โรงแรมซูเล แชงกริลา ย่างกุ้ง อ่วม โควิดฯ พ่นพิษ ปิดให้บริการเป็นเวลา 9 เดือน

Shangri-La Group ได้ประกาศในวันนี้ (13 มกราคม) ว่าจะปิดทำการโรงแรมซูเล แชงกริลา ย่างกุ้ง ชั่วคราวเป็นเวลาเก้าเดือนนับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 เป็นต้นไป โดยช่วงการระบาดของ COVID-19 ที่ผ่านมาโรงแรมได้ลดต้นทุนเพื่อลดผลกระทบอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนรวมถึงการตัดสินใจในการปรับปรุงปรับการทำงานของพนักงานเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมากล่าว อย่างไรก็ตามบริษัทได้ตัดสินใจปิดโรงแรมเนื่องจากธุรกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน โดยเปิดโรงแรมอีกครั้งในเวลา 9 เดือนเมื่อธุรกิจเริ่มฟื้นตัว แขกและลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจะมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมจากการยกเลิกทั้งหมด ทั้งนี้ในช่วงปิดโรงแรมพนักงานส่วนใหญ่ยังคงได้รับเงินเดือนค่าจ้างแม้จะไม่ได้เข้ามาทำงาน โรงแรมให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 และเดิมชื่อ Traders Hotel เป็นอาคารสูงที่สุดในเมียนมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2542 โรงแรมมี 466 ห้องได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นโรงแรมซูเลแชงกรีลาย่างกุ้งในปี พ.ศ. 2557 โดย Shangri-La Hotels and Resorts  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือ Shangri-La ซึ่งดำเนินธุรกิจโรงแรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้แบรนด์ Shangri-La, Kerry, Jen และ Traders กลุ่ม Shangri-La ก่อตั้งโดยรชาวฮ่องกงคือ Mr. Robert Kuok ในปี พ ศ. 2514

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/sule-shangri-la-hotel-yangon-close-nine-months.html

ITD งานเข้าเมียนมายกเลิกสัญญาทวาย

บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) แจ้งว่าตามที่บริษัท และคู่สัญญากลุ่มธุรกิจร่วมทุนภายใต้บริษัทที่จดทะเบียนในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (Project Companies) รวม 5 บริษัท ได้รับสัมปทานโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายระยะแรก โดยได้ลงนามสัญญาสัมปทานกับคณะกรรมการบริหารงานพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (Dawei Special Economic Zone Management Committee :DSEZ MC) เพื่อดำเนินการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่รวม 27 ตารางกิโลเมตร พร้อมระบบโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคต่างๆ ที่จำเป็นต่อนิคมอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558 จำนวน 6 ฉบับ และเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 อีก 1 ฉบับ รวมสัญญาสัมปทานจำนวน 7 ฉบับ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา Project Companies ทั้ง 5 บริษัท ได้รับหนังสือแจ้งการบอกเลิกสัญญาสัมปทานรวม 7 ฉบับ จาก DSEZ MC เนื่องจาก DSEZ MC อ้างว่า Project Companies ผิดนัดไม่ชำระค่าสิทธิตามสัญญาสัมปทาน และไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขบังคับก่อนบางประการในการเริ่มดำเนินการตามสัญญาสัมปทานได้

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/464152

รมต.ต่างประเทศจีนเข้าพบซูจีหารือความสัมพันธ์ทวิภาคี

เมื่อวานนี้ (11 มกราคม 64) ที่ปรึกษาแห่งรัฐนางอองซาน ซูจี ต้อนรับการาเยือนของ นายหวังอี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เมืองเนปยีดอและลงนามในบันทึกความเข้าใจหนึ่งในนั้นคือโครงการรถไฟมัณฑะเลย์ – เจาะพยู และข้อตกลงทวิภาคีเกี่ยวกับความร่วมมือทางธุรกิจและทางเทคนิคแผนห้าปีสำหรับความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจ ความเป็นไปได้เกี่ยวกับโครงการพัฒนาถนนและสะพานในชนบท การจัดหาเงินสำหรับการตั้งถิ่นฐานใหม่ของผู้พลัดถิ่นภายในคะฉิ่นและการซื้อรถม้าจากจีนในอัตราดอกเบี้ย 0% การจัดตั้งประชาคมจีน – เมียนมา การดำเนินการตามระเบียงเศรษฐกิจจีน – เมียนมา สำหรับเมียนมาการจัดงานเฉลิมฉลองปีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมียนมาร์ – จีนและความร่วมมือทวิภาคีเพื่อสันติภาพและสันติสุขตามแนวชายแดนพม่า – จีน ทั้งนี้นางซูจีให้คำมั่นว่าจะดำเนินกระบวนการสันติภาพและการปรองดองแห่งชาติในระหว่างที่รัฐบาลใหม่เข้ารับตำแหน่ง จากการหารือเมื่อวานนี้เมียนมาได้รับวัคซีนป้องกัน COVID -19 จำนวน 300,000 เข็มและเวชภัณฑ์มูลค่า 3 ล้านหยวนตามข้อตกลงทวิภาคีของทั้ง 2 ประเทศ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/state-counsellor-meets-with-chinese-foreign-minister

ราคาอสังหาฯ มัณฑะเลย์คาดหดตัวลงในปี 64

สมาคมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แห่งเมียนมาเผยอสังหาริมทรัพย์ในเขตมัณฑะเลย์คาดลดลง 5% ถึง 25% ในปีงบประมาณ 63-64 ราคามาตรฐานจะอัพเดททุกปี สำหรับราคาของปีนี้ประกาศในเดือนตุลาคม 63 ที่ผ่านมา ขณะนี้เขตอุตสาหกรรมและพื้นที่ใหม่ของมัณฑะเลย์เป็นที่ต้องการอย่างมากเนื่องจากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องการที่ขายออกเนื่องจากปัญหาทางการเงินที่เกิดจากการระบาดของโควิด -19 ซึ่งผู้ซื้อกำลังมองหาโอกาสนี้ในการลงทุนในยุคหลัง COVID-19 อย่างไรก็ตามตลาดอสังหาริมทรัพย์ในตัวเมืองชั้นในมีความซบเซาลงด้วยธุรกรรมที่ลดลงไปด้วยเช่นกัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mandalay-property-prices-expected-drop-2021.html

สามเดือนเมียนมาขาดดุลการค้ากว่า 230 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์เผยขาดดุลการค้ากว่า 230 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ในปีงบประมาณปัจจุบันซึ่งสูงกว่า 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 63 ถึง 1 มกราคม 64 ในปีงบการเงิน 63-64 ส่งออกสินค้ามูลค่า 3.685 พันล้านเหรียญสหรัฐลดลงกว่า 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับปีที่แล้วและนำเข้ามีมูลค่ากว่า 3.920 พันล้านเหรียญสหรัฐลดลงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นจึงขาดดุล 234.525 ล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะที่ช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้วมีการขาดดุลเพียง 89.233 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมียนมากำลังดำเนินการตามยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติเพื่อส่งเสริมการส่งออก แต่ไม่สามารถลดการนำเข้าสินค้าจำเป็นได้ ในทางปฏิบัติความพยายามในการลดการขาดดุลการค้าต้องเผชิญกับปัญหาบางประการ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-sees-trade-deficit-of-over-230m-in-three-months

ตะนาวศรีเสนออุตสาหกรรมประมงเป็นเขตเศรษฐกิจ

รัฐบาลเขตตะนาวศรีได้ยื่นข้อเสนอต่อคณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา (MIC) ในการสร้างเขตเศรษฐกิจสำหรับอุตสาหกรรมการประมงรวมโดยรวมถึงตลาดค้าส่งปลา ห้องเย็นและท่าเทียบเรือเพื่อการค้าชายแดนระหว่าเมียนมา-ไทย ทั้งนี้ยังสร้างโอกาสในการทำงานให้กับแรงงานข้ามชาติเมียนมาและในระยะยาวสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มสำหรับอุตสาหกรรมประมงของท้องถิ่น โครงการนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศ ปัจจุบันเริ่มมีการส่งออกปลาดุกไปยังจีนแม้ว่าเมียนมากำลังใช้เส้นทางที่ยากลำบากในการส่งออกไปยังจีนเพราะการระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ต้องเลี่ยงไปใช้เส้นมางด่านมูเซแทนด่านชินฉ่วยฮ่อเป็นระยะ 3 เดือน ในปีงบประมาณ 62-63 อุตสาหกรรมประมงมีรายได้จากการส่งออกเพียง 860 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากที่คาดการณ์ไว้มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะนี้รัฐบาลยังพยายามส่งเสริมการบริโภคการประมงของท้องถิ่นในตะนาวศรี ย่างกุ้ง อิรวดี และมัณฑะเลย์ โดยได้หารือเกี่ยวกับการส่งเสริมการบริโภคปลาและปรับโครงสร้างระบบการจัดจำหน่าย เช่น การใช้รถบรรทุกตู้เย็นเพื่อขายปลา กุ้งและปลาหมึกในท้องถิ่น หากดำเนินการตามแผนรัฐบาลคาดว่าภายในสองหรือสามปีการบริโภคปลาในท้องถิ่นจะพิ่มขึ้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/tanintharyi-government-proposes-economic-zone-fisheries.html