คณะรัฐมนตรีอาจมีแนวทางผ่อนคลายมาตรการบางอย่างในเดือนหน้า

เมื่อวันที่ 28 เมษายน ที่ผ่านได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อหารือเกี่ยวกับการป้องกันการควบคุมการแพร่กระจายของโคลวิ – 19 รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของ COVID – 19 และพิจารณาการผ่อนคลายมาตราการบางอย่างเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจและการดำรงชีวิตของประชาชนสปป.ลาว คาดว่ารัฐบาลจะมีการปรับเปลี่ยนมาตราการต่าง ๆและเริ่มใช้ในวันที่ 3 พฤษภาคม ทั้งนี้มติต่าง ๆที่ได้เสนอในที่ประชุมยังต้องมีการพิจารณาต่อไปสักระยะหนึ่งก่อนที่จะบังคับใช้เพราะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรกและจะตามมาด้วยเศรษฐกิจ รัฐบาลยังคงต้องขอความร่วมมือจากประชาชนต่อไปในการปฎิบัติตามมาตรการต่าง ๆในช่วงนี้เพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสต่อไป

ที่มา : https://laoedaily.com.la/2020/04/30/77273/

สำนักงานศุลกากรรับรายได้กว่า4 พันล้านกีบจากการค้าชายแดนจีนและเวียดนาม

ภายในปี 2563 สำนักงานศุลกากรระหว่างประเทศในจังหวัดบอลิคำไซได้รับรายได้ 4 พันล้านกีบโดยที่มาของรายได้กว่าร้อยละ58.98 มาจากการด่านชายแดนการส่งออกเวียดนามและจีน ถึงแม้มาตราฐานการจัดการด้านการส่งออกและคลังสินค้าของชายแดนสปป.ลาวไม่มีประสิทธิภาพและมีความซีบซ้อนและล่าช้าในการตรวจสอบต่างๆ ทำให้จุดนี้เองที่ทำให้รัฐบาลต้องการพัฒนาระบบศุลกากรดังกล่าวเพื่อเป็นปัจจัยสนับสนุนด้านการส่งออกและนำเข้าผ่านด่านรอยต่อประเทศ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่ได้มีการพัฒนามากเท่าที่ควร ทั้งด้านระบบการจัดการและเครื่องไม้เครื่องมือที่ยังไม่มีใช้ที่ด่านพรหมแดนทำให้ผู้ประกอบการต้องสูญเสียโอกาสด้านการค้าในบ้างชนิดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่มีอายุการเก็บได้น้อยและต้องการคลังเก็บสินค้าที่มีคุณภาพ ในอนาคตหากสปป.มีการพัฒนาด้านนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของสปป.ลาวอย่างมหาศาล

ที่มา : https://laoedaily.com.la/2020/04/29/77216/

โควิด-19 กระทบเศรษฐกิจ CLMV เติบโตต่ำสุดในรอบ 2 ทศวรรษ ประเทศยิ่งพึ่งพารายได้จากต่างประเทศมาก ยิ่งกระทบหนัก (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3100)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์เรื่อง COVID-19 กระทบเศรษฐกิจ CLMV เติบโตต่ำสุดในรอบ 2 ทศวรรษ ประเทศยิ่งพึ่งพารายได้จากต่างประเทศมาก ยิ่งกระทบหนัก โดยระบุว่า การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจ CLMV ผ่านทางการพึ่งพารายได้จากต่างประเทศในธุรกิจท่องเที่ยว และภาคการส่งออก โดยประเทศที่พึ่งพารายได้จากต่างประเทศมาก ยิ่งได้รับผลกระทบในเชิงลบมาก      

  • กัมพูชา เป็นประเทศที่ได้รับรับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากพึ่งพารายได้จากต่างประเทศทั้งในธุรกิจท่องเที่ยวและภาคการส่งออก โดยคาดว่าธุรกิจท่องเที่ยวจะหดตัวประมาณ 60% ในปีนี้ ส่วนภาคการส่งออกนั้น กัมพูชายังพึ่งพาการส่งออกไปยังตลาด EU และสหรัฐฯ มากที่สุด ซึ่งในปัจจุบัน ประเทศสหรัฐฯ และประเทศในกลุ่ม EU คือประเทศที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 มากที่สุดในเวลานี้ จึงคาดว่ามูลค่าส่งออกจะหดตัวถึง 10% ในปีนี้ ส่งผลให้เศรษฐกิจกัมพูชาโดยรวมจะหดตัวกว่า 0.9% ในปี 2563
  • เวียดนาม เวียดนามได้รับผลกระทบปานกลาง เนื่องจากพึ่งพารายได้จากต่างประเทศในภาคการส่งออกเท่านั้น และยังโชคดีที่ เวียดนามมีประเทศคู่ค้าหลักที่หลากหลายทำให้การกระจายความเสี่ยงในการส่งออกค่อนข้างดี ประกอบกับสินค้าส่งออกหลักของเวียดนาม คือ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะได้รับอานิสงค์จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปด้วยการทำงานที่บ้าน (Work From Home) จึงทำให้อุปสงค์ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า เพิ่มขึ้น และทำให้ภาพรวมการส่งออกของเวียดนามหดตัวไม่มากนัก คาดว่ามูลค่าการส่งออกของเวียดนามจะหดตัวประมาณ 5% ในปีนี้ ประกอบรัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปแบบเงินให้เปล่า และการลดภาษี คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามจะยังคงเติบโตได้ในระดับ 3.6% ในปีนี้
  •  เมียนมา  เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ค่อนข้างน้อย เพราะมีรายได้จากภาคการส่งออกและธุรกิจท่องเที่ยวค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกของเมียนมาก็ได้รับผลกระทบค่อนข้างหนัก เนื่องจากสินค้าส่งออกหลักของเมียนมา คือ ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งได้รับผลกระทบหนักจากราคาเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ สินค้าส่งออกสำคัญอันดับสองของเมียนมา คือ เสื้อผ้าและสิ่งทอ ก็ได้รับผลกระทบหนักทั้งจากการปิดโรงงานในจีน และจากอุปสงค์สินค้าที่ลดลงในตลาด EU จึงคาดว่ามูลค่าการส่งออกของเมียนมาจะหดตัวถึง 10% ในปีนี้ อย่างไรก็ตาม EU ได้จัดตั้งกองทุนเงินช่วยเหลือฉุกเฉิน (Quick Assistance Fund) มูลค่า 500 ล้านยูโร เพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมสิ่งทอในเมียนมาที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งจะช่วยอุดหนุนการจ้างงานและการบริโภคของครัวเรือน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่ากองทุนเงินช่วยเหลือฉุกเฉินของ EU ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1% ของ GDP จะช่วยพยุงรายได้ของประชาชน และทำให้การบริโภคในครัวเรือนยังเติบโตได้ในระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนวิกฤตโควิด-19 นอกจากนี้ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของเมียนมาก็ยังคงเป็นไปตามกำหนดการเดิม จึงคาดว่าในภาพรวมเศรษฐกิจเมียนมาจะยังเติบโตได้ในระดับ 4.3% ในปี 2563
  • สปป.ลาว ก็เป็นอีกประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้พึ่งพารายได้จากธุรกิจท่องเที่ยว หรือภาคการส่งออกมากนัก อย่างไรก็ตาม ธุรกิจท่องเที่ยวของลาวพึ่งพานักท่องเที่ยวไทยมากที่สุด ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หนักที่สุดในอาเซียนในปีนี้ จึงคาดว่าธุรกิจท่องเที่ยวของลาวน่าจะได้รับผลกระทบหนักตามไปด้วย ส่วนภาคการส่งออกของสปป.ลาวคาดว่ามูลค่าการส่งออกจะหดตัวประมาณ 5% ในปีนี้ ยังโชคดีที่ ภาคการส่งออกของสปป.ลาวส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเหมืองแร่และการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งไม่ได้ทำให้เกิดการจ้างงานกับผู้คนจำนวนมาก ส่วนธุรกิจท่องเที่ยวก็เพิ่งเริ่มพัฒนาและยังมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับ GDP จึงทำให้รายได้ของประชากรส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก และทำให้การบริโภคในครัวเรือนยังเติบโตได้ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 นอกจากนี้ การลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงซึ่งมีมูลค่ากว่า 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ยังคงดำเนินไปตามกำหนดการเดิม จึงทำให้เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 มากนัก เมื่อดูภาพรวมแล้ว คาดว่าเศรษฐกิจสปป.ลาวจะยังเติบโตได้ในระดับ 3.9% ในปี 2563

แม้ว่าวิกฤตโควิด-19 จะทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทLกลุ่ม CLMV อยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 2 ทศวรรษ แต่เศรษฐกิจ CLMV ก็ยังสามารถเติบโตได้ในระดับ 3.4% ในปีนี้ นอกจากนี้ เศรษฐกิจ CLMV ดยรวมยังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างรวดเร็วใน 1-2 ปีข้างหน้า โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะอยู่ที่ระดับ 6.4% ในปี 2564และ 6.5% ในปี 2565

ที่มา : https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/z3100.aspx

ลงนามความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระบบการเงินดิจิตอล

เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2020 ที่ผ่านมา ณ สำนักงานใหญ่ บริษัท Star Telecommunications ได้มีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือระหว่างธนาคารร่วมทุนลาว – ​​เวียดนามและบริษัท StarTelTraining Limited โดยจุดประสงค์ของการลงนามความร่วมมือครั้งนี้เพื่อการบริการด้านการเงินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะมีการพัฒนาระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มความสะดวกและปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการ ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยสร้างรากฐานที่ดีสำหรับอนาคตของระบบการเงินแบบดิจิทัลที่จะมีส่วนอย่างมากในการเข้ามาพฤติกรรมการใช้จ่ายและการทำธุรกรรมการเงินภายในของประเทศ ปัจจุบันระบบการเงินดิจิตอลเข้ามามีบทบาทในแต่ละภาคส่วนของสปป.ลาวอย่างมากทั้งด้านการชำระภาษีที่ทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นยังรวมถึงการชำระภาษีศุลกากรที่ทำให้ขั้นตอนต่างๆทำได้สะดวกและเร็วขึ้นเอื้อประโยชน์ในด้านการค้าอย่างมาก ทั้งนี้ในอนาคตจะยังคงมีการวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เหมาะกับยุคของการเปลี่ยนแปลงเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการให้บริการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ที่มา : https://laoedaily.com.la/2020/04/27/77145/

ยอดผู้ติดเชื้อCOVID-19 ของสปป.ลาวจนถึงขณะนี้ยังไม่มีกรณีขพบผู้ป่วยรายใหม่

เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2563 ที่หน่วยปฏิบัติการปฏิบัติงานของกระทรวงสาธารณสุข COVID-19 กระทรวงสาธารณสุขจัดแถลงข่าวรายงานสถานการณ์ของ COVID-19 ในการแถลงมีใจความสำคัญถึงยอดผู้ติดเชื้อและมาตราการต่างๆที่ยังคงต้องดำเนินต่อไป ดร. รัตนเกตุพันธุ์ ผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคติดเชื้อกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า “เราจะไม่ลดมาตรการเฝ้าระวังเพื่อระบุผู้ต้องสงสัยที่ติดเชื้อและสำหรับผู้ที่เดินทางข้ามชายแดนใหม่จะต้องดำเนินมาตรการจากประเทศต้นเคร่งครัดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด” นอกจากนี้ตามจังหวัดและรอยต่อพรหมแดนต่างๆ ยังมีการขยายระยะการ Lockdown ออกไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคมเพื่อให้มั่นใจว่าสปป.ลาวจะไม่กลับมาติดเชื้อรอบใหม่เพราะหากเกิดการแพร่เชื้อรอบใหม่จะสร้างผลกระทบที่รุนแรงแก่ระบบสุขภาพและเศรษฐกิจของสปป.ลาว

ที่มา : https://laoedaily.com.la/2020/04/27/77144/

ประกาศสถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ ที่ 20/2563 เรื่อง การขออนุญาตอยู่ต่อของคนต่างประเทศใน สปป. ลาว ในระยะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (เพิ่มเติม)