การส่งออกข้าวของกัมพูชาขยายตัวประมาณ 40.5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

การส่งออกข้าวของกัมพูชาไปยังประเทศจีนมีจำนวน 122,094 ตัน คิดเป็น 41% ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป 97,337 ตัน คิดเป็น 32.4% รวมถึงกลุ่มสมาชิกอาเซียน 37,428 ตัน คิดเป็น 12.5% และประเทศอื่น ๆ 43,393 ตัน คิดเป็น 14.45% โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรป่าไม้และประมงกล่าวว่าการส่งออกสินค้าเกษตรอย่างเป็นทางการมีจำนวนมากกว่า 2 ล้านตัน โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) ขอให้รัฐบาลยกเลิกการห้ามส่งออกข้าวขาวให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อให้โรงสีสามารถล้างสต๊อกเก่าและชำระหนี้คืน ซึ่งประธาน CRF กล่าวว่ากำลังการผลิตของโรงสีข้าวในกัมพูชาปัจจุบันอยู่ที่ 1.9 ล้านตันต่อฤดูกาล โดยมีกำลังการผลิตไซโลอยู่ที่ประมาณ 45,000 ตันต่อวัน ซึ่งทาง CRF ขอให้รัฐบาลจัดให้มีการศึกษาความเป็นไปได้สำหรับโรงสีข้าวในการจัดหาพลังงานทดแทน เช่นพลังงานแสงอาทิตย์ โดยจะทำให้ต้นทุนการผลิตสำหรับโรงสีข้าวลดลงเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50719616/rice-exports-grew-by-about-40-5-percent-compared-with-last-year/

เวียดนามส่งออกข้าวเพิ่ม 38,000 ตัน

จากข้อมูลของสำนักงานศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าส่วนบริการศุลกากรออนไลน์เพิ่มรายการส่งออกข้าวเพิ่มอีก 38,000 ตัน ในวันที่ 26 เม.ย. โดยปริมาณข้าวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโควตาส่งออกข้าวสำหรับเดือนเม.ย. 400,000 ตัน, เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา รัฐบาลเวียดนามจำกัดการส่งออกข้าวปริมาณ 800,000 ตัน ในเดือนเม.ย.และพ.ค. เพื่อให้แน่ใจว่าผลผลิตในประเทศจะเพียงพอ ท่ามกลางความต้องการสูงขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ ปริมาณดังกล่าวลดลงร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.และ พ.ค. ในขณะเดียวกัน ปริมาณสำรองข้าวแห่งชาติเพิ่มขึ้นจาก 300,000 ตัน อยู่ที่ 700,000 ตัน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/additional-38000-tonnes-of-rice-to-be-exported/172355.vnp

รัฐบาลเพิ่มการสำรองข้าวและน้ำมันปาล์มรับมือ COVID-19

รัฐบาลกำลังวางแผนที่จะเพิ่มปริมาณสำรองข้าวและน้ำมันปาล์มสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินในกรณีที่มีการระบาดของ COVID-19 กระทรวงพาณิชย์ประกาศในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 22 เมษายนว่าจะซื้อและกักตุนข้าว 50,000 ตันและน้ำมันปาล์ม 12,000 ตัน เพื่อสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉิน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-beef-rice-and-palm-oil-reserves.html

MoIT เสนอให้เริ่มส่งออกข้าว

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) ขอให้รัฐบาลดำเนินการส่งออกข้าวต่อไป อย่างไรก็ตามปริมาณการส่งออกจะถูก จำกัด ที่ 800,000 ตันในเดือนเมษายนและพฤษภาคม MoIT เสนอให้อนุญาตให้ส่งออกข้าวแต่ต้องควบคุมโควต้ารายเดือนอย่างเข้มงวดหลังจากพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อความมั่นคงด้านอาหารท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 แผนดังกล่าวเป็นไปตามประกาศจากกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเรื่องปริมาณข้าว 3.2 ล้านตันซึ่งสามารถส่งออกได้ในฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ นี่คือปริมาณที่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ การส่งข้าวประมาณ 1.7 ล้านตัน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 ดังนั้นการส่งออกข้าวในอนาคตจะอยู่ที่ 1.5 ล้านตัน ในขณะเดียวกันปริมาณข้าวสำรองทั้งหมดในอีกสองเดือนข้างหน้าจะมีปริมาณ 700,000 ตัน โดยเฉพาะการส่งออกข้าวจะได้รับอนุญาตผ่านประตูชายแดนระหว่างประเทศเท่านั้น เช่น ถนน รถไฟทาง และทางทะเล ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 เมียนมาห้ามส่งออกข้าวใหม่เพื่อให้แน่ใจว่ามีอุปทานภายในประเทศเพียงพอที่จะรับมือกับการระบาด COVID-19

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/moit-proposes-to-resume-rice-exports

เวียดนามอนุมัติส่งออกข้าวมากกว่า 56,000 ตัน

สำนักงานกรมศุลกากรเวียดนาม ระบุในเว็บไซต์ว่าเวียดนามส่งออกข้าวราว 57,000 ตัน ช่วงบ่ายวันอังคาร ซึ่งจำนวนข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของ 400,000 ตัน ภายใต้โควตาส่งออกในเดือนนี้ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมานั้น นายกรัฐมนตรีเหงียน ซวน ฟุก ได้อนุมัติแผนของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ในการส่งออกข้าวอีกครั้งหลังจากระงับชั่วคราว เพื่อให้แน่ใจว่าเวียดนามมีอาหารเพียงพอที่จะรับมือการระบาดของไวรัส ทั้งนี้ ในไตรมาสแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกข้าวราว 1.52 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 700.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 และ 16 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามลำดับ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/715610/more-than-56000-tonnes-of-rice-cleared-for-customs-approval.html

เวียดนามส่งออกข้าวพุ่งไปยังจีน ในไตรมาสแรก

จากรายงานของสำนักงานศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกข้าวไปยังจีนเพิ่มขึ้น 4 เท่า ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ปริมาณส่งออก 162,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11 ของปริมาณการส่งออกรวม โดยเฉพาะที่จีนนำเข้าข้าวจากเวียดนามส่งผลให้ราคาซื้อสูงสุด ปัจจุบันราคาส่งออกข้าวไปยังจีนเฉลี่ยอยู่ที่ 12.7 ล้านด่องต่อตัน เพิ่มขึ้นกว่า 1.7 ล้านด่องต่อตัน เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นผลมาจากราคาข้าวนำเข้าของเพื่อนบ้านทางตอนเหนือสูงกว่าฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นผู้บริโภคข้าวเวียดนามรายใหญ่ ทั้งนี้ ยอดนำเข้าที่เพิ่มขึ้นของเวียดนาม เนื่องจากจีนเผชิญกับการขาดแคลนอาหาร ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/exports-of-rice-to-china-skyrocket-in-q1-412752.vov

ราคาส่งออกข้าวของกัมพูชาเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า

ราคาข้าวหอมมะลิส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในเดือนที่แล้วจาก 50 เหรียญสหรัฐสู่ 100 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตันตัน ตามรายงานของสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) อย่างไรก็ตามราคาซื้อขายข้าวขาวในประเทศยังคงทรงตัว โดยเลขาธิการ CRF อธิบายถึงความไม่เท่ากันของราคาส่งออกที่พุ่งขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการปิดชายแดนเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 หลายประเทศทำให้การขนส่งสินค้ารวมถึงข้าวทำได้ยากขึ้นและสิ่งนี้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า ดีมานด์ก็เพิ่มขึ้นเช่นกันเนื่องจากจุดหมายปลายทางที่ทำการส่งออกไปมีสต็อคของสินค้าที่ค่อนข้างต่ำ ซึ่งความต้องการดังกล่าวยังเห็นว่าราคาข้าวหอมมะลิกัมพูชา (Malys Angkor) เพิ่มขึ้น 70 เหรียญสหรัฐเป็น 950 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตัน ปัจจุบันกัมพูชาได้รับอนุญาตให้ส่งออกข้าวหอมเท่านั้นเนื่องจากได้ราคาที่สูงขึ้นในตลาดต่างประเทศ ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมารัฐบาลกัมพูชาสั่งห้ามการส่งออกข้าวขาวและข้าวเปลือกชั่วคราวจนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติมเพื่อให้มั่นใจว่ามีสต็อกเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการภายในประเทศผ่านช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนซึ่งเกิดจากการแพร่กระจายของ COVID-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50713246/price-of-exported-rice-doubles/

ข้าวถุงปรับขึ้นราคา 20% มากสุดรอบ 10 ปี

ราคาข้าวเปลือก-ข้าวสารพุ่ง ข้าวถุงรั้งไม่อยู่ แห่ปรับราคาขึ้น 20% สูงสุดรอบเกือบ 10 ปี นายกสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย เปิดเผยว่า จากราคาข้าวเปลือกที่ขยับสูงขึ้นมากในเวลานี้ (ข้าวเปลือกเจ้าตันละ 9,000-10,900 บาท ขึ้นกับคุณภาพและความชื้น สูงสุดในรอบ 7 ปี) ส่งผลถึงต้นทุนข้าวสารที่ใช้ผลิตข้าวสารบรรจุถุงปรับตัวสูงขึ้น และมีผลให้ราคาข้าวสารบรรจุถุงปรับตัวจากเดิมแล้วในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาประมาณ 20% ถือเป็นการปรับราคาสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี สำหรับราคาข้าวสารบรรจุถุงนี้ถือว่ามีการปรับราคาช้ากว่าราคาข้าวที่ขายตามร้านยี่ปั๊ว ซาปั๊ว หรือร้านที่ตักข้าวชั่งกิโลขายทั่วไป ที่เมื่อราคาข้าวจากโรงสีปรับตัวสูงขึ้น เมื่อซื้อมาขายก็สามารถปรับราคาขึ้นได้เลย ขณะที่ผู้ประกอบการข้าวถุงต้องผูกสัญญาไว้กับห้างโมเดิร์นเทรดต้องแจ้งทางห้างฯ ล่วงหน้า 10-15 วันจึงจะปรับราคาได้ เวลานี้มีหลายแบรนด์ที่แจ้งทางห้างฯ เพื่อขอปรับราคาแล้ว อย่างไรก็ดีในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมนี้จะมีข้าวนาปรังเก็บเกี่ยวรอบสองออกสู่ตลาด คาดจะทำให้ราคาข้าวถุงอ่อนตัวลง จากนี้ไปราคาข้าวถุงคงปรับขึ้นอีกไม่มาก ขอให้เห็นใจผู้ประกอบการด้วยเพราะเป็นการปรับขึ้นตามกลไกตลาด ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่มีการปรับเพราะตลาดมีการแข่งขันสูง และการที่ราคาข้าวเปลือกปรับตัวสูงขึ้นทุกฝ่ายควรที่จะยินดีกับชาวนา

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/429431?utm_source=homepage_hilight&utm_medium=internal_referral

กระทรวงเสนอให้กลับมาส่งออกข้าว

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เรียกร้องให้รัฐบาลกลับมาดำเนินการส่งออกข้าวอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ต้องจำกัดปริมาณการส่งออกอยู่ที่ 800,000 ตัน ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ทางกระทรวงฯ เสนอให้อนุมัติการส่งออกข้าวได้ แต่ต้องควบคุมเรื่องโควตาต่อเดือนอย่างเข็มงวด หลังจากพิจารณาความมั่งคงทางด้านอาหารแล้ว ท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แผนดังกล่าวนั้นเป็นไปตามคำประกาศอย่างเป็นทางการจากกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท เกี่ยวกับปริมาณส่งออกข้าวพันธุ์ฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ อยู่ที่ 3.2 ล้านตัน ซึ่งปริมาณข้างต้นเป็นส่วนที่เหลือจากการบริโภคและสำรองในประเทศแล้ว สำหรับการขนส่งจะเป็นในรูปแบบการค้าผ่านชายแดนระหว่างประเทศ ได้แก่ ทางถนน ทางรถไฟ ทางทะเลและทางอากาศ นอกจากนี้ กระทรวงฯ กำหนดให้ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุด 20 ราย มาลงนามข้อตกลงกับระบบการจำหน่ายสินค้า เพื่อให้แน่ใจว่าการสำรองอาหารนั้นจะเพียงพอ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/trade-ministry-proposes-resuming-rice-exports/171350.vnp

นายกฮุนเซนสั่งห้ามส่งออกข้าวเพื่อป้องกันอุปทานภายในประเทศ

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนได้สั่งหยุดการส่งออกข้าวขาวและข้าวเปลือกทั้งหมดกำหนดตั้งแต่วันที่ 5 เมษายนจนกว่าจะมีประกาศให้ทำการส่งออกดังเดิม โดยนายฮุนเซนกล่าวในการแถลงข่าวหลังจากการประชุมรัฐสภาว่าการตัดสินใจในครั้งนี้ทำไปเพื่อปกป้องอุปทานภายในประเทศเพื่อตอบสนองต่อการขาดแคลนอาหารในช่วงของการระบาด COVID-19 ซึ่งรัฐบาลได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าหนึ่งสัปดาห์เพื่อให้ผู้ผลิตข้าวและผู้ส่งออกสามารถจัดการและควบคุมสต็อค รวมถึงเคลียคำสั่งซื้อต่างๆที่มีอยู่ จากรายงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กัมพูชาได้ส่งออกข้าวสาร 214,612 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศ โดยคิดเป็นส่งออกไปยังประเทศจีน 94,060 ตัน สหภาพยุโรป 62,998 ตัน ตลาดอาเซียน 27,937 ตัน และตลาดอื่น ๆ 29,617 ตัน รวมไปถึงการส่งออกอย่างไม่เป็นทางการที่คาดว่ามากกว่า 800,000 ตัน ไปยังเวียดนาม ซึ่งรองประธานสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) กล่าวว่าการส่งออกข้าวขาวของกัมพูชายังคงมีเสถียรภาพ โดยข้าวขาวที่ผลิตในประเทศส่งออกประมาณ 20 ถึง 25% ในแต่ละเดือน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50707627/pm-bans-white-rice-and-paddy-exports-in-effort-to-safeguard-local-supply/