เมียนมาเริ่มส่งออกอะโวคาโดไปอังกฤษ

จากประกาศของสถานทูตเมียนมาในกรุงลอนดอน เมียนมาเริ่มส่งออกอาโวคาโดจำนวนครึ่งตันไปยังอังกฤษ ได้แก่สายพันธ์ Amara (พันธุ์ท้องถิ่น) Hass และ Buccaneer โดยสมาคมผู้ผลิตและส่งออกผักและผลไม้แห่งเมียนมา (MFVP) ได้เชื่อมโยงธุรกิจกับหอการค้าอังกฤษโดยในการส่งออกตัวอย่างสินค้าไป ทั้งยังได้รับความสนใจจากทั้งสิงคโปร์ ฮ่องกง และไต้หวัน โดย 85% ของอาโวคาโดถูกส่งออกไปยังไทยเนื่องจากการค้าชายแดนหยุดชะงักไปตั้งแต่ปี 62 จึงไม่มีการส่งออกไปยังจีน ซึ่งราคาต่อตันในตลาดอังกฤษอยู่ที่ประมาณ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ และ 1,200 ดอลลาร์สหรัฐในตลาดไทย

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-avocado-exported-britain-london-embassy.html

UMFCCI คาดปีงบฯ นี้ จีน รั้งประเทศลงทุนอันดับต้นๆ ในเมียนมา

จากข้อมูลของสมาพันธ์การค้าและอุตสาหกรรมแห่งเมียนมา(UMFCCI) ปีงบประมาณ 63-64 นักลงทุนจากจีนจะเป็นนักลงทุนต่างชาติอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้วยเงินลงทุนจำนวนมาก ซึ่งจะมุ่งไปที่โครงสร้างพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์ที่สนับสนุนโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative) จีนลงทุนกว่า 3.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 375 ธุรกิจในเมียนมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 59-60  นอกจากจีนแล้วประเทศที่มีศักยภาพน่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ กระตือรือร้นที่จะเร่งการลงทุนโครงการปัจจุบันของจีนบางส่วนในประเทศหลังจากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งจะเพิ่มการลงทุนในภาคพลังงาน โทรคมนาคม การท่องเที่ยว และการผลิตก๊าซธรรมชาติ ในปี 63-64 เมียนมาตั้งเป้าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไว้ที่ 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและ 8.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 64-65 โดยมีเป้าหมายในปีนี้เพื่อส่งเสริมและดึงดูดการลงทุนในภาคเกษตรกรรม การประมง อุตสาหกรรม และเทคโนโลยี

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/china-forecast-be-top-myanmar-investor-fiscal-year-umfcci.html

DHL Express เพิ่มการลงทุนในเอเชียรองรับอีคอมเมิร์ซขยายตัว

บริษัท DHL Express ลงทุนเกือบ 750 ล้านยูโรเพื่อขยายโครงสร้างพื้นฐานและเครือข่ายทั่วโลกในอีกสองปีข้างหน้า โดย 60 ล้านยูโรจะขยายเครือข่ายการบินในเอเชียแปซิฟิกและเปิดตัวเส้นทางบินตรงที่เชื่อมต่อศูนย์กลางโลจิสติกส์ในภูมิภาคไปยังย่างกุ้งและเวียงจันทร์ของสปป.ลาว DHL คาดว่าปริมาณการจัดส่งในเอเชียแปซิฟิกจะสูงกว่าช่วงพีคของซีซั่นในปีที่แล้วถึง 30-40% ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานที่ขยายตัวและเส้นทางการบินใหม่จะได้ประโยชน์จากตลาดอีคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโตและการค้าข้ามแดนในระยะยาว ตั้งแต่ต้นปี 63 DHL ประสบปัญหาการจัดส่งสินค้าออนไลน์ในเอเชียแปซิฟิกเพิ่มขึ้น 50% (ไม่นับรวมจีน) นอกจากนี้ยังลงทุน 25 ล้านยูโรเพื่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ในบังกลาเทศซึ่งจะรวมสำนักงานและศูนย์บริการบนพื้นที่ 10,000 ตร.ม. โรงงานแห่งใหม่นี้จะทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 35% และคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 65 นอกจากนี้ยังจะสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ๆ ในออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ อีกทั้งเครือข่ายสายการบินใหม่จะขยายไปยังปักกิ่งและย่างกุ้ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/dhl-express-raises-investment-asia-e-commerce-expands.html

เมียนมาพร้อมเปิดตัวระบบค้าออนไลน์ TradeNet 2.0 มกราคมนี้

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาเผยพร้อมใช้ระบบการค้าออนไลน์ TradeNet 2.0 ที่ปรับปรุงพร้อมใช้อย่างเต็มรูปแบบระหว่างการเปิดตัวเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 63 ที่ผ่านมา เมื่อระบบถูกสมบูรณ์ผู้ค้าจะสามารถยื่นขอใบอนุญาตการส่งออก / นำเข้าทางออนไลน์ได้ ระบบ e-licensing ที่ได้รับการปรับปรุงการสมัครเข้าไว้ในแพลตฟอร์มเดียวกันและมีประสิทธิภาพในการใช้งานมากขึ้น กระทรวงพาณิชย์วางแผนที่จะใช้ TradeNet 2.0 ด้วยเทคโนโลยีและเงินทุนที่จัดทำโดย หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ (USAID) ขั้นตอนการดูแลระบบจะรวดเร็วมากและสามารถลดค่าใช้จ่ายเมื่อมีการย้ายทะเบียนการค้าและใบอนุญาตออนไลน์ภายใต้ระบบเพียงครั้งเดียว ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ผู้ผลิตและเกษตรกรส่งออกผลผลิตไปต่างประเทศได้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-launch-tradenet-20-system-january.html

การลงทุนในประเทศยังเพิ่มแม้ COVID-19 ระบาด

จากข้อมูลของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและการบริหารจัดการของเมียนมา (DICA) ถึงจะมีการระบาดของ COVID-19 แต่การลงทุนของนักลงทุนและประชากรในเมียนมาในปีงบประมาณ 62-63 มีมูลค่ากว่า 1,88 ล้านล้านจัต ซึ่งสูงกว่าปีงบประมาณที่แล้วประมาณ 200 ล้านจัต โดยอนุมัติให้ธุรกิจใน 130 แห่งลงทุนใน 9 ภาคธุรกิจ ย่างกุ้งได้รับการลงทุนที่สุดโดยมีมูลค่าการลงทุนกว่า 901 พันล้านจัต มัณฑะเลย์ 410 พันล้านจัต ขณะที่รัฐชาน 170 พันล้านจัต และอิรวดี 161 พันล้านจัตตามลำดับ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมโรงแรมและการท่องเที่ยว และการพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งนักลงทุนท้องถิ่นต้องได้รับการประเมินความสามารถในการลงทุนโดย Myanmar Investment Commission (MIC) ก่อนที่จะได้รับอนุมัติให้ลงทุนได้ จากนั้น MIC จะออกใบรับรองซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การลดหย่อนภาษี การยกเว้นภาษี และสิทธิพิเศษอื่น ๆ ในปีงบประมาณ 62-63 มีโอกาสในการทำงานมากกว่า 23,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นผลมาจากการลงทุนของนักลงทุนในประเทศ มีการจ้างงานคนในท้องถิ่น 22,700 คน และแรงงานต่างชาติกว่า 480 คน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-citizens-raise-investments-country-despite-pandemic.html

ผลสำรวจของเวิลแบงค์ COVID-19 รอบสองในเมียนมาส่งผลกระทบรุนแรงกว่าครั้งแรก

การสำรวจล่าสุดของธนาคารโลกซึ่งเป็นครั้งที่ 4 จาก 8 ชุดที่ได้วางแผนไว้ โดยสำรวจในเดือนกันยายนและครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของธุรกิจในประเทศ 500 ตัวอย่าง ร้อยละ 66 พบว่าไม่มีความพร้อมในการรับมือและธุรกิจการเกษตรขนาดเล็กและขนาดเล็กมีความพร้อมน้อยที่สุด ร้อยละ 83 ได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 75 ของเดือนสิงหาคม บริษัททุกขนาดประสบปัญหาปิดตัวชั่วคราวเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายนหลังจากที่รัฐบาลออกคำสั่งห้ามออกจากที่พักสำหรับธุรกิจในย่างกุ้ง ส่วนภาคเกษตรกรรมมีการปิดกิจการเพิ่มขึ้น ยอดขายที่ลดลงยังเป็นที่น่ากังวลสำหรับธุรกิจขนาดเล็กจากการสำรวจจพบว่า ยอดขายลดลงร้อยละ 93 ในเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 จากเดือนสิงหาคม อีกทั้งปัญหาด้านเงินทุนจะส่งผลต่อการดำเนินงานของบริษัทมากขึ้นในเดือนกันยายน มีบริษัทจำนวนมากขึ้นที่ยื่นฟ้องล้มละลายและปลดคนงานออกรวมถึงมีปัญหาด้านการชำระสินเชื่อตามมา จากรายงานยังพบว่าธุรกิจการเกษตรเกือบครึ่งหนึ่งและหนึ่งในสามของบริษัทค้าปลีกและค้าส่งมีแนวโน้มว่าในอีกสามเดือนข้างหน้าจะเริ่มมีการค้างการชำระสินเชื่อ การระบาดของ COVID-19 รอบสองในเมียนมา มีผลให้บริษัทต่างๆ มีความมั่นใจน้อยลงในการเปิดกิจการต่อเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/covid-19-second-wave-more-severe-local-firms-first.html