สนง.สถิติเวียดนาม เผย CPI เดือนก.พ. ลดลง 0.17%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ลดลงร้อยละ 0.14 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว เนื่องมาจากความต้องการสินค้าลดลง หลังจากช่วงเทศกาลขึ้นปีใหม่ (เต็ด), ราคาน้ำมันที่ลดลง และการระบาดของไวรัสโควิด-19 จากการแพร่ระบาดไวรัสดังกล่าวส่งผลให้กิจกรรมของภาคการท่องเที่ยวและเทศกาลลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจโรงแรมและบริการด้านความบันเทิง ซึ่งกลุ่มสินค้าและบริการ 11 รายการที่อยู่ในตะกร้าสินค้า โดยมีสินค้า 6 รายการที่ราคาลดลงทำสถิติ ได้แก่ บริการขนส่ง (2.5%), การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, เครื่องดื่มและบุหรี่, เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า, วัสดุที่อยู่อาศัยและบริการโทรคมนาคมและไปรษณีย์ ขณะเดียวกัน กลุ่มสินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ บริการจัดงานเลี้ยง (0.26%), สินค้าและบริการอื่นๆ, แพทยศาสตร์และบริการทางการแพทย์, เครื่องใช้ในครัวเรือนและการศึกษา ทั้งนี้ ราคาทองคำในเดือน ก.พ. เคลื่อนไหวตามราคาทองคำโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.74 จากเดือน ม.ค. ที่แตะระดับราว 4.45 ล้านดองต่อตำลึง สาเหตุมาจากนักลงทุนย้ายเงินทุนไปยังสินทรัพย์ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะผลกระทบที่ไวรัสโควิด-19 มีผลต่อเศรษฐกิจ สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราดองต่อดอลลาร์สหรัฐ ยังคงอยู่ในระดับคงที่ อยู่ที่ 23,300 ดอง/ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ในเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.17 จากเดือน ม.ค.

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/february-cpi-falls-by-017-percent-410755.vov

CPI เดือน ม.ค.63 โตสูงสุดในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา

จากรายงานขอวสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนมกราคม ขยายตัวร้อยละ 1.23 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และร้อยละ 6.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว บ ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มสูงสุดในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ หัวหน้าของสำนักงาน GSO ได้อธิบายถึงดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนม.ค. ว่าสาเหตุที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากมีความต้องการอาหาร อุปโภคบริโภค เครื่องดื่มและสิ่งทอมากขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่เต็ต นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อที่ไม่รวมรายการที่มีการเคลื่อนไหว ได้แก่ อาหาร พลังงาน บริการสุขภาพและการศึกษา รวมไปถึงสินค้าอื่นๆที่รัฐบาลควบคุม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค. 62 และร้อยละ 3.25 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีอัตราการขยายตัวเร็วกว่าเงินเฟ้อพื้นฐาน แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของราคาส่วนใหญ่มาจากราคาอาหาร บริการและน้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/cpi-in-january-hits-record-high-in-recent-7-years-409385.vov

ความกดดันในการควบคุมเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ปี 2563

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าในปีนี้การควบคุมราคาและเงินเฟ้อมีความซับซ้อนและยากลำบากมากขึ้น โดยราคาเนื้อหมูมีความผันผวนอย่างมากในปีที่แล้วส่งผลกระทบต่อตลาดอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากราคาลดลงในช่วงครึ่งแรกของปีและจากนั้นปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ราคาเนื้อหมูลดลงต่ำสุดอยู่ที่ 28,000-32,000 ด่องต่อกิโลกรัม หลังจากนั้น ราคาจะค่อยๆปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่เดือน ก.ค.-ต.ค. ทั้งนี้ ทางผู้อำนวยการสถาบันเศรษฐศาสตร์และการเงิน ระบุว่าหลังจากที่ราคาเนื้อหมูพุ่งสูงขึ้นกว่าร้อยละ 50 ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีที่แล้ว การควบคุมอัตราเงินเฟ้อต่ำกว่าร้อยละ 4 ในปีนี้ ซึ่งมีความไม่แน่นอนเมื่อดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน ธ.ค. เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 5.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา นับว่าอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 9 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หากราคาเนื้อหมูยังอยู่ในระดับสูงในไตรมาสแรก ค่าเฉลี่ยอาจอยู่ในระดับร้อยละ 3.5 สำหรับเป้าหมายของสภาแห่งชาติ ต้องการคงระดับอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ต่ำกว่าร้อยละ 4 ในปีนี้ ซึ่งการจัดการราคาและควบคุมเงินเฟ้อในปีนี้จะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ ยืดหยุ่นและเขิงรุก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/pressure-mounts-to-control-inflation-in-2020/167711.vnp

สปป.ลาวกำลังเผชิญกับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

อัตราเงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งสัญญาณเตือว่ารัสปป.ลาวจำเป็นต้องมีการดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อควบคุมราคาสินค้าและบริการเพื่อป้องกันไม่ให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นต่อไป โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้นจากเดือนพ.ย.5.34% โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ซึ่งประมาณ 10% ทั้งนี้เพื่อรักษาเศรษฐกิจที่ดีรัฐบาลจำเป็นต้องชะลออัตราเงินเฟ้อเพื่อให้น้อยกว่าการเติบโตของ GDP ซึ่งคาดว่าจะเติบโตที่ร้อยละ 6.5 ในปีนี้ ณ ขณะนี้รัฐบาลได้กำลังพยายามรักษาเสถียรภาพของค่าคิปและเพิ่มผลผลิตเพื่อชะลอการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ เพราะหากอัตราเงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อทั้งหารบริโภคในประเทศและด้านการค้าที่สามารถแข่งขันได้น้อยลงด้วย ส่งผลต่อการเติบโตของGDP โดยตรง

ที่มา http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos.php

ธนบัตรแบบใหม่จะไม่ส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อ

การเปิดตัวธนบัตร 1000 จัตรุ่นใหม่ที่มีภาพเหมือนของนายพลอองซาน ไปเมื่อวันที่ 7 ม.ค.นั้นคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อกล่าวว่าเพื่อตอบสนองต่อความกังวลของตลาด จากความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านการธนาคาร เมื่อธนาคารกลางปล่อยธนบัตรใหม่เข้าสู่เศรษฐกิจซึ่งจะเป็นการดึงธนบัตรแบบเก่าในจำนวนเท่ากันเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเงินเฟ้อ  ปัจจุบันไม่มีประเทศใดในโลกพิมพ์สัญลักษณ์พิเศษที่ไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ในสกุลเงินของประเทศ ซึ่งเป็นความคิดที่ดีที่จะมีผู้ที่แสดงความจงรักภักดีต่อประเทศ Yoma Bank มองว่าแม้จะมีธนบัตรใหม่แต่ผู้คนควรเปลี่ยนความคิดโดยควรเป็นสังคมไร้เงินสด ซึ่งมีข้อดี เช่น ความสะดวกสบาย และลดต้นทุน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/new-bank-notes-will-not-affect-inflation-expert-says.html

อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นเวลา 17 เดือนติดต่อกัน

จากข้อมูลของ Central Central Organization (CSO) อัตราเงินเฟ้อเมียนมาแตะระดับ 8.53% ช่วง ส.ค. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงปลายปีที่ 8.35% ตั้งแต่ เม.ย. 61 ถึงเดือน ส.ค. 62 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องกัน 17 เดือน เมื่อเทียบปีต่อปีอยู่ที่ 10.37 เปอร์เซ็นต์ ปลายเดือน ส.ค.เขตมาเกว มีอัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดที่ 12.57% รองลงมาคือ เขตสะกาย ที่ 10.66% และเชตชิน ที่ 10.07% เขตสะกาย มีอัตราเงินเฟ้อเปลี่ยนแปลงที่เยอะสุดที่ 15.70% ในขณะที่รัฐคะฉิ่นเห็นการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดที่ 2.59% ในเดือน พ.ย.62 CSO ได้จัดทำแบบสำรวจครัวเรือนและการบริโภคจำนวน 32,669 ครัวเรือนใน 82 เมืองทั่วประเทศเพื่อคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และอัตราเงินเฟ้อ อดีตอัตราเงินเฟ้อคำนวณโดยใช้ปี 49 เป็นปีฐาน ปัจจุบันใช้ปี 55 เป็นปีฐานในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อ ภายใต้แผนพัฒนาแห่งชาติห้าปีที่สอง (จาก 59-60 ถึง 63-64 ) รัฐบาลได้วางแผนที่จะลดอัตราเงินเฟ้อผ่านนโยบายการเงินการคลังการค้าและนโยบายสกุลเงินต่างประเทศ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/average-inflation-rate-increases-for-17-consecutive-months

มิ.ย.62 เงินเฟ้อเมียนมาพุ่ง 8.08%

อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วงปลายเดือน มิ.ย.อยู่ที่ 8.08% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ 7.82% ในช่วงปลายเดือน พ.ค. อัตราเงิน อัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบปีต่อปีอยู่ที่ 9.51% โดยเขตมะกเว มีเงินเฟ้อสูงสุดอยู่ที่ 12.31% รองลงมาคือรัฐมอญ 10.14% และมัณฑะเลย์ที่ 9.99% จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเมียนมา (Central Statistical Organization: CSO) ในปี 55 ได้ทำการสำรวจครัวเรือนและการบริโภคของครัวเรือน 32,669 ครัวเรือนใน 82 เมืองทั่วประเทศเพื่อคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคและอัตราเงินเฟ้อ ในอดีตอัตราเงินเฟ้อคำนวณโดยใช้ปี 49 เป็นปีฐาน แต่ตอนนี้ 2012 ถูกใช้เป็นปีฐานในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อ ภายใต้แผนพัฒนาแห่งชาติห้าปีฉบับที่ 2  (จากปี 59 – 60 ถึง ปี 63-64) รัฐบาลได้วางแผนลดอัตราเงินเฟ้อผ่านนโยบายการเงินการคลัง การค้า และนโยบายสกุลเงินต่างประเทศ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/average-inflation-hits-808-pc-in-june