MYANTRADE มีแผนตั้งศูนย์การค้าส่งออกสินค้าเกษตรในสิงคโปร์

Myanmar Trade Promotion Organization (MYANTRADE) วางแผนเปิด Myanmar Trade Center ในสิงคโปร์ในอนาคตอันใกล้นี้เพื่อรองรับการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศ โดยศูนย์การค้าซึ่งจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยสถานทูตเมียนมาประจำสิงคโปร์สามารถช่วยให้เมียนมาขยายการส่งออกสินค้าเกษตร สิงคโปร์นำเข้าผลไม้ เช่น Sein Ta Lone (มะม่วง) และแตงไทยจากเมียนมา ซึ่งใช้เวลาในการขนส่งน้อย แม้จำนวนประชากรน้อยแต่มีกำลังซื้อสูง การนำเข้าใช้เพียงใบรับรองคุณภาพเท่านั้น ซึ่งการที่สิงคโปร์ตั้งอยู่ใกล้กับเมียนมาทำให้สามารถส่งออกสินค้าที่มีอายุในการเก็บรักษาสั้นได้ ทั้งยังส่งออกองุ่นจากยะแมสิน (Yamethin) ไปยังตลาดของสิงคโปร์ได้อีกด้วย การค้าระหว่าง 2 ประเทศมีมูลค่ามากกว่า 3,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 62-63 โดยเมียนมามีดุลการค้ากว่า 700 ล้านดอลลาร์ ขณะเดียวกันสิงคโปร์เป็นหนึ่งในนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดของเมียนมาคิดเป็น 45.85 เปอร์เซ็นต์ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมดในภาคการพัฒนาเมือง อสังหาริมทรัพย์ พลังงาน และการผลิต

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-trade-centre-open-singapore.html

IMF เตือนเศรษฐกิจเมียนมาอาจหยุดโตในปี 64

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เผยเศรษฐกิจเมียนมาคาดเติบโตช้าลงในปีนี้เนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 แต่น่าจะพุ่งขึ้นในปีหน้า  ในปีนี้จะชะลอตัวลงเหลือ 0.5% จากที่คาดการณ์ไว้ 3.2% จากปีที่แล้ว กลุ่มผู้มีรายได้น้อยเอสเอ็มอีและผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่อยู่ในพื้นที่เสียงจะไก้รับผลกระทบ ทั้งนี้คาดว่าจะฟื้นตัวในปีหน้า 7.9% จากผลกระทบคาดว่าปัญหาความยากจนจะเพิ่มขึ้น ด้านธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ซึ่งเมื่อต้นปีนี้ที่ผ่านมาคาดการณ์ว่าการเติบโตของเมียนมาจะชะลอตัวลงเหลือ 1.8% ในปีงบประมาณที่ 63 ส่วนปีนี้คาดว่าเศรษฐกิจจะกลับมาเป็น 6% ทั้งนี้ IMF ได้อนุมัติเงินช่วยเหลือจำนวน 372 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/imf-projects-muted-growth-2021-economy.html

รัฐยะไข่ทุ่มเงิน 2 พันล้านจัต สร้างค่ายผู้ลี้ภัย

รัฐยะไข่ใช้เงินไปประมาณ 2.2 พันล้านจัต เพื่อสร้างและดูแลค่ายผู้ลี้ เนื่องจากการสู้รบระหว่างเมียนมาและกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่เริ่มมีความรุนแรงขึ้น เป็นผลให้ผู้ลี้ภัยได้รับความเดือดร้อนและถูกขับออกจากพื้นที่เนื่องจากปัญหาด้านความปลอดภัย ดังนั้นงบประมาณ 1.5 พันล้านจัต ถูกใช้สร้างค่ายผู้ลี้ภัยเจ็ดแห่งใน โปนน่าจู้น(Ponnagyun), ระเต่ดอง (Rathedaung), เจาะตอ (Kyauktaw), มเยาะอู้ (Mrauk-U) และ มี่น-บย่า (Minbya) นอกจากนี้ยังใช้ในด้านดูแลสุขภาพ การศึกษา และความปลอดภัยสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจนกว่าจะได้กลับหมู่บ้าน เงินจำนวน 88 ล้านจัตถูกใช้ไปกับค่ายผู้ลี้ภัยในเขตเมืองเจาะตอ และ 423 ล้านจัตถูกใช้สร้างค่ายผู้ลี้ภัยใน Angu Village Group, มเยโบน (Myebon) และยังนำไปใช้ในการสร้างค่ายผู้ลี้ภัยในเมืองอ้าน (Ann ) อีกเช่นกัน รวมถึงการแบ่งปันอาหารเสื้อผ้า ห้องเรียน และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ สำหรับผู้ลี้ภัย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/rakhine-expends-k2-billion-state-budget-refugee-camps.html

เมียนมาคาดส่งออกหัวหอมจะลดลงในปีนี้

สมาคมการผลิตและส่งออกหัวหอม กระเทียม และพืชอาหารของเมียนมาเผย การส่งออกหัวหอมคาดว่าจะลดลงในปีนี้แม้จะมีผลผลิตสูงก็ตาม เป็นผลมาจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยแม้ผลผลิตจะเพิ่มจาก 2,000 viss (1 Viss ประมาณ 1.63 กิโลกรัม) ต่อเอเคอร์เพิ่มเป็น 4,000 viss ต่อเอเคอร์ในปีนี้ ซึ่งผลผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น 2 เท่าในปี 2564 เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยจาก 2,000 viss ต่อเอเคอร์ในพม่าตอนบนเป็นมากกว่า 4,000 viss ต่อเอเคอร์ในปีนี้ เมียนมาผลิตหัวหอมได้ 300 ล้าน Viss ถึง 400 ล้าน Viss ในปีที่แล้วและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในปี 2564 รถบรรทุกผักกว่า 60 คันได้ส่งไปยังตลาดย่างกุ้งเป็นประจำทุกวัน หัวหอมขนาดเล็กที่ตลาดค้าส่ง Bayint Naung ราคาอยู่ที่ 150 – K200 จ๊าตต่อ viss ในขณะที่ขนาดกลางและขนาดใหญ่ขายที่ 300 จ๊าต และ 450 จ๊าตต่อ viss ตามลำดับ หัวหอมหนึ่งตันราคาส่งออกจะอยู่ที่ 350 เหรียญสหรัฐ โดยปกติจะส่งออกไปยังเวียดนามและมาเลเซีย แต่ปัญหาหลักคือการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ส่งผลให้ราคาเช่าเพิ่มขึ้นสองเท่าหรือสามเท่า อีกทั้งผู้ค้ายังพบปัญหาในการขนส่งและโลจิสติกส์เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ที่มีอย่างต่อเนื่อง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-onion-exports-expected-decline-year.html

โรงแรมซูเล แชงกริลา ย่างกุ้ง อ่วม โควิดฯ พ่นพิษ ปิดให้บริการเป็นเวลา 9 เดือน

Shangri-La Group ได้ประกาศในวันนี้ (13 มกราคม) ว่าจะปิดทำการโรงแรมซูเล แชงกริลา ย่างกุ้ง ชั่วคราวเป็นเวลาเก้าเดือนนับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 เป็นต้นไป โดยช่วงการระบาดของ COVID-19 ที่ผ่านมาโรงแรมได้ลดต้นทุนเพื่อลดผลกระทบอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนรวมถึงการตัดสินใจในการปรับปรุงปรับการทำงานของพนักงานเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมากล่าว อย่างไรก็ตามบริษัทได้ตัดสินใจปิดโรงแรมเนื่องจากธุรกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน โดยเปิดโรงแรมอีกครั้งในเวลา 9 เดือนเมื่อธุรกิจเริ่มฟื้นตัว แขกและลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจะมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมจากการยกเลิกทั้งหมด ทั้งนี้ในช่วงปิดโรงแรมพนักงานส่วนใหญ่ยังคงได้รับเงินเดือนค่าจ้างแม้จะไม่ได้เข้ามาทำงาน โรงแรมให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 และเดิมชื่อ Traders Hotel เป็นอาคารสูงที่สุดในเมียนมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2542 โรงแรมมี 466 ห้องได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นโรงแรมซูเลแชงกรีลาย่างกุ้งในปี พ.ศ. 2557 โดย Shangri-La Hotels and Resorts  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือ Shangri-La ซึ่งดำเนินธุรกิจโรงแรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้แบรนด์ Shangri-La, Kerry, Jen และ Traders กลุ่ม Shangri-La ก่อตั้งโดยรชาวฮ่องกงคือ Mr. Robert Kuok ในปี พ ศ. 2514

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/sule-shangri-la-hotel-yangon-close-nine-months.html