เมียนมาหนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์และดนตรีท่ามกลางวิกฤติ COVID-19

กระทรวงวางแผนและการเงินประจำย่างกุ้งเผยรัฐบาลเมียนมาจัดสรรเงินสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เพลง การแสดงและการสื่อมวลชนหลังจากวิกฤติ COVID-19 ในระหว่างการประชุมวันที่ 9 กันยายน 63 ที่ประชุมโดยคณะทำงานเพื่อแก้ไขผลกระทบของ COVID-19 ต่อเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเงินกู้ครั้งที่ 3 เพื่อสนับสนุนธุรกิจที่ได้ผลกระทบ แผนในครั้งแรกและครั้งที่สองมุ่งเน้นไปที่ภาคการผลิตการท่องเที่ยวและเกษตรกรรมเป็นหลัก และกำลังพิจารณาจัดหาเงินจำนวน 1.5 หมื่นล้านจัตโดยร่วมมือกับธนาคารในการจัดหาเงินกู้ยืม จนถึงขณะนี้มีการจัดสรรเงินจำนวน 1.9 ล้านล้านจัตเพื่อจัดการกับผลกระทบด้านเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังมีการแจกเงินสดให้ครัวเรือนผู้สูงอายุและค่ายผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (IDP) เกษตรกรผู้เกษตรกร ชาวประมง ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์ตลอดจนนักเดินเรือ ทั้งนี้รัฐบาลยังอุดหนุนค่าไฟฟ้ามากกว่า 10,000 ล้านจัตตั้งแต่เดือนเมษายน 63  ในขณะเดียวกันกระทรวงสาธารณสุขและการกีฬาได้จัดสรรงบ 268 พันล้านจัต เพื่อจัดซื้อยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ และปรับปรุงโรงพยาบาล

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-support-film-music-industry-amid-covid-19.html

เมียนมาเตรียมแผนรองรับ COVID-19 สำหรับภาคเกษตร

กระทรวงเกษตรปศุสัตว์และชลประทาน (MOALI) ของเมียนมาจัดทำแผนแม่บทความมั่นคงด้านอาหารเพื่อรองรับภาคการเกษตรและปศุสัตว์จากปัญหา COVID-19  ภายหลังจากการประชุมตามแผนรับมือเศรษฐกิจ COVID-19 (CERP) เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของ COVID-19 ที่มีต่อประชากรในชนบทรวมทั้งเกษตรกร นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับแผนพัฒนาที่ยั่งยืนของเมียนมา ภายใต้แผน MOALI จะมุ่งเน้นไปที่การผลิตพืชผลและปศุสัตว์ให้เพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศส่วนที่เหลือจะถูกส่งออกไปยังต่างประเทศ ทั้งนี้ภายใต้ CERP รัฐบาลได้เบิกจ่ายเงินไปแล้วร้อยละ 75 ของเงินจำนวน 9 หมื่นล้านจัต เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อภาคธุรกิจจากการระบาดครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปลายเดือนมีนาคม 63

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-draws-plan-cushion-agri-sector-covid-19.html

ปีงบฯ 62-63 มูลค่า FDI เมียนมาเกินเป้าหมาย

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของเมียนมาเกินเป้าหมายที่ 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 7 กันยายน ของปีงบประมาณ -62-63 โดยมีการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด 234 แห่ง ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 62  ถึง 7 กันยายน 63 ซึ่งจะรวมถึงการขยายธุรกิจเดิมและการลงทุนภายใต้กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ คณะกรรมการการลงทุนเมียนมาวางแผนที่จะจัดการประชุมครั้งสุดท้ายก่อนสิ้นปีงบประมาณซึ่งจะมีการทบทวนการลงทุนขั้นสุดท้ายสำหรับปีนี้ ซึ่งหากมีการลงทุนทั้งหมดจะมีมูลค่าทั้งหมด 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับปีงบประมาณ 62-63 เกินเป้าหมาย 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับปีนี้ เมียนมายังต้องการการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มอีก 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลงทุนทั้งหมดที่คาดว่าจะได้รับการอนุมัติก่อนสิ้นเดือนนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/foreign-direct-investments-fiscal-2019-20-exceed-target.html

เมียนมาเตรียมสร้างท่าเรือเพื่อพัฒนาการขนส่งทางน้ำ

กระทรวงคมนาคมและการสื่อสารกำลังวางแผนที่จะพัฒนาท่าเรือภายในประเทศหลายแห่งที่แม่น้ำอิระวดีและแม่น้ำชิดวิน เพื่อปรับปรุงการขนส่งทางบกและการขนส่งทางแม่น้ำ ท่าเรือแห่งใหม่นี้จะได้รับการพัฒนาเป็นท่าเรือหลักเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการขนส่งทางน้ำและโลจิสติกส์ นอกจากนี้ยังยกระดับการค้ากับอินเดีย จีน และไทยและสอดคล้องกับแผนพัฒนาแห่งชาติของเมียนมาและแผนแม่บทโลจิสติกส์ ท่าเรือทั้ง 5 แห่งอยู่ใน จังหวัดปะโคะกู เขตมะกเว เมืองบะมอฝั่งแม่น้ำอิรวดี รวมถึงเมืองกะเล่วะและเมืองโมนยวาริมแม่น้ำชิดวิน (Chindwin) โดยมีมูลค่ารวม 182 ล้านดอลาร์สหรัฐ ซึ่งจะมีการเปิดประมูลและคาดว่าจะเริ่มได้ในปีงบประมาณที่จะถึงนี้  ท่าเรือทั้ง 5 แห่งซึ่งเมื่อพัฒนาแล้วคาดว่าจะยกระดับเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านการขนถ่ายสินค้าและการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่มีประสิทธิภาพและสร้างโอกาสในการทำงานให้กับคนในท้องถิ่นและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเขตเศรษฐกิจและเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่ นอกจากนี้ยังช่วยลดราคาสินค้าเนื่องจากต้นทุนการขนส่งสินค้าที่ลดลง ประหยัดเวลาการเดินเรือด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนถ่ายที่รวดเร็ว ลดการสูญเสียและความเสียหายต่อสินค้าและการขนถ่ายสินค้าที่ปลอดภัยและมีความเชื่อถือมากขึ้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-build-inland-ports-improve-river-transportation.html

ภาคก่อสร้างเมียนมาหวั่นผลกระทบจากการ Work from Home

บริษัทรับเหมาก่อสร้างต่างกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการทำงานจากที่บ้าน (WFH) ผลมาการระบาดของ COVID-19  โครงการ WFH ถูกนำมาใช้ร้อยละ 50 สำหรับพนักงานถูกนำมาใช้ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 63 ในช่วงการระบาดครั้งแรกของ COVID-19 แต่ถูกยกเลิกไปในเดือนมิถุนายนเมื่อจำนวนผู้ป่วยลดลง ขณะนี้อาจถูกนำกลับมาใช้เมื่อมีการระบาดอีกครั้ง แม้ว่าการ WFH สามารถนำมาใช้ในภาคธุรกิจที่ไม่ให้พนักงานมาทำงานที่สำนักงานได้ แต่เป็นการยากสำหรับภาคการก่อสร้างที่จะลดจำนวนคนงานในสถานที่ทำงาน  ขณะเดียวกันกำลังปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อป้องกันไม่ให้การดำเนินงานถูกระงับ ซึ่งภาคการก่อสร้างเป็นแหล่งที่ให้โอกาสในการทำงานมากที่สุดในตอนนี้  ปัจจุบันการก่อสร้างเเริ่มฟื้นตัวหลังจากหยุดชะงักระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 63 ซึ่งในช่วงดังกล่าวเอกชนรายย่อยบางรายเลิกกิจการเนื่องจากปัญหาการหมุนเวียนของกระแสเงินสด

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/construction-sector-myanmar-worried-over-work-home-order.html

เมียนมาห้ามรถบรรทุกวิ่งในช่วงเวลาเคอร์ฟิว

Myanmar Container Truck Association (MCTA) ออกประกาศให้รถบรรทุกทุกคันทั่วประเทศห้ามวิ่งรถในช่วงเวลาเคอร์ฟิวที่รัฐบาลกำหนดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระหว่างเวลา 12.00 น. ถึง 04.00 น. ในย่างกุ้งมีรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์วิ่งต่อวันประมาณ 3,000 คัน แต่จำนวนลดลงเหลือประมาณ 1,000 คันเนื่องจากการระบาดของ COVID-19

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/container-trucks-warned-avoid-driving-during-curfew-hours.html

ส่งออกข้าวโพดไปไทยหยุดชะงัก

ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 63 เมียนมาหยุดการส่งออกข้าวโพดจากชายแดนเมียวดี  เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปไทยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 63 โดยได้รับการยกเว้นภาษีเป็นไปตามข้อกำหนดข้าวโพดของไทย แต่เวลานี้ตรงกับเวลาที่ฤดูเก็บเกี่ยวข้าวโพดในไทย เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเกษตรกรไทยจึงเพิ่มภาษีการส่งออกข้าวโพดของเมียนมา

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/corn-export-to-thailand-halts