรายได้เสริมให้ครอบครัวในเมืองตะด้าอู้

ชาวเมืองตะด้าอู้หารายได้เสริมจากธุรกิจทอเสื่อธินฟู่ ซึ่งชาวเมียนมาส่วนใหญ่นิยมใช้เสื่อทินฟู่เป็นเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน วัตถุดิบหลักที่ใช้ผลิตจะใช้ต้นอ้อยดิบในการทอจากเมืองปันตานอว์ การทอสื่อหนึ่งผืนจะได้รับค่าแรง 2,500 จัต แม้ค่าจ้างจะน้อย แต่หญิงสาวในเมืองก็มีรายได้พิเศษเนื่องจากเป็นธุรกิจดั้งเดิมของท้องถิ่น ส่วนราคาขายจะอยู่ที่ราคา 15,000 จัตต่อผืน เสื่อธินฟู่มีหลายขนาด ขนาดใหญ่สุดคือ 7 ฟุต นอกจากนี้เสื่อที่ใช้ในการนั่งสมาธิยังขายได้ในราคาถึง 3,000 จัตต่อผืน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/mat-weaving-business-earns-extra-family-income-in-tada-u/

เกษตรกรเมืองยาง ปลื้ม ราคาผลผลิตฟักทองสีทองปีนี้ สร้างกำไรงาม

เกษตรกรเมืองยาง (Mongyang) ในรัฐฉาน (ตะวันออก) ปลื้มผลผลิตและราคาฟักทองพันธุ์สีทองพุ่งขึ้นเป็นที่น่าพอใจ ผลผลิตสามารถเก็บเกี่ยวได้หลังการปลูก 120 วันโดยพื้นที่เพาะปลูกหนึ่งเอเคอร์สามารถให้ผลผลิตได้ประมาณ 2,000 ลูก ส่งผลให้แรงงานรายวันมีรายได้จากการเก็บผลผลิต 10,000 จัตต่อวัน  เมืองยางมีบทบาทในธุรกิจการเกษตร ซึ่งเกษตรกรปลูกหัวหอม พริก มันฝรั่ง มะเขือเทศ มะเขือยาว และถั่ว โดยเฉพาะในช่วงฤดูมรสุมตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน จากนั้นจึงจะเพาะปลูกฟักทองในฤดูหนาวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ซึ่งปีนี้ให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจมาก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/farmers-from-mongyang-happy-with-golden-pumpkin-yield-prices-this-year/

ราคาถั่วลิมาในตลาดปะโคะกูลดลง ผลจากอุปทานล้นตลาด

ราคาถั่วลิมากำลังลดลงเนื่องจากมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดถึง  40,000 visses ( 1 Viss เท่ากับ 1.65 กิโลกรัม) จากเเมืองเยซาเกียวตลาดปะโคะกู (Pakokku) ในเขตมะกเว ในทุกๆ วัน โดยราคาถั่วลิมาที่ตลาดปะโคะกู อยู่ที่ราคา 14,000 ต่จัตอตะกร้า แต่ราคาลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว พบว่ามีการบริโภคน้อยภายในประเทศและส่วนใหญ่ส่งออกไปยังอินเดีย จีน และประเทศในยุโรป ปีที่แล้วราคาอยู่ที่ 15,000 จัตต่อตะกร้า ถั่วลิมา 1 ตะกร้ามี 19 visses จากข้อมูลพบว่าราคามาลดลง 1,000 จัตต่อตะกร้าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/lima-bean-price-drops-due-to-immense-supply-into-pakokku-market/#article-title

ค้าชายแดนระนอง‘คึก’ ‘เมียนมา’ติดหล่มวิกฤติ เร่งสั่งสินค้าทะลัก

การค้าชายแดนไทย-เมียนมาด้านจังหวัดระนอง ที่ขนส่งกันทางเรือ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาซบเซาลงตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจากสงครามการค้า ต่อด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลายหลังคุมการแพร่ระบาดได้ ทำให้การค้าชายแดนด้านจังหวัดระนองเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ปลายปี 2563 กระทั่งเกิดเหตุรัฐประหารในเมียนมาเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2564 กลายเป็นวิกฤติรุนแรงยืดเยื้อ ที่หลายฝ่ายวิตกว่าจะกระทบถึงการค้าชายแดนไทย-เมียนมา ทั้งนี้ นายนิตย์ อุ่ยเต็กเค่ง รองประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า วิกฤติการเมืองในประเทศเมียนมา และการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ ไม่กระทบต่อบรรยากาศการค้าชายแดนด้านระนอง แต่กลับส่งผลให้มีความคึกคักมาอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมี.ค. 2564 ที่ผ่านมา พบว่าสถานการณ์ในเมียนมามีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น อีกทั้งผู้ประท้วงมีการยกระดับการชุมนุม โดยเฉพาะการนัดหยุดงานในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนสินค้าที่จำเป็น สินค้าในเมียนมาเกือบทุกรายการมีการปรับราคาขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันพืชและข้าวสาร ที่ปรับขึ้นถึง 20-30%

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/474656