กัมพูชาร้องของการสนับสนุนภาคการเกษตรจากธนาคารโลก

กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงได้ขอความช่วยเหลือจากธนาคารโลก ในการพัฒนาภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการผลิตพืชผักและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งรัฐมนตรี Veng Sakhon ได้ร้องขอในที่ประชุมกับ Maryam Salim ผู้อำนวยการธนาคารโลก ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่ประจำประเทศกัมพูชา โดยรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ ขอให้ธนาคารโลกพิจารณาช่วยเหลือการพัฒนาภาคการเกษตรในกัมพูชา ในด้านการสนับสนุนในห่วงโซ่การผลิตผัก ความทันสมัย ​​และการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ด้วยการเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพและความปลอดภัย และเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของห่วงโซ่การผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานที่จำเป็นสำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์ของกัมพูชาไปยังตลาดต่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50936038/cambodia-seeking-world-bank-support-for-agriculture/

ทางการกัมพูชาผลักดันธุรกิจ SMEs ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์

รัฐบาลกัมพูชากำลังพยายามอย่างมากที่จะให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของกัมพูชา (SMEs) ขึ้นจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์และกรมสรรพากรมากขึ้น โดยต้องการให้ธุรกิจ SMEs ดำเนินกิจการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และอีกทางหนึ่งเพื่อปกป้องผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันบริษัทต่าง ๆ จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะถูกเรียกเก็บภาษีในอัตรามาตรฐานที่ร้อยละ 10 แต่ก็มีผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ต้องเสียภาษีพิเศษ (SPT) อาทิเช่น บุหรี่เสียภาษีร้อยละ 20 เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 35 และน้ำมันเครื่องร้อยละ 30 ในทางกลับกัน SPT สำหรับตั๋วเครื่องบินและบริการด้านความบันเทิง เช่น ผู้จัดคอนเสิร์ตและการแข่งขันกีฬาคิดเพียงน้อยละ 10 เท่านั้น โดยรัฐบาลมีความกระตือรือร้นที่จะเก็บภาษีทั้งหมดที่ค้างชำระ เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาด ซึ่งกรมสรรพากรของกัมพูชาได้รายงานถึงการจัดเก็บภาษีมากกว่า 1.9 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 7.3 และคาดการณ์ว่าจะมีการจัดเก็บภาษีรวม 2.2 พันล้านดอลลาร์ ตลอดทั้งปี 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50936037/tax-changes-are-part-of-efforts-to-maintain-govt-revenue-experts-say/

‘เวียดนาม’ เผยยกเว้นภาษีสินค้านำเข้า 0% จากกัมพูชา 31 รายการ

รัฐบาลเวียดนามออกพระราชกฤษฏีกาที่ “Decress 83/2021/ND-CP” เมื่อวันที่ 14 ก.ย. ในประเด็นการยกเว้นภาษีสินค้านำเข้าจากประเทศกัมพูชา 31 รายการ ให้เหลือ 0% ได้แก่ สัตว์ปีกมีชีวิต เนื้อสัตว์ปีก มะนาว ข้าว ขนมปัง ขนมอบ เนื้อสุกรแปรรูปและใบยาสูบที่ยังไม่แปรรูป โดยพระราชกฤษฏีกาดังกล่าวกำหนดอัตราภาษีนำเข้าพิเศษตามข้อตกลงการส่งเสริมการค้าทวีภาคีระหว่างเวียดนามกับกัมพูชา ปี 64-65 ทั้งนี้ พระราชกฤษฏีกาที่ “Decress 83/2021/ND-CP” มีผลยบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 ก.ย. 2564 จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2565

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnam-imposes-0-duty-on-31-commodities-imported-from-cambodia/

สถานการณ์การท่องเที่ยวในกัมพูชาปรับตัวดีขึ้น แต่จำนวนนักท่องเที่ยวยังคงต่ำ

จำนวนนักท่องเที่ยวภายในประเทศกัมพูชาเพิ่มขึ้นเกือบหนึ่งในสี่ระหว่างสัปดาห์แรกและสัปดาห์ที่สองของเดือนกันยายน โดยกระทรวงการท่องเที่ยวได้รายงานว่าในวันเสาร์และวันอาทิตย์ที่ผ่านมา มีผู้คนออกมาเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศถึง 63,421 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.25 เมื่อเทียบกับสุดสัปดาห์แรกของเดือน ซึ่งคิดเป็นนักท่องเที่ยวชาวกัมพูชาจำนวน 62,462 คน เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติอีก 959 คน โดยจำนวนผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานนานาชาติสามแห่งของกัมพูชา ลดลงมากกว่าร้อยละ 92 ตลอดปี จนถึงเดือนกรกฎาคม เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2020 ซึ่งมีผู้เดินทางมายังสนามบินเสียมราฐเพียง 359 คน ในช่วง 7 เดือนแรกของปี เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50935298/domestic-tourism-on-the-rise-but-numbers-are-still-very-low/

ฮุน เซน วางแผนเร่งเพิ่มปริมาณการค้า กัมพูชาและต่างประเทศ

นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน วางแผนเร่งเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในสินค้าภาคเกษตร ซึ่งถือเป็นความหวังใหม่ของกัมพูชาในการสร้างความมั่นคงด้านการส่งออกและเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในอนาคตของกัมพูชา รวมถึงทางด้าน Wang Yi รัฐมนตรีจีน ยืนยันการสนับสนุนของจีน ต่อภาคการเกษตรโดยกล่าวว่าจีนจะนำเข้าผลิตผลทางการเกษตรจากกัมพูชาเพิ่มมากขึ้นเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรชาวกัมพูชา โดยจีนถือเป็นประเทศที่มีขนาดของเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา ดังนั้นจึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อกัมพูชาที่มีจีนเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิด ผ่านข้อตกลงการค้าเสรีที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ รวมถึงยังมีข้อตกลงการค้าเสรีกับสมาชิกอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ที่กำหนดให้การส่งออกของกัมพูชาปลอดภาษีถึงร้อยละ 90 ระหว่างผู้ลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างกัมพูชาและนานาประเทศในการเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างกัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50934578/hunt-down-more-overseas-trade-demands-prime-minister-hun-sen/

กรมศุลกากรกัมพูชารายงานรายรับ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี

กรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชา (GDCE) รายงานถึงรายรับที่ได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่ารวม 1.5 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ คิดเป็นร้อยละ 64.2 ของแผนการจัดเก็บรายปี โดยการนำเข้ารถยนต์ เครื่องจักร รถจักรยานยนต์ และยานพาหนะอื่น ๆ ถือเป็นแหล่งที่มาของรายรับด้านการจัดเก็บภาษีศุลกากร ซึ่งกรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างรอบด้าน อาทิเช่น โครงสร้างพื้น การศึกษา สาธารณสุข และอื่นๆ จากเงินได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษีนำมาบริหารจัดการให้ครอบคลุม โดยในปี 2020 GDCE รวบรวมรายได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่ารวม 2.420 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 24.8 เมื่อเทียบกับปี 2019

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50934455/cambodian-customs-department-nets-1-52-billion-in-eight-months/

ร้านค้าปลีกจากไทยเร่งขยายสาขาภายในกัมพูชา

กลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่จากไทย 2 แห่ง ได้แก่ CP Group และ Berli Jucker Plc (BJC) เตรียมเดินหน้าขยายธุรกิจค้าปลีกในกัมพูชา ซึ่ง ซีพี กรุ๊ป สนใจเปิดซูเปอร์มาร์เก็ตเทสโก้ โลตัส แห่งแรกในกัมพูชาตามรายงานสื่อ โดยก่อนหน้านี้ ซีพี กรุ๊ป ได้เปิดร้านค้าปลีกภายในกัมพูชาไปแล้วเมื่อปลายเดือนที่แล้ว ผ่านบริษัท CP ALL (Cambodia) ที่เป็นบริษัทลูกของ CP ALL (Thailand) ซึ่งได้เปิดร้านสะดวกซื้อที่รู้จักกันในนาม 7-Eleven แห่งแรกในกรุงพนมเปญ โดย ซีพี กรุ๊ป กำลังเผชิญกับการแข่งขันจากกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทยอย่าง BJC ซึ่งได้เปิดบิ๊กซีสาขาแรกในเมืองหลวงของกัมพูชาไปเมื่อต้นเดือนนี้เช่นเดียวกัน โดยบริษัทวางแผนที่จะเพิ่มการลงทุนเพื่อขยายธุรกิจค้าปลีกในประเทศกัมพูชาในอีก 5 ปีข้างหน้า ตามรายงานของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50934037/thai-retailers-pursuing-the-kingdoms-keen-shoppers/

8 เดือนแรกของปี กัมพูชาส่งออกรวมแตะหมื่นล้านดอลลาร์

ตัวเลขการส่งออกของกัมพูชาในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ลดลง รายงานโดยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งระบุว่ามูลค่าการส่งออกรวมของกัมพูชาอยู่ที่ 1.109 หมื่นล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยตลาดส่งออกหลักของกัมพูชา ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป แคนาดา ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ และ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งในช่วงที่มีการแพร่ระบาด การส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มปรับตัวลดลง ในขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เครื่องนุ่งห่มกลับปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก รองประธานหอการค้ากัมพูชา กล่าวเสริมว่า การค้ากับคู่ค้าต่างประเทศยังคงมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เครื่องนุ่งห่มรวมถึงจักรยานที่กำลังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ด้วยข้อตกลงการค้าระดับทวิภาคีและพหุภาคี ซึ่งกัมพูชาคาดว่าจะได้รับการลงทุนเพิ่มขึ้น ที่ถือเป็นการกระตุ้นการส่งออกและการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อป้อนห่วงโซ่การผลิตภายในประเทศในระยะถัดไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50934036/eight-month-exports-valued-at-11-08-bn/

‘บิ๊กซี’ขยายสาขาต่างแดน เปิดร้านสะดวกซื้อในกัมพูชา

บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ห้างค้าปลีกในกลุ่มบริษัทบีเจซี ล่าสุดเปิด “มินิบิ๊กซี สาขาตลาดเดโป” ร้านสะดวกซื้อสาขาแรกในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เนื่องจากมองเห็นโอกาสกำลังซื้อสูงจากการขยายตัว และการขยายตัวของธุรกิจ ในกัมพูชามีแนวโน้มเติบโตสำหรับ มินิบิ๊กซี สาขาตลาดเดโปตั้งอยู่ใจกลางเมืองหลวง ถนนชวาหระลาลเนห์รู บูเลอวาร์ด นำเข้าสินค้าจากไทยทั้งอาหารสดและอาหารแห้ง ทั้งนี้ ยังสนับสนุนผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเข้ามาจำหน่าย ประมาณ 20% ส่วนอนาคต ได้ตั้งเป้าหมายหลักที่กรุงพนมเปญ เนื่องจากเป็นเมืองศูนย์กลางการค้ามีประชากรจำนวน 2 ล้านคนจากประชากร 15.2 ล้านคนในประเทศ ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยด้านวัฒนธรรมตลอดจนความคล้ายคลึงกันในรสนิยมระหว่างกัมพูชาและไทย

ที่มา: https://www.naewna.com/business/601888