สภานการณ์ส่งออกไตรมาสแรกของกัมพูชายังคงหดตัว

สถานการณ์การส่งออกของกัมพูชาอยู่ในทิศทางที่ค่อนข้างย่ำแย่ในไตรมาสแรกของปี โดยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้นอย่างมากถึง 5 เท่า จากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งกัมพูชาทำการส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงสดรวม 978 ตัน ในไตรมาสแรกของปีนี้ตามรายงานของกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง (MAFF) ในขณะเดียวกันการส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงแปรรูปมีปริมาณอยู่ที่ 172 ตัน ณ ร้อยละ 8.60 ของเป้าหมายที่วางแผนไว้ โดยไทยและเวียดนามเป็นตลาดหลักสำหรับผลิตภัณฑ์ประมงของกัมพูชา ในขณะที่ข้าวสารของกัมพูชาถูกส่งไปยัง 41 ประเทศทั่วโลก ซึ่งจีนเป็นตลาดข้าวที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชาตามด้วย 19 ประเทศในยุโรปและ 3 ประเทศในอาเซียน (มาเลเซีย สิงคโปร์และฟิลิปปินส์) โดยตัวเลขจากสมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มการส่งออกข้าวค่อยๆฟื้นตัว จากปริมาณการส่งออกข้าวในเดือนมีนาคมที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 84.66 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50835793/first-quarter-food-exports-suffering/

กัมพูชาเร่งศึกษาโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงภายในประเทศ

กัมพูชาศึกษาความเป็นไปได้สำหรับโครงการรถไฟขนส่งมวลชนสาธารณะความเร็วสูงสายพนมเปญ
จะเสร็จสิ้นในเดือนหน้าเนื่องจากรัฐบาลสนับสนุนความช่วยเหลือ รวมทั้งสามารถหาวงเงินกู้จากธนาคารภายในภูมิภาคได้สำเร็จ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งกล่าวระหว่างการประชุมเสมือนจริงกับผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ซึ่งกล่าวเพิ่มเติมว่าภาคเอกชนที่ทำการศึกษาใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยการศึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชนระยะที่สองสำหรับรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแล้วเสร็จแล้ว ซึ่งได้ขอให้ ADB ตรวจสอบผลการศึกษา โดยรัฐมนตรีฯกล่าวเสริมว่าโครงการดังกล่าวจะช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดในพนมเปญและถือเป็นการเร่งการพัฒนาอย่างรวดเร็วในระดับประเทศ

ที่มา :https://www.khmertimeskh.com/50835809/phnom-penh-mass-transit-project-studies-rolling-forward/

รัฐมนตรีฯกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา มองมุมบวกหลังเกิดการแพร่ระบาด

กัมพูชายังมองว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ถือเป็นโอกาสสำหรับการปฏิรูปเพิ่มเติมตามแผนยุทธศาสตร์ Rectangular Strategy Phase IIII ของรัฐบาล เพื่อเร่งการเติบโตของประเทศและกระตุ้นการค้า กล่าวโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในขณะที่เป็นประธานในการเปิดการทบทวนงานของกระทรวงในปี 2020 และการวางแผนสำหรับปี 2021 ซึ่งมองว่ากัมพูชาสามารถคว้าโอกาสในการเพิ่มการผลิตภายในท้องถิ่น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เกิดขึ้นใหม่ ตามที่รัฐมนตรีกล่าวว่าการส่งออกของกัมพูชาในปี 2020 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 หลังประเทศได้ทำข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคี ชี้ให้เห็นถึงโอกาสของผู้ประกอบการด้านการส่งออกของประเทศไปยังกลุ่มประเทศที่ได้ทำการลงนามข้อตกลงเบื้องต้นไว้แล้ว ในขณะเดียวกันกระทรวงยังคงเสริมสร้างขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่เพื่อรับมือกับความท้าทายทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก รวมถึงการปฏิรูประบบการทำงานของหน่วยงานราชการที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50835111/minister-picks-a-positive-side-of-the-pandemic/

กัมพูชาวางแผนตั้งศูนย์การค้าภายในประเทศจีน

กระทรวงพาณิชย์กำลังดำเนินการเพื่อจัดตั้งศูนย์การค้าเพิ่มเติมในจีน โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมสินค้าที่ผลิตภายในกัมพูชาและส่งเสริมการส่งออกของประเทศไปยังจีน ซึ่งกระทรวงกล่าวว่าจะมีการจัดตั้งศูนย์การค้าอีกอย่างน้อย 5 แห่ง ในประเทศจีน ทำให้จำนวนศูนย์การค้าของกัมพูชาเพิ่มขึ้นเป็น 11 แห่ง จากเดิมที่ดำเนินการในปัจจุบันอยู่แล้ว 6 แห่ง โดยการตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากมีการลงนามข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและจีนเมื่อปลายปีที่แล้ว ซึ่งเจ้าหน้าที่จากทั้งสองประเทศตั้งความหวังไว้สูงมากในการส่งเสริมการค้าระหว่างกัน โดยรองประธานหอการค้ากัมพูชา (CCC) กล่าวว่านักธุรกิจจะมีโอกาสมากขึ้นจากการที่เข้าถึงผลิตภัณฑ์ของกัมพูชาได้ง่ายขึ้น ซึ่งจากข้อมูลสถิติแสดงให้เห็นว่าการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและจีนในปี 2020 ลดลงร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50835069/more-trade-centers-planned-for-china/

กัมพูชาเรียกร้องจีนสนับสนุนการนำเข้าข้าวสารเพิ่ม

กระทรวงพาณิชย์ (MoC) กล่าวว่ามีแผนที่จะเจรจาปัญหากับคู่ค้าของจีนในปีนี้ สำหรับการขอความสนับสนุนให้จีนเพิ่มโควต้าการนำเข้าข้าวสารจากกัมพูชาเป็น 500,000 ตัน ซึ่งกำหนดเดิมจีนกำหนดโควต้าการนำเข้าข้าวสารจากกัมพูชาไว้ที่ 400,000 ตัน โดยจีนถือเป็นตลาดส่งออกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา ซึ่งการส่งออกข้าวของกัมพูชาในไตรมาสแรกของปีนี้สูงถึง 153,688 ตัน สร้างรายได้ 109.73 ล้านดอลลาร์ ตัวเลขรายงานจาก CRF แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์การส่งออกข้าวในปี 2021 อยู่ในทิศทางที่ค่อย ๆ ฟื้นตัว ส่งผลให้เดือนมีนาคมปริมาณการส่งออกข้าวสารของกัมพูชาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 84.66 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50834638/cambodia-wants-china-to-boost-milled-rice-imports/

กัมพูชาส่งออกข้าวไตรมาส 1 สร้างรายได้กว่า 110 ล้านดอลลาร์

กัมพูชาส่งออกข้าวสารในไตรมาสแรกของปีนี้สูงถึง 153,688 ตัน สร้างรายได้รวมกว่า 109.73 ล้านดอลลาร์ ซึ่งตัวเลขรายงานโดยสมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มการส่งออกข้าวในเดือนมีนาคม 2021 กำลังค่อยๆฟื้นตัว โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นถึง 84.66 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นจาก 41,949 ตัน ในเดือนกุมภาพันธ์ สู่ 77,466 ตัน ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งไตรมาสแรกของปี 2021 เป็นช่วงที่กัมพูชาทำการส่งออกข้าวต่ำที่สุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดย CRF กล่าวว่าสาเหตุหลักที่ทำให้การส่งมอบสินค้าไปยังผู้ซื้อในต่างประเทศล่าช้าโดยเฉพาะประเทศในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่เป็นปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์สำหรับการส่งออกข้าว ที่ส่งผลทำให้ต้นทุนการขนส่งเพิ่มสูงขึ้นกว่า 5 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ 5 ปีที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50834560/cambodia-generates-almost-110-million-from-milled-rice-exports-in-q1/

IMF รายงานถึงแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาคของกัมพูชา

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) รายงานภายรวมเศรษฐกิจมหภาคของกัมพูชา รวมถึงวิเคราะห์ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดย IMF ได้สร้างแบบจำลองที่อิงกับเศรษฐกิจกัมพูชาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบระยะสั้นและระยะกลางของการระบาด ซึ่งจากรายงานคาดการณ์ว่าความต้องการ (demand) ภายในประเทศ จะลดลงร้อยละ 2 ในปี 2021 และค่าผลตอบแทนชดเชยความเสี่ยงของประเทศในปี 2021 ก็คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 200 จุดจากจุดพื้นฐาน เนื่องจากสภาวะทางการเงินภายในประเทศที่เข้มงวดขึ้น นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่าราคาอาหารจะสูงขึ้นเนื่องจากการกักตุนสินค้าภายในประเทศเช่นเดียวกัน โดยรายงานยังชี้ให้เห็นถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไปภายในปีนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50833827/imf-offers-economic-outlook-on-cambodia/