INFOGRAPHIC : เวียดนามดึงดูด FDI ถึง 23.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้

กระทรวงวางแผนและการลงทุนของเวียดนาม (MPI) เปิดเผยว่าเวียดนามดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) 23.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้

โดยเงินลงทุนจากโครงการใหม่จำนวน 2,100 โครงการรวมมูลค่า 11.66 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ, จำนวน 907 โครงการที่ปรับเพิ่มเงินทุนมูลค่าน้อยกว่า 5.71 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และจำนวน 5,451 โครงการที่มีการซื้อหุ้นกิจการจากนักลงทุนต่างประเทศ มูลค่า 6.11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สิงค์โปร์เป็นประเทศที่มีการลงทุนมากที่สุด ด้วยมูลค่าการลงทุน 7.51 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.9 ของเงินทุนรวมจากต่างประเทศ รองลงมาเกาหลีใต้ มีมูลค่า 3.42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 14.6, จีน มีมูลค่า 2.17 คิดเป็นร้อยละ 9.2 และประเทศอื่นๆ มีมูลค่า 10.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 44.3

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-attracts-2348-billion-usd-in-fdi-in-ten-months/189661.vnp

เจาะลึกความสามารถในการแข่งขันของเวียดนาม

โดย ธนวัฒน์ พนิตพงศ์ศรี และ ณัชพล จรูญพิพัฒน์กุล I FAQ Issue 178 I Bank of Thailand

เวียดนามเป็นประเทศที่น่าจับตามองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งด้านศักยภาพการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติที่โดดเด่น ความได้เปรียบในด้านต้นทุนแรงงานที่ต่ำ กำลังซื้อในประเทศที่เติบโตต่อเนื่องและนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐที่ชัดเจน ทิศทางการส่งออกที่ขยายตัวดีต่อเนื่องของเวียดนาม ส่วนหนึ่งเกิดจากการเน้นส่งเสริมพัฒนาในอุตสาหกรรมที่ประเทศมีความถนัด ส่งผลให้สามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในประเทศต่าง ๆ ได้มากขึ้น

เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตอย่างน่าจับตามองในสายตาของนักลงทุนทั่วโลก สะท้อนจาก GDP ที่ขยายตัวเฉลี่ยกว่าร้อยละ 6.7 ต่อปี1 ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี ตั้งแต่การเริ่มใช้นโยบาย Doi Moi ในปี 2529 เพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจให้เป็นไปตามกลไกตลาดมากขึ้น

โครงสร้างเศรษฐกิจเวียดนามโดยสังเขป : เศรษฐกิจเวียดนามถูกขับเคลื่อนด้วยการบริโภคภาคเอกชนเป็นสำคัญ สะท้อนจากสัดส่วนกว่าร้อยละ 70 ของ GDP โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเฉลี่ยถึงร้อยละ 7.4 ต่อปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จากกำลังซื้อในประเทศที่ขยายตัวตามค่าแรงที่ปรับเพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ขณะที่แรงขับเคลื่อนที่สำคัญอีกประการคือการลงทุนของภาครัฐและเอกชน ซึ่งมีทิศทางขยายตัวดีจาก (1) การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) โดยเฉพาะจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ (2) การลงทุนโครงการขนาดใหญ่ในภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคการผลิตพลังงานไฟฟ้า สอดคล้องกับการขยายตัวของสังคมเมือง และ (3) การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งส่งผลให้เวียดนามสามารถเกินดุลการค้าได้ในระยะหลัง

โครงสร้างตลาดส่งออกและสินค้าส่งออกหลัก : โครงสร้างตลาดส่งออกของเวียดนามกระจุกตัวอยู่ใน 5 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา จีน ยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ คิดเป็นร้อยละ 67 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งหมด ในปี 2562 จากร้อยละ 58 ในปี 2552 ขณะที่ ในมิติของกลุ่มสินค้า สินค้าส่งออกกระจุกตัว ได้แก่ (1) อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ (2) เครื่องนุ่งห่ม และ (3) รองเท้า คิดเป็นร้อยละ 42 11 และ 8 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งหมดในปี 2562 ตามลำดับ

ความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทย : ในช่วงที่ผ่านมา ระดับการค้าขายของไทยกับเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากมูลค่าการค้าที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 8.7 ต่อปี ในช่วงปี 2558 – 2562 โดยไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับเวียดนามมาโดยตลอด

ไทยและเวียดนามมีความเป็นคู่ค้ามากขึ้นชัดเจน สะท้อนจากระดับการนำเข้าและส่งออกสินค้าที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยสินค้านำเข้าหลักของไทยจากเวียดนามคือโทรศัพท์มือถือ ขณะที่สินค้านำเข้าหลักของเวียดนามจากไทยคือรถยนต์

การเป็นคู่แข่งระหว่างไทยและเวียดนาม แม้ว่าไทยและเวียดนามมีความสัมพันธ์ทางการค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ทั้งสองประเทศก็เป็นคู่แข่งทางการค้าเช่นกัน โดยการส่งออกของเวียดนามที่เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในบางหมวดสินค้าอย่างชัดเจน เช่น ระหว่างปี 2552 – 2561 ไทยได้สูญเสียส่วนแบ่งตลาดในหมวดรองเท้า  ให้แก่เวียดนามใน 3 ประเทศผู้นำเข้าหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น ขณะที่เวียดนามมีส่วนแบ่งตลาดในหมวดสิ่งทอเพิ่มขึ้นมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

สถานการณ์ปัจจุบันและปัจจัยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศของเวียดนาม : ก่อนวิกฤตการณ์การเงินโลกปี 2550 – 2551 FDI ของเวียดนามส่วนใหญ่อยู่ในการผลิตน้ามันดิบ และการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้น อาทิ อุตสาหกรรมสิ่งทอ สะท้อนถึงการลงทุนที่เน้นเฉพาะข้อได้เปรียบด้านต้นทุนแรงงานต่ำ

อย่างไรก็ตาม หลังช่วงปี 2552 เป็นต้นมา FDI ในเวียดนามมีความหลากหลาย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ได้เข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นปี 2562 เวียดนามมีมูลค่าเงินลงทุนโดยตรงสุทธิสะสมกว่า 161,111 ดอลลาร์ สรอ อยู่ในการผลิตร้อยละ 59 ในอสังหาริมทรัพย์ร้อยละ 16 และในการผลิตไฟฟ้าร้อยละ 7 โดยประเทศที่เข้ามาลงทุนสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ซึ่งการลงทุนของเวียดนามมีแนวโน้มเติบโตได้ดี สะท้อนจากข้อมูลมูลค่าการลงทุนที่ไหลเข้าเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อ่านต่อ : https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/Pages/FAQ178.aspx

เวียดนามเผยช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ เม็ดเงิน FDI แตะ 23.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากรายงานทางสถิติของกระทรวงการวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามดึงดูดเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) อยู่ที่ 23.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สิงคโปร์ยังคงเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุด ด้วยมูลค่า 7.51 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.9 ของยอดการลงทุนรวมในเวียดนาม รองลงมาเกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น ไทยและไต้หวัน (จีน) ตามลำดับ ทั้งนี้ เงินทุนจดทะเบียนธุรกิจรายใหม่และการปรับเพิ่มเงินทุน รวมถึงเม็ดเงินทุนจากการซื้อหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ อยู่ที่ 23.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 20 ต.ค. ในขณะเดียวกัน ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปได้รับการดึงดูดจากนักลงทุนต่างชาติมากที่สุด ด้วยมูลค่ารวม 10.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45.7 ของยอดเงินทุนจดทะเบียนรวม นอกจากนี้ จังหวัดบักเลียว (Bac Lieu) ยังคงเป็นแหล่งดึงดูดเงินทุน FDI มากที่สุดในเวียดนาม ด้วยมูลค่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมานครโฮจิมินห์, ฮานอย, บ่าเสียะ-หวุงเต่า, บิ่ญเซืองและไฮฟอง ตามลำดับ

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/fdi-reaches-us2348-billion-in-ten-months-813090.vov

เวียดนามเป็นศูนย์กลางทางการลงทุน FDI ในเอเชีย

เดอะ ยูเรเซีย ไทมส์ (The Eurasian Times) ได้เผยแพร่บทความที่ระบุว่าเวียดนามกลายเป็นเสือเศรษฐกิจในเอเชีย ด้วยค่าเฉลี่ยของการลงทุน FDI มากกว่าร้อยละ 6 ของ GDP ซึ่งเป็นตัวเลขสูงที่สุดในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ ประกอบกับข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดของเวียดนาม ชี้ให้เห็นว่ายอดการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 โดยเฉพาะสินค้าส่งออกสำคัญที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ได้แก่ คอมพิวเตอร์ เครื่องจักรและส่วนประกอบ เป็นต้น รวมถึงนโยบายการลงทุนที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ เขตอุตสาหกรรมและการจัดหาแรงงานวัยหนุ่มสาว ส่งผลให้เวียดนามเป็นจุดมุ่งหมายของนักลงทุนต่างชาติ เมื่อกระแสการลงทุนไปยังจีนเริ่มหดตัวลง ทั้งนี้ ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ก็ไม่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจของเวียดนามได้ เนื่องจากรัฐบาลออกมาตรการลดหย่อนภาษี การชะลอการจ่ายภาษีและปรับปรุงค่าธรรมเนียมของการใช้ที่ดินเพื่อดำเนินธุรกิจ รวมถึงแก้ไขกฎหมายการลงทุนและข้อตกลงทางการค้ากับสหภาพยุโรป นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 20 ก.ย. เวียดนามดึงดูดเม็ดเงิน FDI สูงถึง 2.21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยส่วนใหญ่ลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-emerges-as-fdi-hub-in-asia-the-eurasian-times-25442.html

เวียดนามเผยเดือนม.ค.-ต.ค. FDI ไหลเข้าลดลง 2.5%YoY ด้วยมูลค่า 15.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงการวางและการลงทุน (MPI) เผยว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามได้รับเม็ดเงินทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) 15.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ FDI ถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจเวียดนาม โดยธุรกิจส่วนใหญ่ร้อยละ 70 มาจากการลงทุนของบริษัทต่างชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่ การเบิกจ่ายเงินทุน FDI ในอนาคต ลดลงร้อยละ 19.4 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว คิดเป็นมูลค่า 2,348 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่วนใหญ่จะลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าว รองลงมาเกาหลีใต้และจีน

ที่มา : https://vietreader.com/business/20673-vietnam-jan-oct-fdi-inflows-drop-25-y-y-to-158-bln-govt.html

กัมพูชายังคงดึงดูด FDI อย่างต่อเนื่องจากโครงการลงทุนอีก 4 โครงการ

สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ได้อนุมัติโครงการลงทุนอีก 4 โครงการด้วยเงินลงทุนรวม 37.6 ล้านดอลลาร์ คาดว่าจะสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นถึง 6,338 ตำแหน่ง ซึ่งโครงการทั้ง 4 โครงการครอบคลุมถึงการจัดตั้งโรงงานซักย้อมสี โรงงานผลิตรองเท้า โรงงานผลิตอุปกรณ์เสริมสำหรับรองเท้า และโรงงานประกอบแผงโซลาร์เซลล์ โดยโครงการนี้เป็นของ Luentec Textile Solutions, Lecrown Shoes Industry, CFC Garment Pty และ Sunenergy Technology (Cambodia) ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเมืองหลวงพนมเปญ กำปงสปือ และ กำปงจาม โดยการลงทุนดังกล่าวท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติในเสถียรภาพเศรษฐกิจของกัมพูชา การเมืองและสังคมของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50776597/cambodia-continues-to-draw-fdi-despite-loss-of-eba-with-another-four-investment-projects-worth-37-6-million/

รัฐบาลกัมพูชามองหามาตรการผ่อนคลายด้านการลงทุนภายในประเทศ

รัฐบาลกัมพูชากำลังทำงานอย่างหนักเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและส่งเสริมการค้าภายนอกให้ทันกับสภาพแวดล้อมการค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยโฆษกกระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน (MEF) กล่าวว่าในช่วงเวลาของการแพร่ระบาดของไวรัสทั่วโลก ทั้งประกอบไปด้วยสงครามการค้าที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐอเมริกา ซึ่งรัฐบาลได้มีนโยบายที่จะสนับสนุนธุรกิจการค้าและการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เข้ากับกระแสโลกและใช้ช่วงโอกาสให้เป็นประโยชน์จากสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในช่วงของความตึงเครียดทางด้านการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ โดย MEF ได้จัดทำแผนพัฒนา 5 ปี (พ.ศ. 2020-2025) สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ในการปรับเปลี่ยนภาคอุตสาหกรรมให้เป็นอุตสาหกรรมที่มีความมั่นคง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50770066/government-looks-at-easing-investment-procedures/

นครโฮจิมินห์ดึงดูดเม็ดเงิน FDI 3.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้

จากรายงานของสำนักงานวางแผนและการลงทุนประจำเมือง เผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ นครโฮจิมินห์ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) สูงถึง 3.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมูลค่าราว 407.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐโอนเข้าไปยังโครงที่ได้รับจดทะเบียนใหม่ 719 โครงการ ในขณะเดียวกัน 283.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐเข้าไปยังโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน 163 โครงการและอีก 2.56 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเข้าไปยังการซื้อหุ้น ทั้งนี้ ภาคการค้าถือเป็นแหล่งดึงดูด FDI ที่สำคัญของเมือง มีมูลค่ามากกว่า 751 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23 ของเงินทุนรวม รองลงมาภาคอสังหาริมทรัพย์และโครงการทางวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ ทางสำนักงานยังระบุเพิ่มเติมว่าในอนาคต เมืองแห่งนี้จะจัดให้เป็นแหล่งพื้นที่การลงทุนที่สำคัญของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเมืองอัจฉริยะและเป็นเมืองที่มีนวัตกรรมขั้นสูง รวมถึงยังเป็นศูนย์กลางทางการเงินในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

 ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/hcm-city-lures-325-billion-usd-in-fdi-in-nine-months/188056.vnp

INFOGRAPHIC : เวียดนามเผยเม็ดเงินลงทุน FDI 21.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้

กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) อยู่ที่ประมาณ 21.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 18.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน) แบ่งออกเป็น 1,947 โครงการใหม่ด้วยเงินทุนจดทะเบียนรวม 10.36 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ, 798 โครงการที่ปรับเพิ่มเงินทุนต่ำกว่า 5.11 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 5,172 โครงการที่มาจากการซื้อหุ้นของนักลงทุนต่างชาติด้วยมูลค่ารวม 5.73 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

นักลงทุนต่างชาติอัดฉีดเงินทุนไปยังภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปมากที่สุด ด้วยมูลค่าราว 9.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.7 ของเงินลงทุนรวม รองลงมาการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า แก๊สและน้ำ มูลค่ามากกว่า 4.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (20.3% ของเงินลงทุนรวม), ภาคอสังหาริมทรัพย์ มูลค่าราว 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (15.1% ของเงินลงทุนรวม), การค้าปลีกค้าส่งและซ่อมยานยนต์ มูลค่า 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (6.1% ของเงินลงทุนรวม) และภาคอื่นๆ ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/fdi-reaching-212-billion-usd-in-first-nine-months/187681.vnp

เมียนมามุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง COVID-19

กระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศและประธานคณะกรรมการการลงทุนเมียนมาร์ (MIC) ของเมียนมาให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเศรษฐกิจทั้ง 4 ภาคส่วนเพื่อรับมือกับผลพวงของ COVID-19 และผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ซึ่งเชื่อว่าสามารถตอบสนองต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะส่งเสริมการลงทุนในเขตอุตสาหกรรมใหม่ อุตสาหกรรมเกษตรกรรมซึ่งสนับสนุนทั้งห่วงโซ่อุปทาน การผลิตสินค้าเกี่ยวข้องกับสุขภาพและเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจดิจิทัล และจำเป็นที่จะต้องทบทวนแผนส่งเสริมการลงทุนของเมียนมาร์ (MIPP) ซึ่งเป็นพิมพ์เขียวแห่งชาติระยะยาวในการดึงการลงทุนเข้ามาในประเทศ ADB ชี้การแพร่ระบาดจะส่งผลกระทบต่อแผนการลงทุนในอนาคตและอาจส่งผลกระทบต่อการไหลเข้าของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ การอนุมัติ FDI เพิ่มขึ้นเป็น 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงไตรมาส 3 สิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2563 จาก 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยนักลงทุนให้ความสำคัญกับการผลิตไฟฟ้า การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการผลิต ขณะที่ GDP ของเอเชียในปีนี้คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 0.7 ซึ่งเป็นการถดถอยครั้งแรกในรอบเกือบหกทศวรรษซึ่งอาจทำให้การลงทุนไหลเข้าเมียนมาลดลงในอนาคต โดย ADB คาดว่าการเติบโตเศรษฐกิจของเมียนมาจะเหลือเพียงร้อยละ 1.8 เปอร์เซ็นต์ในปีงบประมาณ 62-63 เทียบกับร้อยละ 4.2 ที่คาดการณ์ไว้ในเดือนเมษายน 63 หากทุกอย่างเป็นไปด้วยดีการเติบโตทางเศรษฐกิจคาดว่าจะฟื้นตัวเป็นร้อยละ 6 ในปีงบประมาณ 63-64

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/border-trade-hold-myanmar-thailand-add-restrictions.html