กัมพูชารายงานความคืบหน้าโครงการสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ในพนมเปญ

ทางการกล่าวว่าการก่อสร้างสนามบินพนมเปญแห่งใหม่ที่มีมูลค่าโครงการอยู่ที่ 1.5 พันล้านดอลลาร์ เสร็จสมบูรณ์แล้วร้อยละ 40 ในเดือนพฤษภาคม ภายใต้การดำเนินการตามแผนที่วางไว้แม้จะกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยสนามบินตั้งอยู่ในจังหวัดกันดาลคาบเกี่ยวกับจังหวัดตาแก้วบนพื้นที่กว่า 2,600 เฮกตาร์ มีกำหนดจะเริ่มเปิดดำเนินการในปี 2023 ซึ่งเมื่อสนามบินแห่งใหม่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์และเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจให้กับประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดกันดาลเนื่องจากสนามบินแห่งนี้ถือเป็นสนามบินที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค ซึ่งคาดว่าจะรองรับผู้โดยสารที่เดินทางมายังกัมพูชาได้มากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50861152/new-phnom-penh-international-airport-construction-now-40-percent-complete/

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชาขยายโครงการปรับโครงสร้างหนี้ถึงสิ้นปี

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ออกมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบทางด้านการเงินให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยมาตรการดังกล่าวรวมถึงการคงปริมาณเงินทุนสำรองของสถาบันการเงินภายใรประเทศไว้ที่ร้อยละ 7 เพื่อเป็นการรองรับกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตและทำการขยายการปรับโครงสร้างหนี้ไปจนถึงสิ้นปี ซึ่งลูกค้าที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ล็อกดาวน์สามารถทำการขอรีไฟแนนซ์ได้ถึง 3 ครั้งในช่วงระยะเวลาผ่อนผันนี้ตามประกาศของ NBC ทั้งยังสนับสนุนให้สถาบันการเงินพิจารณาลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมเป็นรายกรณีตามความเหมาะสม โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาสมาคมไมโครไฟแนนซ์กัมพูชา (CMA) รายงานว่าภายในเดือนเมษายนมียอดเงินกู้รวมสูงถึงประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์ ที่ขอทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในสถาบันทางการเงินที่เป็นสมาชิก CMA

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50861450/nbc-extends-loan-restructures-to-end-of-year/

ทิศทาง CLMV หลัง COVID-19

โดย BRD Analysis I ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

ประเด็นสำคัญ

  • เศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มขยายตัวโดดเด่นที่สุดใน CLMV ขณะที่รัฐประหารทำให้เศรษฐกิจเมียนมาซึ่งเคยขยายตัวสูงกลับถดถอยและกลายเป็นประเทศที่มีแนวโน้มเศรษฐกิจเติบโตต่ำที่สุดในกลุ่ม
  • นโยบายภาครัฐของกัมพูชาเน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่งผลให้โรงไฟฟ้าเป็นธุรกิจที่มีโอกาสขยายการลงทุนในระยะข้างหน้า พร้อมกับผลักดันอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทดแทนเสื้อผ้าสำเร็จรูป
  • การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใหม่ใน สปป.ลาว ต้องอาศัยนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังน้ำยังคงเป็นเป้าหมายหลัก ขณะที่การลงทุนภาคการผลิตมีโอกาสเพิ่มขึ้นจากโครงการรถไฟจีน – สปป.ลาว
  • ความขัดแย้งในเมียนมาทำให้ธุรกิจต่างชาติต้องเน้นประคองธุรกิจ และการลงทุนใหม่มีแนวโน้มชะลอตัวรุนแรง

————————————————————————————————————————————————————

ทิศทางเศรษฐกิจของ CLMV

กัมพูชา :เศรษฐกิจยังฟื้นตัวได้จำกัดในระยะสั้น แม้ภาคส่งออกจะได้อานิสงส์จากการฟื้นตัวของตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ ขณะที่การลงทุน โดยเฉพาะจากจีน มีแนวโน้มฟื้นตัว แต่ภาคท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศยังคงต้องใช้ระยะเวลาฟื้นตัวอีก 1-2 ปี

สปป.ลาว : การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจขึ้นกับปัจจัยสนับสนุนภายนอก เนื่องจากภาครัฐประสบปัญหาหนี้สาธารณะในระดับสูง ทำให้ไม่มีเครื่องมือที่ใช้ สำหรับกระตุ้นเศรษฐกิจ และต้องลดการใช้จ่ายภาครัฐลง จึงต้องหวังพึ่งการลงทุนจากต่างประเทศเป็นหลัก

เมียนมา : ยากต่อการคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจ เนื่องจากรัฐประหารเปลี่ยนทิศทางของประเทศไปโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ IMF คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวกว่า 4% ตั้งแต่ ปี 2566 จากความคาดหวังว่าความวุ่นวายในประเทศจะคลี่คลายลงได้

เวียดนาม : มีแนวโน้มขยายตัวโดดเด่นที่สุดใน CLMVโดยรัฐบาลตั้งเป้าเศรษฐกิจขยายตัว 6.5-7.0% ระหว่างปี 2564-2568 และจะเป็นประเทศที่มีรายได้ ปานกลางค่อนข้างสูงภายในปี 2573

————————————————————————————————————————————————————

ทิศทางธุรกิจและอุตสาหกรรม

กัมพูชา : การดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่นอกเหนือจากเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยมีอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ : การลงทุนมีแนวโน้มขยายตัว โดยการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของกัมพูชา (สัดส่วนราว 5% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด) ในปี 2563 ขยายตัวราว 220% เนื่องจากความต้องการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่ารัฐบาลจะดึงดูดการลงทุนเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า

โรงไฟฟ้า : การลงทุนมีแนวโน้มขยายตัว เนื่องจากกัมพูชายังมี Supply ของไฟฟ้าไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ โดยโรงไฟฟ้าที่มีศักยภาพการลงทุน ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

สปป.ลาว : การลงทุนใหม่ต้องอาศัยนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน ทั้งนี้ สปป.ลาว ยังคาดหวังกับการลงทุน ดังนี้

ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังน้ำ : ยังคงเป็นธุรกิจเป้าหมายของรัฐบาล สปป.ลาว แต่โครงการใหม่ในระยะข้างหน้าต้องพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด เนื่องจากรัฐบาลเผชิญข้อจำกัดทางการเงิน

ภาคการผลิตที่ได้ประโยชน์จากการเชื่อมโยง สปป.ลาว กับประเทศเพื่อนบ้าน : โครงการรถไฟจีน – สปป.ลาว ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ธ.ค. 2564 จะดึงดูดการลงทุนในภาคการผลิตของ สปป.ลาว ได้ในอนาคต

เมียนมา : ธุรกิจต่างชาติในเมียนมาเน้นประคองธุรกิจ ขณะที่การลงทุนใหม่มีแนวโน้มชะลอตัวรุนแรง

ภาคการผลิต : การผลิตเพื่อส่งออก (เสื้อผ้าสำเร็จรูป) หยุดชะงัก เนื่องจากผู้นำเข้า โดยเฉพาะชาติตะวันตก หลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมกับเมียนมา จนผู้ประกอบการต่างชาติบางส่วนอาจถอนการลงทุน ขณะที่การผลิตที่เน้นตลาดในประเทศ เผชิญกับความต้องการที่หดตัวตามภาวะเศรษฐกิจเมียนมา

โรงไฟฟ้า : นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่ชะลอการลงทุน และเป็นโอกาสที่จีนจะมีบทบาทในเมียนมามากขึ้น

เวียดนาม : หลายอุตสาหกรรมในเวียดนามมีแนวโน้มขยายตัวดี โดยอุตสาหกรรมที่เป็นโอกาสการลงทุนของไทย อาทิ

อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป : เนื่องจากความต้องการอาหารที่มีความปลอดภัยและถูกสุขอนามัยเพิ่มขึ้น ประกอบกับรัฐบาลให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มมูลค่าและยกระดับการผลิตสินค้าเกษตร

ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ : มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องตามการขยายตัวของภาคการผลิตในเวียดนาม ซึ่งรวมถึงบรรจุภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปและเครื่องดื่ม

โรงไฟฟ้า : ยังเติบโตจากความต้องการใช้ ไฟฟ้าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 8.6% และ 7.2% ในช่วงปี 2564-2568 และ 2569-2573 ตามล าดับ ซึ่งเวียดนามจะลดการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินและเพิ่มพลังงานหมุนเวียน

https://kmc.exim.go.th/detail/hot-issues/20210512113428ที่มา :

กระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชาเริ่มมองหาการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวทองคอนกล่าวว่ากระทรวงการท่องเที่ยวกำลังวางแผนสำหรับการฟื้นฟูการท่องเที่ยวระหว่างประเทศภายในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ โดยจะเริ่มประเมินสถานภาพของภาคบริการด้านการท่องเที่ยวในทุกจุดหมายปลายทาง ร่วมกับการสร้างมาตรฐานการให้บริการการท่องเที่ยวภายในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างรวดเร็ว เพื่อรับรองความปลอดภัยและคุณภาพของแต่ละจุดหมายปลายทางสำหรับนักท่องเที่ยวภายในประเทศ ซึ่งกระทรวงจะทำการศึกษาถึงความเป็นไปได้ที่จะให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ได้รับการฉีดวัคซีนตามกำหนดให้สามารถเดินทางมายังกัมพูชาได้ในฐานะนักท่องเที่ยว ร่วมถึงต้องเร่งทำการฉีดวัคซีนให้กับพนักงานภาคบริการและประชาชนภายในประเทศให้ได้ครอบคลุมที่สุดเพื่อเป็นการจำกัดการแพร่ระบาดและถือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ที่จะเดินทางมายังประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50860035/tourism-ministry-eyes-return-of-intl-tourists/

รัฐบาลกัมพูชาวางแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19

รัฐบาลกัมพูชาวางแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสิ้นสุดวิกฤตโควิด-19 ที่คาดว่าจะทุเลาลงในช่วงปี 2021-2023 ในการประชุมนานาชาติครั้งที่ 26 ว่าด้วยอนาคตของเอเชียภายใต้หัวข้อ “การจัดการยุคใหม่หลังวิกฤตโควิด: บทบาทของเอเชียภายใต้การเปลี่ยนแปลงโลก” ซึ่งนายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวว่ารัฐบาลกัมพูชามุ่งมั่นที่จะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสในการปฏิรูปเชิงลึกที่มุ่งสร้างระบบเศรษฐกิจและสังคมที่เข้มแข็งและยืดหยุ่นมากขึ้นสำหรับวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต โดยรัฐบาลได้เตรียมและวางแผนที่จะเปิดตัวแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด-19 สำหรับปี 2021-2023 เพื่อให้การเติบโตทางเศรษฐกิจกลับมาใกล้เคียงกับศักยภาพการเติบโตที่ยั่งยืนมากขึ้นนอกจากนี้รัฐบาลยังว่างแผนพัฒนาโดยนำมาตรการปฏิรูปที่สำคัญในด้านโครงสร้างการลงทุนและธุรกิจ ไปจนถึงการส่งเสริมและพัฒนาดิจิทัลในภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างความยืดหยุ่นโดยการเสริมสร้างความพร้อมและการตอบสนองในอนาคต โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบการคุ้มครองสุขภาพและสังคมที่เข้มแข็ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50859901/reform-at-heart-of-govt-plans-for-economic-recovery/

บริษัทน้ำมันในกัมพูชากำหนดส่งมอบน้ำมันดิบครั้งแรกในเดือนนี้

Kris Energy บริษัทจากทางสิงคโปร์ที่ดำเนินการขุดเจาะน้ำมันในกัมพูชา วางแผนจัดส่งน้ำมันดิบไปยังตลาดต่างประเทศเป็นครั้งแรกในเดือนนี้ ปริมาณมากถึง 300,000 บาร์เรล ตามข้อมูลของอำนวยการใหญ่ด้านปิโตรเลียมของกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน โดยเกือบ 5 เดือนหลังจากการขุดเจาะน้ำมันดิบครั้งแรกออกจากพื้นที่อัปสราแปลง A ในน่านน้ำกัมพูชาในอ่าวไทย ซึ่งบ่อน้ำมันทั้ง 5 แห่งในบล็อก A เขตอัปสราได้เริ่มทำการสูบน้ำมันอย่างต่อเนื่องเฉลี่ย 2,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งยังต่ำกว่าปริมาณที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 7,500 บาร์เรลต่อวัน ที่คาดการณ์ไว้โดย Kris Energy ซึ่งหลังจากไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้บริษัทจึงได้นำที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม Netherland, Sewell & Associates Inc (NSAI) มาประเมินสถานการณ์ในระยะถัดไปใหม่ถึงปริมาณน้ำมันดิบที่คาดว่าจะผลิตได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50859589/first-crude-oil-shipment-due-this-month

CMA กล่าวถึงปริมาณการขอปรับโครงสร้างสินเชื่อเพิ่มขึ้นในกัมพูชา

จำนวนบัญชีผู้ขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้สินในกลุ่มของสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของสมาคมไมโครไฟแนนซ์กัมพูชา (CMA) มีมูลค่ารวมถึงประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์ ณ เดือนเมษายน ตามข้อมูลของ CMA โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2021 มีการขอรีไฟแนนซ์มากกว่า 35,800 บัญชีเงินกู้ มูลค่ากว่า 176 ล้านดอลลาร์ รวมถึงปริมาณการขอสินเชื่อขยายตัวสูงถึง 7 เท่า ในช่วงเดือนเมษายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ซึ่งผู้อำนวยการบริหารของ CMA เรียกร้องให้สมาชิกทุกรายดำเนินการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ประสบปัญหาโดยการช่วยปรับปรุงโครงสร้างเงินกู้ภายใต้ความเหมาะสม ทั้งธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ยังกล่าวว่าสถาบันการเงินทุกแห่งควรดำเนินการปรับโครงสร้างเงินกู้ต่อไปจนถึงกลางปี ​​2021 เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินภายในประเทศจากผลกระทบของการแพร่ระบาดที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ โดยภาคที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ภาคการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม และการขนส่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50859588/cma-loan-restructures-increasing/